คอลัมน์ : ด้ามขวานผ่าซาก
โดย...ปิยะโชติ อินทรนิวาส
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐนาวา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่กำลังจะมีขึ้น คืออีกตัวเร่งให้สถานการณ์การเมืองเดินไปสู่จุดสุดยอดของความขัดแย้ง (Climax) ที่เชื่อกันว่าอยู่ไม่ไกลเท่าไหร่แล้ว และ 1 ในเป้าของฝ่ายค้านที่ต้องการนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาล แม้ไม่ใช่เป้าใหญ่ แต่ถือว่าเป็นเป้าที่มีสีสัน และมีความสำคัญไม่น้อยก็คือ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีต รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ในเวลานี้ถูกวางตัวให้ลี้ภัยไปอยู่กระทรวงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ชนักติดหลังที่จัดว่าเป็นประเด็นสำคัญที่จะถูกเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของนายณัฐวุฒิ ประเด็นแรกคือ ความไร้ประสิทธิภาพอันเป็นที่ประจักษ์ แถมยังส่อว่าจะเกิดการทุจริตจากโครงการแทรกแซงราคายางพารา ในสมัยที่นั่งบัญชาการโครงการนี้อยู่ที่กระทรวงเกษตรฯ โดยใช้เงินภาษีอากรของประชาชนไปแล้วในระยะแรก 1.5 หมื่นล้านบาท และกำลังจะตามมาเป็นระยะที่สองอีก 3 หมื่นล้านบาท
ความล้มเหลวของโครงการแทรกแซงราคายาง ช่างละม้ายคล้ายคลึงกับโครงการรับจำนำข้าวที่สุดแสนจะฉาวโฉ่ ถือเป็นการทิ้งขี้ (ยาง) กองโตที่เลอะเทอะเปรอะเปื้อนไปทั่วไว้ให้รัฐมนตรีคนใหม่ต้องตามล้างตามเช็ดกันไปอีกนาน (อ่านเรื่องประกอบ ขี้ (ยาง) กองใหญ่ของ “ไอ้เต้น”?! http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9550000133201)
แต่สำหรับประเด็นหลัง ว่ากันว่าอาจจะเป็น “จุดตาย” ของแกนนำไพร่ตัวพ่อที่ผันตัวเองมาเป็นอำมาตย์ได้เลยทีเดียว นั่นคือ โครงการแจกปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในเครือข่ายกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ซึ่งในเวลานี้แม้ยังไม่อึกทึกครึกโครม แต่ต้องถือเป็นชนักอันใหญ่ที่ถูกพุ่งทะยานให้ไปฝังลึกอยู่กลางหลังจนยากที่จะดิ้นหลุดได้
ความจริงต้นตอของชนักปุ๋ยไม่ได้มีที่มาที่ไปจากความต้องการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือชาวสวนยางหรอก แต่เกิดจากฝ่ายการเมืองเห็นเงินที่เรียกเก็บจากค่าธรรมเนียมส่งออกยาง (ค่าเซสส์) กิโลกรัมละ 5 บาทตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.2503 เหลืออยู่ในปริมาณมากมายหลายหมื่นล้านบาท ระหว่างที่น้ำลายไหลก็คิดว่าน่าจะเอาไปหมุน หรือเกื้อหนุนนโยบาย หรือมาตรการอื่นๆ ของรัฐบาลได้ ซึ่งวิธีคิดนี้ก็เป็นไปแบบเดียวกับความพยายามจะโยกเงินทุนสำรองของประเทศชาติไปใช้ รวมถึงเงินจากกองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนอื่นๆ ที่มีหน่วยงานรัฐกำกับดูแล
เช่นเดียวกัน นักการเมืองบางคนก็มองได้ทะลุปรุโปร่งว่า หากเอาไปใช้ได้ก็จะสามารถทำให้เกิด “เงินทอน” ได้ในปริมาณที่น่าพออกพอใจเสียด้วย
ในส่วนเงินกองทุนจากค่าเซสส์นี้มีความพยายามจะผันเอาไปใช้จ่ายกันในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลตั้งแต่เมื่อครั้งที่นักโทษหนีคุกทักษิณ ชินวัตร ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรกๆ โดยเฉพาะในนโยบายประชานิยมต่างๆ นานาที่ต้องใช้เงินมหาศาล อันถือเป็นเส้นเลือดหลักของการหล่อเลี้ยงให้ระบอบทักษิณครองอำนาจอยู่ได้ แต่ติดขัดที่ พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนดไว้ให้นำไปใช้ได้ใน 2 ด้านคือ ใช้สนับสนุนการปลูกต้นยางทดแทนในสัดส่วน 85% และที่เหลือ 15% ใช้เพื่อการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จึงไม่แปลกที่หลายปีมานี้ ฝ่ายการเมืองได้ความพยายามหักล้างข้อกำหนดการนำเงินกองทุนไปใช้ให้ได้ แต่ก็ไม่เคยประสบผล สุดท้ายจึงนำไปสู่การบีบให้ยกเลิก พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางไปเสียเลย แล้วเสนอให้ออกกฎหมายใหม่มาใช้แทนคือ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย เพื่อให้ง่ายต่อการนำเงินก้อนนี้ไปใช้ได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งก็มีการเสนอเข้าสภาไปแล้ว
ต้องขอบอกกล่าวไว้ตรงนี้ด้วยว่า ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองฝ่ายไหน กลุ่ม ก๊วน หรือแก๊งไหน ไม่ว่าฟากกุมบังเหียนอำนาจรัฐ หรือฟากกระสันอยากจะควบคุมอำนาจรัฐ หรือเอาให้ชัดๆ คือ ไม่ว่าจะฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายค้านในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่มีส่วนร่วม หรือหนุนเนื่องให้มีการนำเงินกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางที่มีอยู่หลายหมื่นล้านบาทไปใช้ได้คล่องมือขึ้นทั้งนั้น
ชนักที่ปักหลังของนายณัฐวุฒิว่าด้วยเรื่องปุ๋ยมีจุดเริ่มตั้งแต่ก้าวขึ้นนั่งตำแหน่ง รมช.เกษตรฯ ใหม่ๆ เมื่อนำเงินกองทุนค่าเซสส์มาใช้ทำโครงการอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์ปลูกยางทดแทนไม่ได้ ก็หาทางออกด้วยการคิดโครงการที่เกี่ยวเนื่องสวมเข้าไปเสียเลย นั่นคือ การจัดหาปุ๋ยให้แก่ชาวสวนที่ขึ้นทำเนียบไว้กับกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกยางทั่วประเทศประมาณ 18 ล้านไร่ ให้ผลผลิตแล้วประมาณ 12 ล้านไร่ รวมผลผลิตกว่า 3.5 แสนตัน/ปี โดยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางประเมินว่า ปีหนึ่งๆ จะมีชาวสวนโค่นยางแล้วขอสงเคราะห์ปลูกทดแทนราว 5 แสนล้านไร่ แต่ปรากฏว่า หลายปีมานี้ราคายางที่แพงขึ้นทำให้มีการตัดโค่นต้นยางลดลงเหลือราว 2 แสนไร่/ปี ส่งผลให้เวลานี้มีเงินกองทุนค่าเซสส์คงค้างถึงกว่า 5 หมื่นล้านบาท
