ก.ล.ต.เดินหน้าเปิดเสรีใบไลเซ่น-ค่าคอมมิชชั่น ชี้ภาพรวมอุตสาหกรรมโบรกเกอร์ กำไรเฉลี่ยปีละ 6-7 พันล้าน ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสูงถึง 10% มากกว่าโบรกเกอร์ในต่างประเทศ ถามสังคมควรจะประกันราคาให้อุตสาหกรรมหรือไม่ ชี้ไม่เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมในระยะกลาง-ยาว ล่าสุดเตรียมเสนอ รมว.คลังในการประชุมบอร์ดพัฒนาตลาดทุน 10เม.ย.นี้
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต. ) เปิดเผยว่า ยังยืนยันจะเดินหน้าเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ( ใบไลเซ่นส์ ) และค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ ( ค่าคอมมิชชั่น ) เพราะการผูกขาดไม่ได้เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมในระยะกลางและยาว แต่จะทำให้บริษัทไม่ปรับตัว ซึ่งการที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมให้ยั่งยืนควรที่จะมีการพัฒนาในเรื่องคุณภาพในการให้บริการ สามารถรองรับการแข่งขัน เมื่อเปิดเสรีอาเซียน โดยเรื่องนี้ก.ล.ต.ได้หารือกับทางสมาคมโบรกเกอร์มานานแล้ว และบล.หลายแห่งมีการปรับตัวรองรับเรื่องดังกล่าวมาแล้ว และในวันที่ 10 เมษายนนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในการประชุม เชื่อว่า รมว.คลัง จะเข้าใจเหตุผลของการเดินหน้าในการเปิดเสรีใบไลเซ่นส์และค่าคอมมิชชั่น ของก.ล.ต.
" เรื่องการเปิดเสรีใบไลเซ่นส์ และค่าคอมมิชชั่นนั้นก.ล.ต.ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วและได้มีการหารือกับสมาคมบล.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและก็อยู่ในแผนพัฒนาตลาดทุนมานานแล้ว และบล.มีการเตรียมตัวมานานแล้ว และ ก.ล.ต.ยืนยันว่าเราไม่สนับสนุนการผูกขาด เพราะจะไม่ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมในระยะกลางและยาว ซึ่งการพัฒนายั่งยืนนั้นต้องพัฒนาในเรื่องคุณภาพบริการเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ซึ่งปัจจุบันเข้ามารุกธุรกิจในไทยแล้ว และก.ล.ต.พร้อมให้ความสนับสนุน บล.หากมีข้อติดขัดอยากให้ก.ล.ต.ช่วยในเรื่องอื่นฯแทน "
อย่างไรก็ตามสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ มีความกังวลเรื่องจะมีรายใหม่เข้ามาแข่งขันเรื่องราคาทำให้ไม่เน้นในเรื่องคุณภาพ ดังนั้นก.ล.ต.จึงจะออกเกณฑ์ในเรื่องของคุณภาพในการให้บริการของบริษัทหลักทรัพย์ทั้งรายใหม่และ รายเดิมที่ประกอบธุรกิจ จะต้องมีการจัดทำบทวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานตามสัดส่วนของส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์ ) คือ บล.ที่มีมาร์เกตแชร์ต่ำกว่า 0.5% ต้องทำบทวิเคราะห์ไม่ต่ำกว่า 15 หุ้น บล.ที่มีมาร์เกตแชร์สูงกว่า 0.5%-3% ต้องทำบทวิเคราะห์อย่างน้อย 30 หุ้น เป็นต้น
โดยการวิเคราะห์กำหนดว่าจะต้องทำบทวิเคราะในหุ้นที่อยู่นอก SET 100 อย่างน้อย 25% และจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่สมาคมนักวิเคราะห์กำหนด ซึ่งกำหนดให้บล.ต้องมีการนำบทวิเคราะห์ให้กับเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) หรือหากผู้มีหน้าที่แนะนำการลงทุนเป็นประจำทุกวันก่อนที่ตลาดหลักทรัพย์จะเปิดซื้อขาย เพื่อที่มาร์เกตติ้งนั้นจะนำข้อมูลในบทวิเคราะห์ไปแนะนำแก่นักลงทุน เป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการ และมาร์เกตติ้งด้วย ข้อกำหนดทั้งหมด ก.ล.ต.จะออกในนามประกาศของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน โดยจะเสนอให้ทางคณะกรรมการกำกับตลาดทุน มีการพิจารณาเรื่องนี้ ในการประชุมวันที่ 17 เมษายนนี้
