คอลัมน์ : โลกที่ซับซ้อน
โดย...ประสาท มีแต้ม
ในรัฐธรรมนูญ 2550 มีคำว่า “สมดุล” อยู่สองที่ ที่แรกว่าด้วย “สิทธิชุมชน” (มาตรา 66) และที่ที่สองว่าด้วย “แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” (มาตรา 85)
ถ้าเราสงสัยว่า “สมดุล” มีความสำคัญอย่างไร ก็ให้ลองนึกสภาพที่ “ไม่สมดุล” ของคนที่ขาหัก หรือคนที่ต้องถือไม้เท้าก็แล้วกัน จะลุกจะเดินมันช่างลำบาก และสร้างปัญหาเยอะเลย บัญชีเงินฝากธนาคารที่เงินฝากไม่สมดุลกับเงินถอนก็ย่อมนำไปสู่ปัญหาเช่นเดียวกัน ดังนั้น คำว่า “สมดุล” จึงมีความสำคัญมากในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปัจเจก (ตลอดจนระดับเซลล์ในร่างกาย) จนถึงระดับสิ่งแวดล้อมเลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญไปถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ครับ
ประโยคสุดท้ายของมาตรา 66 ในรัฐธรรมนูญนี้ก็คือ ชุมชนมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน สำหรับมาตรา 85 ก็พูดถึงสิ่งเดียวกันคือความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล
ในระบบนิเวศใดที่ความหลากหลาย (หรือจำนวนพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต) ทางชีวภาพไม่สมดุล หรือไม่เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกันแล้ว ระบบนิเวศนั้นๆ ก็จะไม่ยั่งยืน ในท้องทะเลซึ่ง กุ้ง หอย ปู และปลาน้อยใหญ่ รวมทั้งแพลงก์ตอนพืช และสัตว์ก็มีความสัมพันธ์กันเป็นห่วงโซ่อาหารอย่างพอเหมาะ หากห่วงโซ่อาหารนี้เกิดขาดไปสักโซ่ย่อมมีปัญหาต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศโดยรวมอย่างแน่นอน ตั้งแต่สัตว์น้ำชั้นล่างสุด (เช่น ปลากะตัก)ไปจนถึงชั้นบน (เช่น ปลาฉลาม) เป็นต้น เมื่อระบบนิเวศใดเสียสมดุลไปแล้วก็ยากที่จะฟื้นคืนกลับมาดังเดิม
ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคกลางเมื่อปีกลาย ก็เป็นปัญหาที่เกิดจากความ “ไม่สมดุล” ของระบบนิเวศทั้งที่เป็นระบบธรรมชาติ และการวางผังเมือง เราสร้างถนน ที่อยู่อาศัย รวมทั้งสร้างนิคมอุตสาหกรรมกีดขวางทางไหลของน้ำตามธรรมชาติ ทำให้อัตราการไหลของน้ำเข้ากับน้ำออกไม่สมดุลกัน ส่งผลให้น้ำท่วมนาน และสร้างความเสียหายมากกว่าที่ควรจะเป็น
ในเรื่องเศรษฐกิจ ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนใหญ่คงจะรู้สึกแปลกใจกับข้อมูลที่สะท้อนว่า ประเทศเราได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งในแง่ของการผลิต และการใช้พลังงาน
ในปี 2529 ซึ่งเป็นปีที่ 25 ปีภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เราส่งสินค้าออกได้คิดเป็นมูลค่า 2.3 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 21% แต่ใช้พลังงานเพียง 7% ของรายได้ประชาชาติ โดยที่สินค้าออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร คือ ข้าว ยางพารา และอาหารทะเลสำเร็จรูป เป็นต้น
แต่ในอีก 25 ปีต่อมา คือปี 2554 ตัวเลขดังกล่าวได้เปลี่ยนไปอย่างคาดไม่ถึง คือ ส่งสินค้าออกคิดเป็นมูลค่า 6.9 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 65% และใช้พลังงานถึง 19% ของรายได้ประชาชาติ
ที่น่าแปลกใจกว่านั้นอีกก็คือ สินค้าออก 2 อันดับแรกที่มีมูลค่าสูงสุด คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และรถยนต์ พร้อมอุปกรณ์และส่วนประกอบ คำถามก็คือว่า สินค้าดังกล่าวมียี่ห้อใดบ้างที่เป็นของคนไทย ที่น่าแปลกใจสุดๆ ก็คือ สินค้าออกอันดับที่ 5 คือ น้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปมีมูลค่าถึง 0.3 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่าข้าวที่มาถูกทิ้งให้อยู่ในอันดับที่ 10 (ยางพารามาอันดับที่ 4)
จากข้อมูลในสามย่อหน้าสุดท้าย ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเราได้เสีย “สมดุล” ไปนานแล้ว ทั้งในด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสัดส่วนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม การเกษตรและภาคบริการที่ไม่ได้สัดส่วน หรือสมดุล
ระบบเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในประเทศอีกต่อไปแล้ว แต่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งเคยถูกตั้งขึ้นมาด้วยเหตุผลว่า “เพื่อทดแทนการนำเข้า” ก็ยังคงส่งเสริมการลงทุนโดยไม่เก็บภาษีเครื่องจักรและเงินได้ในช่วง 8 ปีแรกเช่นเดิม เจ้าของทุนก็เป็นทุนผูกขาดต่างชาติ กรณีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปทั้งๆ ที่ประเทศเรายังเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาน้ำมันดิบส่วนใหญ่จากต่างประเทศยิ่งตอกย้ำถึงความไม่มีเหตุมีผลของระบอบทุนนิยมสามานย์
เป็นเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตที่ใช้พลังงาน และแรงงานราคาถูก มีการจ้างงานจำนวนน้อย แย่งการใช้น้ำจืดจากภาคเกษตรกรรม แล้วปล่อยมลพิษทั้งทางอากาศ และแม่น้ำลำคลอง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด
ที่กล่าวมาแล้ว เป็นเรื่องของอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่แม้ว่าภาคประชาชนจะได้เคยออกมาเตือนในเชิงนโยบายแล้วว่า ควรจะพัฒนาประเทศให้มีความสมดุลกันระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทั้งสามส่วนนี้มีความยั่งยืนด้วย แต่ก็ไม่ได้ผล กระบวนการโลกาภิวัตน์กำลังโหมกระหน่ำในทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคใต้ที่เหมาะในการทำท่าเรือน้ำลึก และโรงไฟฟ้าถ่านหิน
สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอนาคต เราสามารถดูล่วงหน้าจากโครงสร้างการใช้พลังงานในภาคธุรกิจต่างๆ จากเอกสารที่ชื่อว่า แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ.2554-2573) ของกระทรวงพลังงานดังแผนภาพ
ปัจจุบัน (2553) เราใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในภาคอุตสาหกรรมที่ประมาณปีละ 24,000 หน่วยซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจเสียสมดุลแล้ว แต่ในปี 2575 (หรือ 2030) เขาวางแผนว่าจะให้ใช้ถึง 60,000 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นเป็นประมาณเกือบ 3 เท่าตัว ในขณะที่ภาคที่อยู่อาศัย (แถบสีที่สองนับจากข้างบน) จะเพิ่มขึ้นเพียงนิดเดียว เราลองจินตนาการดูสิครับว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า ถ้าเราต้องเดินตามแผนนี้ มันจะเสียสมดุล (ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นห่วง) จะก่อปัญหารุนแรงขนาดไหน ทราบแล้วเปลี่ยนครับ!
โดย...ประสาท มีแต้ม
ในรัฐธรรมนูญ 2550 มีคำว่า “สมดุล” อยู่สองที่ ที่แรกว่าด้วย “สิทธิชุมชน” (มาตรา 66) และที่ที่สองว่าด้วย “แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” (มาตรา 85)
ถ้าเราสงสัยว่า “สมดุล” มีความสำคัญอย่างไร ก็ให้ลองนึกสภาพที่ “ไม่สมดุล” ของคนที่ขาหัก หรือคนที่ต้องถือไม้เท้าก็แล้วกัน จะลุกจะเดินมันช่างลำบาก และสร้างปัญหาเยอะเลย บัญชีเงินฝากธนาคารที่เงินฝากไม่สมดุลกับเงินถอนก็ย่อมนำไปสู่ปัญหาเช่นเดียวกัน ดังนั้น คำว่า “สมดุล” จึงมีความสำคัญมากในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปัจเจก (ตลอดจนระดับเซลล์ในร่างกาย) จนถึงระดับสิ่งแวดล้อมเลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญไปถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ครับ
ประโยคสุดท้ายของมาตรา 66 ในรัฐธรรมนูญนี้ก็คือ ชุมชนมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน สำหรับมาตรา 85 ก็พูดถึงสิ่งเดียวกันคือความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล
ในระบบนิเวศใดที่ความหลากหลาย (หรือจำนวนพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต) ทางชีวภาพไม่สมดุล หรือไม่เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกันแล้ว ระบบนิเวศนั้นๆ ก็จะไม่ยั่งยืน ในท้องทะเลซึ่ง กุ้ง หอย ปู และปลาน้อยใหญ่ รวมทั้งแพลงก์ตอนพืช และสัตว์ก็มีความสัมพันธ์กันเป็นห่วงโซ่อาหารอย่างพอเหมาะ หากห่วงโซ่อาหารนี้เกิดขาดไปสักโซ่ย่อมมีปัญหาต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศโดยรวมอย่างแน่นอน ตั้งแต่สัตว์น้ำชั้นล่างสุด (เช่น ปลากะตัก)ไปจนถึงชั้นบน (เช่น ปลาฉลาม) เป็นต้น เมื่อระบบนิเวศใดเสียสมดุลไปแล้วก็ยากที่จะฟื้นคืนกลับมาดังเดิม
ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ภาคกลางเมื่อปีกลาย ก็เป็นปัญหาที่เกิดจากความ “ไม่สมดุล” ของระบบนิเวศทั้งที่เป็นระบบธรรมชาติ และการวางผังเมือง เราสร้างถนน ที่อยู่อาศัย รวมทั้งสร้างนิคมอุตสาหกรรมกีดขวางทางไหลของน้ำตามธรรมชาติ ทำให้อัตราการไหลของน้ำเข้ากับน้ำออกไม่สมดุลกัน ส่งผลให้น้ำท่วมนาน และสร้างความเสียหายมากกว่าที่ควรจะเป็น
