ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ชาวบ้านเครือข่ายปฏิรูปที่ดินจับมือเอ็นจีโอ 23 โจทก์ ยื่นฟ้องกรมอุทยาน-กรมป่าไม้ เพิกถอนแบบจำลองโลกร้อน ยื่นหนังสือจี้นายกฯ แก้ปัญหารื้อสวนยาง-สะพานในพื้นที่โฉนดชุมชน “ยงยุทธ” รับหน้าจะประสานผู้ว่าฯ แต่ละจังหวัดชะลอเหตุขัดแย้ง
เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ ภาคประชาชนจำนวนกว่า 100 คน จาก 4 เครือข่าย 1 องค์กรพัฒนาเอกชน ได้แก่ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง พัทลุง และประจวบคีรีขันธ์ เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซิน จ.ชัยภูมิ เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูผาแดง จ.เพชรบูรณ์ องค์กรชุมชนบ้านพรสวรรค์ จ.เชียงใหม่ และมูลนิธิอันดามัน รวมทั้งผู้ฟ้องร้องในนามบุคคล 18 ราย รวมทั้งสิ้น 23 ราย ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งให้บังคับใช้แบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อน และให้ผู้ถูกฟ้องร้องคดีทั้งสองดำเนินการปรับปรุงแก้ไขแบบจำลองดังกล่าวให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก่อนนำแบบจำลองใหม่มาบังคับใช้
นายกฤษดา ขุนณรงค์ ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดี กล่าวว่า เมื่อปีที่ผ่านมา เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยได้ยื่นหนังสือถึงกรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้ ขอให้ยุติการบังคับใช้แบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อน โดยได้แนบความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านวนศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ที่ระบุว่า แบบจำลองดังกล่าวไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และไม่เป็นธรรม แต่เมื่อหน่วยงานดังกล่าวยืนยันที่จะบังคับใช้แบบจำลองต่อไป ทางเครือข่ายชาวบ้าน และชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ จึงได้หารือกับสภาทนายความ และกลุ่มนักวิชาการ มีความเห็นร่วมกันว่าจำเป็นต้องฟ้องศาลปกครอง เพื่อให้ศาลพิจารณาเพิกถอนแบบจำลองดังกล่าว
“สำหรับมูลเหตุในการฟ้องร้องนั้น ผู้ฟ้องเห็นว่าแบบจำลองนี้สร้างขึ้นโดยขาดองค์ความรู้ และการศึกษาข้อมูลที่ครอบคลุมเพียงพอ ใช้วิธีคิดคำนวณที่ไม่เหมาะสม และผิดไปจากสามัญสำนึกของคนทั่วไป เป็นการนำงานวิชาการที่ไม่ผ่านการประเมินเพื่อตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ ไม่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการทั้งในประเทศและต่างชาติ ไม่ได้รับฟังความเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยนำมาบังคับใช้ในการเรียกค่าเสียหาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิของประชาชน
รวมทั้งมีการเลือกปฏิบัติบังคับใช้แบบจำลองอย่างไม่เป็นธรรม และละเมิดสิทธิชุมชนของเกษตรกร ทั้งที่วิถีของชาวบ้านเป็นการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนควบคู่กับการดูแลรักษาป่าและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งนับเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” นายกฤษดา กล่าว
ด้าน นายสมนึก พุฒนวล ตัวแทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง พัทลุง และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นผู้ฟ้อง กล่าวว่า ตัวการที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนคือภาคอุตสาหกรรม แต่ภาครัฐกลับปล่อยปละละเลย และหันมาฟ้องร้องเอาผิดกับเกษตรกรรายย่อยที่ทำเกษตรแบบธรรมชาติในรูปแบบสวนสมรม และมีกติกาในการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยเป็นแพะรับโทษแทนภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมขยายพื้นที่สร้างโรงงานไปได้ไม่จำกัด ไม่ต้องถูกควบคุมตรวจสอบทางกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า มีเจตนายึดที่ดินชุมชนเพื่อนำที่ดินไปประเคนให้นายทุน
“ที่จริงแล้ว รัฐบาลเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน ด้วยการกำหนดแผนพัฒนา และอนุมัติโครงการสร้างอุตสาหกรรมทั่วประเทศ โดยเฉพาะหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ รัฐบาลกำลังทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 66, 67 หมวดสิทธิชุมชน ส่งเสริมให้มีการละเมิดสิทธิชุมชน ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชน รัฐบาลได้แถลงนโยบายว่าแก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน แต่ผ่านมาเกือบปีแล้ว กลับไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย” นายสมนึก กล่าว
นายเรวัตร อินทร์ช่วย ผู้ฟ้องในนามบุคคล กล่าวเสริมว่า ที่บ้านตระ จ.ตรัง ก่อตั้งชุมชนมาไม่ต่ำกว่า 100 ปี ทางราชการมีการรับรองบ้านตระเอาไว้ในแผนที่ พ.ศ.2457 แต่ต่อมาก็ถูกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัดประกาศทับซ้อนพื้นที่ ใน พ.ศ.2518 ส่งผลให้ตนถูกดำเนินคดีอาญา ข้อหาบุกรุกป่า 4 ครั้ง และอาจจะถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายข้อหาทำให้โลกร้อนตามมาอีกด้วย หากยังไม่มีการยกเลิกการบังคับใช้แบบจำลองดังกล่าว จึงตัดสินใจยื่นฟ้องร้องในครั้งนี้
“ชาวบ้านพยายามทำความดี ทำสวนสมรม เกษตร 4 ชั้น ปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชอาหารเลี้ยงสังคม ทำโฉนดชุมชน รักษาสิ่งแวดล้อม แต่ถูกภาครัฐบิดเบือนว่าเป็นคนทำผิด เป็นคนทำลายสังคม เป็นส่วนเกินของสังคม ไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินของบรรพบุรุษ ไม่มีสิทธิบริหารจัดการทรัพยากร ถูกสังคมประณาม หลายครอบครัวต้องบ้านแตกเพราะเครียดจากการบังคับใช้แบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อนมาฟ้องร้องรายละเป็นแสนเป็นล้าน เราไม่มีเงินมาจ่ายเขาแน่นอน แค่เงินหมื่นก็หายากแล้ว และยังกังวลว่าจะติดคุก จะถูกยึดทรัพย์ ที่มีอยู่เล็กๆ น้อยๆ หรือไม่ ถ้าถูกยึดทรัพย์ไปจะหาใหม่ก็ยากเย็น ภาครัฐภูมิใจนักหรือที่มารังแกคนตัวเล็กๆ แบบนี้ มันไม่ยุติธรรมกับเกษตรกรรากหญ้าเอาเสียเลย อยากขอความเป็นธรรมให้ศาลช่วยเพิกถอนแบบจำลองนี้” นายเรวัตร กล่าว
สำหรับการฟ้องดำเนินคดีแพ่งโดยกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกรมป่าไม้ ใช้มาตรา 97 พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เป็นฐานในการฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ และนำหนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ ทส.0911.2/2181 ลงวันที่ 6 ก.พ.2547 ที่กำหนดแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมมาเป็นหลักเกณฑ์ในการขอให้ศาลฯ สั่งเรียกค่าเสียหาย
ในส่วนรายละเอียดการคิดค่าเสียหายแบ่งเป็น 7 กรณี คือ
1.ค่าการสูญหายของธาตุอาหาร
2.ค่าทำให้ดินไม่ซับน้ำฝน
3.ค่าทำให้น้ำสูญเสียออกไปจากพื้นที่โดยการแผดเผาของรังสีดวงอาทิตย์
4.ค่าทำให้ดินสูญหาย
5.ค่าทำให้อากาศร้อนมากขึ้น
6.ค่าทำให้ฝนตกน้อยลง
7.มูลค่าความเสียหายโดยตรงจากป่า 3 ชนิด คือ การทำลายป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ทั้งนี้ รวมเป็นเงินที่ชาวบ้านต้องจ่ายประมาณ 150,000 บาทต่อไร่ต่อปี
จากนั้น เวลา 13.30 น. วันเดียวกัน เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย โดยองค์กรสมาชิก จากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง พัทลุง ประจวบคีรีขันธ์ และสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมทั้งเครือข่ายชาวบ้านในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี และราชบุรี ได้เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเข้ายื่นหนังสือถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านทางนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เนื้อหาในหนังสือระบุว่า ปัจจุบัน มีเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายฯ ถูกดำเนินคดีโลกร้อนจำนวน 34 ราย ถูกเรียกค่าเสียหายรวมกันทั้งสิ้น 13 ล้านบาท ซึ่งการเรียกค่าเสียหายคดีโลกร้อนของกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกรมป่าไม้ ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติและส่งผลกระทบให้เกษตรกรต้องรับภาระชำระหนี้ที่ไม่ได้มีอยู่จริง และไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้น อีกทั้งแบบจำลองฯ ดังกล่าว มีรายละเอียดการคำนวณที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่ได้รับการยอมรับถึงคุณภาพ มาตรฐานการวิจัย และไม่น่าเชื่อถือทางวิชาการเพียงพอที่จะนำมาบังคับใช้ทางกฎหมาย ดังได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้างจากเครือข่ายนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จึงถือเป็นการกล่าวหาที่ร้ายแรง และเลือกปฏิบัติกับเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นผู้มีวิถีการผลิต และการดำรงชีพที่ไม่เพียงไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ดำรงอยู่อย่างสมดุล และยั่งยืน
