ตรัง - ผู้เชี่ยวชาญกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ห่วงปัญหากัดเซาะอันดามัน โดยเฉพาะ 3 จุดรุนแรงที่ชายฝั่งศาลาด่าน จ.กระบี่ แหลมปะการัง-บ้านหลาโอน จ.พังงา และหาดปากเมง จ.ตรัง
นายวุฒิชัย เจนงาน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการทรัพยากรทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า พื้นที่แนวชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันตก หรือทะเลอันดามันที่มีความยาว 1,093 กิโลเมตร ซึ่งประกอบไปด้วย จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล นั้น ล่าสุด ได้ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งไปแล้ว จำนวน 57 พื้นที่ แยกออกเป็นชายฝั่งบริเวณแผ่นดินใหญ่ จำนวน 45 พื้นที่ และบริเวณเกาะต่างๆ อีกจำนวน 12 พื้นที่
โดยพบว่า พื้นที่ที่วิกฤตเสี่ยงภัยระดับรุนแรงมากที่สุด 3 อันดับ ซึ่งอันดับแรก คือ ชายฝั่งตำบลศาลาด่าน อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ มีอัตราการกัดเซาะ 5 เมตรต่อปี อันดับที่ 2 คือ แหลมปะการัง-บ้านหลาโอน ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา และอันดับ 3 คือ หาดปากเมง ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง โดยบริเวณดังกล่าวจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นพื้นที่สำคัญระดับประเทศ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ ตลอดจนเป็นพื้นที่ชุมชน และทรัพยากรที่มีคุณค่าในเชิงท่องเที่ยว
สำหรับแนวทางการในการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นนั้น จะต้องมีการก่อสร้างแนวป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของการกัดเซาะ โดยทางคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านหลักเกณฑ์พิจารณาแนวทางของโครงสร้าง กำลังอยู่ระหว่างศึกษาแนวทาง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อพื้นที่โครงการ หรือกระทบน้อยที่สุด เช่น การใช้วัสดุที่มีความคงทน และดูดซับพลังงานคลื่นได้ดี อีกทั้งยังต้องเป็นวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ และมีค่าบำรุงรักษาต่ำ ที่สำคัญก็คือ ต้องเป็นที่ยอมรับของชุมชนในท้องถิ่นด้วย
นายวุฒิชัย เจนงาน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจัดการทรัพยากรทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า พื้นที่แนวชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันตก หรือทะเลอันดามันที่มีความยาว 1,093 กิโลเมตร ซึ่งประกอบไปด้วย จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล นั้น ล่าสุด ได้ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งไปแล้ว จำนวน 57 พื้นที่ แยกออกเป็นชายฝั่งบริเวณแผ่นดินใหญ่ จำนวน 45 พื้นที่ และบริเวณเกาะต่างๆ อีกจำนวน 12 พื้นที่
โดยพบว่า พื้นที่ที่วิกฤตเสี่ยงภัยระดับรุนแรงมากที่สุด 3 อันดับ ซึ่งอันดับแรก คือ ชายฝั่งตำบลศาลาด่าน อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ มีอัตราการกัดเซาะ 5 เมตรต่อปี อันดับที่ 2 คือ แหลมปะการัง-บ้านหลาโอน ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา และอันดับ 3 คือ หาดปากเมง ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง โดยบริเวณดังกล่าวจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพราะเป็นพื้นที่สำคัญระดับประเทศ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ ตลอดจนเป็นพื้นที่ชุมชน และทรัพยากรที่มีคุณค่าในเชิงท่องเที่ยว
สำหรับแนวทางการในการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นนั้น จะต้องมีการก่อสร้างแนวป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของการกัดเซาะ โดยทางคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านหลักเกณฑ์พิจารณาแนวทางของโครงสร้าง กำลังอยู่ระหว่างศึกษาแนวทาง เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อพื้นที่โครงการ หรือกระทบน้อยที่สุด เช่น การใช้วัสดุที่มีความคงทน และดูดซับพลังงานคลื่นได้ดี อีกทั้งยังต้องเป็นวัสดุที่หาได้ในพื้นที่ และมีค่าบำรุงรักษาต่ำ ที่สำคัญก็คือ ต้องเป็นที่ยอมรับของชุมชนในท้องถิ่นด้วย