ตรัง -กลุ่มชาวโรฮิงญาซึ่งพักพิงอยู่ในบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตรังเริ่มสร้างเงื่อนไข และไม่ยอมปฎิบัติตามกฎ จนเจ้าหน้าที่เกิดอาการเครียดเพราะไม่รู้ว่าต้องดูแลอีกนานแค่ไหน
วันนี้ (1 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตรัง ซึ่งตั้งอยู่บนถนนโคกขัน ต.ทับเที่ยง ในเขตเทศบาลนครตรัง เพื่อติดตามสภาพความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงญา ทั้งชาย และหญิง จำนวน 13 คน โดยเป็นเด็กและเยาวชน อายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 12 คน และเป็นผู้หญิง อายุ 40 ปีอีก 1 คน ซึ่งทั้งหมดได้ถูกส่งตัวมาจากบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระยะเวลานานกว่าครึ่งเดือนแล้ว เพื่อให้ช่วยเหลือดูแลทั้งในเรื่องของอาหารการกิน และเรื่องที่พัก
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตรังมีสถานที่ค่อนข้างคับแคบ และที่ผ่านมา ก็เคยรองรับผู้ที่ประสบปัญหาสูงสุดจำนวนแค่ไม่กี่คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทย และประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว ขณะที่เจ้าหน้าที่ก็มีจำนวนจำกัด และมีเจ้าหน้าที่ผู้ชายเพียงคนเดียวเท่านั้น จึงประสบปัญหาในเรื่องของการพยายามจัดระบบ เพราะในช่วงหลังมานี้ ชาวโรฮิงญาที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ได้พยายามสร้างเงื่อนไขและไม่ค่อยยอมปฎิบัติตามกฎ โดยมักจะทำอะไรตามใจของตนเอง และใช้งานเด็กเล็กๆ ในแทบทุกเรื่อง
ทั้งนี้ ในช่วงแรกชาวโรฮิงญากลุ่มนี้จะให้ความร่วมมือกับทางบ้านพักเด็ก ทั้งการปรุงอาหาร การล้างจาน หรือการทำความสะอาด แต่ขณะนี้ บางคนจะไม่ยอมทำอะไรเลย นอกจากลงมากินข้าว และของว่างแล้วกลับไปนอนในห้องพัก ทำให้ภาระทั้งหมดต้องตกอยู่กับทางเจ้าหน้าที่ เพราะต้องจัดอาหารให้กินวันละ 3 มื้อ รวมทั้งของว่างอีก 2 มื้อ ตลอดจนเก็บกวาดสถานที่ และควบคุมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง จนส่งผลให้เจ้าหน้าที่บางคนเริ่มมีอาการเครียดเกิดขึ้น และจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องแบกรับภาระต่อไปอีกนานแค่ไหน
วันนี้ (1 ก.พ.) ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตรัง ซึ่งตั้งอยู่บนถนนโคกขัน ต.ทับเที่ยง ในเขตเทศบาลนครตรัง เพื่อติดตามสภาพความเป็นอยู่ของชาวโรฮิงญา ทั้งชาย และหญิง จำนวน 13 คน โดยเป็นเด็กและเยาวชน อายุต่ำกว่า 18 ปี จำนวน 12 คน และเป็นผู้หญิง อายุ 40 ปีอีก 1 คน ซึ่งทั้งหมดได้ถูกส่งตัวมาจากบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดสงขลา ตั้งแต่วันที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระยะเวลานานกว่าครึ่งเดือนแล้ว เพื่อให้ช่วยเหลือดูแลทั้งในเรื่องของอาหารการกิน และเรื่องที่พัก
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดตรังมีสถานที่ค่อนข้างคับแคบ และที่ผ่านมา ก็เคยรองรับผู้ที่ประสบปัญหาสูงสุดจำนวนแค่ไม่กี่คน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทย และประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว ขณะที่เจ้าหน้าที่ก็มีจำนวนจำกัด และมีเจ้าหน้าที่ผู้ชายเพียงคนเดียวเท่านั้น จึงประสบปัญหาในเรื่องของการพยายามจัดระบบ เพราะในช่วงหลังมานี้ ชาวโรฮิงญาที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ได้พยายามสร้างเงื่อนไขและไม่ค่อยยอมปฎิบัติตามกฎ โดยมักจะทำอะไรตามใจของตนเอง และใช้งานเด็กเล็กๆ ในแทบทุกเรื่อง
ทั้งนี้ ในช่วงแรกชาวโรฮิงญากลุ่มนี้จะให้ความร่วมมือกับทางบ้านพักเด็ก ทั้งการปรุงอาหาร การล้างจาน หรือการทำความสะอาด แต่ขณะนี้ บางคนจะไม่ยอมทำอะไรเลย นอกจากลงมากินข้าว และของว่างแล้วกลับไปนอนในห้องพัก ทำให้ภาระทั้งหมดต้องตกอยู่กับทางเจ้าหน้าที่ เพราะต้องจัดอาหารให้กินวันละ 3 มื้อ รวมทั้งของว่างอีก 2 มื้อ ตลอดจนเก็บกวาดสถานที่ และควบคุมดูแลตลอด 24 ชั่วโมง จนส่งผลให้เจ้าหน้าที่บางคนเริ่มมีอาการเครียดเกิดขึ้น และจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องแบกรับภาระต่อไปอีกนานแค่ไหน