ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ศูนย์เตือนภัยพิบัติจัดโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบเตือนภัยให้แก่ภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (11 ต.ค.) ที่ห้องประชุมมะฮอกกานี โรงเรียนสตรีภูเก็ต นายสมเกียรติ ศิริวัฒนโชค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานเปิดการสัมมนา “โครงการสร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัย และสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยภาคประชาชน เพื่อป้องกันและบรรเทาภัย” ซึ่งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดขึ้น โดยมี นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้เชี่ยวชาญพิเศษศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สมาคมวิทยุสมัครเล่น และมูลนิธิต่างๆ เข้าร่วม
นายสมเกียรติ ศิริวัฒนโชค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า เนื่องจากในช่วงปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งหากมีแนวทางและข้อมูลในการป้องกัน หรือการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า ให้ประชาชนในพื้นที่ก็จะช่วยลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ประกอบกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีนโยบายให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการบริหาร และบูรณาการความร่วมมือเกี่ยวกับการแจ้งเตือนภัย เพื่อรับมือกับภัยพิบัติได้ทันการ
“ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้กำหนดให้มีการจัดทำโครงการสร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัย และสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชน เพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้น รวมทั้งเพื่อซักซ้อมการรับข่าว การแจ้งเตือนภัย การให้ความช่วยเหลือ และการประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มจำนวนผู้มีจิตอาสาในการเป็นเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติคอยเฝ้าระวัง และให้ข้อมูลเกี่ยวกับภัยทางธรรมชาติในพื้นที่ เพื่อศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ และแจ้งเตือนภัยไปยังพื้นที่ สามารถลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างทันท่วงที” นายสมเกียรติกล่าว
นายสมเกียรติ กล่าวต่อไปอีกว่า ภาวะภัยพิบัติต่างๆ ได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบางครั้งอยู่นอกเหนือการคาดการณ์ อันมีสาเหตุมาจากวิกฤติการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งจากธรรมชาติ และฝีมือมนุษย์ ดังนั้น เราจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือในทุกสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเผชิญกับสถานการณ์ ควรต้องได้รับการบรรเทาและดำเนินการที่ดี พร้อมทั้งเผชิญเหตุการณ์อย่างมีสติ แม้เราจะไม่สามารถควบคุมความรุนแรงจากภัยพิบัติได้ แต่เราสามารถเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้ บนพื้นฐานความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อบรรเทาความสูญเสียที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะความสูญเสียของชีวิต
เมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (11 ต.ค.) ที่ห้องประชุมมะฮอกกานี โรงเรียนสตรีภูเก็ต นายสมเกียรติ ศิริวัฒนโชค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานเปิดการสัมมนา “โครงการสร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัย และสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยภาคประชาชน เพื่อป้องกันและบรรเทาภัย” ซึ่งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดขึ้น โดยมี นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ผู้เชี่ยวชาญพิเศษศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนันผู้ใหญ่บ้าน เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ สมาคมวิทยุสมัครเล่น และมูลนิธิต่างๆ เข้าร่วม
นายสมเกียรติ ศิริวัฒนโชค ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า เนื่องจากในช่วงปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งหากมีแนวทางและข้อมูลในการป้องกัน หรือการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า ให้ประชาชนในพื้นที่ก็จะช่วยลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ประกอบกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีนโยบายให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักในการบริหาร และบูรณาการความร่วมมือเกี่ยวกับการแจ้งเตือนภัย เพื่อรับมือกับภัยพิบัติได้ทันการ
“ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้กำหนดให้มีการจัดทำโครงการสร้างองค์ความรู้ด้านระบบเตือนภัยพิบัติของพื้นที่เสี่ยงภัย และสร้างเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติภาคประชาชน เพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้น รวมทั้งเพื่อซักซ้อมการรับข่าว การแจ้งเตือนภัย การให้ความช่วยเหลือ และการประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มจำนวนผู้มีจิตอาสาในการเป็นเครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติคอยเฝ้าระวัง และให้ข้อมูลเกี่ยวกับภัยทางธรรมชาติในพื้นที่ เพื่อศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ และแจ้งเตือนภัยไปยังพื้นที่ สามารถลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างทันท่วงที” นายสมเกียรติกล่าว
นายสมเกียรติ กล่าวต่อไปอีกว่า ภาวะภัยพิบัติต่างๆ ได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยบางครั้งอยู่นอกเหนือการคาดการณ์ อันมีสาเหตุมาจากวิกฤติการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งจากธรรมชาติ และฝีมือมนุษย์ ดังนั้น เราจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือในทุกสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเผชิญกับสถานการณ์ ควรต้องได้รับการบรรเทาและดำเนินการที่ดี พร้อมทั้งเผชิญเหตุการณ์อย่างมีสติ แม้เราจะไม่สามารถควบคุมความรุนแรงจากภัยพิบัติได้ แต่เราสามารถเตรียมรับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้ บนพื้นฐานความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อบรรเทาความสูญเสียที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะความสูญเสียของชีวิต