ศูนย์ข่าวภูเก็ต - สื่อท้องถิ่นภูเก็ตจัดเวที “ราษฎร์ รัฐ กับการเตรียมพร้อมรับการมือเปิดประชาคมอาเซียน” ให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่
เมื่อเวลา 18.00 น.วันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา บริษัท หนังสือพิมพ์เสียงใต้ รายวัน ภูเก็ต ชมรมผู้สื่อข่าวจังหวัดภูเก็ต และเทศบาลเมืองกะทู้ ร่วมจัดเวทีประชาคม “เสียงใต้ สัญจรกะทู้ ครั้งที่ 1 ราษฎร์ รัฐ กับการเตรียมพร้อมรับการเปิดประชาคมอาเซียน” ที่กำลังจะมาถึงในปี 2558 เพื่อสร้างความรู้ และความตระหนักให้แก่ชาวภูเก็ต โดยมีนายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นางสุดฤทัย เลิศเกษม ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดภูเก็ต (สทท.ภูเก็ต) นายวิโรจน์ ภู่ต้อง ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต นายพีระพงศ์ ผลประมูล ประธานชมรมผู้สื่อข่าวภูเก็ต และนายชัยอนันท์ สุทธิกุล นายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ ร่วมเสวนา และมีประชาชนในพื้นที่กะทู้ ให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 300 คน โดย สทท.ภูเก็ต ได้ทำการบันทึกเทปโทรทัศน์เพื่อแพร่ภาพออกอากาศสร้างความตื่นตัวรับประชาคมอาเซียน
สำหรับการจัดกิจกรรมดังกล่าว เป็นการสัญจรครั้งแรกของหนังสือพิมพ์ และวิทยุเสียงใต้ ในการออกให้ความรู้แก่ภาคประชาชนในเรื่องประชาคมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนได้ทราบรายละเอียดทั้งในแง่บวก และแง่ลบเมื่อมีการเปิดประชาคม จะทำให้สามารถปรับตัว และตั้งรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต เป็นแหล่องท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นจุดหมายปลายทางของผู้คนที่จะหลั่งไหลเข้ามาประกอบอาชีพจากทั่วโลก โดยครั้งต่อไป เสียงใต้มีแผนที่จะตระเวนเดินสายสัญจรไปเปิดเวทีประชาคมอาเซียนยังท้องถิ่นอื่นๆ ของภูเก็ตต่อไปด้วย
อย่างไรก็ตาม การเลือก ต.กะทู้ เป็นสถานที่นำร่องในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ด้วยมองว่า กะทู้เป็นพื้นที่แตกต่างจากชุมชนอื่นบนเกาะภูเก็ต โดยนายชัยอนันท์ กล่าวว่า กะทู้มีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ และความโดดเด่นมายาวนานกว่าร้อยปี เช่น งานประเพณีถือศีลกินผัก เป็นต้น และที่ผ่านมา เทศบาลเมืองกะทู้ได้จัดกิจกรรมถนนสายวัฒนธรรมเมืองกะทู้ขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้วัฒนธรรมของคนกะทู้ไม่ถูกกลืนหายไป
นอกจากนี้ ทางเทศบาลในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการเตรียมพร้อมบุคลากร และภาคประชาชนในด้านอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น ด้านการศึกษา ซึ่งขณะนี้ได้มีการผลักดันให้เกิดการเรียนการสอนแบบนานาชาติขึ้นในพื้นที่ เพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม รวมถึงภาษาอาเซียนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชน สามารถแข่งขันกับอีก 9 ชาติในอาเซียนที่จะหลั่งไหลเข้ามาเป็นประชาคมเดียวกัน
เช่นเดียวกันกับ นายวิโรจน์ ที่มองว่า การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งภาคการศึกษา รวมถึงประชาชนชาวภูเก็ต จะต้องให้ความสำคัญ และพัฒนาทางด้านภาษาให้มีความชำนาญ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และจะต้องเรียนรู้ภาษาของชาติอาเซียนด้วย ซึ่งอย่างน้อยก็ต้องรู้ มีทักษะพื้นฐานของภาษาเหล่านี้
ขณะที่ นายสมเกียรติ กล่าวตอนหนึ่งว่า ที่ผ่านมา เราแข่งขันกับตัวเอง แต่ต่อไปเราต้องแข่งขันกับอีก 9 ประเทศ ซึ่งเราจะต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ ธุรกิจ ภาษา ให้มีความชำนาญ เพื่อไทยจะต้องไม่เสียเปรียบกับ 9 ประเทศเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า