อีกทั้งมีการดำเนินคดีอาญาข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่า และการดำเนินคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายโลกร้อน รวมทั้งการเข้าจับกุม ตัดฟันพืชผลที่เกษตรกรปลูกสร้าง และข่มขู่ชุมชนที่อยู่อาศัยและทำกินในเขตพื้นที่ป่าของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ทั้งในจังหวัดตรัง (ถูกเรียกค่าเสียหายคดีโลกร้อน ถูกจับกุม และตัดฟันทำลายพืชผลการเกษตรโดยเจ้าหน้าที่รัฐ) จังหวัดพัทลุง (ถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุก โดยมหาวิทยาลัยทักษิณ) และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ถูกข่มขู่ให้ตัดฟันทำลายพืชผลการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง)
ดังนั้น เครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ จึงขอให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการตรวจสอบการกระทำที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมดังกล่าว คืนความเป็นธรรมให้แก่เกษตรกร และรับรองสิทธิชุมชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยการยกเลิกการใช้แบบจำลองการคิดค่าเสียหาย และการดำเนินคดีโลกร้อนกับเกษตรกร และช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยการมีคำสั่งคุ้มครองพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งมีวิถีชีวิตในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตามแนวทางนโยบายโฉนดชุมชน
ทั้งนี้ ตัวแทนเครือข่ายฯ ได้หารือกับนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เพื่อขอให้แก้ปัญหาการรื้อถอนสวนยางพารา และสะพานในพื้นที่โฉนดชุมชน ตลอดจนการดำเนินคดีสมาชิกเครือข่ายฯ ผลการหารือปรากฏว่า นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รับปากว่าจะประสานงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ตรัง จ.พัทลุง จ.สุราษฎร์ธานี จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.ราชบุรี ให้สอดส่องดูแล และสั่งการให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ชะลอการดำเนินการที่เป็นมูลเหตุไปสู่ความขัดแย้งต่อไป
เมื่อวันที่ 28 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่ศาลปกครองกลาง ถนนแจ้งวัฒนะ ภาคประชาชนจำนวนกว่า 100 คน จาก 4 เครือข่าย 1 องค์กรพัฒนาเอกชน ได้แก่ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง พัทลุง และประจวบคีรีขันธ์ เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซิน จ.ชัยภูมิ เครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าภูผาแดง จ.เพชรบูรณ์ องค์กรชุมชนบ้านพรสวรรค์ จ.เชียงใหม่ และมูลนิธิอันดามัน รวมทั้งผู้ฟ้องร้องในนามบุคคล 18 ราย รวมทั้งสิ้น 23 ราย ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งให้บังคับใช้แบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อน และให้ผู้ถูกฟ้องร้องคดีทั้งสองดำเนินการปรับปรุงแก้ไขแบบจำลองดังกล่าวให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก่อนนำแบบจำลองใหม่มาบังคับใช้
นายกฤษดา ขุนณรงค์ ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดี กล่าวว่า เมื่อปีที่ผ่านมา เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยได้ยื่นหนังสือถึงกรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้ ขอให้ยุติการบังคับใช้แบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อน โดยได้แนบความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านวนศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ที่ระบุว่า แบบจำลองดังกล่าวไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และไม่เป็นธรรม แต่เมื่อหน่วยงานดังกล่าวยืนยันที่จะบังคับใช้แบบจำลองต่อไป ทางเครือข่ายชาวบ้าน และชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ จึงได้หารือกับสภาทนายความ และกลุ่มนักวิชาการ มีความเห็นร่วมกันว่าจำเป็นต้องฟ้องศาลปกครอง เพื่อให้ศาลพิจารณาเพิกถอนแบบจำลองดังกล่าว
