xs
xsm
sm
md
lg

ซีอีซี เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนกรณีขยายแปลงขุดเจาะปิโตรเลียมในอ่าวไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ซีอีซี จัดประชุมชี้แจง และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการผลิตปิโตรเลียม (ส่วนขยาย) แปลงสำรวจอ่าวไทย เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น และลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ

วันนี้ (9 ม.ค.) ณ โรงแรม บีพี สมิหลา บีช สงขลา จังหวัดสงขลา นายณัฐพงศ์ ศิริชนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในการเปิดการประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการผลิตปิโตรเลียม (ส่วนขยาย) แปลงสำรวจในทำเลอ่าวไทย หมายเลข จี5/43 ของบริษัท ซีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด (สาขาประเทศไทย) อย่างเป็นทางการ

การจัดประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ ตลอดจนร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ และร่างมาตรการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพของโครงการฯ และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และเสนอข้อแนะนำต่างๆ โดยมีผู้แทนจากบริษัท ซีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด (สาขาประเทศไทย) และผู้แทนจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมประชุม ทั้งหน่วยงานราชการในระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา หน่วยงานเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม และสื่อมวลชนเข้าร่วมประชุม

สำหรับ บริษัท ซีอีซี อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด (สาขาประเทศไทย) ซึ่งได้รับโอนสิทธิประโยชน์ และพันธะทั้งหมดมาจากบริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด และได้รับสัมปทานแปลงสำรวจเพิ่มในทะเลอ่าวไทยหมายเลข จี 5/43 จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2546 มีแผนที่จะขยายกำลังการผลิตปิโตรเลียม โดยการติดตั้งแท่นผลิตจำนวน 6 แท่น และเรือกักเก็บปิโตรเลียมประจำแต่ละแท่น ภายในแปลงสำรวจฯ หมายเลข จี5/43

ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการติดตั้งแท่นผลิตแรก รวมถึงเจาะหลุมผลิต และผลิตปิโตรเลียมได้ภายในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ.2556 และจะติดตั้งแท่นผลิตปิโตรเลียมเพิ่มจนครบทั้ง 6 แท่นผลิต ในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ.2558 ซึ่งจะดำเนินการผลิตต่อเนื่องไปตลอดระยะเวลาตามสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมที่ 20 ปี หรือเมื่อไม่สามารถที่จะผลิตน้ำมันดิบได้อย่างคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์อีกต่อไป

โดยการขยายกำลังการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่แปลงสำรวจฯ หมายเลข จี5/43 ครั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น และลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ อีกทั้งยังส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศจากการผลิตปิโตรเลียมที่เพิ่มขึ้น ค่าภาคหลวง และภาษี รวมถึงการจ้างงาน และรายได้จากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรง และโดยอ้อมกับกิจกรรมการผลิตปิโตรเลียม ซึ่งรวมถึงธุรกิจในภาคบริการ เช่น การค้าขาย และโรงแรมที่พัก เป็นต้น

 
 





ชาวสมุย-พะงันค้านสำรวจขุดเจาะน้ำมันอ่าวไทย ประท้วงไม่ร่วมเวทีรับฟังความเห็น EIA
ชาวสมุย-พะงันค้านสำรวจขุดเจาะน้ำมันอ่าวไทย ประท้วงไม่ร่วมเวทีรับฟังความเห็น EIA
ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ภาคีเครือข่ายคัดค้านการขุดเจาะน้ำมันอำเภอเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ล้มเวทีรับฟังความเห็นวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการสำรวจขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทย แปลงที่ G4/50 ของบริษัท ซาลามานเดอร์ฯ เหตุเพราะไม่เชื่อมั่นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่ทำเพียงให้ครบขั้นตอนของกฎหมายเท่านั้น พร้อมยื่นหนังสือถึง รมต.พลังงานให้ยุติกิจกรรมสำรวจขุดเจาะน้ำมันในอ่าวไทยทั้งหมด จนกว่าศาลปกครองจะตัดสิน และเรียกร้องให้บริษัทรับสัมปทานตั้งคณะทำงานเจรจาร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
กำลังโหลดความคิดเห็น