ศูนย์ข่าวศรีราชา - คณะอนุกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือกรณีผลกระทบจากการประกอบกิจการของบริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม แนะควรจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคีเข้าร่วมตรวจสอบการดำเนินงานของโรงงาน
วันนี้ (10 ก.พ.) นายสนธิ คชวัฒน์ อนุกรรมาธิการและเลขนุการคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา เปิดเผยว่า ตามที่หลวงปู่พุทธะอิสระ พระนักเทศน์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) ถนนมาลัยแมน กม.17 ต.ห้วยขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ประกาศขายวัดในราคา 2,000 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบกลิ่นเหม็น และฝุ่นละอองจากการประกอบกิจการอาหารสัตว์ของบริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด เลขที่ 45 หมู่ 11 ต.ห้วยขวาง อ.กำแพงแสน ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันนั้น คณะอนุ กมธ. โดยนางภารดี จงสุขธนามณี ประธานได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ได้แก่ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมอนามัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ผู้ว่าสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครปฐม ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 5 (นครปฐม) อุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ห้วยขวาง กรรมการบริษัทอาร์ที อะกริเทค จำกัด
ทั้งนี้ คณะอนุ กมธ.สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา มีข้อเสนอแนะดังนี้ คือ 1.กรณีกลิ่นเหม็นรบกวนพระสงฆ์ และประชาชน ถือเป็นกรณีตัวอย่างของการกำกับดูแล ติดตามตรวจสอบของหน่วยงานราชการที่มีต่อโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากโรงงานแห่งนี้ถูกร้องเรียนตั้งแต่ ปี 2554 โดยร้องไปยัง อบต.ห้วยขวาง ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข 2535 และร้องไปยังอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม ซึ่งการสั่งการให้แก้ปัญหาไม่ทันท่วงที จนเกิดการร้องเรียนตามสื่อ ทำให้หน่วยงานราชการทั้งส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่นต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหา ดังนั้น จึงเห็นควรให้ดำเนินการดังนี้
1.1 กรณีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม หากเป็นการตั้งโรงงานที่ไม่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) หรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 กรมโรงงานอุตสาหกรรมควรมีมาตรการให้โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยง (อีเอสเอ) ห้ครอบคลุมผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยโดยรอบด้วย และนำมากำหนดเป็นเงื่อนไขการขออนุญาตประกอบกิจการกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป
1.2 การกำกับดูแล การบังคับใช้กฎหมาย เห็นควรให้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ ในส่วนของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เจ้าพนักงานโรงงาน ในส่วนของอุตสาหกรรมจังหวัด และเจ้าพนักงานสาธารณสุขในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันติดตามตรวจสอบ ทั้งกรณีปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น และเหตุเดือดร้อนรำคาญ ตามบทบาท อำนาจ หน้าที่ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพมากที่สุด
1.3 กรณีเกิดเรื่องร้องเรียน หน่วยงานส่วนกลาง ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมอนามัย ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันในการตรวจสอบปัญหาที่แหล่งกำเนิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดการแก้ปัญหาที่แหล่งกำเนิดมลพิษ กรมควบคุมมลพิษต้องตรวจสอบมลพิษในสิ่งแวดล้อม กรมอนามัยต้องตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ควรออกปฏิบัติงานพร้อมกันทุกหน่วย เพื่อให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจ และสามารถแก้ปัญหาได้โดยเร็ว
2.เห็นควรให้กรมอนามัย จัดตั้งคณะทำงานจัดทำหลักเกณฑ์การพิจารณาเหตุรำคาญ ตัวชี้วัดเหตุรำคาญ และหลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสอบเหตุรำคาญ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข 2535 ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน และจัดทำแนวทาง คู่มือปฏิบัติงาน ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข 2535 และส่งเสริมความเข้มแข็งการใช้กฎหมายสาธารณสุขให้แก่ท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถบังคับใช้กฎหมาย และนำไปปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ทรงคุณวุฒิ กรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น ร่วมเป็นคณะทำงานด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรให้กองบริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย เป็นเจ้าภาพดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าว รวมทั้งดำเนินการในข้อ 1.3 ด้วย
3.เห็นควรให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ ในฐานะพนักงานโรงงานและพนักงานควบคุมมลพิษ เข้าไปให้คำแนะนำแก่โรงงานผลิตอาหารสัตว์ บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด เนื่องจากมีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหากลิ่นเหม็น โดยได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการออกแบบ และติดตั้งอุปกรณ์เพื่อกำจัดกลิ่นจากกระบวนการผลิต เมื่อดำเนินการแล้วเห็นควรให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม รายงานแผนการกำกับดูแล และติดตามตรวจสอบให้คณะอนุ กมธ.ทราบด้วย
