• พลิกโฉมหน้า “โรงงานอุตสาหกรรมไทย” ก้าวสู่ “อุตสาหกรรมสีเขียว”
• เดินยุทธศาสตร์เชิงรุก ทั้งบู๊และบุ๋น ให้ภาคอุตสาหกรรมก้าวสู่มาตรฐาน ISO 26000
• กรอ.วาดอนาคตโรงงานอุตสาหกรรมไทย เป็น Eco-Industial Town
นั่นเป็นเหตุผลของการดำเนินโครงการพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมโดยเน้นให้ผู้ประกอบการมุ่งตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างมีส่วนร่วม หรือ CSR-DIW มากขึ้น ซึ่งทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้ดำเนินโครงการนี้อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2551
เรียกว่าเป็นโครงการสำคัญของกรมโรงงานฯ และยังเป็น 1 ใน 10 ของ Flagship Project ของกระทรวงอุตสาหกรรม ตลอด 5 ปีที่ดำเนินโครงการ CSR-DIW ซึ่งมีโรงงานเข้าร่วมโครงการแล้วทั้งสิ้น 384 ราย และได้รับเกียรติบัตรแล้ว 321 ราย
ยุทธศาสตร์สองด้านในเชิงรุก
สืบเนื่องจากกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว เพื่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาใน 5 มิติ คือ มิติทางด้านกายภาพ มิติทางด้านเศรษฐกิจ มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม มิติทางสังคม และมิติการบริหารจัดการ ซึ่งต่อจากนี้การพัฒนาของอุตสาหกรรมในพื้นที่จะต้องได้รับการยอมรับจากประชาชนเป็นสำคัญ
ทำให้ กรอ.เดินหน้ายุทธศาสตร์ในเชิงรุก 2 ด้าน คือ ตั้งสำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยมอบหมายให้ทำหน้าที่จัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรู้ให้กับเครือข่ายของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ล่าสุดจัดสัมมนาเป็นรุ่นแรก ในภาคเหนือ เมื่อวันที่ 23 - 24 มกราคมที่ผ่านมา ณ โรงแรมเชียงใหม่ออคิด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ส่วนอีกด้านเป็นการควบคุมดูแลให้โรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศปฎิบัติตามกรอบกฎหมาย โดยมีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ. อุตสาหกรรมจังหวัดซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้มีการติดตามสอดส่องโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น
“โดยหน้าที่และความรับผิดชอบของ กรอ.เอง การใช้กำลังคนภายในหน่วยงานคงไม่เพียงพอต่อการดูแลอย่างทั่วถึง ด้านหนึ่งเราจึงมุ่งถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ประกอบการอย่างทั่วถึง ให้เขามองเห็นข้อดีต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ทำให้เห็นผลดีของการคำนึงต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ส่วนอีกด้านเราก็ต้องเข้มข้นในการวางกรอบให้ปฏิบัติตามอย่างเท่าเทียม” พงษ์เทพ จารุอำพรพรรณ รักษาราชการแทน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าว และว่า
เราประเมินภารกิจโดยมุ่งถึงประสิทธิผลของงานเป็นสำคัญ จึงวางกรอบแผนปฏิบัติงานไว้ 3 ระยะ คือ ในระยะสั้น มุ่งให้โรงงานอุตสาหกรรม เคารพในกติกาโดยปฏิบัติภายใต้ ในระยะกลาง มุ่งส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่เข้าร่วมโครงการ CSR-DIW แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามแก้ไขข้อปฏิบัติให้สอดคล้องต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ส่วนในระยะยาว เราคาดหวังว่าโรงงานอุตสาหกรรมไทยจะเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco-Industry Town)
เดินหน้าโครงการ CSR-DIW
ในปี 2556 นี้ กรมโรงงานฯ เปิดรับสมัครโรงงานอุตสาหกรรมเข้าร่วมโครงการ CSR-DIW เป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่ 1 กลุ่มโรงงานที่มีศักยภาพในการดำเนินงานตามมาตรฐาน CSR-DIW ตาม 7 หัวข้อหลัก
กลุ่มที่ 2 CSR-DIW for Beginner กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการดำเนินตามมาตรฐาน CSR-DIW เฉพาะหัวข้อสิ่งแวดล้อม หรือ ด้านพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นการฝึกการทำ CSR เบื้องต้น
กลุ่มที่ 3 CSR-DIW Network กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับเกียรติบัตร CSR-DIW ปี 2551-2555 ให้มีการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบเครือข่าย เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พงษ์เทพ กล่าวว่า โครงการนี้ตั้งเป้าให้โรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ นำมาตรฐานของกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยการแสดงความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม (Corporate Social Responsibility, Department of Industrial Work : CSR-DIW) ไปประยุกต์ใช้ ทั้งนี้ แต่ละปี เราตั้งเป้าหมายขั้นต่ำไว้ที่ 100 โรงงานต่อปี ตลอดจนมีเป้าหมายให้โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับเกียรติบัตร CSR-DIW ไปแล้ว มีการทำอย่างต่อเนื่องยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาตนเองเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน ISO 26000 มากที่สุด
"รวมถึงยังมีแผนที่จะผลักดันให้โรงงานอุตสาหกรรมที่มีบริษัทลูก หรือ คู่ค้าดำเนินการอยู่ในกลุ่มประเทศกลุ่มอาเซียน ได้ดำเนินการตามมาตรฐาน CSR-DIW ตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ เพื่อให้สามารถรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อีกด้วย”
"สำหรับโรงงานในกลุ่ม CSR-DIW for Beginner เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานขนาดเล็กที่ยังไม่มีกำลังมากพอที่จะดำเนินนโยบายอุตสาหกรรมสีเขียวอย่างเต็มรูปแบบ CSR-DIW for Beginner จึงเป็นการเริ่มต้นที่ของโรงงานขนาดเล็กที่อยากเรียนรู้เพื่อพัฒนาต่อไปสู่มาตรฐาน CSR-DIW และ ISO26000 เมื่อปีที่แล้วตั้งเป้ามีโรงงาน CSR-DIW for Beginner 400 โรงงาน แต่ก็มีโรงงานได้รับเกียรติบัตรถึง 403 โรงงาน ส่วนในปีนี้ต้องการให้มีโรงงานเข้าร่วม 750 โรงงาน”
วัตถุประสงค์ของมาตรฐาน CSR-DIW ต้องการให้เกิดองค์กรในรูปเครือข่ายในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ชุมชนอย่างมีคุณภาพและมีส่วนร่วม อีกทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกขนาดที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยการแสดงความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคม ก่อให้เกิดการร่วมมือกันขององค์กรในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญการ สามารถดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ให้เกิดผลกระทบที่เป็นรูปธรรมโดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด โดยนำศักยภาพขององค์กรมาผสมผสานเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
“หลายคนมักจะสับสน หรือ อาจจะสงสัยว่าโครงการ CSR-DIW และการรับรองระดับอุตสาหกรรมสีเขียว เป็นการดำเนินที่เกื้อหนุน หรือ ซ้ำซ้อนกันหรือไม่ ที่จริงทั้งสองเรื่องเป็นโครงการภายใต้นโยบายสีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรมจึงเปรียบเสมือนเป็นร่มคันใหญ่ และยังอยู่ภายใต้การดำเนินโครงการที่สำคัญในปี 2557ของรัฐบาล คือ โครงการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และโครงการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุน”
สำหรับปีนี้ กรอ.ได้ขยายโรงงานเป้าหมายไปสู่โรงงานอุตสาหกรรมทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็ก กลางไปจนถึงขนาดใหญ่ เพื่อมุ่งเน้นการนำไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียวและเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้สามารถปรับตัวสู่มาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างเป็นระบบ สามารถรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และสร้างระบบการแข่งขันเสรีที่เป็นธรรมให้กับประเทศไทย มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายด้านการผลิตสินค้าและบริการบนฐานปัญญานวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียน และอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน
Eco-Industial Town
หรือ อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หมายถึง การพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของพื้นที่ให้เจริญเติบโตไปพร้อมกับการดูแลสภาพแวดล้อมที่ดี ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ประการส าคัญ มีการดูแลคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของคนในพื้นที่และทุกคนต้องมีความจริงจังในการดำเนินการร่วมกัน โดยสามารถด าเนินการได้ทุกระดับเริ่มตั้งแต่
1) ระดับปัจเจกชน เช่น ครอบครัวและโรงงาน (Green Family / Green
Factory)
2) ระดับกลุ่มอุตสาหกรรมหรือชุมชน เช่น นิคมอุตสาหกรรม เขต
ประกอบการอุตสาหกรรม หรือหมู่บ้าน หรือต าบล (Eco Industrial
Zone/Estate / Eco Community)
3) ระดับเมือง (Eco Town / Eco City) หรือเครือข่ายของเมืองหรือ
จังหวัด
กลยุทธ์การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
• การพัฒนาเชิงพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดหรือไม่มีการ
ปล่อยมลพิษ (Zero Emission) โดยใช้ Cleaner Technology, 3 Rs
• สร้างความร่วมมือในกลุ่มอุตสาหกรรมทั้งในและนอกพื้นที่ (ใช้
ทรัพยากรร่วมกัน ประหยัดการใช้พลังงาน แลกเปลี่ยนของเสีย ฯ )
• สร้างพื้นที่ของการใช้วัสดุหมุนเวียน (Recycling Society) และพื้นที่ลด
การปล่อยก๊าซที่ท าให้เกิดสภาวะโลกร้อน (Low carbon Society)
• การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะชุมชนในการพัฒนาพื้นที