ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - กรมเจ้าท่าใช้งบ 113 ล้าน ขุดลอก และบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเลร่องน้ำสงขลา เพื่อเป็นเส้นทางเดินเรือ และระบายน้ำออกสู่ทะเลอย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาความตื้นเขินของปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลา และบรรเทาปัญหาอุทกภัยของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
วันนี้ (20 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมเจ้าท่าทำการขุดลอกปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาออกสู่ทะเล ระยะทาง 6 กิโลเมตร ความลึก 10 เมตร ใช้งบประมาณ 113.9 ล้านบาท เพื่อบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเลร่องน้ำสงขลา เพื่อเป็นเส้นทางเดินเรือ และระบายน้ำในทะเลสาบสงขลาออกสู่ทะเลอ่าวไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาความตื้นเขินของปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลา และบรรเทาปัญหาอุทกภัยของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
เนื่องจากที่ผ่านมา บริเวณปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาตื้นเขิน ในช่วงฤดูมรสุมเมื่อมีน้ำหลากไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา การระบายน้ำบริเวณปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นไปด้วยความเชื่องช้า ส่งผลให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมทะเลสาบสงขลาเป็นเวลานาน สาเหตุเพราะน้ำระบายลงสู่อ่าวไทยไม่ทัน
นายณัฐชัย พลกล้า ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 4 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า โครงการขุดลอก และบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเลร่องน้ำสงขลา ของกรมเจ้าท่า นอกจากจะเป็นการบำรุงรักษาร่องน้ำแล้ว ยังช่วยให้การระบายน้ำในทะเลสาบสงขลาออกสู่ทะเลอ่าวไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำดินที่ขุดลอกทั้งหมดเกือบ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร ไปทิ้งบริเวณด้านหลังเกาะแมว เพื่อให้ดินพัดเข้าฝั่งอำเภอสิงหนคร ช่วยประทังการการกัดเซาะชายฝั่ง เข้าเติมเต็มทรายบริเวณหาดทรายแก้ว ที่ถูกคลื่นซัดหายไปให้กลับมาสู่สภาพเดิม
นายณัฐชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การขุดลอกร่องน้ำปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาออกสู่ทะเล ระยะทาง 6 กิโลเมตร ความลึก 10 เมตร ใช้งบประมาณ 113.9 ล้านบาท เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2555 และจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556
วันนี้ (20 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมเจ้าท่าทำการขุดลอกปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาออกสู่ทะเล ระยะทาง 6 กิโลเมตร ความลึก 10 เมตร ใช้งบประมาณ 113.9 ล้านบาท เพื่อบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเลร่องน้ำสงขลา เพื่อเป็นเส้นทางเดินเรือ และระบายน้ำในทะเลสาบสงขลาออกสู่ทะเลอ่าวไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาความตื้นเขินของปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลา และบรรเทาปัญหาอุทกภัยของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
เนื่องจากที่ผ่านมา บริเวณปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาตื้นเขิน ในช่วงฤดูมรสุมเมื่อมีน้ำหลากไหลลงสู่ทะเลสาบสงขลา การระบายน้ำบริเวณปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นไปด้วยความเชื่องช้า ส่งผลให้น้ำเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมทะเลสาบสงขลาเป็นเวลานาน สาเหตุเพราะน้ำระบายลงสู่อ่าวไทยไม่ทัน
นายณัฐชัย พลกล้า ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 4 จังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า โครงการขุดลอก และบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเลร่องน้ำสงขลา ของกรมเจ้าท่า นอกจากจะเป็นการบำรุงรักษาร่องน้ำแล้ว ยังช่วยให้การระบายน้ำในทะเลสาบสงขลาออกสู่ทะเลอ่าวไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำดินที่ขุดลอกทั้งหมดเกือบ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร ไปทิ้งบริเวณด้านหลังเกาะแมว เพื่อให้ดินพัดเข้าฝั่งอำเภอสิงหนคร ช่วยประทังการการกัดเซาะชายฝั่ง เข้าเติมเต็มทรายบริเวณหาดทรายแก้ว ที่ถูกคลื่นซัดหายไปให้กลับมาสู่สภาพเดิม
นายณัฐชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การขุดลอกร่องน้ำปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาออกสู่ทะเล ระยะทาง 6 กิโลเมตร ความลึก 10 เมตร ใช้งบประมาณ 113.9 ล้านบาท เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2555 และจะสิ้นสุดโครงการในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556