เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีข่าวใหญ่ในวงการพุทธศาสนาลงหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับ และในทันทีที่ข่าวนี้ได้แพร่ออกไป ชาวพุทธทั่วประเทศได้เกิดความประหลาดใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับพระสงฆ์
ข่าวที่ว่านี้ก็คือการปิดป้ายประกาศขายวัดอ้อน้อย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยมีข้อความชัดเจนว่าต้องการขายวัดราคาถูก 2,000 ล้านบาท เพราะทนต่อการที่จะต้องสูดดมกลิ่นเหม็นจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดคนละฟากถนนไม่ไหว
จากการที่ผู้เขียนได้มีโอกาสสอบถามจากหลวงปู่พุทธะอิสระ พระนักเทศน์ชื่อดัง และเป็นนักสังคมสงเคราะห์เป็นที่รู้จักเคารพนับถือของชาวพุทธเป็นอันมาก จึงทราบว่าเหตุที่ต้องประกาศขายวัดในครั้งนี้ ด้วยเหตุที่ว่าได้มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดได้ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนพระสงฆ์ และผู้มาฟังเทศน์ฟังธรรม รวมไปถึงผู้ปฏิบัติธรรม และเด็กนักเรียน เป็นเหตุให้เจ็บป่วยไปแล้วหลายราย
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก่อนที่จะประกาศขายวัดนี้ได้มีการร้องเรียนไปยังส่วนราชการหลายครั้งแต่ไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งทางโรงงานเองก็ได้รับรู้เรื่องนี้ และรับปากว่าจะทำการแก้ไขแต่จนบัดนี้การแก้ไขก็ไม่คืบหน้าแต่ประการใด ยิ่งกว่านี้ ยังมีเสียงออกมาจากฝ่ายโรงงานว่า กลิ่นขนาดนี้น่าจะทนได้ ทำไมจึงไม่มีความอดทน และทำไมจึงทนไม่ได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อข่าวนี้ดังออกไปทางเจ้าหน้าที่จากกรมควบคุมมลพิษได้ออกไปทำการตรวจวัดค่าของกลิ่นปรากฏว่าเกินมาตรฐานที่ราชการกำหนด จึงเป็นการยืนยันได้ว่าที่พระไม่ทนหรือทนแล้วแต่ทนไม่ไหวนั้นได้รับการยืนยันด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แน่นอนแล้ว จึงไม่ควรพูดโดยอาศัยความรู้สึกอีกต่อไป
ดังนั้นจากนี้ไปจึงมีเพียงประการเดียวคือ จะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรเพื่อให้วัดซึ่งเป็นสถานที่อยู่ของภิกษุสงฆ์ และเป็นสถานฝึกอบรมศีลธรรมให้แก่ประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธา รวมไปถึงเด็กในโรงเรียนอีกนับร้อยคนของวัดนี้ และเป็นพวกช่วยเหลือชาวบ้านร้านถิ่น และโรงเรียนอื่นๆ ในละแวกนั้นด้วย
ใครควรจะเข้ามาแก้ไขและป้องกันปัญหานี้ รวมไปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่อชุมชนอื่นในทำนองเดียวกันนี้
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นสภาพปัญหาของวัดอ้อน้อยกับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านที่เคยไปนครปฐมโดยใช้เส้นทางถนนมาลัยแมน ซึ่งแยกจากถนนเพชรเกษมผ่านนครปฐมไปยังสุพรรณบุรี ก็จะเห็นโรงงานอยู่ทางขวามือ และวัดอ้อน้อยอยู่ทางซ้ายมือ โดยที่โรงเจอยู่ด้านหน้าของวัดซึ่งอยู่ใกล้กันมาก และทุกครั้งที่ทำการผลิตและกระแสลมพัดมาทางวัดจะต้องส่งกลิ่นถึงวัดแน่นอน และในทันทีที่ท่านเห็นก็จะเกิดคำถามขึ้นมาทันทีว่า โรงงานในลักษณะนี้ได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งได้อย่างไรในชุมชนที่มีทั้งวัด และโรงเรียนอยู่ใกล้ อย่างน้อย 3 วัด คือ วัดอ้อน้อย วัดสองห้อง และวัดลาดหญ้าไทร และสองโรงเรียนคือ โรงเรียนรางอีเม้ย และโรงเรียนวัดอ้อน้อย เพราะทั้งวัดและโรงเรียนมีอยู่ก่อนโรงงานนี้จะมาสร้าง และเป็นไปไม่ได้ที่ทางผู้เกี่ยวข้อง ทั้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม และ อบต.