ศูนย์ข่าวภูเก็ต - พบลูกโลมากระโดดเพศผู้ อายุประมาณ 1-2 ปี ถูกคลื่นซัดแตกฝูงเกยตื้นหาดกะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากช่วยเหลือนำตัวรักษาในเบื้องต้น ก่อนนำปล่อยกลับทะเล หวังให้วายน้ำเข้าฝูง พร้อมเฝ้าติดตามพฤติกรรมเพื่อวิเคราะห์อาการ
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (17 พ.ย.) กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฟัง และป่าชายเลน รับแจ้งจากศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวหาดกะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต และเจ้าหน้าที่บีชการ์ดที่ดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวว่ามีโลมาว่ายน้ำมาเกยตื้นที่บริเวณหาดกะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ขอให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ และช่วยเหลือ หลังรับแจ้ง นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเล พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก เดินทางไปตรวจสอบ ซึ่งพบว่าโลมาถูกนำไปไว้ที่บริเวณชายหาดกะตะ ใกล้กับศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว เนื่องจากบริเวณหาดกะรนมีคลื่นยกตัวสูง ทำให้คลื่นซัดโลมาเข้ามาที่บริเวณฝั่ง และเกรงว่าจะถูกคลื่นซัดไปกระแทกกับโขดหิน โดยการเข้าไปช่วยเหลือโลมาดังกล่าวมีนักท่องเที่ยวมุงดูจำนวนมาก และคอยให้กำลังใจการช่วยเหลือโลมาดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม การเข้าช่วยเหลือโลมาในครั้งนี้ เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้พยายามที่จะให้โลมาว่ายน้ำออกไปในทะเลลึกเพื่อกลับเข้าฝูง แต่โลมาไม่ยอมที่จะว่ายน้ำออกจากฝั่ง จึงต้องนำตัวกลับมาที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก เพื่อให้การรักษาในเบื้องต้น ซึ่งหลังจากให้ยาในเบื้องต้น ก็ได้นำโลมาตัวดังกล่าวไปปล่อยที่บริเวณระหว่างเกาะแก้ว และหาดกะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะเชื่อมอออกทะเลลึก และคลื่นไม่สูง รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่คาดว่าฝูงโลมาจะอาศัยอยู่
นายก้องเกียรติ กล่าวว่า สำหรับโลมาที่พบเข้ามาเกยตื้นในครั้งนี้ เป็นโลมากระโดดเพศผู้ อายุประมาณ 1-2 ปี หนัก 15 กิโลกรัม โดยพบว่า มีแผลถลอกบริเวณผิวหนังเล็กน้อย และที่บริเวณโคนหางมีเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 12 ซม. ซึ่งยังไม่สามารถหาอาหารกินเองได้ ซึ่งหลังจากที่นำลูกโลมามาฉีดยาเพื่อทำการรักษาในเบื้องต้นก็ได้นำลูกโลมาไปว่ายน้ำในทะเลที่หน้าสถาบันฯ ซึ่งพบว่าในเบื้องต้นสามารถว่ายน้ำได้แม้ว่าจะยังไม่เต็มร้อยก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่จึงได้นำลูกโลมาขึ้นเรือของทางศูนย์อารักษ์ทางที่ 5 ภูเก็ต เพื่อนำไปปล่อยในทะเลลึก โดยนำไปปล่อยที่บริเวณระหว่างเกาะแก้ว และหาดกะรน เนื่องจากคาดว่าบริเวณดังกล่าวน่าจะมีฝูงโลมากระโดดอาศัยอยู่ เพื่อที่จะให้ลูกโลมากลับเข้าฝูง
ซึ่งจากการปล่อยกลับทะเลพบว่า ลูกโลมาหายใจใต้น้ำยังไม่เต็ม 100% และการว่ายน้ำยังไม่ดีพอ แต่การตัดสินใจปล่อยให้ลูกโลมาอยู่ทะเลแทนที่จะนำมาขังในบ่ออนุบาลที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากก็เนื่องจากถ้านำลูกโลมามาขังจะทำให้โลมาเครียด และเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบได้ เนื่องจากความกว้างของบ่อไม่เพียงพอ เนื่องจากในขณะนี้ ทางสถาบันยังไม่มีคอกที่จะนำมาล้อมในทะเล จึงนำตัวไปปล่อยในทะเลเพื่อให้ว่ายน้ำได้สะดวก อย่างไรก็ตาม หลังจากนำลูกโลมาไปปล่อยในทะเลแล้วทางเจ้าหน้าที่ก็จะเฝ้าติดตามพฤติกรรมของโลมาตัวดังกล่าวต่อไปว่าสามารถว่ายน้ำกลับไปหาฝูงโลมาพบหรือไม่ แต่ถ้าหาฝูงไม่พบ และอาการแย่ลงทางเจ้าหน้าที่ก็จำเป็นที่จะต้องนำกลับมารักษาที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก แต่ทางที่ดีที่สุดสำหรับโลมาที่ยังสามารถว่ายน้ำได้แข็งแรงคือ การนำกลับไปยังแหล่งอาศัยของโลมาเอง
