ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - กลุ่มสตรีมุสลิม จังหวัดชายแดนภาคใต้ เผยถูกกดขี่ เข้าไม่ถึงองค์ความรู้ เรียกร้องให้คณะกรรมการอิสลาม และหน่วยงานของรัฐยกระดับสตรี เพื่อร่วมแก้ปัญหาความรุนแรงในสังคม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการวิสามัญศึกษาและติดตามการแก้ไขปัญหา และการฟื้นฟูการพัฒนาตามวิถีวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา ร่วมกับคณะอนุกรรมการ การติดตามการพัฒนาสุขภาวะของชุมชน คุณภาพชีวิต การบริการสาธารณสุข และสถานภาพสตรี ณ จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยมี รศ.ทัศนา บุญทอง ประธานอนุกรรมการ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนสตรี ตัวแทนชุมชน และประธานกรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมสัมมนา เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การเข้าถึงกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สถานภาพ และสตรีกับการแก้ปัญหายาเสพติด บทบาทของคณะกรรมการอิสลามกับการพัฒนาสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งตัวแทนของสตรีใน จ.ยะลา เปิดเผยว่า สตรีมุสลิมส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจ เข้าไม่ถึงองค์ความรู้ ทำหน้าที่ไปตามแต่ที่สามีจะสั่ง และถูกครอบงำจากความเชื่อในเรื่องศาสนา และถูกครอบงำจากสังคม ถูกกระทำรุนแรงโดยไม่รู้ทางออก ผู้ชายซึ่งเป็นผู้นำครอบครัวส่วนหนึ่งไม่ใส่ใจในหน้าที่ของผู้นำ ปล่อยให้ผู้หญิงรับผิดชอบในการหาเลี้ยงครอบครัว ผู้หญิงมีหน้าที่ตัดยาง ปลูกมัน ทำสวน ทำทุกอย่างได้เพื่อเลี้ยงครอบครัว
แต่ไม่สามารถมีปากมีเสียงเท่าเทียมกับผู้ชาย ไม่สามารถทำหน้าที่ในการเป็นผู้นำในการบริหารท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มผู้หญิงที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้อง จะถูกมองว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และมักจะมองว่าผู้หญิงเป็นผู้นำไม่ได้ ทั้งที่ การดูแลครอบครัวเป็นหน้าที่ผู้หญิงเกือบทั้งหมด จึงอยากให้หน่วยของต่างๆ รวมทั้งกรรมการอิสลามให้ความสำคัญในเรื่อง บทบาทหน้าที่ของผู้หญิง ให้ผู้หญิงเข้าถึงองค์ความรู้ และสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำสังคมได้เช่นเดียวกับผู้ชาย กรรมการอิสลามต้องให้ความชัดเจนในเรื่องบทบาทหน้าที่ว่ามีขอบเขตตรงไหนอย่างไร
ในขณะที่ตัวแทนสตรีจาก จ.ปัตตานี กล่าวว่า ปัจจุบัน สตรีในพื้นที่ 3 จังหวัดได้รับความรุนแรงเพิ่มขึ้น มีการหย่าร้างมากขึ้น เนื่องจากสังคมสิ่งแวดล้อมที่เป็นภัยเป็นแรงยั่วยุให้วัยรุ่นได้เสียกันตั้งแต่อายุน้อย และถูกผู้ใหญ่จับให้แต่งงานกันเพื่อเป็นการแก้ปัญหา อยู่กันไม่ทันไรก็แยกทางกัน ปล่อยให้เด็กที่เกิดมาเป็นภาระสังคม มีการแต่งงานข้ามศาสนามากขึ้น และอยู่กันไม่ได้เพราะมีเพียงความรัก แต่ไม่มีความรู้ อยู่กันระยะหนึ่งก็แยกทางกัน กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการหย่าร้าง
นอกจากนั้น การที่มีกำลังทหารจากภาคอื่นๆ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการได้เสียกับสตรีในพื้นที่ แต่เมื่อทหารย้ายกลับไปก็ทิ้งภรรยาไว้ หรือพาภรรยากลับไปอยู่ในภูมิลำเนาของฝ่ายชาย แต่เพราะวัฒนธรรมต่างกันจึงอยู่กันไม่ยืด จนกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นทุกวัน
ในขณะที่ตัวแทนสตรีหลายกลุ่มต่างสะท้อนถึงความยุ่งยากในการเข้าถึงกองทุนพัฒนาสตรี ที่มีกระบวนการที่เข้มงวด และหลายขั้นตอน จนไม่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีตามที่ต้องการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการวิสามัญศึกษาและติดตามการแก้ไขปัญหา และการฟื้นฟูการพัฒนาตามวิถีวัฒนธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ วุฒิสภา ร่วมกับคณะอนุกรรมการ การติดตามการพัฒนาสุขภาวะของชุมชน คุณภาพชีวิต การบริการสาธารณสุข และสถานภาพสตรี ณ จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยมี รศ.ทัศนา บุญทอง ประธานอนุกรรมการ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนสตรี ตัวแทนชุมชน และประธานกรรมการอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมสัมมนา เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การเข้าถึงกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี สถานภาพ และสตรีกับการแก้ปัญหายาเสพติด บทบาทของคณะกรรมการอิสลามกับการพัฒนาสตรีในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ซึ่งตัวแทนของสตรีใน จ.ยะลา เปิดเผยว่า สตรีมุสลิมส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจ เข้าไม่ถึงองค์ความรู้ ทำหน้าที่ไปตามแต่ที่สามีจะสั่ง และถูกครอบงำจากความเชื่อในเรื่องศาสนา และถูกครอบงำจากสังคม ถูกกระทำรุนแรงโดยไม่รู้ทางออก ผู้ชายซึ่งเป็นผู้นำครอบครัวส่วนหนึ่งไม่ใส่ใจในหน้าที่ของผู้นำ ปล่อยให้ผู้หญิงรับผิดชอบในการหาเลี้ยงครอบครัว ผู้หญิงมีหน้าที่ตัดยาง ปลูกมัน ทำสวน ทำทุกอย่างได้เพื่อเลี้ยงครอบครัว
แต่ไม่สามารถมีปากมีเสียงเท่าเทียมกับผู้ชาย ไม่สามารถทำหน้าที่ในการเป็นผู้นำในการบริหารท้องถิ่น ซึ่งกลุ่มผู้หญิงที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้อง จะถูกมองว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และมักจะมองว่าผู้หญิงเป็นผู้นำไม่ได้ ทั้งที่ การดูแลครอบครัวเป็นหน้าที่ผู้หญิงเกือบทั้งหมด จึงอยากให้หน่วยของต่างๆ รวมทั้งกรรมการอิสลามให้ความสำคัญในเรื่อง บทบาทหน้าที่ของผู้หญิง ให้ผู้หญิงเข้าถึงองค์ความรู้ และสามารถทำหน้าที่เป็นผู้นำสังคมได้เช่นเดียวกับผู้ชาย กรรมการอิสลามต้องให้ความชัดเจนในเรื่องบทบาทหน้าที่ว่ามีขอบเขตตรงไหนอย่างไร
ในขณะที่ตัวแทนสตรีจาก จ.ปัตตานี กล่าวว่า ปัจจุบัน สตรีในพื้นที่ 3 จังหวัดได้รับความรุนแรงเพิ่มขึ้น มีการหย่าร้างมากขึ้น เนื่องจากสังคมสิ่งแวดล้อมที่เป็นภัยเป็นแรงยั่วยุให้วัยรุ่นได้เสียกันตั้งแต่อายุน้อย และถูกผู้ใหญ่จับให้แต่งงานกันเพื่อเป็นการแก้ปัญหา อยู่กันไม่ทันไรก็แยกทางกัน ปล่อยให้เด็กที่เกิดมาเป็นภาระสังคม มีการแต่งงานข้ามศาสนามากขึ้น และอยู่กันไม่ได้เพราะมีเพียงความรัก แต่ไม่มีความรู้ อยู่กันระยะหนึ่งก็แยกทางกัน กลายเป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการหย่าร้าง
นอกจากนั้น การที่มีกำลังทหารจากภาคอื่นๆ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการได้เสียกับสตรีในพื้นที่ แต่เมื่อทหารย้ายกลับไปก็ทิ้งภรรยาไว้ หรือพาภรรยากลับไปอยู่ในภูมิลำเนาของฝ่ายชาย แต่เพราะวัฒนธรรมต่างกันจึงอยู่กันไม่ยืด จนกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นทุกวัน
ในขณะที่ตัวแทนสตรีหลายกลุ่มต่างสะท้อนถึงความยุ่งยากในการเข้าถึงกองทุนพัฒนาสตรี ที่มีกระบวนการที่เข้มงวด และหลายขั้นตอน จนไม่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีตามที่ต้องการ