เมื่อเวลา 18.00 น.วันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมา บริษัท หนังสือพิมพ์เสียงใต้ รายวัน ภูเก็ต ชมรมผู้สื่อข่าวจังหวัดภูเก็ต และเทศบาลเมืองกะทู้ ร่วมจัดเวทีประชาคม “เสียงใต้ สัญจรกะทู้ ครั้งที่ 1 ราษฎร์ รัฐ กับการเตรียมพร้อมรับการเปิดประชาคมอาเซียน” ที่กำลังจะมาถึงในปี 2558 เพื่อสร้างความรู้ และความตระหนักให้แก่ชาวภูเก็ต โดยมีนายสมเกียรติ สังข์ขาวสุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นางสุดฤทัย เลิศเกษม ผู้อำนวยการสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย จังหวัดภูเก็ต (สทท.ภูเก็ต) นายวิโรจน์ ภู่ต้อง ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนภูเก็ต นายพีระพงศ์ ผลประมูล ประธานชมรมผู้สื่อข่าวภูเก็ต และนายชัยอนันท์ สุทธิกุล นายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ ร่วมเสวนา และมีประชาชนในพื้นที่กะทู้ ให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 300 คน โดย สทท.ภูเก็ต ได้ทำการบันทึกเทปโทรทัศน์เพื่อแพร่ภาพออกอากาศสร้างความตื่นตัวรับประชาคมอาเซียน
สำหรับการจัดกิจกรรมดังกล่าว เป็นการสัญจรครั้งแรกของหนังสือพิมพ์ และวิทยุเสียงใต้ ในการออกให้ความรู้แก่ภาคประชาชนในเรื่องประชาคมอาเซียน เพื่อให้ประชาชนได้ทราบรายละเอียดทั้งในแง่บวก และแง่ลบเมื่อมีการเปิดประชาคม จะทำให้สามารถปรับตัว และตั้งรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต เป็นแหล่องท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นจุดหมายปลายทางของผู้คนที่จะหลั่งไหลเข้ามาประกอบอาชีพจากทั่วโลก โดยครั้งต่อไป เสียงใต้มีแผนที่จะตระเวนเดินสายสัญจรไปเปิดเวทีประชาคมอาเซียนยังท้องถิ่นอื่นๆ ของภูเก็ตต่อไปด้วย
อย่างไรก็ตาม การเลือก ต.กะทู้ เป็นสถานที่นำร่องในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ด้วยมองว่า กะทู้เป็นพื้นที่แตกต่างจากชุมชนอื่นบนเกาะภูเก็ต โดยนายชัยอนันท์ กล่าวว่า กะทู้มีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ และความโดดเด่นมายาวนานกว่าร้อยปี เช่น งานประเพณีถือศีลกินผัก เป็นต้น และที่ผ่านมา เทศบาลเมืองกะทู้ได้จัดกิจกรรมถนนสายวัฒนธรรมเมืองกะทู้ขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้วัฒนธรรมของคนกะทู้ไม่ถูกกลืนหายไป
นอกจากนี้ ทางเทศบาลในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการเตรียมพร้อมบุคลากร และภาคประชาชนในด้านอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เช่น ด้านการศึกษา ซึ่งขณะนี้ได้มีการผลักดันให้เกิดการเรียนการสอนแบบนานาชาติขึ้นในพื้นที่ เพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม รวมถึงภาษาอาเซียนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชน สามารถแข่งขันกับอีก 9 ชาติในอาเซียนที่จะหลั่งไหลเข้ามาเป็นประชาคมเดียวกัน
เช่นเดียวกันกับ นายวิโรจน์ ที่มองว่า การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งภาคการศึกษา รวมถึงประชาชนชาวภูเก็ต จะต้องให้ความสำคัญ และพัฒนาทางด้านภาษาให้มีความชำนาญ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ และจะต้องเรียนรู้ภาษาของชาติอาเซียนด้วย ซึ่งอย่างน้อยก็ต้องรู้ มีทักษะพื้นฐานของภาษาเหล่านี้
ขณะที่ นายสมเกียรติ กล่าวตอนหนึ่งว่า ที่ผ่านมา เราแข่งขันกับตัวเอง แต่ต่อไปเราต้องแข่งขันกับอีก 9 ประเทศ ซึ่งเราจะต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ ธุรกิจ ภาษา ให้มีความชำนาญ เพื่อไทยจะต้องไม่เสียเปรียบกับ 9 ประเทศเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า