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (17 พ.ย.) กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก สถาบันวิจัยพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฟัง และป่าชายเลน รับแจ้งจากศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวหาดกะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต และเจ้าหน้าที่บีชการ์ดที่ดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวว่ามีโลมาว่ายน้ำมาเกยตื้นที่บริเวณหาดกะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ขอให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ และช่วยเหลือ หลังรับแจ้ง นายก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ หัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเล พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ประจำกลุ่มสัตว์ทะเลหายาก เดินทางไปตรวจสอบ ซึ่งพบว่าโลมาถูกนำไปไว้ที่บริเวณชายหาดกะตะ ใกล้กับศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว เนื่องจากบริเวณหาดกะรนมีคลื่นยกตัวสูง ทำให้คลื่นซัดโลมาเข้ามาที่บริเวณฝั่ง และเกรงว่าจะถูกคลื่นซัดไปกระแทกกับโขดหิน โดยการเข้าไปช่วยเหลือโลมาดังกล่าวมีนักท่องเที่ยวมุงดูจำนวนมาก และคอยให้กำลังใจการช่วยเหลือโลมาดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม การเข้าช่วยเหลือโลมาในครั้งนี้ เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้พยายามที่จะให้โลมาว่ายน้ำออกไปในทะเลลึกเพื่อกลับเข้าฝูง แต่โลมาไม่ยอมที่จะว่ายน้ำออกจากฝั่ง จึงต้องนำตัวกลับมาที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก เพื่อให้การรักษาในเบื้องต้น ซึ่งหลังจากให้ยาในเบื้องต้น ก็ได้นำโลมาตัวดังกล่าวไปปล่อยที่บริเวณระหว่างเกาะแก้ว และหาดกะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะเชื่อมอออกทะเลลึก และคลื่นไม่สูง รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่คาดว่าฝูงโลมาจะอาศัยอยู่
นายก้องเกียรติ กล่าวว่า สำหรับโลมาที่พบเข้ามาเกยตื้นในครั้งนี้ เป็นโลมากระโดดเพศผู้ อายุประมาณ 1-2 ปี หนัก 15 กิโลกรัม โดยพบว่า มีแผลถลอกบริเวณผิวหนังเล็กน้อย และที่บริเวณโคนหางมีเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 12 ซม. ซึ่งยังไม่สามารถหาอาหารกินเองได้ ซึ่งหลังจากที่นำลูกโลมามาฉีดยาเพื่อทำการรักษาในเบื้องต้นก็ได้นำลูกโลมาไปว่ายน้ำในทะเลที่หน้าสถาบันฯ ซึ่งพบว่าในเบื้องต้นสามารถว่ายน้ำได้แม้ว่าจะยังไม่เต็มร้อยก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่จึงได้นำลูกโลมาขึ้นเรือของทางศูนย์อารักษ์ทางที่ 5 ภูเก็ต เพื่อนำไปปล่อยในทะเลลึก โดยนำไปปล่อยที่บริเวณระหว่างเกาะแก้ว และหาดกะรน เนื่องจากคาดว่าบริเวณดังกล่าวน่าจะมีฝูงโลมากระโดดอาศัยอยู่ เพื่อที่จะให้ลูกโลมากลับเข้าฝูง
ซึ่งจากการปล่อยกลับทะเลพบว่า ลูกโลมาหายใจใต้น้ำยังไม่เต็ม 100% และการว่ายน้ำยังไม่ดีพอ แต่การตัดสินใจปล่อยให้ลูกโลมาอยู่ทะเลแทนที่จะนำมาขังในบ่ออนุบาลที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากก็เนื่องจากถ้านำลูกโลมามาขังจะทำให้โลมาเครียด และเกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบได้ เนื่องจากความกว้างของบ่อไม่เพียงพอ เนื่องจากในขณะนี้ ทางสถาบันยังไม่มีคอกที่จะนำมาล้อมในทะเล จึงนำตัวไปปล่อยในทะเลเพื่อให้ว่ายน้ำได้สะดวก อย่างไรก็ตาม หลังจากนำลูกโลมาไปปล่อยในทะเลแล้วทางเจ้าหน้าที่ก็จะเฝ้าติดตามพฤติกรรมของโลมาตัวดังกล่าวต่อไปว่าสามารถว่ายน้ำกลับไปหาฝูงโลมาพบหรือไม่ แต่ถ้าหาฝูงไม่พบ และอาการแย่ลงทางเจ้าหน้าที่ก็จำเป็นที่จะต้องนำกลับมารักษาที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายาก แต่ทางที่ดีที่สุดสำหรับโลมาที่ยังสามารถว่ายน้ำได้แข็งแรงคือ การนำกลับไปยังแหล่งอาศัยของโลมาเอง