4.เห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคี ประกอบด้วย ผู้ประกอบการโรงงาน ภาคประชาชน ภาคราชการ ร่วมตรวจสอบการดำเนินงานของโรงงานอย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง นอกจากนี้ ขอให้โรงงานพัฒนาชุมชน และสังคมโดยรอบโรงงานต่อไปตามนโยบายซีเอสอาร์
วันนี้ (10 ก.พ.) นายสนธิ คชวัฒน์ อนุกรรมาธิการและเลขนุการคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา เปิดเผยว่า ตามที่หลวงปู่พุทธะอิสระ พระนักเทศน์ชื่อดัง เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) ถนนมาลัยแมน กม.17 ต.ห้วยขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ประกาศขายวัดในราคา 2,000 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบกลิ่นเหม็น และฝุ่นละอองจากการประกอบกิจการอาหารสัตว์ของบริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด เลขที่ 45 หมู่ 11 ต.ห้วยขวาง อ.กำแพงแสน ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันนั้น คณะอนุ กมธ. โดยนางภารดี จงสุขธนามณี ประธานได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ได้แก่ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม อธิบดีกรมอนามัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ผู้ว่าสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครปฐม ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 5 (นครปฐม) อุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ห้วยขวาง กรรมการบริษัทอาร์ที อะกริเทค จำกัด
ทั้งนี้ คณะอนุ กมธ.สิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติ วุฒิสภา มีข้อเสนอแนะดังนี้ คือ 1.กรณีกลิ่นเหม็นรบกวนพระสงฆ์ และประชาชน ถือเป็นกรณีตัวอย่างของการกำกับดูแล ติดตามตรวจสอบของหน่วยงานราชการที่มีต่อโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากโรงงานแห่งนี้ถูกร้องเรียนตั้งแต่ ปี 2554 โดยร้องไปยัง อบต.ห้วยขวาง ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข 2535 และร้องไปยังอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม ซึ่งการสั่งการให้แก้ปัญหาไม่ทันท่วงที จนเกิดการร้องเรียนตามสื่อ ทำให้หน่วยงานราชการทั้งส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่นต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหา ดังนั้น จึงเห็นควรให้ดำเนินการดังนี้
1.1 กรณีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม หากเป็นการตั้งโรงงานที่ไม่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) หรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535 กรมโรงงานอุตสาหกรรมควรมีมาตรการให้โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยง (อีเอสเอ) ห้ครอบคลุมผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่อาศัยโดยรอบด้วย และนำมากำหนดเป็นเงื่อนไขการขออนุญาตประกอบกิจการกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป
1.2 การกำกับดูแล การบังคับใช้กฎหมาย เห็นควรให้เจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ ในส่วนของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เจ้าพนักงานโรงงาน ในส่วนของอุตสาหกรรมจังหวัด และเจ้าพนักงานสาธารณสุขในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันติดตามตรวจสอบ ทั้งกรณีปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น และเหตุเดือดร้อนรำคาญ ตามบทบาท อำนาจ หน้าที่ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพมากที่สุด
1.3 กรณีเกิดเรื่องร้องเรียน หน่วยงานส่วนกลาง ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมอนามัย ต้องบูรณาการการทำงานร่วมกันในการตรวจสอบปัญหาที่แหล่งกำเนิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดการแก้ปัญหาที่แหล่งกำเนิดมลพิษ กรมควบคุมมลพิษต้องตรวจสอบมลพิษในสิ่งแวดล้อม กรมอนามัยต้องตรวจสอบผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ ควรออกปฏิบัติงานพร้อมกันทุกหน่วย เพื่อให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจ และสามารถแก้ปัญหาได้โดยเร็ว
2.เห็นควรให้กรมอนามัย จัดตั้งคณะทำงานจัดทำหลักเกณฑ์การพิจารณาเหตุรำคาญ ตัวชี้วัดเหตุรำคาญ และหลักเกณฑ์ วิธีการตรวจสอบเหตุรำคาญ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข 2535 ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน และจัดทำแนวทาง คู่มือปฏิบัติงาน ตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข 2535 และส่งเสริมความเข้มแข็งการใช้กฎหมายสาธารณสุขให้แก่ท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถบังคับใช้กฎหมาย และนำไปปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ทรงคุณวุฒิ กรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น ร่วมเป็นคณะทำงานด้วย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรให้กองบริหารกฎหมายสาธารณสุข กรมอนามัย เป็นเจ้าภาพดำเนินการตามข้อเสนอดังกล่าว รวมทั้งดำเนินการในข้อ 1.3 ด้วย
3.เห็นควรให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ ในฐานะพนักงานโรงงานและพนักงานควบคุมมลพิษ เข้าไปให้คำแนะนำแก่โรงงานผลิตอาหารสัตว์ บริษัท อาร์ที อะกริเทค จำกัด เนื่องจากมีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหากลิ่นเหม็น โดยได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาทำการออกแบบ และติดตั้งอุปกรณ์เพื่อกำจัดกลิ่นจากกระบวนการผลิต เมื่อดำเนินการแล้วเห็นควรให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม รายงานแผนการกำกับดูแล และติดตามตรวจสอบให้คณะอนุ กมธ.ทราบด้วย
4.เห็นควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการไตรภาคี ประกอบด้วย ผู้ประกอบการโรงงาน ภาคประชาชน ภาคราชการ ร่วมตรวจสอบการดำเนินงานของโรงงานอย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง นอกจากนี้ ขอให้โรงงานพัฒนาชุมชน และสังคมโดยรอบโรงงานต่อไปตามนโยบายซีเอสอาร์