การให้เงินสงเคราะห์ชาวสวนปลูกยางทดแทนของกองทุนกำหนดไว้ที่ 1.6 หมื่นบาท/ไร่ ในตลอด 7 ปีที่ยังไม่มีการกรีด แต่ส่วนใหญ่จะใช้มากสุดช่วง 3 ปีแรก โดยสนับสนุนทั้งในเรื่องของการเตรียมดิน ขุดหลุม กล้าพันธุ์ยาง และที่สำคัญคือ ปุ๋ย ซึ่งประมาณการไว้ว่าจะต้องใช้ปุ๋ยราว 7.7 หมื่นตัน/ปี
ตัวเลขความต้องการใช้ปุ๋ยนี่แหละที่นายณัฐวุฒิบีบให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางไปตั้งเรื่องจัดหาให้แก่เกษตรกร แต่ทางผู้บริหารกองทุนประเมินแล้วว่า จะนำมาซึ่งปัญหามากมาย โดยเฉพาะในเรื่องการจัดหาที่เก็บ การแจกจ่าย และที่สำคัญอาจจะถูกตรวจสอบในเรื่องของความไม่โปร่งใสได้ จึงต่อรองขอลดลงเหลือประมาณ 3.5 หมื่นตัน ซึ่งในเวลาเกือบปีที่ผ่านมา ก็มีความพยายามแจกจ่ายปุ๋ยในส่วนนี้ไปแล้วราว 1.8 หมื่นตัน
ปรากฏว่า โครงการแจกปุ๋ยมีปัญหามากมาย และวุ่นวายไม่แพ้โครงการอื่นๆ โดยเฉพาะปัญหาสำคัญมากที่ชี้ว่า โครงการนี้ไร้ประสิทธิภาพและมีความล้มเหลวเป็นที่ประจักษ์คือ ปุ๋ยที่ให้บริษัทเอกชนจัดหามาให้ไม่ผ่านการรับรองของกรมวิชาการเกษตร ทำให้ชาวสวนยางไม่ยอมรับ ขณะที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องก็ไม่กล้าแจกจ่าย เหตุผลหลักก็เพราะกลัวติดคุกตะรางหากยังดันทุรังเดินหน้า
ความเสียหายของรัฐเกิดขึ้นแล้ว และผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงก็คงไม่พ้นอำมาตย์แดง ในฐานะประธานบอร์ดของหลายๆ ชุดที่นั่งหัวโต๊ะประชุมให้มีการอนุมัติให้ดำเนินการที่เกี่ยวข้องแทบทุกครั้ง
ผู้คร่ำหวอดในวงการยางวิเคราะห์ให้ฟังว่า เวลานี้พลพรรคประชาธิปัตย์มีข้อมูลมากมายที่จะอภิปรายโครงการรับจำนำข้าว แต่สำหรับโครงการแทรกแซงราคายาง รวมถึงโครงการจัดหาปุ๋ยให้แก่ชาวสวนที่รับการสงเคราะห์นั้น ไม่แน่ใจว่าจะมีข้อมูลมากพอหรือไม่ หากประกาศรายชื่อรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจออกมาแล้วไม่มีชื่อของนายณัฐวุฒิ ก็ต้องนับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง
เนื่องเพราะนายณัฐวุฒิเป็นบุคคลที่คนทั้งสังคมไทยให้ความสนใจ แถมปัญหาการแทรกแซงราคา และแจกปุ๋ยยางก็เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้คนหลากกลุ่มหลายอาชีพ แต่มีสวนยางไว้ในครอบครองรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 6 ล้านครัวเรือน ใน 51 จังหวัดทั่วประเทศ ที่สำคัญ กระจุกอยู่ในภาคใต้ที่เป็นฐานที่มั่นของประชาธิปัตย์ ขณะที่อีสานก็ไม่น้อยหน้า อีกทั้งยังกระจายอยู่ในภาคกลาง และภาคเหนือที่สามารถเข้าเจาะฐานเจ้าถิ่นอย่างเพื่อไทยได้ด้วย
นายณัฐวุฒินอกจากจะเป็นสีสันในเวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้ว ยังสามารถนำไปสู่ความอยู่รอด หรือไม่รอดขององคาพยพรัฐนาวายิ่งลักษณ์ด้วย
อีกทั้งเป็นที่กล่าวขานกันว่า เรื่องนี้ยังมีส่วนเชื่องโยงถึงผู้ยิ่งใหญ่ในภาคเหนือที่มีชื่อย่อว่า “ด.” และพลพรรคที่แวดล้อมอยู่รอบๆ ตัวอีกต่างหาก