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ( ก.ล.ต. ) เปิดเผยว่า ยังยืนยันจะเดินหน้าเปิดเสรีใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ( ใบไลเซ่นส์ ) และค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ ( ค่าคอมมิชชั่น ) เพราะการผูกขาดไม่ได้เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมในระยะกลางและยาว แต่จะทำให้บริษัทไม่ปรับตัว ซึ่งการที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมให้ยั่งยืนควรที่จะมีการพัฒนาในเรื่องคุณภาพในการให้บริการ สามารถรองรับการแข่งขัน เมื่อเปิดเสรีอาเซียน โดยเรื่องนี้ก.ล.ต.ได้หารือกับทางสมาคมโบรกเกอร์มานานแล้ว และบล.หลายแห่งมีการปรับตัวรองรับเรื่องดังกล่าวมาแล้ว และในวันที่ 10 เมษายนนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในการประชุม เชื่อว่า รมว.คลัง จะเข้าใจเหตุผลของการเดินหน้าในการเปิดเสรีใบไลเซ่นส์และค่าคอมมิชชั่น ของก.ล.ต.
" เรื่องการเปิดเสรีใบไลเซ่นส์ และค่าคอมมิชชั่นนั้นก.ล.ต.ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วและได้มีการหารือกับสมาคมบล.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและก็อยู่ในแผนพัฒนาตลาดทุนมานานแล้ว และบล.มีการเตรียมตัวมานานแล้ว และ ก.ล.ต.ยืนยันว่าเราไม่สนับสนุนการผูกขาด เพราะจะไม่ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมในระยะกลางและยาว ซึ่งการพัฒนายั่งยืนนั้นต้องพัฒนาในเรื่องคุณภาพบริการเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ซึ่งปัจจุบันเข้ามารุกธุรกิจในไทยแล้ว และก.ล.ต.พร้อมให้ความสนับสนุน บล.หากมีข้อติดขัดอยากให้ก.ล.ต.ช่วยในเรื่องอื่นฯแทน "
อย่างไรก็ตามสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ มีความกังวลเรื่องจะมีรายใหม่เข้ามาแข่งขันเรื่องราคาทำให้ไม่เน้นในเรื่องคุณภาพ ดังนั้นก.ล.ต.จึงจะออกเกณฑ์ในเรื่องของคุณภาพในการให้บริการของบริษัทหลักทรัพย์ทั้งรายใหม่และ รายเดิมที่ประกอบธุรกิจ จะต้องมีการจัดทำบทวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานตามสัดส่วนของส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์ ) คือ บล.ที่มีมาร์เกตแชร์ต่ำกว่า 0.5% ต้องทำบทวิเคราะห์ไม่ต่ำกว่า 15 หุ้น บล.ที่มีมาร์เกตแชร์สูงกว่า 0.5%-3% ต้องทำบทวิเคราะห์อย่างน้อย 30 หุ้น เป็นต้น
โดยการวิเคราะห์กำหนดว่าจะต้องทำบทวิเคราะในหุ้นที่อยู่นอก SET 100 อย่างน้อย 25% และจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่สมาคมนักวิเคราะห์กำหนด ซึ่งกำหนดให้บล.ต้องมีการนำบทวิเคราะห์ให้กับเจ้าหน้าที่การตลาด (มาร์เกตติ้ง) หรือหากผู้มีหน้าที่แนะนำการลงทุนเป็นประจำทุกวันก่อนที่ตลาดหลักทรัพย์จะเปิดซื้อขาย เพื่อที่มาร์เกตติ้งนั้นจะนำข้อมูลในบทวิเคราะห์ไปแนะนำแก่นักลงทุน เป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการ และมาร์เกตติ้งด้วย ข้อกำหนดทั้งหมด ก.ล.ต.จะออกในนามประกาศของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน โดยจะเสนอให้ทางคณะกรรมการกำกับตลาดทุน มีการพิจารณาเรื่องนี้ ในการประชุมวันที่ 17 เมษายนนี้