xs
xsm
sm
md
lg

“หมอนิรันดร์” ชี้สิทธิของคนสตูลคืออาวุธต่อสู้ป้องแผ่นดินและพื้นที่ทำกิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สม.) กล่าวเรื่อง “สิทธิการพัฒนาบนพื้นฐานจัดการตนเองของคนสตูล” คือสิทธิของชาวสตูลที่สามารถใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้และปกป้องพื้นที่ทำมาหากินให้อยู่อย่างยั่งยืนได้

วันนี้ (22 เม.ย.) ที่โรงเรียนอนุบาลสตูล อ.เมือง จ.สตูล นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึง “สิทธิการพัฒนาบนพื้นฐานจัดการตนเองของคนสตูล” ประเด็นที่ต้องการนำเสนอ คือ ความจำเป็นถึงการพัฒนาเรื่องการจัดการตนเองของชาวสตูลอย่างยั่งยืน อย่าลืมว่าปัจจุบันประชาชนไม่สามารถกำหนดอนาคตตัวเองได้ หากแต่ได้รับการกำหนดมาจากส่วนกลางเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างของการบริหารจัดการตนเองที่เห็นได้ชัด และเป็นบทเรียนที่สำคัญ เช่น ทางภาคเหนือที่ได้มีการออกมาแถลงถึงการบริหารจัดการตัวเองที่ส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาดีขึ้น

แนวคิดการพัฒนาเกี่ยวกับการมองสตูลอันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างมั่นคง และยังยืนนั้นอะไรคือสิทธิการพัฒนา อะไรที่เป็นสิทธิของประชาชน ในความเป็นจริงแล้วสังคมไทยปกครองด้วยกฎหมาย ซึ่งรัฐมีหน้าที่นำเสนอแผนงานที่จะเข้ามาดำเนินการในพื้นที่ แต่ขณะนี้รัฐได้กระทำอย่างนั้นบ้างหรือเปล่า ผมต้องขอพูดไว้ที่นี้เลยว่า ภายใต้สิทธิที่ประชาชนมี หรือสิทธิการพัฒนาที่ต้องควบคู่ไปกับวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่นั่นคือการพัฒนาไปสู่ประชาชนอย่างแท้จริง

นพ.นิรันดร์ ยังกล่าวอีกว่า นโยบายการพัฒนาของรัฐต้องทำ คือ การพัฒนาที่อยู่บนวิถีชีวิตแบบพอเพียง เพราะเมืองไทยไม่ใช่เมืองพ่อค้าอย่างสิงคโปร์ หากแต่เป็นเมืองแห่งการเกษตรกรรม การสร้างความมั่นคงทางอาหารและเศรษฐกิจ คือ การพัฒนาในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ทำเกษตรในเชิงอุตสาหกรรมแต่ต้องเป็นแบบเสรีและเป็นธรรม ก่อนที่รัฐบาลทุกรัฐบาลจะดำเนินการในพื้นที่ต้องมีการอธิบาย คำแถลง ให้ประชาชนทราบ และต้องสร้างพื้นที่ทำกิน มีที่ดิน รวมทั้งต้องให้ประชาชนเข้าถึงทรัพยากรอย่างแท้จริง

การพัฒนาที่ผมกำลังพูดถึงในปัจจุบัน คือ การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน การมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น ไม่ทำให้เกิดมลพิษ ฉะนั้นรัฐบาลจะดำเนินการใดๆ ต้องถามประชาชนเพราะประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เท่านั้นที่รู้ว่า ป่า ทะเล ทำไมถึงหาอยู่ หากินได้ตลอด ประมงพื้นบ้านทำอย่างไรถึงจะอยู่ได้ ปัญหายางพาราที่ไปอิงอยู่กับระบบทุนมากเกินไปทำให้ราคาตกต่ำกว่าที่ควรจะเป็น

นโยบายของรัฐบาลต่อจากนี้ไปจะมาจากส่วนกลางแต่เพียงอย่างเดียวไม่ได้แล้ว แต่ต้องมาจากภาคประชาชนด้วย คือ การร่วมตัดสินใจเชิงนโยบายที่มาจากรัฐ ทั้งนี้ ในความเป็นจริงการพัฒนาของ 14 จังหวัด ประกาศว่านโยบายของรัฐต้องเน้น เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ด้วย การเสวนาในครั้งนี้ มี 8 ประเด็น ที่ชาวสตูลจะต้องร่วมคิด ร่วมสร้าง คือ

