กระบี่ - เทศบาลเมืองกระบี่ ทุ่มงบ 42 ล้านบาท ก่อสร้างเรือสำเภาตามรอยประวัติศาสตร์จังหวัดกระบี่ และโครงการชมทัศนียภาพหน้าเมืองกระบี่โดยรถไฟ แต่เจอกระแสต่อต้านทำลายระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมปากแม่น้ำกระบี่
นายกีรติศักดิ์ ภูเก้าล้วน นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกระบี่ กล่าวว่า ทางเทศบาลเมืองกระบี่ ได้จัดทำโครงการก่อสร้างเรือสำเภาตามรอยประวัติศาสตร์จังหวัดกระบี่ ใช้งบ 25 ล้านบาท และโครงการชมทัศนียภาพหน้าเมืองกระบี่ โดยรถไฟ งบ 17 ล้านบาท รวมใช้งบประมาณ 42 ล้านบาท ซึ่งการการก่อสร้างเรือสำเภา มีขนาดความกว้าง 33 ฟุต ยาว 127 ฟุต จำนวน 1 ลำ พร้อมประดิษฐานหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ ขนาดหน้าตักกว้าง 3.50 เมตร สูง 4.20 เมตร จำนวน 1 องค์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 30 กันยายน 2556 นอกจากนั้น โครงการชมทัศนียภาพหน้าเมืองกระบี่ โดยรถไฟ เริ่มจากบริเวณเขื่อนเจ้าฟ้าตั้งแต่สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 26 จนถึงสวนสาธารณะธารา
“การก่อสร้างโครงการชมทัศนียภาพหน้าเมืองกระบี่ โดยรถไฟ เพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และสนับสนุนเชื่อมโยงทางการท่องเที่ยวภายในตัวเมืองตลอดจนเสริมสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวที่ดีของจังหวัดกระบี่ เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวบริเวณเขื่อนแม่น้ำกระบี่ หรือเขื่อนเจ้าฟ้า สิ่งสำคัญเป็นการส่งเสริมสถาบันครอบครัว เพื่อพักผ่อนโดยใช้บริการรถไฟ ซึ่งขนาดของรางรถไฟ แบบรางคู่ มีขนาดกว้างไม่เกิน 60 เซนติเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า 1,590 เมตร หัวรถจักร ปล่องไฟสูงประมาณ 1.70 เมตร ตู้โดยสาร ขนาดกว้าง 1.20 เมตร จำนวน 4 ตู้ ซึ่งทั้ง 2 โครงการไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ทำลายต่อสภาพแวดล้อมแต่อย่างใด พร้อมยินดีให้ภาคประชาชนเข้ามาตรวจสอบการก่อสร้างทั้งสองโครงการ
นายแพทย์ยงยุทธ ภูมิชาติ ที่ปรึกษากลุ่มเพื่อลูกหลานชาวเมืองกระบี่ กล่าวว่า การดำเนินการก่อสร้างทั้ง 2 โครงการดังกล่าวของเทศบาลเมืองกระบี่ เชื่อว่าจะทำลายระบบนิเวศ และทำลายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทำลายทัศนียภาพเขื่อนเจ้าฟ้า ที่มีความสวยงามโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ที่สำคัญ บดบังทัศนียภาพป่าชายเลนซึ่งเป็นป่าชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ ลำดับที่ 1,100 ของโลก ประกาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2544 เนื้อที่ 133,118 ไร่ ซึ่งชาวกระบี่ทุกคนต้องช่วยกันรักษาพื้นที่ป่าแห่งนี้ไม่ให้ถูกรบกวนจากสิ่งต่างๆ ทั้งจากฝีมือของมนุษย์ และธรรมชาติ รวมทั้งการก่อสร้างที่ทำลายทัศนียภาพ
“ที่ผ่านมา ผู้บริหารเทศบาลมืองกระบี่ไม่เคยที่จะให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องของการดูแลธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มุ่งแต่ใช้เงินสร้างวัตถุอย่างเดียว ไม่เคยฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน การใช้วัตถุไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ความสุขที่แท้จริงคือการที่ได้อยู่กับธรรมชาติที่สวยงาม และบริสุทธิ์ ซึ่งทางกลุ่มเพื่อลูกหลานชาวเมืองกระบี่จะต่อต้านและคัดค้านการก่อสร้างทั้ง 2 โครงการ” นายแพทย์ยงยุทธกล่าว