จะไม่ทราบว่าโรงงานนี้ผลิตอะไร และก่อให้เกิดมลพิษหรือไม่ เพราะเพียงรู้ว่าผลิตอาหารสัตว์ และใช้กระดูกสัตว์ ขนสัตว์เป็นวัตถุดิบก็พอคาดการณ์ได้แล้วว่าจะต้องมีมลพิษแน่นอนทั้งจากกลิ่น ฝุ่น และน้ำเสียอันเกิดจากกระบวนการผลิต เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว อบต.เจ้าของพื้นที่ยอมอนุญาตให้มีการก่อตั้งได้อย่างไร
จริงอยู่ ในการก่อตั้งโรงงานจะต้องขออนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วย่อมก่อสร้างได้ แต่ในการขอใช้พื้นที่ก็ควรจะต้องดูว่าโรงงานใดควรจะก่อตั้ง ณ ที่ใด จึงจะไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน
ถ้าจะบอกว่าในขั้นต้นยังไม่เกิดปัญหา แต่ครั้นมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือ อบต.เจ้าของพื้นที่จะต้องรีบดำเนินการแก้ไข แต่เท่าที่ทราบเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นมาแล้ว 2 ปีเศษ และผู้เดือดร้อนได้ร้องเรียนแล้วแต่ทุกฝ่ายนิ่งไม่ยอมแก้ไข
ส่วนผู้เกี่ยวข้องกับวัดโดยตรงในฐานะผู้คอยดูแล และปกป้องพุทธศาสนาโดยหน้าที่ และความรับผิดชอบคือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าไปสอบถามปัญหาจากวัดผู้เดือดร้อน และทำตนเป็นตัวแทนวัดประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ไขปัญหาให้วัด แทนที่จะปล่อยให้วัดช่วยตัวเอง ดิ้นรนแก้ปัญหาโดยลำพังกลับนิ่งเฉย และที่น่าขำและสังเวชในความคิดของเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็คือ เมื่อข่าวการประกาศขายวัดแพร่ออกไปได้ออกมาให้ข่าวสวนทางกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่ควรจะมีควรจะเป็น โดยหยิบยกเอาเรื่องของทางวัดมาพูด โดยอ้างอิงกฎหมายว่าขายไม่ได้ อันแสดงออกให้เห็นถึงการขาดความรู้ ความเข้าใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องอริยสัจ 4 ที่เน้นให้แก้ที่เหตุ และเหตุของการประกาศขายวัดในครั้งนี้ก็คือทนต่อกลิ่นเหม็นจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ไม่ไหวจึงต้องขายหนี
ดังนั้น ถ้าจะแก้ปัญหานี้ให้สอดคล้องกับหลักอริยสัจ 4 ก็คือ แก้โดยการประสานกับกำจัดกลิ่นจากโรงงาน โดยให้โรงงานติดตั้งเครื่องกรองกลิ่นและฝุ่น รวมไปถึงกำจัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตด้วย และถ้าไม่แก้หรือแก้ไม่ได้ก็ต้องย้ายออกไป ไม่ใช่ให้พระต้องขายวัดหนี
เพราะจะต้องไม่ลืมว่า ผู้ที่จะมารับหน้าที่ดูแล และปกป้องพุทธศาสนา คุณสมบัติประการแรกคือ จะต้องรู้ จะต้องเข้าใจ และยึดถือปฏิบัติตามแนวคำสอนแห่งศาสนาพุทธซึ่งหมายถึงพระธรรม และพระวินัย ตามนัยแห่งพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระอานนท์ว่า “ดูก่อน อานนท์ เมื่อเราตถาคตล่วงไปแล้ว พระธรรมก็ดี พระวินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว จะเป็นศาสดาแทนเรา เมื่อตถาคตล่วงไปแล้ว”
นี่คือคำยืนยันว่า พุทธศาสนาจะต้องได้รับการปกป้องคือคำสอน ส่วนพระสงฆ์ผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็ควรจะได้รับการดูแลและปกป้องจากสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ไปพร้อมๆ กัน แต่เท่าที่ปรากฏ ในบางครั้งองค์กรแห่งนี้ได้ดำเนินการไม่สอดคล้องกับหลัก 2 ประการ โดยเฉพาะในส่วนพระวินัยหรือศีลของภิกษุสงฆ์ ดังในกรณีที่ไปทำโครงการธุดงค์ธรรมชัย ซึ่งขัดแย้งกันระหว่างการถือธุดงค์ซึ่งข้ออนุญาตเที่ยวไปในเมืองซึ่งเป็นสถานที่อโคจรอันเป็นข้อห้าม เป็นต้น
