xs
xsm
sm
md
lg

ปัตตานีสัมมนาการเจรจาสันติภาพยุติไฟใต้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ปัตตานี - องค์กรเอกชนปัตตานี จัดสัมมนาการเจรจาสันติภาพระหว่างมลายู และรัฐไทย เพื่อศึกษาเป็นช่องทางของการยุติปัญหาความไม่สงบในพื้นที่

วันนี้ (8 ธ.ค.) ที่ห้องประชุมใหญ่ตึกอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต ปัตตานี ได้มีการจัดเวทีสัมมนาในหัวข้อ การเจรจาสันติภาพระหว่างมุสลิมมลายู และรัฐไทย เพื่อให้มีการวิพากษ์วิจารณ์บทความ และเนื้อหาของหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้น มีสองภาษา ไทย/อังกฤษ ของคณะทำงานขององค์กรเอกชน โดยมี อ.ฮัฮหมัดสมบูรณ์ บัวหลวง อดีตคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอศ.) อ.ประสิทธ์ เมฆสุวรรณ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ และ นายเอกรินทร์ ต่วนศิริ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มอ.ปัตตานี เป็นผู้ดำเนินรายการ

ซึ่งในเนื้อหาได้หยิบยกเรื่องความพยายามหาทางเจรจากับกลุ่มขบวนการ ที่มี ดร.มหาธีร์ โมฮัมหมัด อดีตนายกรัฐมนตรี ประเทศมาเลเซียเป็นเจ้าภาพของการเจรจา แต่กลับไม่มีกลุ่มบีอาร์เอ็นโคออดิเนต ไม่ยอมเข้ามาร่วมนั่งโต๊ะด้วย การเจรจาจึงไม่สามารถยุติปัญหาได้ ได้เพียงฝากความหวังให้แก่ขบวนการที่มาร่วมนั่งเจรจาส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีอายุมากแล้ว ช่วยการโน้มน้าวสมาชิกกลุ่มบีอาร์เอ็นโคออดิเนตที่เป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง เข้ามาสู่เวทีการเจรจานอก

จากนั้น ในหนังสือยังบอกถึงความพยายามในการเจรจากับขบวนการในยุคสมัยรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังจากเกิดรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อาศัยปัญหาความไม่สงบในภาคใต้เป็นข้ออ้างในการรัฐประหาร จึงได้พยายามอย่างมากที่จะให้ปัญหาภาคใต้นั้นยุติ แต่เห็นเป็นเพียงคำขอโทษพี่น้องในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

สำหรับความผิดพลาดในกรณีตากใบ เมื่อปี พ.ศ.2547 รัฐบาลสุรยุทธไม่ได้สานต่อกระบวนการสันติภาพลังกาวี แต่กลับยอมรับว่ามีเรื่องชาติพันธุ์ผสมอยู่ด้วยกับปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ และเรียกร้องให้ใช้แนวทางที่ไม่ใช้วิธีทางทหารยุติความขัดแย้ง ทำให้หน่วยงานงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้เริ่มพูดคุยกับองค์กรเอกชนทั้งใน และต่างประเทศ นักวิชาการ รัฐบาลต่างประเทศ และนักเจรจาสันติภาพมืออาชีพ

การเจรจาได้ดำเนินมาเรื่อยจนถึงสมัยของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการโอนย้ายงานเจรจาจากสภาความมั่นคงแห่งชาติไปให้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต.รับผิดชอบแทน การทำเช่นนี้ถือเป็นการสิ้นสุดของกระบวนการสันติภาพเจนีวาที่สภาความมั่นคงแห่งชาติมาโดยตลอด

ในหนังสือเล่มนี้ยังได้สรุปตอนท้ายว่า สำหรับนักรบจูแว (ต่อสู้เพื่อเอกราช) พวกเขาจนกว่าพวกผู้นำรุ่นเก่าจะจัดระเบียบในบ้านตัวเองได้สำเร็จ จนกระทั่งสามารถสร้างแนวร่วมทางการเมืองขึ้นมาได้จริง เพื่อที่จะเจรจาต่อรองกับทางการไทยได้โดยตรง พวกเขาตระหนักดีว่า ขาดตัวกลางที่ปลอดผลประโยชน์ และหลายคนเขาบอกว่า กระบวนการสันติภาพคงเกิดขึ้นไม่ได้ หากว่าฝ่ายไทยไม่เอาจริงเอาจังกับมัน

บนเวทีการสัมมนาในครั้งนี้ ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ในเนื้อหาบทความในหนังสือเล่มนี้อย่างกว้างขวาง พร้อมตำหนิบางคำ บางประโยคที่อยากให้มีการปรับแก้ นอกจากนั้น ยังได้มีการอธิบายเพิ่มในเนื้อหาที่ได้มีการเจรจาครั้งล่าสุดที่มีอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ได้เข้าร่วมเป็นตัวแทนทางการไทยเจรจากับตัวแทนขบวนการปลดปล่อยปัตตานีที่ประเทศที่สาม โดยมีเนื้อหา 4 ข้อเสนอหลักๆ ได้แก่

1.ให้มีการปล่อยนักโทษการเมืองที่ถูกควบคุมตัวให้หมด 2.ให้เพิกถอนแบล็กลิสต์ที่มีประมาณสามหมื่นกว่ารายชื่อ 3.ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 4.ให้ถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ โดยข้อเรียกร้อง หรือข้อเสนอของทางฝ่ายขบวนการนั้น อดีตนายกฯ ทักษิณรับที่จะดำเนินการพิจารณา ยกเว้นการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่คงต้องกลับไปหารืออีกครั้ง และรับปากที่ส่งสัญญาณภายใน 1 เดือน แต่จนถึงทุกวันนี้ ก็ยังคงไม่มีคำตอบจากอดีตนายกฯ ทักษิณแต่อย่างใด

การที่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะตัวแทน หรือผู้มีอำนาจของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษ์ ชินวัตร จะไม่ตอบตามวันที่ได้นัดกันไว้ยอมเป็นสิทธิ เพราะรัฐบาลมีกำลังมากกว่า หรือได้เปรียบกว่า แต่การกระทำลักษณะเช่นนี้สำหรับนักเจรจาแล้วนั้น ถือว่าลมเหลวท่ามกลางความเสี่ยงของพี่น้องในพื้นที่ต้องเจอกับเหตุความไม่สงบที่รอจะปะทุขึ้นมาเมื่อไร

กำลังโหลดความคิดเห็น