โดย...ปิยะโชติ อินทรนิวาส
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐนาวา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่กำลังจะมีขึ้น คืออีกตัวเร่งให้สถานการณ์การเมืองเดินไปสู่จุดสุดยอดของความขัดแย้ง (Climax) ที่เชื่อกันว่าอยู่ไม่ไกลเท่าไหร่แล้ว และ 1 ในเป้าของฝ่ายค้านที่ต้องการนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาล แม้ไม่ใช่เป้าใหญ่ แต่ถือว่าเป็นเป้าที่มีสีสัน และมีความสำคัญไม่น้อยก็คือ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีต รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ในเวลานี้ถูกวางตัวให้ลี้ภัยไปอยู่กระทรวงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ชนักติดหลังที่จัดว่าเป็นประเด็นสำคัญที่จะถูกเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของนายณัฐวุฒิ ประเด็นแรกคือ ความไร้ประสิทธิภาพอันเป็นที่ประจักษ์ แถมยังส่อว่าจะเกิดการทุจริตจากโครงการแทรกแซงราคายางพารา ในสมัยที่นั่งบัญชาการโครงการนี้อยู่ที่กระทรวงเกษตรฯ โดยใช้เงินภาษีอากรของประชาชนไปแล้วในระยะแรก 1.5 หมื่นล้านบาท และกำลังจะตามมาเป็นระยะที่สองอีก 3 หมื่นล้านบาท
ความล้มเหลวของโครงการแทรกแซงราคายาง ช่างละม้ายคล้ายคลึงกับโครงการรับจำนำข้าวที่สุดแสนจะฉาวโฉ่ ถือเป็นการทิ้งขี้ (ยาง) กองโตที่เลอะเทอะเปรอะเปื้อนไปทั่วไว้ให้รัฐมนตรีคนใหม่ต้องตามล้างตามเช็ดกันไปอีกนาน (อ่านเรื่องประกอบ ขี้ (ยาง) กองใหญ่ของ “ไอ้เต้น”?! http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9550000133201)
แต่สำหรับประเด็นหลัง ว่ากันว่าอาจจะเป็น “จุดตาย” ของแกนนำไพร่ตัวพ่อที่ผันตัวเองมาเป็นอำมาตย์ได้เลยทีเดียว นั่นคือ โครงการแจกปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในเครือข่ายกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ซึ่งในเวลานี้แม้ยังไม่อึกทึกครึกโครม แต่ต้องถือเป็นชนักอันใหญ่ที่ถูกพุ่งทะยานให้ไปฝังลึกอยู่กลางหลังจนยากที่จะดิ้นหลุดได้
ความจริงต้นตอของชนักปุ๋ยไม่ได้มีที่มาที่ไปจากความต้องการจัดหาปุ๋ยเพื่อช่วยเหลือชาวสวนยางหรอก แต่เกิดจากฝ่ายการเมืองเห็นเงินที่เรียกเก็บจากค่าธรรมเนียมส่งออกยาง (ค่าเซสส์) กิโลกรัมละ 5 บาทตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.2503 เหลืออยู่ในปริมาณมากมายหลายหมื่นล้านบาท ระหว่างที่น้ำลายไหลก็คิดว่าน่าจะเอาไปหมุน หรือเกื้อหนุนนโยบาย หรือมาตรการอื่นๆ ของรัฐบาลได้ ซึ่งวิธีคิดนี้ก็เป็นไปแบบเดียวกับความพยายามจะโยกเงินทุนสำรองของประเทศชาติไปใช้ รวมถึงเงินจากกองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนอื่นๆ ที่มีหน่วยงานรัฐกำกับดูแล