ข่าวที่ว่านี้ก็คือการปิดป้ายประกาศขายวัดอ้อน้อย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยมีข้อความชัดเจนว่าต้องการขายวัดราคาถูก 2,000 ล้านบาท เพราะทนต่อการที่จะต้องสูดดมกลิ่นเหม็นจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดคนละฟากถนนไม่ไหว
จากการที่ผู้เขียนได้มีโอกาสสอบถามจากหลวงปู่พุทธะอิสระ พระนักเทศน์ชื่อดัง และเป็นนักสังคมสงเคราะห์เป็นที่รู้จักเคารพนับถือของชาวพุทธเป็นอันมาก จึงทราบว่าเหตุที่ต้องประกาศขายวัดในครั้งนี้ ด้วยเหตุที่ว่าได้มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับวัดได้ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนพระสงฆ์ และผู้มาฟังเทศน์ฟังธรรม รวมไปถึงผู้ปฏิบัติธรรม และเด็กนักเรียน เป็นเหตุให้เจ็บป่วยไปแล้วหลายราย
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก่อนที่จะประกาศขายวัดนี้ได้มีการร้องเรียนไปยังส่วนราชการหลายครั้งแต่ไม่ได้รับการแก้ไข ทั้งทางโรงงานเองก็ได้รับรู้เรื่องนี้ และรับปากว่าจะทำการแก้ไขแต่จนบัดนี้การแก้ไขก็ไม่คืบหน้าแต่ประการใด ยิ่งกว่านี้ ยังมีเสียงออกมาจากฝ่ายโรงงานว่า กลิ่นขนาดนี้น่าจะทนได้ ทำไมจึงไม่มีความอดทน และทำไมจึงทนไม่ได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อข่าวนี้ดังออกไปทางเจ้าหน้าที่จากกรมควบคุมมลพิษได้ออกไปทำการตรวจวัดค่าของกลิ่นปรากฏว่าเกินมาตรฐานที่ราชการกำหนด จึงเป็นการยืนยันได้ว่าที่พระไม่ทนหรือทนแล้วแต่ทนไม่ไหวนั้นได้รับการยืนยันด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แน่นอนแล้ว จึงไม่ควรพูดโดยอาศัยความรู้สึกอีกต่อไป
ดังนั้นจากนี้ไปจึงมีเพียงประการเดียวคือ จะแก้ไขปัญหานี้อย่างไรเพื่อให้วัดซึ่งเป็นสถานที่อยู่ของภิกษุสงฆ์ และเป็นสถานฝึกอบรมศีลธรรมให้แก่ประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธา รวมไปถึงเด็กในโรงเรียนอีกนับร้อยคนของวัดนี้ และเป็นพวกช่วยเหลือชาวบ้านร้านถิ่น และโรงเรียนอื่นๆ ในละแวกนั้นด้วย
ใครควรจะเข้ามาแก้ไขและป้องกันปัญหานี้ รวมไปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่อชุมชนอื่นในทำนองเดียวกันนี้
เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นสภาพปัญหาของวัดอ้อน้อยกับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผู้เขียนใคร่ขอให้ท่านผู้อ่านที่เคยไปนครปฐมโดยใช้เส้นทางถนนมาลัยแมน ซึ่งแยกจากถนนเพชรเกษมผ่านนครปฐมไปยังสุพรรณบุรี ก็จะเห็นโรงงานอยู่ทางขวามือ และวัดอ้อน้อยอยู่ทางซ้ายมือ โดยที่โรงเจอยู่ด้านหน้าของวัดซึ่งอยู่ใกล้กันมาก และทุกครั้งที่ทำการผลิตและกระแสลมพัดมาทางวัดจะต้องส่งกลิ่นถึงวัดแน่นอน และในทันทีที่ท่านเห็นก็จะเกิดคำถามขึ้นมาทันทีว่า โรงงานในลักษณะนี้ได้รับอนุญาตให้ก่อตั้งได้อย่างไรในชุมชนที่มีทั้งวัด และโรงเรียนอยู่ใกล้ อย่างน้อย 3 วัด คือ วัดอ้อน้อย วัดสองห้อง และวัดลาดหญ้าไทร และสองโรงเรียนคือ โรงเรียนรางอีเม้ย และโรงเรียนวัดอ้อน้อย เพราะทั้งวัดและโรงเรียนมีอยู่ก่อนโรงงานนี้จะมาสร้าง และเป็นไปไม่ได้ที่ทางผู้เกี่ยวข้อง ทั้งกรมโรงงานอุตสาหกรรม และ อบต.จะไม่ทราบว่าโรงงานนี้ผลิตอะไร และก่อให้เกิดมลพิษหรือไม่ เพราะเพียงรู้ว่าผลิตอาหารสัตว์ และใช้กระดูกสัตว์ ขนสัตว์เป็นวัตถุดิบก็พอคาดการณ์ได้แล้วว่าจะต้องมีมลพิษแน่นอนทั้งจากกลิ่น ฝุ่น และน้ำเสียอันเกิดจากกระบวนการผลิต เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว อบต.เจ้าของพื้นที่ยอมอนุญาตให้มีการก่อตั้งได้อย่างไร
จริงอยู่ ในการก่อตั้งโรงงานจะต้องขออนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วย่อมก่อสร้างได้ แต่ในการขอใช้พื้นที่ก็ควรจะต้องดูว่าโรงงานใดควรจะก่อตั้ง ณ ที่ใด จึงจะไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน
ถ้าจะบอกว่าในขั้นต้นยังไม่เกิดปัญหา แต่ครั้นมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่ากรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือ อบต.เจ้าของพื้นที่จะต้องรีบดำเนินการแก้ไข แต่เท่าที่ทราบเรื่องนี้ได้เกิดขึ้นมาแล้ว 2 ปีเศษ และผู้เดือดร้อนได้ร้องเรียนแล้วแต่ทุกฝ่ายนิ่งไม่ยอมแก้ไข
ส่วนผู้เกี่ยวข้องกับวัดโดยตรงในฐานะผู้คอยดูแล และปกป้องพุทธศาสนาโดยหน้าที่ และความรับผิดชอบคือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าไปสอบถามปัญหาจากวัดผู้เดือดร้อน และทำตนเป็นตัวแทนวัดประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ไขปัญหาให้วัด แทนที่จะปล่อยให้วัดช่วยตัวเอง ดิ้นรนแก้ปัญหาโดยลำพังกลับนิ่งเฉย และที่น่าขำและสังเวชในความคิดของเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็คือ เมื่อข่าวการประกาศขายวัดแพร่ออกไปได้ออกมาให้ข่าวสวนทางกับหน้าที่และความรับผิดชอบที่ควรจะมีควรจะเป็น โดยหยิบยกเอาเรื่องของทางวัดมาพูด โดยอ้างอิงกฎหมายว่าขายไม่ได้ อันแสดงออกให้เห็นถึงการขาดความรู้ ความเข้าใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องอริยสัจ 4 ที่เน้นให้แก้ที่เหตุ และเหตุของการประกาศขายวัดในครั้งนี้ก็คือทนต่อกลิ่นเหม็นจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ไม่ไหวจึงต้องขายหนี
ดังนั้น ถ้าจะแก้ปัญหานี้ให้สอดคล้องกับหลักอริยสัจ 4 ก็คือ แก้โดยการประสานกับกำจัดกลิ่นจากโรงงาน โดยให้โรงงานติดตั้งเครื่องกรองกลิ่นและฝุ่น รวมไปถึงกำจัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตด้วย และถ้าไม่แก้หรือแก้ไม่ได้ก็ต้องย้ายออกไป ไม่ใช่ให้พระต้องขายวัดหนี
เพราะจะต้องไม่ลืมว่า ผู้ที่จะมารับหน้าที่ดูแล และปกป้องพุทธศาสนา คุณสมบัติประการแรกคือ จะต้องรู้ จะต้องเข้าใจ และยึดถือปฏิบัติตามแนวคำสอนแห่งศาสนาพุทธซึ่งหมายถึงพระธรรม และพระวินัย ตามนัยแห่งพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระอานนท์ว่า “ดูก่อน อานนท์ เมื่อเราตถาคตล่วงไปแล้ว พระธรรมก็ดี พระวินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว จะเป็นศาสดาแทนเรา เมื่อตถาคตล่วงไปแล้ว”
นี่คือคำยืนยันว่า พุทธศาสนาจะต้องได้รับการปกป้องคือคำสอน ส่วนพระสงฆ์ผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็ควรจะได้รับการดูแลและปกป้องจากสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ไปพร้อมๆ กัน แต่เท่าที่ปรากฏ ในบางครั้งองค์กรแห่งนี้ได้ดำเนินการไม่สอดคล้องกับหลัก 2 ประการ โดยเฉพาะในส่วนพระวินัยหรือศีลของภิกษุสงฆ์ ดังในกรณีที่ไปทำโครงการธุดงค์ธรรมชัย ซึ่งขัดแย้งกันระหว่างการถือธุดงค์ซึ่งข้ออนุญาตเที่ยวไปในเมืองซึ่งเป็นสถานที่อโคจรอันเป็นข้อห้าม เป็นต้น