กระบี่ - กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ 6 จังหวัดฝั่งอันดามัน เผยชายฝั่งตำบลศาลาด่าน อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ถูกกัดเซาะมากสุด รองลงมาคือ แหลมปะการัง-บ้านหลาโอน จ.พังงา และหาดปากเม็ง จ.ตรัง
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (5 ก.พ.) ที่ห้องประชุมปกาสัย ศาลากลางจังหวัดกระบี่ นางสุกาญจนวดี มณีรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ดินชายฝั่งทะเล สำนักการจัดการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและพื้นที่ชายฝั่งทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นประธานในการเปิดโครงกาจัดทำแผนหลัก และแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ครั้งที่ 2 เพื่อประเมินสถานภาพ และแนวโน้มการกัดเซาะและการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลอันดามันอย่างเป็นระบบ จากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อหาทางป้องกันและแก้ในพื้นที่วิกฤต 6 พื้นที่ คือ กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐ ผู้แทนองค์กรเอกชนในพื้นที่ศึกษา ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมประชุม
นายวุฒิชัย เจนงาน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการทรัพยากรทางทะเล กล่าวว่า ปัญหากัดเซาะชายฝั่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ภาวะเรือนกระจกทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น คลื่นลมแรง ประกอบกับกิจกรรมที่มนุษย์ทำขึ้นทำให้เกิดผลกรทบต่อชายฝั่ง เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อยในระดับจังหวัด รวมทั้งข้อมูลจากการสำรวจในช่วงปี 2554 ถึงเดือนกันยายน 2555 พบว่า พื้นที่แนวชายฝั่งทะเลอันดามัน ความยาว 1,093 กิโลเมตร ซึ่งประกอบไปด้วย จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 57 พื้นที่
แยกออกเป็นชายฝั่งบริเวณแผ่นดินใหญ่ 45 พื้นที่ และบริเวณเกาะต่างๆ 12 พื้นที่ โดยพบว่าพื้นที่ที่วิกฤตเสี่ยงภัยระดับรุนแรงมากที่สุด 3 อันดับ คือ อันดับแรก พื้นที่ชายฝั่งตำบลศาลาด่าน อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ อัตราการกัดเซาะ 5 เมตรต่อปี อันดับที่ 2 คือพื้นที่แหลมปะการัง-บ้านหลาโอน ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา และหาดปากเม็ง ต.ไม้ฝาด อสิเกา จ.ตรัง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นพื้นที่สำคัญระดับประเทศ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ ตลอดจนเป็นพื้นที่ชุมชน และทรัพยากรที่มีคุณค่าในเชิงท่องเที่ยว
สำหรับแนวทางการในการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นนั้น คือ จะต้องมีการก่อสร้างแนวป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของการกัดเซาะ โดยทางคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านหลักเกณฑ์พิจารณาแนวทางของโครงสร้างอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อพื้นที่โครงการ หรือกระทบน้อยที่สุด เช่น การใช้วัสดุที่มีความคงทน และดูดซับพลังงานคลื่นได้ดี และต้องเป็นวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ ค่าบำรุงรักษาต่ำ และที่สำคัญต้องเป็นที่ยอมรับของชุมชนในท้องถิ่นด้วย
เมื่อเวลา 09.30 น.วันนี้ (5 ก.พ.) ที่ห้องประชุมปกาสัย ศาลากลางจังหวัดกระบี่ นางสุกาญจนวดี มณีรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ดินชายฝั่งทะเล สำนักการจัดการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลและพื้นที่ชายฝั่งทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นประธานในการเปิดโครงกาจัดทำแผนหลัก และแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ครั้งที่ 2 เพื่อประเมินสถานภาพ และแนวโน้มการกัดเซาะและการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลอันดามันอย่างเป็นระบบ จากอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อหาทางป้องกันและแก้ในพื้นที่วิกฤต 6 พื้นที่ คือ กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐ ผู้แทนองค์กรเอกชนในพื้นที่ศึกษา ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมประชุม
นายวุฒิชัย เจนงาน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการทรัพยากรทางทะเล กล่าวว่า ปัญหากัดเซาะชายฝั่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ภาวะเรือนกระจกทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น คลื่นลมแรง ประกอบกับกิจกรรมที่มนุษย์ทำขึ้นทำให้เกิดผลกรทบต่อชายฝั่ง เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งโดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และข้อมูลจากการประชุมกลุ่มย่อยในระดับจังหวัด รวมทั้งข้อมูลจากการสำรวจในช่วงปี 2554 ถึงเดือนกันยายน 2555 พบว่า พื้นที่แนวชายฝั่งทะเลอันดามัน ความยาว 1,093 กิโลเมตร ซึ่งประกอบไปด้วย จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จำนวน 57 พื้นที่
แยกออกเป็นชายฝั่งบริเวณแผ่นดินใหญ่ 45 พื้นที่ และบริเวณเกาะต่างๆ 12 พื้นที่ โดยพบว่าพื้นที่ที่วิกฤตเสี่ยงภัยระดับรุนแรงมากที่สุด 3 อันดับ คือ อันดับแรก พื้นที่ชายฝั่งตำบลศาลาด่าน อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ อัตราการกัดเซาะ 5 เมตรต่อปี อันดับที่ 2 คือพื้นที่แหลมปะการัง-บ้านหลาโอน ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา และหาดปากเม็ง ต.ไม้ฝาด อสิเกา จ.ตรัง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นพื้นที่สำคัญระดับประเทศ และเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ ตลอดจนเป็นพื้นที่ชุมชน และทรัพยากรที่มีคุณค่าในเชิงท่องเที่ยว
สำหรับแนวทางการในการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นนั้น คือ จะต้องมีการก่อสร้างแนวป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของการกัดเซาะ โดยทางคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านหลักเกณฑ์พิจารณาแนวทางของโครงสร้างอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อพื้นที่โครงการ หรือกระทบน้อยที่สุด เช่น การใช้วัสดุที่มีความคงทน และดูดซับพลังงานคลื่นได้ดี และต้องเป็นวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ ค่าบำรุงรักษาต่ำ และที่สำคัญต้องเป็นที่ยอมรับของชุมชนในท้องถิ่นด้วย