เช่นเดียวกัน นักการเมืองบางคนก็มองได้ทะลุปรุโปร่งว่า หากเอาไปใช้ได้ก็จะสามารถทำให้เกิด “เงินทอน” ได้ในปริมาณที่น่าพออกพอใจเสียด้วย
ในส่วนเงินกองทุนจากค่าเซสส์นี้มีความพยายามจะผันเอาไปใช้จ่ายกันในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลตั้งแต่เมื่อครั้งที่นักโทษหนีคุกทักษิณ ชินวัตร ก้าวขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรกๆ โดยเฉพาะในนโยบายประชานิยมต่างๆ นานาที่ต้องใช้เงินมหาศาล อันถือเป็นเส้นเลือดหลักของการหล่อเลี้ยงให้ระบอบทักษิณครองอำนาจอยู่ได้ แต่ติดขัดที่ พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนดไว้ให้นำไปใช้ได้ใน 2 ด้านคือ ใช้สนับสนุนการปลูกต้นยางทดแทนในสัดส่วน 85% และที่เหลือ 15% ใช้เพื่อการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จึงไม่แปลกที่หลายปีมานี้ ฝ่ายการเมืองได้ความพยายามหักล้างข้อกำหนดการนำเงินกองทุนไปใช้ให้ได้ แต่ก็ไม่เคยประสบผล สุดท้ายจึงนำไปสู่การบีบให้ยกเลิก พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางไปเสียเลย แล้วเสนอให้ออกกฎหมายใหม่มาใช้แทนคือ พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย เพื่อให้ง่ายต่อการนำเงินก้อนนี้ไปใช้ได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งก็มีการเสนอเข้าสภาไปแล้ว
ต้องขอบอกกล่าวไว้ตรงนี้ด้วยว่า ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองฝ่ายไหน กลุ่ม ก๊วน หรือแก๊งไหน ไม่ว่าฟากกุมบังเหียนอำนาจรัฐ หรือฟากกระสันอยากจะควบคุมอำนาจรัฐ หรือเอาให้ชัดๆ คือ ไม่ว่าจะฝ่ายรัฐบาล หรือฝ่ายค้านในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่มีส่วนร่วม หรือหนุนเนื่องให้มีการนำเงินกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางที่มีอยู่หลายหมื่นล้านบาทไปใช้ได้คล่องมือขึ้นทั้งนั้น
ชนักที่ปักหลังของนายณัฐวุฒิว่าด้วยเรื่องปุ๋ยมีจุดเริ่มตั้งแต่ก้าวขึ้นนั่งตำแหน่ง รมช.เกษตรฯ ใหม่ๆ เมื่อนำเงินกองทุนค่าเซสส์มาใช้ทำโครงการอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสงเคราะห์ปลูกยางทดแทนไม่ได้ ก็หาทางออกด้วยการคิดโครงการที่เกี่ยวเนื่องสวมเข้าไปเสียเลย นั่นคือ การจัดหาปุ๋ยให้แก่ชาวสวนที่ขึ้นทำเนียบไว้กับกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ปัจจุบัน มีพื้นที่ปลูกยางทั่วประเทศประมาณ 18 ล้านไร่ ให้ผลผลิตแล้วประมาณ 12 ล้านไร่ รวมผลผลิตกว่า 3.5 แสนตัน/ปี โดยสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางประเมินว่า ปีหนึ่งๆ จะมีชาวสวนโค่นยางแล้วขอสงเคราะห์ปลูกทดแทนราว 5 แสนล้านไร่ แต่ปรากฏว่า หลายปีมานี้ราคายางที่แพงขึ้นทำให้มีการตัดโค่นต้นยางลดลงเหลือราว 2 แสนไร่/ปี ส่งผลให้เวลานี้มีเงินกองทุนค่าเซสส์คงค้างถึงกว่า 5 หมื่นล้านบาท