ในเรื่องเศรษฐกิจ ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนใหญ่คงจะรู้สึกแปลกใจกับข้อมูลที่สะท้อนว่า ประเทศเราได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งในแง่ของการผลิต และการใช้พลังงาน
ในปี 2529 ซึ่งเป็นปีที่ 25 ปีภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เราส่งสินค้าออกได้คิดเป็นมูลค่า 2.3 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 21% แต่ใช้พลังงานเพียง 7% ของรายได้ประชาชาติ โดยที่สินค้าออกส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร คือ ข้าว ยางพารา และอาหารทะเลสำเร็จรูป เป็นต้น
แต่ในอีก 25 ปีต่อมา คือปี 2554 ตัวเลขดังกล่าวได้เปลี่ยนไปอย่างคาดไม่ถึง คือ ส่งสินค้าออกคิดเป็นมูลค่า 6.9 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 65% และใช้พลังงานถึง 19% ของรายได้ประชาชาติ
ที่น่าแปลกใจกว่านั้นอีกก็คือ สินค้าออก 2 อันดับแรกที่มีมูลค่าสูงสุด คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และรถยนต์ พร้อมอุปกรณ์และส่วนประกอบ คำถามก็คือว่า สินค้าดังกล่าวมียี่ห้อใดบ้างที่เป็นของคนไทย ที่น่าแปลกใจสุดๆ ก็คือ สินค้าออกอันดับที่ 5 คือ น้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปมีมูลค่าถึง 0.3 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่าข้าวที่มาถูกทิ้งให้อยู่ในอันดับที่ 10 (ยางพารามาอันดับที่ 4)
จากข้อมูลในสามย่อหน้าสุดท้าย ทำให้เราได้ข้อสรุปว่า ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยเราได้เสีย “สมดุล” ไปนานแล้ว ทั้งในด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสัดส่วนเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม การเกษตรและภาคบริการที่ไม่ได้สัดส่วน หรือสมดุล
ระบบเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในประเทศอีกต่อไปแล้ว แต่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งเคยถูกตั้งขึ้นมาด้วยเหตุผลว่า “เพื่อทดแทนการนำเข้า” ก็ยังคงส่งเสริมการลงทุนโดยไม่เก็บภาษีเครื่องจักรและเงินได้ในช่วง 8 ปีแรกเช่นเดิม เจ้าของทุนก็เป็นทุนผูกขาดต่างชาติ กรณีการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปทั้งๆ ที่ประเทศเรายังเป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาน้ำมันดิบส่วนใหญ่จากต่างประเทศยิ่งตอกย้ำถึงความไม่มีเหตุมีผลของระบอบทุนนิยมสามานย์
เป็นเศรษฐกิจที่เน้นการผลิตที่ใช้พลังงาน และแรงงานราคาถูก มีการจ้างงานจำนวนน้อย แย่งการใช้น้ำจืดจากภาคเกษตรกรรม แล้วปล่อยมลพิษทั้งทางอากาศ และแม่น้ำลำคลอง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด
ที่กล่าวมาแล้ว เป็นเรื่องของอดีตจนถึงปัจจุบัน ที่แม้ว่าภาคประชาชนจะได้เคยออกมาเตือนในเชิงนโยบายแล้วว่า ควรจะพัฒนาประเทศให้มีความสมดุลกันระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทั้งสามส่วนนี้มีความยั่งยืนด้วย แต่ก็ไม่ได้ผล กระบวนการโลกาภิวัตน์กำลังโหมกระหน่ำในทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคใต้ที่เหมาะในการทำท่าเรือน้ำลึก และโรงไฟฟ้าถ่านหิน
สำหรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยในอนาคต เราสามารถดูล่วงหน้าจากโครงสร้างการใช้พลังงานในภาคธุรกิจต่างๆ จากเอกสารที่ชื่อว่า แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ.2554-2573) ของกระทรวงพลังงานดังแผนภาพ
ปัจจุบัน (2553) เราใช้พลังงานขั้นสุดท้ายในภาคอุตสาหกรรมที่ประมาณปีละ 24,000 หน่วยซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจเสียสมดุลแล้ว แต่ในปี 2575 (หรือ 2030) เขาวางแผนว่าจะให้ใช้ถึง 60,000 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นเป็นประมาณเกือบ 3 เท่าตัว ในขณะที่ภาคที่อยู่อาศัย (แถบสีที่สองนับจากข้างบน) จะเพิ่มขึ้นเพียงนิดเดียว เราลองจินตนาการดูสิครับว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า ถ้าเราต้องเดินตามแผนนี้ มันจะเสียสมดุล (ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นห่วง) จะก่อปัญหารุนแรงขนาดไหน ทราบแล้วเปลี่ยนครับ!