สุราษฎร์ธานี - กระทรวงการคลัง จัดการสัมมนาวิชาการยาสูบเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งหาข้อสรุปร่วมกันในแนวทางการควบคุมการบริโภคยาสูบ โดยใช้มาตรการทางภาษี ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
วันนี้ (28 ก.พ.) เวลา 09.30 น. นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธีเปิดสัมมนาวิชาการยาสูบเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งกรมสรรพสามิตไทย ในฐานะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2556 โดยมี นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตให้การต้อนรับ ณ โรงแรมโนราบุรี รีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ยาสูบเป็นสินค้าหลักที่ทำรายได้ภาษีเป็นลำดับที่ 4 ของกรมสรรพสามิต ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15 หรือประมาณ 59,000 ล้านบาทต่อปี รายได้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน เนื่องจากการลดอากรขาเข้าตามข้อตกลงอาฟตา (AFTA) ซึ่งปัจจุบัน ส่งผลให้อากรของผลิตภัณฑ์ยาสูบจัดเก็บในอัตราร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา
นอกจากนั้น กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง และกระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการควบคุมการบริโภคยาสูบ เนื่องจากยาสูบเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงที่สามารถป้องกันได้ โดยเฉพาะภายหลังจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ซึ่งจะส่งผลให้มีการลักลอบนำสินค้ายาสูบเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้น และการกระทำผิดกฎหมาย (Illicit Trade) ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยการจัดการหารือร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนดังเช่นที่ปฏิบัติในสหภาพยุโรป เกี่ยวกับกระบวนการควบคุมสินค้าสรรพสามิต การตรวจสอบ และติดตามระบบคลังสินค้า การประเมินภาษี และอัตราภาษีระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน
อย่างไรก็ดี การพัฒนาความร่วมมือดังกล่าวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นไปตามกลไกของอาเซียนภายใต้กฎบัตรอาเซียน โดยมีหลักการให้การตัดสินใจของอาเซียนอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือ และฉันทมติ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง สำนักงานกองทุนสนับสนุนและการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว จึงเห็นควรให้มีการจัดสัมมนาวิชาการยาสูบ และสินค้าสรรพสามิตอื่นๆ ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อหาความตกลงร่วมกันในแนวทางการควบคุมการบริโภคยาสูบโดยใช้มาตรการทางภาษีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการบริหารจัดเก็บภาษียาสูบ และภาษีสรรพสามิตอื่นๆ ในภูมิภาคต่อไป
ด้าน นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า การจัดสัมมนาวิชาการยาสูบเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนเพื่อยกระดับและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานจัดเก็บภาษีศุลกากร และภาษีสรรพสามิตในภูมิภาคอาเซียน ในรูปของคณะทำงานภาษีสรรพสามิต (Excise Working Group) หรือเป็นส่วนหนึ่งในการประชุมคณะกรรมการประสานงานด้านศุลกากรอาเซียน (ASEAN Coordinating Committee on Customs) ประจำปี เพื่อเสริมสร้างความรู้ และความเข้าใจทางวิชาการ
วันนี้ (28 ก.พ.) เวลา 09.30 น. นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธีเปิดสัมมนาวิชาการยาสูบเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งกรมสรรพสามิตไทย ในฐานะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2556 โดยมี นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตให้การต้อนรับ ณ โรงแรมโนราบุรี รีสอร์ท แอนด์ สปา อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ยาสูบเป็นสินค้าหลักที่ทำรายได้ภาษีเป็นลำดับที่ 4 ของกรมสรรพสามิต ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15 หรือประมาณ 59,000 ล้านบาทต่อปี รายได้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน เนื่องจากการลดอากรขาเข้าตามข้อตกลงอาฟตา (AFTA) ซึ่งปัจจุบัน ส่งผลให้อากรของผลิตภัณฑ์ยาสูบจัดเก็บในอัตราร้อยละ 0 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา
นอกจากนั้น กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง และกระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการควบคุมการบริโภคยาสูบ เนื่องจากยาสูบเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงที่สามารถป้องกันได้ โดยเฉพาะภายหลังจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ซึ่งจะส่งผลให้มีการลักลอบนำสินค้ายาสูบเข้ามาในประเทศเพิ่มขึ้น และการกระทำผิดกฎหมาย (Illicit Trade) ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ปัญหาดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยการจัดการหารือร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนดังเช่นที่ปฏิบัติในสหภาพยุโรป เกี่ยวกับกระบวนการควบคุมสินค้าสรรพสามิต การตรวจสอบ และติดตามระบบคลังสินค้า การประเมินภาษี และอัตราภาษีระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน
อย่างไรก็ดี การพัฒนาความร่วมมือดังกล่าวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นไปตามกลไกของอาเซียนภายใต้กฎบัตรอาเซียน โดยมีหลักการให้การตัดสินใจของอาเซียนอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือ และฉันทมติ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง สำนักงานกองทุนสนับสนุนและการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ตระหนักถึงผลกระทบดังกล่าว จึงเห็นควรให้มีการจัดสัมมนาวิชาการยาสูบ และสินค้าสรรพสามิตอื่นๆ ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อหาความตกลงร่วมกันในแนวทางการควบคุมการบริโภคยาสูบโดยใช้มาตรการทางภาษีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการบริหารจัดเก็บภาษียาสูบ และภาษีสรรพสามิตอื่นๆ ในภูมิภาคต่อไป
ด้าน นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า การจัดสัมมนาวิชาการยาสูบเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนเพื่อยกระดับและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานจัดเก็บภาษีศุลกากร และภาษีสรรพสามิตในภูมิภาคอาเซียน ในรูปของคณะทำงานภาษีสรรพสามิต (Excise Working Group) หรือเป็นส่วนหนึ่งในการประชุมคณะกรรมการประสานงานด้านศุลกากรอาเซียน (ASEAN Coordinating Committee on Customs) ประจำปี เพื่อเสริมสร้างความรู้ และความเข้าใจทางวิชาการ