1.รู้และเข้าสิทธิชุมชนในการใช้ประโยชน์
2.เกษตรชุมชน
3.วัฒนธรรมชุมชน
4.การศึกษาชุมชน
5.สุขภาพชุมชน
6.ยุติธรรมชุมชน
7.สื่อชุมชน
8.พลังงานชุมชน พลังงานหมุนเวียน พลังงานแสงอาทิตย์

นอกจากนี้ อีกประเด็นที่มีความสำคัญ คือ แนวคิดการพัฒนาที่ต้องแก้ไขของรัฐเพื่อให้รายได้ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น รายได้ที่สูงขึ้นก็มาพร้อมกับการเหลื่อมล้ำทางรายได้ ทุนข้ามชาติ ประมงทะเลชายฝั่งเชิงอุตสาหกรรมเข้ามายึดครองพื้นที่ ส่วนประมงพื้นบ้านเริ่มเดือดร้อน การบังคับใช้กฎหมาย ชาวบ้านต้องมีมีลุ่มน้ำ และมีพื้นที่ในการดำเนินชีวิตของพวกเขาต่อไป จะมองพื้นที่เป็นธุรกิจเป็นพาณิชย์อย่างเดียวไม่ได้ ภาษีที่ดินก้าวหน้าเก็บได้เพียง 17 เปอร์เซ็นต์ ที่เก็บจากชาวบ้านยากจน สิ่งที่ชาวบ้านต้องเจอ และต้องการจริงๆ คือ การพัฒนาในระบบทุนแต่จะต้องเป็นทุนที่เสรีและเป็นธรรม สิ่งนี้คือสิ่งที่ประชาชนต้องลงมือ การลงทุนของรัฐ รายได้ของประชาชน ผมมาจากภาคอีสาน เขื่อนปากมูลที่สร้างขึ้นไม่คุ้มกับการลงทุน

ทั้งนี้ ผลของเขื่อนทำให้ผู้คนในลุ่มน้ำนี้ขาดพื้นที่ทำมาหากิน วัฒนธรรมปลาร้าปลาแดก ปลาธรรมชาติหมดไป การพัฒนาบางอย่างคือ การทำลายธรรมชาติ มีนักวิชาการวิจัยแล้วว่าชุมชนในภาคอีสานล่มสลายทำให้คนในพื้นที่ต้องออกไปทำงานต่างถิ่น ขายแรงงาน ดังนั้น พวกเราคือคนใต้ต้องมาตัดสินใจในโชคชะตาที่เราต้องการรักษาวิถีชีวิตเรายืนยันต้องทำอย่างนี้ไหม เพราะฉะนั้น ผมมีข้อเสนอ แล้วเราจะทำอย่างไรที่คนในพื้นที่จะกำหนดจุดยืนของตัวเอง การกำหนดสิทธิการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานของรัฐ

สิ่งที่ผมต้องการคือ อยากให้พี่น้องเข้าใจสิทธิชุมชน เป็นสิทธิที่อยู่พื้นฐานของประชาชน ชาวสตูลสามารถใช้ทรัพยากร และเรามีสิทธิคิดในสิทธิของชุมชน ทำให้คนในชุมชนท้องถิ่นอยู่ดีกินดี

สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ถ้าพวกเราร่วมมือกันคิดเพื่อหาทางออก ทำโดยการใช้ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เข้าสู่ประชาธิปไตยแบบตรง ถ้าเราอยากได้อะไรที่เป็นประโยชน์พวกเราต้องร่วมคิด ร่วมสร้าง และร่วมทำ สิทธิการมีส่วนร่วม คือ ร่วมคิดในเชิงนโยบาย ประชาชนเริ่มเข้ามามีส่วนร่วม เสนอสิ่งที่สมควรแก้ หรือสิ่งอื่นที่ต้องการให้เกิดเสนอในเชิงนโยบาย และการกระจายอำนาจ สิ่งที่กระบวนการที่พวกท่านจะทำนี้ในฐานะพลเมือง กระบวนการเหล่านี้จะนำไปสู่การสร้างกระบวนการความขัดแย้งที่ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันนี้เกิดจากความไม่เป็นธรรมในสังคมนั่นเอง

ระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คือ ประชาชนไม่ได้เป็นใหญ่แต่ประโยชน์จะเกิดขึ้นกับประชาชน ไม่ใช่นายทุน และนักการเมือง เป็นการสร้างวัฒนธรรมของสังคมไทย ในการสร้างนโยบายที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กล่าว
 
 

กำลังโหลดความคิดเห็น