การให้เงินสงเคราะห์ชาวสวนปลูกยางทดแทนของกองทุนกำหนดไว้ที่ 1.6 หมื่นบาท/ไร่ ในตลอด 7 ปีที่ยังไม่มีการกรีด แต่ส่วนใหญ่จะใช้มากสุดช่วง 3 ปีแรก โดยสนับสนุนทั้งในเรื่องของการเตรียมดิน ขุดหลุม กล้าพันธุ์ยาง และที่สำคัญคือ ปุ๋ย ซึ่งประมาณการไว้ว่าจะต้องใช้ปุ๋ยราว 7.7 หมื่นตัน/ปี
ตัวเลขความต้องการใช้ปุ๋ยนี่แหละที่นายณัฐวุฒิบีบให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางไปตั้งเรื่องจัดหาให้แก่เกษตรกร แต่ทางผู้บริหารกองทุนประเมินแล้วว่า จะนำมาซึ่งปัญหามากมาย โดยเฉพาะในเรื่องการจัดหาที่เก็บ การแจกจ่าย และที่สำคัญอาจจะถูกตรวจสอบในเรื่องของความไม่โปร่งใสได้ จึงต่อรองขอลดลงเหลือประมาณ 3.5 หมื่นตัน ซึ่งในเวลาเกือบปีที่ผ่านมา ก็มีความพยายามแจกจ่ายปุ๋ยในส่วนนี้ไปแล้วราว 1.8 หมื่นตัน
ปรากฏว่า โครงการแจกปุ๋ยมีปัญหามากมาย และวุ่นวายไม่แพ้โครงการอื่นๆ โดยเฉพาะปัญหาสำคัญมากที่ชี้ว่า โครงการนี้ไร้ประสิทธิภาพและมีความล้มเหลวเป็นที่ประจักษ์คือ ปุ๋ยที่ให้บริษัทเอกชนจัดหามาให้ไม่ผ่านการรับรองของกรมวิชาการเกษตร ทำให้ชาวสวนยางไม่ยอมรับ ขณะที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องก็ไม่กล้าแจกจ่าย เหตุผลหลักก็เพราะกลัวติดคุกตะรางหากยังดันทุรังเดินหน้า
ความเสียหายของรัฐเกิดขึ้นแล้ว และผู้ที่ต้องรับผิดชอบโดยตรงก็คงไม่พ้นอำมาตย์แดง ในฐานะประธานบอร์ดของหลายๆ ชุดที่นั่งหัวโต๊ะประชุมให้มีการอนุมัติให้ดำเนินการที่เกี่ยวข้องแทบทุกครั้ง
ผู้คร่ำหวอดในวงการยางวิเคราะห์ให้ฟังว่า เวลานี้พลพรรคประชาธิปัตย์มีข้อมูลมากมายที่จะอภิปรายโครงการรับจำนำข้าว แต่สำหรับโครงการแทรกแซงราคายาง รวมถึงโครงการจัดหาปุ๋ยให้แก่ชาวสวนที่รับการสงเคราะห์นั้น ไม่แน่ใจว่าจะมีข้อมูลมากพอหรือไม่ หากประกาศรายชื่อรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจออกมาแล้วไม่มีชื่อของนายณัฐวุฒิ ก็ต้องนับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่ง
เนื่องเพราะนายณัฐวุฒิเป็นบุคคลที่คนทั้งสังคมไทยให้ความสนใจ แถมปัญหาการแทรกแซงราคา และแจกปุ๋ยยางก็เกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้คนหลากกลุ่มหลายอาชีพ แต่มีสวนยางไว้ในครอบครองรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 6 ล้านครัวเรือน ใน 51 จังหวัดทั่วประเทศ ที่สำคัญ กระจุกอยู่ในภาคใต้ที่เป็นฐานที่มั่นของประชาธิปัตย์ ขณะที่อีสานก็ไม่น้อยหน้า อีกทั้งยังกระจายอยู่ในภาคกลาง และภาคเหนือที่สามารถเข้าเจาะฐานเจ้าถิ่นอย่างเพื่อไทยได้ด้วย
นายณัฐวุฒินอกจากจะเป็นสีสันในเวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้ว ยังสามารถนำไปสู่ความอยู่รอด หรือไม่รอดขององคาพยพรัฐนาวายิ่งลักษณ์ด้วย
อีกทั้งเป็นที่กล่าวขานกันว่า เรื่องนี้ยังมีส่วนเชื่องโยงถึงผู้ยิ่งใหญ่ในภาคเหนือที่มีชื่อย่อว่า “ด.” และพลพรรคที่แวดล้อมอยู่รอบๆ ตัวอีกต่างหาก