ฮัสซัน โตะดง
มูฮำหมัด ดือราแม
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)
เปลี่ยนโครงสร้าง อาเซียนยุคใหม่
อาเซียนอยู่กันมา 42 ปี แต่งงานในปี ค.ศ.2008 คือมีกฎบัตรอาเซียน หากสมาชิกประเทศในอาเซียนไม่ปฏิบัติตามกฎบัตร ก็จะมีมาตรการลงโทษ ปัจจุบันมีมาตรการวัดผลและมีมาตรการลงโทษ ซึ่งแต่ก่อนไม่มี
อาเซียนชอบพูดอย่างไม่เป็นทางการ มีการพูดใต้โต๊ะ ตกลงเสร็จก็จะเป็นทางการ อาเซียนฉลาดมาก ก่อนมีการประชุมอาเซียน มีการพบปะอย่างไม่เป็นทางการกันก่อน หากตกลงกันได้กลายเป็นทางการทันที ความแตกต่างระหว่างกฎบัตรอาเซียนกับปฏิญญาอาเซียน คือ กฎบัตรอาเซียนเป็นสิ่งต้องปฏิบัติ ส่วนปฏิญญาเป็นแค่จินตนาการ
ประชาคมอาเซียนไม่เหมือนสหภาพยุโรป แต่นำความคิดบางอย่างของสหภาพยุโรปมาใช้ เช่น การประชุมของอาเซียนปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกในเดือนเมษายน เป็นการประชุมในเรื่องของอาเซียนเอง และครั้งที่ 2 ในเดือนพฤศจิกายน เป็นการประชุมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา
มีการปรับโครงสร้างสำนักเลขาธิการอาเซียน มีการสนับสนุนงบประมาณ หลังจากปี ค.ศ.2008 มีการจัดระบบให้มีผู้แทนถาวรในสำนักงานเลขาธิการอาเซียน ซึ่งความคิดนี้ใช้เวลากว่า 17 ปี กว่าจะประสบผลสำเร็จ
ปัจจุบันประเทศที่ยังไม่ได้ตั้งตัวแทนถาวร ได้แก่ ลาว กัมพูชา เพราะต้องใช้เงิน การตั้งสำนักงานที่ประเทศอินโดนีเซีย ต้องใช้งบประมาณของประเทศไทย 10,000,000 บาท
คนที่เป็นเลขาธิการอาเซียนไม่มีสิทธิที่เซ็นสัญญาในนามอาเซียนได้ เลขาธิการอาเซียนเป็นได้แค่คนนำจดหมายจากเมืองหลวงของอาเซียนไปยังอีกประเทศหนึ่ง หากจะเซ็นสัญญาอะไร ประเทศสมาชิกจะเป็นผู้เซ็น เพราะฉะนั้นในอนาคตจะมีการเพิ่มบทบาทเลขาธิการอาเซียน
คุณสมบัติพิเศษ “ที่รวมทุกการเมืองระบอบโลก”
อาเซียนเป็นการรวมตัวของพวกอำมาตย์ในอาเซียน เป็นองค์กรปกป้องสมาชิกแบบหลับหูหลับตา เป็นองค์กรที่ดีแต่พูด ยิ่งพูดยิ่งดี รู้จักกันดี ยิ่งมีการพูดยิ่งดี เพราะจะได้ไม่ตีกัน อาเซียนชอบพูดถึงความสำเร็จ เรื่องที่ไม่สำเร็จไม่พูด ไม่เปิดโปงความไม่ดีของสมาชิกอาเซียน
อาเซียนไม่เคยใช้เงินของตัวเอง อาเซียนฉลาดใช้วิธีการเจรจากับต่างประเทศ แล้วเอาเงินของต่างประเทศมาใช้ ไม่เคยออกเงินเอง แต่ประเทศสมาชิกต้องจ่ายเงินค่าสมาชิก 1,000,000 เหรียญ
คุณสมบัติพิเศษอาเซียน คือ เป็นสวนสนุก “ดิสนีย์แลนด์” ของระบอบการเมืองโลก เพราะมีระบบการเมืองทุกระบบที่มีอยู่ในโลก ตั้งแต่ระบอบสมบูรณยาสิทธิราษฎร์ ระบอบกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ ระบอบสังคมนิยม ระบอบคอมมิวนิสต์ ระบอบกึ่งทรราช ระบอบเผด็จการ ระบอบประชาธิปไตยจอมปลอม ระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ แม้มีระบบที่ต่างกัน แต่ก็ไม่สนใจความแตกต่างการเมือง มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเดียว และไม่มีความลับเก็บเป็นเอกสาร
อาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ ทั้งๆ ที่คนส่วนใหญ่ใช้ภาษาอินโดนีเซีย ประมาณ 320 จากทั้งหมดประมาณ 600 ล้านคน
อาเซียนยังมีคุณสมบัติคือ ประเทศอินโดนีเซียเป็นชาติมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่มีชาวพุทธมากที่สุดในโลกเช่นกัน โดยรวมชาวพุทธในไทย พม่า กัมพูชา ลาว และฟิลิปปินส์มีชาวคริสตจักรมากที่สุดในเอเชีย
667 ตัวเลขต้องจำ วัดความพร้อมประเทศสมาชิก
หากได้ยินนักข่าวถามรัฐมนตรีว่า การเตรียมความพร้อมไปถึงไหนแล้ว เป็นคำถามที่เชย คนตอบก็จะตอบอย่างไรก็ได้ แต่ไม่เห็นแอ็กชัน เพราะฉะนั้น ต้องจำตัวเลข 667 ไว้ หมายถึงสิ่งที่ประเทศสมาชิกต้องทำก่อนเข้าสู่อาเซียน หากถามว่า ประเทศได้เตรียมความพร้อมในแต่ละแอ็กชันไปถึงไหนแล้ว คนตอบก็ไม่สามารถเลี่ยงได้
ทั้ง 667 แอ็กชันไลน์ก่อนถึงประชาคมอาเซียน ก็มาจากกฎบัตรอาเซียนนั่นเอง ทั้ง 3 เสาหลักมีแอ็กชั่นไลน์ ดังนี้
เสาหลักการเมืองและความมั่นคง มี 142 แอ็กชันไลน์ เช่น ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเข้าใจประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอาเซียน ปกป้องและปราบคอรัปชั่น ฯลฯ
เสาหลักเศรษฐกิจมี 291 แอ็กชันไลน์ เช่น ปกป้องสิทธิบัตร ส่งเสริมอีคอมเมอร์ส การพัฒนายั่งยืนและเท่าเทียม เสรีภาพการลงทุน ฯลฯ
และเสาหลักสังคมและวัฒนธรรมมี 234 แอ็กชันไลน์ เช่น ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ ลดช่องว่างความยากจน ช่วยคนพิการ เพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร ขจัดโรคระบาด ฯลฯ
มูฮำหมัด ดือราแม
โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ (DSJ)
เปลี่ยนโครงสร้าง อาเซียนยุคใหม่
อาเซียนอยู่กันมา 42 ปี แต่งงานในปี ค.ศ.2008 คือมีกฎบัตรอาเซียน หากสมาชิกประเทศในอาเซียนไม่ปฏิบัติตามกฎบัตร ก็จะมีมาตรการลงโทษ ปัจจุบันมีมาตรการวัดผลและมีมาตรการลงโทษ ซึ่งแต่ก่อนไม่มี
อาเซียนชอบพูดอย่างไม่เป็นทางการ มีการพูดใต้โต๊ะ ตกลงเสร็จก็จะเป็นทางการ อาเซียนฉลาดมาก ก่อนมีการประชุมอาเซียน มีการพบปะอย่างไม่เป็นทางการกันก่อน หากตกลงกันได้กลายเป็นทางการทันที ความแตกต่างระหว่างกฎบัตรอาเซียนกับปฏิญญาอาเซียน คือ กฎบัตรอาเซียนเป็นสิ่งต้องปฏิบัติ ส่วนปฏิญญาเป็นแค่จินตนาการ
ประชาคมอาเซียนไม่เหมือนสหภาพยุโรป แต่นำความคิดบางอย่างของสหภาพยุโรปมาใช้ เช่น การประชุมของอาเซียนปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกในเดือนเมษายน เป็นการประชุมในเรื่องของอาเซียนเอง และครั้งที่ 2 ในเดือนพฤศจิกายน เป็นการประชุมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา
มีการปรับโครงสร้างสำนักเลขาธิการอาเซียน มีการสนับสนุนงบประมาณ หลังจากปี ค.ศ.2008 มีการจัดระบบให้มีผู้แทนถาวรในสำนักงานเลขาธิการอาเซียน ซึ่งความคิดนี้ใช้เวลากว่า 17 ปี กว่าจะประสบผลสำเร็จ
ปัจจุบันประเทศที่ยังไม่ได้ตั้งตัวแทนถาวร ได้แก่ ลาว กัมพูชา เพราะต้องใช้เงิน การตั้งสำนักงานที่ประเทศอินโดนีเซีย ต้องใช้งบประมาณของประเทศไทย 10,000,000 บาท