“สำหรับมูลเหตุในการฟ้องร้องนั้น ผู้ฟ้องเห็นว่าแบบจำลองนี้สร้างขึ้นโดยขาดองค์ความรู้ และการศึกษาข้อมูลที่ครอบคลุมเพียงพอ ใช้วิธีคิดคำนวณที่ไม่เหมาะสม และผิดไปจากสามัญสำนึกของคนทั่วไป เป็นการนำงานวิชาการที่ไม่ผ่านการประเมินเพื่อตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ ไม่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการทั้งในประเทศและต่างชาติ ไม่ได้รับฟังความเห็นจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยนำมาบังคับใช้ในการเรียกค่าเสียหาย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิของประชาชน
รวมทั้งมีการเลือกปฏิบัติบังคับใช้แบบจำลองอย่างไม่เป็นธรรม และละเมิดสิทธิชุมชนของเกษตรกร ทั้งที่วิถีของชาวบ้านเป็นการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนควบคู่กับการดูแลรักษาป่าและทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งนับเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” นายกฤษดา กล่าว
ด้าน นายสมนึก พุฒนวล ตัวแทนเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง พัทลุง และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นผู้ฟ้อง กล่าวว่า ตัวการที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อนคือภาคอุตสาหกรรม แต่ภาครัฐกลับปล่อยปละละเลย และหันมาฟ้องร้องเอาผิดกับเกษตรกรรายย่อยที่ทำเกษตรแบบธรรมชาติในรูปแบบสวนสมรม และมีกติกาในการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกษตรกรรายย่อยเป็นแพะรับโทษแทนภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมขยายพื้นที่สร้างโรงงานไปได้ไม่จำกัด ไม่ต้องถูกควบคุมตรวจสอบทางกฎหมายแต่อย่างใด ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า มีเจตนายึดที่ดินชุมชนเพื่อนำที่ดินไปประเคนให้นายทุน
“ที่จริงแล้ว รัฐบาลเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน ด้วยการกำหนดแผนพัฒนา และอนุมัติโครงการสร้างอุตสาหกรรมทั่วประเทศ โดยเฉพาะหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ รัฐบาลกำลังทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 66, 67 หมวดสิทธิชุมชน ส่งเสริมให้มีการละเมิดสิทธิชุมชน ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชน รัฐบาลได้แถลงนโยบายว่าแก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน แต่ผ่านมาเกือบปีแล้ว กลับไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย” นายสมนึก กล่าว
นายเรวัตร อินทร์ช่วย ผู้ฟ้องในนามบุคคล กล่าวเสริมว่า ที่บ้านตระ จ.ตรัง ก่อตั้งชุมชนมาไม่ต่ำกว่า 100 ปี ทางราชการมีการรับรองบ้านตระเอาไว้ในแผนที่ พ.ศ.2457 แต่ต่อมาก็ถูกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเทือกเขาบรรทัดประกาศทับซ้อนพื้นที่ ใน พ.ศ.2518 ส่งผลให้ตนถูกดำเนินคดีอาญา ข้อหาบุกรุกป่า 4 ครั้ง และอาจจะถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายข้อหาทำให้โลกร้อนตามมาอีกด้วย หากยังไม่มีการยกเลิกการบังคับใช้แบบจำลองดังกล่าว จึงตัดสินใจยื่นฟ้องร้องในครั้งนี้
“ชาวบ้านพยายามทำความดี ทำสวนสมรม เกษตร 4 ชั้น ปลูกพืชหลากหลาย ปลูกพืชอาหารเลี้ยงสังคม ทำโฉนดชุมชน รักษาสิ่งแวดล้อม แต่ถูกภาครัฐบิดเบือนว่าเป็นคนทำผิด เป็นคนทำลายสังคม เป็นส่วนเกินของสังคม ไม่มีสิทธิอยู่ในที่ดินของบรรพบุรุษ ไม่มีสิทธิบริหารจัดการทรัพยากร ถูกสังคมประณาม หลายครอบครัวต้องบ้านแตกเพราะเครียดจากการบังคับใช้แบบจำลองค่าเสียหายโลกร้อนมาฟ้องร้องรายละเป็นแสนเป็นล้าน เราไม่มีเงินมาจ่ายเขาแน่นอน แค่เงินหมื่นก็หายากแล้ว และยังกังวลว่าจะติดคุก จะถูกยึดทรัพย์ ที่มีอยู่เล็กๆ น้อยๆ หรือไม่ ถ้าถูกยึดทรัพย์ไปจะหาใหม่ก็ยากเย็น ภาครัฐภูมิใจนักหรือที่มารังแกคนตัวเล็กๆ แบบนี้ มันไม่ยุติธรรมกับเกษตรกรรากหญ้าเอาเสียเลย อยากขอความเป็นธรรมให้ศาลช่วยเพิกถอนแบบจำลองนี้” นายเรวัตร กล่าว
สำหรับการฟ้องดำเนินคดีแพ่งโดยกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกรมป่าไม้ ใช้มาตรา 97 พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 เป็นฐานในการฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ และนำหนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ ทส.0911.2/2181 ลงวันที่ 6 ก.พ.2547 ที่กำหนดแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับประเมินค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมมาเป็นหลักเกณฑ์ในการขอให้ศาลฯ สั่งเรียกค่าเสียหาย
ในส่วนรายละเอียดการคิดค่าเสียหายแบ่งเป็น 7 กรณี คือ
1.ค่าการสูญหายของธาตุอาหาร
2.ค่าทำให้ดินไม่ซับน้ำฝน
