ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรยังฟุ้ง เดินหน้าสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ระบุ การค้า ขนส่งช่องแคบมะละกามีมูลค่าสูง แนะทำยุทธศาสตร์เชื่อมโยงขนส่งทางทะเลที่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก-อินเดีย เพื่อเปิดประตูการค้าใหม่ ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่ยังไม่เคยรับรู้ข้อมูลที่ชัดเจน เดินหน้าให้ยกเลิก EIA ด้าน คสป. แนะจัดเวทีถกประเด็นนี้โดยเฉพาะ
ดร.มาลี เอื้อภารดา หัวหน้ากลุ่มลอจิสติกส์การขนส่ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัด สตูล ระหว่างการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็น “แผนพัฒนาภาคใต้” เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ปัจจุบัน ปริมาณการค้า และการขนส่งทางภาคใต้บริเวณช่องแคบมะละกามีมูลค่าสูง ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยที่จะมุ่งทำยุทธศาสตร์เชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลของประเทศต่างๆ ที่อยู่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก เข้ากับประเทศที่อยู่ติดกับทางมหาสมุทรอินเดียด้วยสะพานเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นการช่วยย่นระยะเวลาในการขนส่ง และลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งลงอีกด้วย
“ประเทศไทยซึ่งมีความเหมาะสมทั้งทำเล ที่ตั้ง ลักษณะภูมิศาสตร์ และทรัพยากรต่างๆ สามารถพัฒนาจนเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาค รองรับการขยายตัวในอนาคตที่เพิ่มขึ้นทางการค้า และการขนส่งในภูมิภาคอาเซียน และสามารถเชื่อมโยงการขนส่งกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 และทางรถไฟในพื้นที่ จ.สตูล และสงขลา จะสามารถรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ได้เป็นจำนวนมาก”
ทั้งนี้ ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ตั้งอยู่ที่บริเวณชายหาดบ้านปากน้ำ ตัวท่าเรือถมเป็นเกาะ อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 4.5 กิโลเมตร ส่วนที่ทำการก่อสร้างท่าเรือในส่วนอาคาร และสาธารณูปโภค มีการวิเคราะห์ทางการเงินลงทุน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอเรื่องขออนุมัติโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล ผ่านกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป คาดว่า ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการส่งออก และนำเข้าสินค้า ทำให้เกิดการพัฒนากิจกรรมเศรษฐกิจด้วยการเปิดประตูการค้าใหม่ รวมทั้งช่วยส่งเสริมระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำลงอีกด้วย
นายตรีพิพัฒน์ บัวเนี่ยว รองหัวหน้าโครงการเครือข่ายพลเมืองปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิด กล่าวว่า ในแง่ของประชาชนในพื้นที่ ยังมีความกังวลอยู่หลายเรื่อง ทั้งขนาดการก่อสร้าง ข้อมูลต่างๆ ของโครงการ ชาวบ้านไม่เคยได้รับรู้ข้อมูลที่แท้จริงว่าจะต้องมีการทำลายภูเขาในพื้นที่กี่ลูก จะต้องนำเอาทรายมาจากที่ไหนมาใช้ทำการก่อสร้าง เรื่องปัญหามลพิษต่างๆ ตลอดจนผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของพวกเขา ซึ่งจริงๆ แล้ว คนภาคใต้นั้นพอใจในอาชีพและความเป็นอยู่ตอนนี้อยู่แล้ว แม้ว่าภาครัฐอยากจะทำให้ภาคใต้เจริญ และพัฒนาต่อไปได้เรื่อยๆ แต่คนใต้ส่วนใหญ่คิดว่า ทุกอย่างมันดีอยู่แล้ว ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่า ถ้าประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยทุกอย่างก็จบ
ทางด้าน นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ กรรมการสมัชชาปฏิรูป ให้ความเห็นว่า ปัญหาที่สำคัญคือ ชาวบ้านในพื้นที่ต่อต้าน และไม่ยอมรับ เนื่องจากมีปัญหาที่ข้อมูลไม่ชัดเจน และเข้าใจได้ยาก พูดคุยไม่เข้าใจกัน คุยกันคนละประเด็น ชาวบ้านมีข้อมูลของเขา และความคิดเห็นของเขา คือ ทุกคนกลัว และกังวลในการเปลี่ยนแปลง ชีวิตจะเปลี่ยน ชีวทัศน์ สิ่งแวดล้อม อาชีพ ทุกอย่างจะเปลี่ยนไปหมด และความเจริญที่จะเข้ามานั้น ชาวบ้านมองว่าไม่ค่อยจะได้ประโยชน์เท่าไร
“เราจึงควรจัดเวทีเฉพาะขึ้นมาคุยเฉพาะประเด็นนี้เพียงอย่างเดียว จะได้มีการเชื่อมต่อกันอย่างเข้าใจ ต้องมีกลไกกลางขึ้นมาที่เป็นที่ยอมรับของทั้งฝ่ายรัฐ และชาวบ้าน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน และนำข้อเสนอที่ได้มาดูว่าจะทำงานกันต่อไปอย่างไร ทั้งสองฝ่ายจะได้เข้าใจ และยอมรับกันและกันมากขึ้น มีการเพิ่มกลไกการสื่อสารให้เชื่อมต่อกับสื่อท้องถิ่น ส่วนเวทีประชุมในภาพรวมยังคงมีต่อไป เรามาคุยกันให้มากขึ้น แต่จะต้องมีเป้าหมายที่จับต้องได้ เพราะจะทำให้เห็นโครงงานที่ชัดเจนขึ้น”นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ กล่าว
โดย สุพรรณี วุวรรณศรี / นักข่าวพลเมือง
ดร.มาลี เอื้อภารดา หัวหน้ากลุ่มลอจิสติกส์การขนส่ง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัด สตูล ระหว่างการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็น “แผนพัฒนาภาคใต้” เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ปัจจุบัน ปริมาณการค้า และการขนส่งทางภาคใต้บริเวณช่องแคบมะละกามีมูลค่าสูง ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยที่จะมุ่งทำยุทธศาสตร์เชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลของประเทศต่างๆ ที่อยู่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก เข้ากับประเทศที่อยู่ติดกับทางมหาสมุทรอินเดียด้วยสะพานเศรษฐกิจ ซึ่งจะเป็นการช่วยย่นระยะเวลาในการขนส่ง และลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งลงอีกด้วย
“ประเทศไทยซึ่งมีความเหมาะสมทั้งทำเล ที่ตั้ง ลักษณะภูมิศาสตร์ และทรัพยากรต่างๆ สามารถพัฒนาจนเป็นศูนย์กลางการขนส่งในภูมิภาค รองรับการขยายตัวในอนาคตที่เพิ่มขึ้นทางการค้า และการขนส่งในภูมิภาคอาเซียน และสามารถเชื่อมโยงการขนส่งกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 และทางรถไฟในพื้นที่ จ.สตูล และสงขลา จะสามารถรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่ได้เป็นจำนวนมาก”
ทั้งนี้ ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ตั้งอยู่ที่บริเวณชายหาดบ้านปากน้ำ ตัวท่าเรือถมเป็นเกาะ อยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 4.5 กิโลเมตร ส่วนที่ทำการก่อสร้างท่าเรือในส่วนอาคาร และสาธารณูปโภค มีการวิเคราะห์ทางการเงินลงทุน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอเรื่องขออนุมัติโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล ผ่านกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป คาดว่า ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการส่งออก และนำเข้าสินค้า ทำให้เกิดการพัฒนากิจกรรมเศรษฐกิจด้วยการเปิดประตูการค้าใหม่ รวมทั้งช่วยส่งเสริมระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนการขนส่งที่ต่ำลงอีกด้วย
นายตรีพิพัฒน์ บัวเนี่ยว รองหัวหน้าโครงการเครือข่ายพลเมืองปกป้องแผ่นดินถิ่นเกิด กล่าวว่า ในแง่ของประชาชนในพื้นที่ ยังมีความกังวลอยู่หลายเรื่อง ทั้งขนาดการก่อสร้าง ข้อมูลต่างๆ ของโครงการ ชาวบ้านไม่เคยได้รับรู้ข้อมูลที่แท้จริงว่าจะต้องมีการทำลายภูเขาในพื้นที่กี่ลูก จะต้องนำเอาทรายมาจากที่ไหนมาใช้ทำการก่อสร้าง เรื่องปัญหามลพิษต่างๆ ตลอดจนผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของพวกเขา ซึ่งจริงๆ แล้ว คนภาคใต้นั้นพอใจในอาชีพและความเป็นอยู่ตอนนี้อยู่แล้ว แม้ว่าภาครัฐอยากจะทำให้ภาคใต้เจริญ และพัฒนาต่อไปได้เรื่อยๆ แต่คนใต้ส่วนใหญ่คิดว่า ทุกอย่างมันดีอยู่แล้ว ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่า ถ้าประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วยทุกอย่างก็จบ
ทางด้าน นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ กรรมการสมัชชาปฏิรูป ให้ความเห็นว่า ปัญหาที่สำคัญคือ ชาวบ้านในพื้นที่ต่อต้าน และไม่ยอมรับ เนื่องจากมีปัญหาที่ข้อมูลไม่ชัดเจน และเข้าใจได้ยาก พูดคุยไม่เข้าใจกัน คุยกันคนละประเด็น ชาวบ้านมีข้อมูลของเขา และความคิดเห็นของเขา คือ ทุกคนกลัว และกังวลในการเปลี่ยนแปลง ชีวิตจะเปลี่ยน ชีวทัศน์ สิ่งแวดล้อม อาชีพ ทุกอย่างจะเปลี่ยนไปหมด และความเจริญที่จะเข้ามานั้น ชาวบ้านมองว่าไม่ค่อยจะได้ประโยชน์เท่าไร
“เราจึงควรจัดเวทีเฉพาะขึ้นมาคุยเฉพาะประเด็นนี้เพียงอย่างเดียว จะได้มีการเชื่อมต่อกันอย่างเข้าใจ ต้องมีกลไกกลางขึ้นมาที่เป็นที่ยอมรับของทั้งฝ่ายรัฐ และชาวบ้าน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน และนำข้อเสนอที่ได้มาดูว่าจะทำงานกันต่อไปอย่างไร ทั้งสองฝ่ายจะได้เข้าใจ และยอมรับกันและกันมากขึ้น มีการเพิ่มกลไกการสื่อสารให้เชื่อมต่อกับสื่อท้องถิ่น ส่วนเวทีประชุมในภาพรวมยังคงมีต่อไป เรามาคุยกันให้มากขึ้น แต่จะต้องมีเป้าหมายที่จับต้องได้ เพราะจะทำให้เห็นโครงงานที่ชัดเจนขึ้น”นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ กล่าว
โดย สุพรรณี วุวรรณศรี / นักข่าวพลเมือง