คนที่เป็นเลขาธิการอาเซียนไม่มีสิทธิที่เซ็นสัญญาในนามอาเซียนได้ เลขาธิการอาเซียนเป็นได้แค่คนนำจดหมายจากเมืองหลวงของอาเซียนไปยังอีกประเทศหนึ่ง หากจะเซ็นสัญญาอะไร ประเทศสมาชิกจะเป็นผู้เซ็น เพราะฉะนั้นในอนาคตจะมีการเพิ่มบทบาทเลขาธิการอาเซียน
คุณสมบัติพิเศษ “ที่รวมทุกการเมืองระบอบโลก”
อาเซียนเป็นการรวมตัวของพวกอำมาตย์ในอาเซียน เป็นองค์กรปกป้องสมาชิกแบบหลับหูหลับตา เป็นองค์กรที่ดีแต่พูด ยิ่งพูดยิ่งดี รู้จักกันดี ยิ่งมีการพูดยิ่งดี เพราะจะได้ไม่ตีกัน อาเซียนชอบพูดถึงความสำเร็จ เรื่องที่ไม่สำเร็จไม่พูด ไม่เปิดโปงความไม่ดีของสมาชิกอาเซียน
อาเซียนไม่เคยใช้เงินของตัวเอง อาเซียนฉลาดใช้วิธีการเจรจากับต่างประเทศ แล้วเอาเงินของต่างประเทศมาใช้ ไม่เคยออกเงินเอง แต่ประเทศสมาชิกต้องจ่ายเงินค่าสมาชิก 1,000,000 เหรียญ
คุณสมบัติพิเศษอาเซียน คือ เป็นสวนสนุก “ดิสนีย์แลนด์” ของระบอบการเมืองโลก เพราะมีระบบการเมืองทุกระบบที่มีอยู่ในโลก ตั้งแต่ระบอบสมบูรณยาสิทธิราษฎร์ ระบอบกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ ระบอบสังคมนิยม ระบอบคอมมิวนิสต์ ระบอบกึ่งทรราช ระบอบเผด็จการ ระบอบประชาธิปไตยจอมปลอม ระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ แม้มีระบบที่ต่างกัน แต่ก็ไม่สนใจความแตกต่างการเมือง มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเดียว และไม่มีความลับเก็บเป็นเอกสาร
อาเซียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ ทั้งๆ ที่คนส่วนใหญ่ใช้ภาษาอินโดนีเซีย ประมาณ 320 จากทั้งหมดประมาณ 600 ล้านคน
อาเซียนยังมีคุณสมบัติคือ ประเทศอินโดนีเซียเป็นชาติมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่มีชาวพุทธมากที่สุดในโลกเช่นกัน โดยรวมชาวพุทธในไทย พม่า กัมพูชา ลาว และฟิลิปปินส์มีชาวคริสตจักรมากที่สุดในเอเชีย
667 ตัวเลขต้องจำ วัดความพร้อมประเทศสมาชิก
หากได้ยินนักข่าวถามรัฐมนตรีว่า การเตรียมความพร้อมไปถึงไหนแล้ว เป็นคำถามที่เชย คนตอบก็จะตอบอย่างไรก็ได้ แต่ไม่เห็นแอ็กชัน เพราะฉะนั้น ต้องจำตัวเลข 667 ไว้ หมายถึงสิ่งที่ประเทศสมาชิกต้องทำก่อนเข้าสู่อาเซียน หากถามว่า ประเทศได้เตรียมความพร้อมในแต่ละแอ็กชันไปถึงไหนแล้ว คนตอบก็ไม่สามารถเลี่ยงได้
ทั้ง 667 แอ็กชันไลน์ก่อนถึงประชาคมอาเซียน ก็มาจากกฎบัตรอาเซียนนั่นเอง ทั้ง 3 เสาหลักมีแอ็กชั่นไลน์ ดังนี้
เสาหลักการเมืองและความมั่นคง มี 142 แอ็กชันไลน์ เช่น ส่งเสริมประชาธิปไตย ความเข้าใจประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอาเซียน ปกป้องและปราบคอรัปชั่น ฯลฯ
เสาหลักเศรษฐกิจมี 291 แอ็กชันไลน์ เช่น ปกป้องสิทธิบัตร ส่งเสริมอีคอมเมอร์ส การพัฒนายั่งยืนและเท่าเทียม เสรีภาพการลงทุน ฯลฯ
และเสาหลักสังคมและวัฒนธรรมมี 234 แอ็กชันไลน์ เช่น ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ ลดช่องว่างความยากจน ช่วยคนพิการ เพิ่มความมั่นคงทางด้านอาหาร ขจัดโรคระบาด ฯลฯ