3.ค่าทำให้น้ำสูญเสียออกไปจากพื้นที่โดยการแผดเผาของรังสีดวงอาทิตย์
4.ค่าทำให้ดินสูญหาย
5.ค่าทำให้อากาศร้อนมากขึ้น
6.ค่าทำให้ฝนตกน้อยลง
7.มูลค่าความเสียหายโดยตรงจากป่า 3 ชนิด คือ การทำลายป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ทั้งนี้ รวมเป็นเงินที่ชาวบ้านต้องจ่ายประมาณ 150,000 บาทต่อไร่ต่อปี
จากนั้น เวลา 13.30 น. วันเดียวกัน เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย โดยองค์กรสมาชิก จากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง พัทลุง ประจวบคีรีขันธ์ และสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมทั้งเครือข่ายชาวบ้านในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี และราชบุรี ได้เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเข้ายื่นหนังสือถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านทางนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
เนื้อหาในหนังสือระบุว่า ปัจจุบัน มีเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายฯ ถูกดำเนินคดีโลกร้อนจำนวน 34 ราย ถูกเรียกค่าเสียหายรวมกันทั้งสิ้น 13 ล้านบาท ซึ่งการเรียกค่าเสียหายคดีโลกร้อนของกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกรมป่าไม้ ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติและส่งผลกระทบให้เกษตรกรต้องรับภาระชำระหนี้ที่ไม่ได้มีอยู่จริง และไม่ได้เป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้น อีกทั้งแบบจำลองฯ ดังกล่าว มีรายละเอียดการคำนวณที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่ได้รับการยอมรับถึงคุณภาพ มาตรฐานการวิจัย และไม่น่าเชื่อถือทางวิชาการเพียงพอที่จะนำมาบังคับใช้ทางกฎหมาย ดังได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้างจากเครือข่ายนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จึงถือเป็นการกล่าวหาที่ร้ายแรง และเลือกปฏิบัติกับเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นผู้มีวิถีการผลิต และการดำรงชีพที่ไม่เพียงไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ยังช่วยบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ดำรงอยู่อย่างสมดุล และยั่งยืน
อีกทั้งมีการดำเนินคดีอาญาข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่า และการดำเนินคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายโลกร้อน รวมทั้งการเข้าจับกุม ตัดฟันพืชผลที่เกษตรกรปลูกสร้าง และข่มขู่ชุมชนที่อยู่อาศัยและทำกินในเขตพื้นที่ป่าของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ทั้งในจังหวัดตรัง (ถูกเรียกค่าเสียหายคดีโลกร้อน ถูกจับกุม และตัดฟันทำลายพืชผลการเกษตรโดยเจ้าหน้าที่รัฐ) จังหวัดพัทลุง (ถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุก โดยมหาวิทยาลัยทักษิณ) และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ถูกข่มขู่ให้ตัดฟันทำลายพืชผลการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง)
ดังนั้น เครือข่ายปฏิรูปที่ดินฯ จึงขอให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการตรวจสอบการกระทำที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมดังกล่าว คืนความเป็นธรรมให้แก่เกษตรกร และรับรองสิทธิชุมชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยการยกเลิกการใช้แบบจำลองการคิดค่าเสียหาย และการดำเนินคดีโลกร้อนกับเกษตรกร และช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยการมีคำสั่งคุ้มครองพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ซึ่งมีวิถีชีวิตในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตามแนวทางนโยบายโฉนดชุมชน
ทั้งนี้ ตัวแทนเครือข่ายฯ ได้หารือกับนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เพื่อขอให้แก้ปัญหาการรื้อถอนสวนยางพารา และสะพานในพื้นที่โฉนดชุมชน ตลอดจนการดำเนินคดีสมาชิกเครือข่ายฯ ผลการหารือปรากฏว่า นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รับปากว่าจะประสานงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ตรัง จ.พัทลุง จ.สุราษฎร์ธานี จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.ราชบุรี ให้สอดส่องดูแล และสั่งการให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ชะลอการดำเนินการที่เป็นมูลเหตุไปสู่ความขัดแย้งต่อไป