ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - รศ.ดร.ปณิธาน แนะทางออกการแก้ปัญหาโรฮิงญา ต้องร่วมกับกลุ่มประเทศอาเซียน อินเดีย บังกลาเทศ เพื่อหาทางออกร่วมกัน ไทยต้องเร่งปราบขบวนการค้ามนุษย์สกัดชาวโรฮิงยาทะลักเข้าไทย ติงไทยไม่มีสถานะรับโรฮิงญา เหตุไทยไมได้เป็นภาคีสหประชาชาติผู้ลี้ภัย
วันนี้ (19 ม.ค.) รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ทรงคุณวุฒของไทยประจำอาเซียน กล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาชาวโรฮิงญาเกือบ 900 คน ในระหว่างที่เดินทางไปบรรยายพิเศษที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ว่า มีการพิสูจน์ทราบแล้วว่า ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีเข้ามาเชื่อมโยงกับขบวนการค้าแรงงาน และการค้ามนุษย์ ซึ่งในทางกฎหมายต้องจับกุม ขณะที่สหประชาชาติ และสหรัฐอเมริกาได้ออกรายงานเรื่องผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย และการค้ามนุษย์ของไทย โดยไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่สองมา 2 ปี หากถูกจัดอยู่ในกลุ่มสุดท้ายก็จะส่งผลกระทบทั้งด้านการค้า และความสัมพันธ์ เพียงแต่ยึดหลักมนุษยธรรม
โดยแนวทางการแก้ปัญหาจะต้องมีการเร่งปราบปรามการค้ามนุษย์ และสกัดกั้นไม่ให้ชาวโรฮิงญาลักลอบเข้ามาอีก เนื่องจากยังมีแนวโน้มที่ชาวโรฮิงญายังคงทะลักเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง และเด็กจากปัญหาการสู้รบในรัฐยะไข่ และความขัดแย้งระหว่างพุทธกับมุสลิม แม้ว่าปลายทางจะลี้ภัยไปยังมาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่ก็ต้องผ่านไทย แต่ไทยไม่มีสถานภาพที่จะรับชาวโรฮิงญาในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองได้ เพราะไม่ได้เป็นภาคีของสหประชาชาติในเรื่องผู้ลี้ภัย เพียงแต่ยึดหลักมนุษยธรรมการช่วยเหลือในเบื้องต้นเท่านั้น ที่สำคัญ ไทยจะต้องยืนยันให้ชัดเจนว่าชาวโรฮิงญาเหล่านี้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และอยู่ในสถานภาพที่ต้องส่งกลับ
รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวว่า ปัญหาขณะนี้คือ การส่งกลับเนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับการเมือง และศาสนา หากส่งกลับไปแล้วชาวโรฮิงญาได้รับอันตรายก็จะถูกมองในแง่ลบ และถูกต่อต้านจากองค์กรต่างๆ ในทางตรงกันข้าม หากไทยไม่สามารถผลักดันไปอยู่ในประเทศที่สามได้ และไม่สามารถสกัดกั้นกลุ่มใหม่ๆ ที่จะเข้ามาได้เพราะทราบว่าได้รับการดูแลจากไทยเป็นอย่างดี ชาวโรฮิงญาก็จะยิ่งลักลอบเข้ามามากขึ้น
ที่สำคัญ เรื่องนี้รัฐบาลยืนยันแล้วว่า จะปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรมแต่ก็ต้องส่งกลับ ทางออกคือ ไทยจะต้องหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นต้นตอของปัญหา โดยเฉพาะมาเลเซีย อินโดนีเซีย และพม่า ซึ่งที่ผ่านมา เคยมีการประสานงานผ่านอาเซียน และมีการประชุมกันที่บาหลี รวมถึงจะต้องคุยกับอินเดีย และบังกลาเทศด้วย เพื่อเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหา แต่ขณะนี้จะต้องสกัดกั้นไม่ให้มีกลุ่มผู้อพยพชาวโรฮิงญาเข้ามาเพิ่มขึ้น
ส่วนที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง อ.สะเดา จ.สงขลา สมาคมจันทร์เสี้ยว นำทีมแพทย์มุสิลม พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จาก จ.สงขลา และ จ.ยะลา กว่า 30 คน มาตรวจสุขภาพ และตรวจร่างกายชาวโรฮิงญาตามหลักวิถีอิสลาม และมนุษยธรรม ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ด่านกักตรวจคนเข้าเมือง อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ประมาณ 200 คน โดยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรคทั่วไป ทั้งโรคผิวหนัง โรคขาดน้ำ โรคกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง และภาวะเครียดจากการถูกกักตัวเป็นเวลานาน แต่ยังไม่พบว่ามีเชื้อโรคติดต่อร้ายแรง เช่น มาลาเรีย อหิวาต์ หรือไข้กาฬหลังแอ่นแต่อย่างใด สำหรับการช่วยเหลือชาวโรฮิงญาในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วย หรือพบว่ามีเชื้อโรคติดต่อร้ายแรงก็จะประสานโรงพยาบาลในพื้นที่เพื่อแยกตัวไปรักษา และควบคุมโรค นอกจากนี้ ทางหน่วยงานภาคเอกชนได้ยกทีมช่างตัดผมมาบริการตัดผมให้แก่ชาวโรฮิงญาเพื่อความสะอาด รวมทั้งได้นำเครื่องยังชีพทั้งอาหาร และน้ำดื่มมามอบให้ด้วย
วันนี้ (19 ม.ค.) รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร จากภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญ-ผู้ทรงคุณวุฒของไทยประจำอาเซียน กล่าวถึงแนวทางแก้ปัญหาชาวโรฮิงญาเกือบ 900 คน ในระหว่างที่เดินทางไปบรรยายพิเศษที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ว่า มีการพิสูจน์ทราบแล้วว่า ชาวโรฮิงญาที่หลบหนีเข้ามาเชื่อมโยงกับขบวนการค้าแรงงาน และการค้ามนุษย์ ซึ่งในทางกฎหมายต้องจับกุม ขณะที่สหประชาชาติ และสหรัฐอเมริกาได้ออกรายงานเรื่องผู้อพยพหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฏหมาย และการค้ามนุษย์ของไทย โดยไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่สองมา 2 ปี หากถูกจัดอยู่ในกลุ่มสุดท้ายก็จะส่งผลกระทบทั้งด้านการค้า และความสัมพันธ์ เพียงแต่ยึดหลักมนุษยธรรม
โดยแนวทางการแก้ปัญหาจะต้องมีการเร่งปราบปรามการค้ามนุษย์ และสกัดกั้นไม่ให้ชาวโรฮิงญาลักลอบเข้ามาอีก เนื่องจากยังมีแนวโน้มที่ชาวโรฮิงญายังคงทะลักเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง และเด็กจากปัญหาการสู้รบในรัฐยะไข่ และความขัดแย้งระหว่างพุทธกับมุสลิม แม้ว่าปลายทางจะลี้ภัยไปยังมาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่ก็ต้องผ่านไทย แต่ไทยไม่มีสถานภาพที่จะรับชาวโรฮิงญาในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมืองได้ เพราะไม่ได้เป็นภาคีของสหประชาชาติในเรื่องผู้ลี้ภัย เพียงแต่ยึดหลักมนุษยธรรมการช่วยเหลือในเบื้องต้นเท่านั้น ที่สำคัญ ไทยจะต้องยืนยันให้ชัดเจนว่าชาวโรฮิงญาเหล่านี้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และอยู่ในสถานภาพที่ต้องส่งกลับ
รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวว่า ปัญหาขณะนี้คือ การส่งกลับเนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับการเมือง และศาสนา หากส่งกลับไปแล้วชาวโรฮิงญาได้รับอันตรายก็จะถูกมองในแง่ลบ และถูกต่อต้านจากองค์กรต่างๆ ในทางตรงกันข้าม หากไทยไม่สามารถผลักดันไปอยู่ในประเทศที่สามได้ และไม่สามารถสกัดกั้นกลุ่มใหม่ๆ ที่จะเข้ามาได้เพราะทราบว่าได้รับการดูแลจากไทยเป็นอย่างดี ชาวโรฮิงญาก็จะยิ่งลักลอบเข้ามามากขึ้น
ที่สำคัญ เรื่องนี้รัฐบาลยืนยันแล้วว่า จะปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรมแต่ก็ต้องส่งกลับ ทางออกคือ ไทยจะต้องหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นต้นตอของปัญหา โดยเฉพาะมาเลเซีย อินโดนีเซีย และพม่า ซึ่งที่ผ่านมา เคยมีการประสานงานผ่านอาเซียน และมีการประชุมกันที่บาหลี รวมถึงจะต้องคุยกับอินเดีย และบังกลาเทศด้วย เพื่อเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหา แต่ขณะนี้จะต้องสกัดกั้นไม่ให้มีกลุ่มผู้อพยพชาวโรฮิงญาเข้ามาเพิ่มขึ้น
ส่วนที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง อ.สะเดา จ.สงขลา สมาคมจันทร์เสี้ยว นำทีมแพทย์มุสิลม พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จาก จ.สงขลา และ จ.ยะลา กว่า 30 คน มาตรวจสุขภาพ และตรวจร่างกายชาวโรฮิงญาตามหลักวิถีอิสลาม และมนุษยธรรม ที่ถูกควบคุมตัวอยู่ที่ด่านกักตรวจคนเข้าเมือง อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ประมาณ 200 คน โดยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรคทั่วไป ทั้งโรคผิวหนัง โรคขาดน้ำ โรคกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง และภาวะเครียดจากการถูกกักตัวเป็นเวลานาน แต่ยังไม่พบว่ามีเชื้อโรคติดต่อร้ายแรง เช่น มาลาเรีย อหิวาต์ หรือไข้กาฬหลังแอ่นแต่อย่างใด สำหรับการช่วยเหลือชาวโรฮิงญาในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วย หรือพบว่ามีเชื้อโรคติดต่อร้ายแรงก็จะประสานโรงพยาบาลในพื้นที่เพื่อแยกตัวไปรักษา และควบคุมโรค นอกจากนี้ ทางหน่วยงานภาคเอกชนได้ยกทีมช่างตัดผมมาบริการตัดผมให้แก่ชาวโรฮิงญาเพื่อความสะอาด รวมทั้งได้นำเครื่องยังชีพทั้งอาหาร และน้ำดื่มมามอบให้ด้วย