นครศรีธรรมราช - ชาวประมงพื้นบ้านริมทะเลท่าศาลาเดือดร้อนอย่างหนัก หลังสภาพทะเลเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ชายหาดทรายกลายเป็นเลนตมยาวนับกิโลเมตร ส่งผลให้เรือประมงจำต้องฝ่าทะเลตมเข้าออกจากฝั่งอย่างยากลำบาก
วันนี้ (8 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสภาพการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาชายฝั่งทะเล บ้านบางใบไม้ บ้านในถุ้ง ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ที่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านในแถบนี้ ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ทะเลในย่านนี้จากเดิมเป็นหาดทรายขาวสะอาด มีความยาวตลอดแนวไปจนถึงรอยต่อเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีการทับถมของตะกอนเลนอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นทะเลตมยาวออกไปจากชายฝั่งนับร้อยเมตร เรือประมงเข้าออกอย่างยากลำบาก ต้องเร่งเครื่องอย่างหนักจึงจะฝ่าทะเลตมเข้ามาถึงฝั่งได้ บางลำถึงกับส่งผลให้ใบจักรเสียหาย เพลาขับขาดกลายเป็นต้นทุนทำประมงชายฝั่งที่สูงขึ้น
นายสวัสดิ์ หมาดรอหีม อายุ 40 ปี อยู่ ม.5 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ตนเองที่ทำประมงสืบทอดจากรุ่นบิดา และทำมาตั้งแต่เรียนชั้น ป.6 จนอายุได้ 40 ปีแล้ว ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ชาวประมงในย่านนี้กำลังมีความเดือดร้อนมากขึ้นทุกวัน ทะเลตมกำลังแผ่ขยายอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าไม่กี่ปีหลังจากนี้ ตมเหล่านี้จะค่อยๆ แข็งตัวขึ้นทำให้เรือประมงไม่สามารถเข้ามาจอดที่ชายตลิ่งได้อีกแล้ว เช่นเดียวกับแถวหาดสระบัวห่างจากจุดนี้ไปไม่กี่กิโลเมตร จากหาดทรายขาวสะอาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อ 20 ปีก่อน มาตอนนี้กลายเป็นป่าชายเลน หาดทรายสวยที่เคยมีหายไปหมดแล้วจากปัญหาตมเลนที่ทับถมอย่างต่อเนื่อง
“ชาวประมงต้องฝ่าทะเลตมเหล่านี้เข้ามาให้ถึงฝั่ง ได้รับความเสียหายหลายส่วนมากทั้งเครื่องเรือ ใบจักร เพลาขับ บางครั้งขาดหายไปในตม รายจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นต้นทุนที่ไม่น่าจะเสีย เข้าใจว่าตมเลนเหล่านี้ถูกพัดพามาจากฝั่งหัวแหลมตะลุมพุก อยากให้ทางการเร่งดำเนินการลอกเลนตมเหล่านี้ออก เห็นได้ข่าวว่ามีโครงการลอกเปิดช่องให้เรือเข้าออกแต่ยังไม่รู้ว่าเป็นเมื่อไหร่” ชาวประมงพื้นบ้านรายนี้กล่าว
ขณะที่นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมรายหนึ่งให้ความเห็นถึงปรากฏการณ์ทับถมของเลนตมที่เกิดขึ้นว่า เป็นสภาพนิเวศทางทะเลที่เปลี่ยนไปด้วยฝีมือมนุษย์ เนื่องจากมีการก่อสร้างแนวกันคลื่นหลายจุดในแถบ อ.ท่าศาลา ทำให้การพัดพาของกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางเกิดการงอกของแผ่นดินขึ้น จากการทับถมของตะกอนเลนอย่างต่อเนื่อง นอกจากกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบ้านด้วย
วันนี้ (8 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานสภาพการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาชายฝั่งทะเล บ้านบางใบไม้ บ้านในถุ้ง ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ที่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของชาวประมงพื้นบ้านในแถบนี้ ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ทะเลในย่านนี้จากเดิมเป็นหาดทรายขาวสะอาด มีความยาวตลอดแนวไปจนถึงรอยต่อเขตอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีการทับถมของตะกอนเลนอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นทะเลตมยาวออกไปจากชายฝั่งนับร้อยเมตร เรือประมงเข้าออกอย่างยากลำบาก ต้องเร่งเครื่องอย่างหนักจึงจะฝ่าทะเลตมเข้ามาถึงฝั่งได้ บางลำถึงกับส่งผลให้ใบจักรเสียหาย เพลาขับขาดกลายเป็นต้นทุนทำประมงชายฝั่งที่สูงขึ้น
นายสวัสดิ์ หมาดรอหีม อายุ 40 ปี อยู่ ม.5 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า ตนเองที่ทำประมงสืบทอดจากรุ่นบิดา และทำมาตั้งแต่เรียนชั้น ป.6 จนอายุได้ 40 ปีแล้ว ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ชาวประมงในย่านนี้กำลังมีความเดือดร้อนมากขึ้นทุกวัน ทะเลตมกำลังแผ่ขยายอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าไม่กี่ปีหลังจากนี้ ตมเหล่านี้จะค่อยๆ แข็งตัวขึ้นทำให้เรือประมงไม่สามารถเข้ามาจอดที่ชายตลิ่งได้อีกแล้ว เช่นเดียวกับแถวหาดสระบัวห่างจากจุดนี้ไปไม่กี่กิโลเมตร จากหาดทรายขาวสะอาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อ 20 ปีก่อน มาตอนนี้กลายเป็นป่าชายเลน หาดทรายสวยที่เคยมีหายไปหมดแล้วจากปัญหาตมเลนที่ทับถมอย่างต่อเนื่อง
“ชาวประมงต้องฝ่าทะเลตมเหล่านี้เข้ามาให้ถึงฝั่ง ได้รับความเสียหายหลายส่วนมากทั้งเครื่องเรือ ใบจักร เพลาขับ บางครั้งขาดหายไปในตม รายจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นต้นทุนที่ไม่น่าจะเสีย เข้าใจว่าตมเลนเหล่านี้ถูกพัดพามาจากฝั่งหัวแหลมตะลุมพุก อยากให้ทางการเร่งดำเนินการลอกเลนตมเหล่านี้ออก เห็นได้ข่าวว่ามีโครงการลอกเปิดช่องให้เรือเข้าออกแต่ยังไม่รู้ว่าเป็นเมื่อไหร่” ชาวประมงพื้นบ้านรายนี้กล่าว
ขณะที่นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมรายหนึ่งให้ความเห็นถึงปรากฏการณ์ทับถมของเลนตมที่เกิดขึ้นว่า เป็นสภาพนิเวศทางทะเลที่เปลี่ยนไปด้วยฝีมือมนุษย์ เนื่องจากมีการก่อสร้างแนวกันคลื่นหลายจุดในแถบ อ.ท่าศาลา ทำให้การพัดพาของกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางเกิดการงอกของแผ่นดินขึ้น จากการทับถมของตะกอนเลนอย่างต่อเนื่อง นอกจากกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบ้านด้วย