นายกีรติศักดิ์ ภูเก้าล้วน นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองกระบี่ กล่าวว่า ทางเทศบาลเมืองกระบี่ ได้จัดทำโครงการก่อสร้างเรือสำเภาตามรอยประวัติศาสตร์จังหวัดกระบี่ ใช้งบ 25 ล้านบาท และโครงการชมทัศนียภาพหน้าเมืองกระบี่ โดยรถไฟ งบ 17 ล้านบาท รวมใช้งบประมาณ 42 ล้านบาท ซึ่งการการก่อสร้างเรือสำเภา มีขนาดความกว้าง 33 ฟุต ยาว 127 ฟุต จำนวน 1 ลำ พร้อมประดิษฐานหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ ขนาดหน้าตักกว้าง 3.50 เมตร สูง 4.20 เมตร จำนวน 1 องค์ คาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 30 กันยายน 2556 นอกจากนั้น โครงการชมทัศนียภาพหน้าเมืองกระบี่ โดยรถไฟ เริ่มจากบริเวณเขื่อนเจ้าฟ้าตั้งแต่สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 26 จนถึงสวนสาธารณะธารา
“การก่อสร้างโครงการชมทัศนียภาพหน้าเมืองกระบี่ โดยรถไฟ เพื่อรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น และสนับสนุนเชื่อมโยงทางการท่องเที่ยวภายในตัวเมืองตลอดจนเสริมสร้างบรรยากาศการท่องเที่ยวที่ดีของจังหวัดกระบี่ เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวบริเวณเขื่อนแม่น้ำกระบี่ หรือเขื่อนเจ้าฟ้า สิ่งสำคัญเป็นการส่งเสริมสถาบันครอบครัว เพื่อพักผ่อนโดยใช้บริการรถไฟ ซึ่งขนาดของรางรถไฟ แบบรางคู่ มีขนาดกว้างไม่เกิน 60 เซนติเมตร ความยาวไม่น้อยกว่า 1,590 เมตร หัวรถจักร ปล่องไฟสูงประมาณ 1.70 เมตร ตู้โดยสาร ขนาดกว้าง 1.20 เมตร จำนวน 4 ตู้ ซึ่งทั้ง 2 โครงการไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ทำลายต่อสภาพแวดล้อมแต่อย่างใด พร้อมยินดีให้ภาคประชาชนเข้ามาตรวจสอบการก่อสร้างทั้งสองโครงการ
นายแพทย์ยงยุทธ ภูมิชาติ ที่ปรึกษากลุ่มเพื่อลูกหลานชาวเมืองกระบี่ กล่าวว่า การดำเนินการก่อสร้างทั้ง 2 โครงการดังกล่าวของเทศบาลเมืองกระบี่ เชื่อว่าจะทำลายระบบนิเวศ และทำลายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทำลายทัศนียภาพเขื่อนเจ้าฟ้า ที่มีความสวยงามโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ที่สำคัญ บดบังทัศนียภาพป่าชายเลนซึ่งเป็นป่าชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่ ลำดับที่ 1,100 ของโลก ประกาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2544 เนื้อที่ 133,118 ไร่ ซึ่งชาวกระบี่ทุกคนต้องช่วยกันรักษาพื้นที่ป่าแห่งนี้ไม่ให้ถูกรบกวนจากสิ่งต่างๆ ทั้งจากฝีมือของมนุษย์ และธรรมชาติ รวมทั้งการก่อสร้างที่ทำลายทัศนียภาพ
“ที่ผ่านมา ผู้บริหารเทศบาลมืองกระบี่ไม่เคยที่จะให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องของการดูแลธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มุ่งแต่ใช้เงินสร้างวัตถุอย่างเดียว ไม่เคยฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน การใช้วัตถุไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ความสุขที่แท้จริงคือการที่ได้อยู่กับธรรมชาติที่สวยงาม และบริสุทธิ์ ซึ่งทางกลุ่มเพื่อลูกหลานชาวเมืองกระบี่จะต่อต้านและคัดค้านการก่อสร้างทั้ง 2 โครงการ” นายแพทย์ยงยุทธกล่าว