พัทลุง - พ่อค้ายางท้องถิ่นกระอักเลือด โดนตลาด อสย.ทำราคาส่วนต่างถึง 8-9 บาท/กก. ชี้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าตลาดโตคอม ระบุขาใหญ่รอยางขึ้น 300 เยน เทออกทันที เป็นปัญหาราคายางร่วงระนาว
นายอำนวย พูนเนียม ประธานกลุ่มพัฒนาบ้านโล๊ะจังกระ ผู้รับซื้อน้ำยางและโรงรมยาง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า จากการหารือกับเจ้าของธุรกิจรับซื้อน้ำยางสด และโรงรมยางพาราในพื้นที่ จ.พัทลุง จ.นครศรีธรรมราช จ.ตรัง และ จ.สงขลา ถึงโครงการรักษาเสถียรภาพราคายางพาราของรัฐบาลประมาณ 15,000 ล้านบาท ที่สนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรยางพารา สามารถกู้ยืมเพื่อมารับซื้อยางพาราจากเกษตรกร
แต่ปรากฏว่า มีผู้รับซื้อยางพารา และเจ้าของโรงรมยางพาราท้องถิ่นจำนวนมากที่จดทะเบียนเป็นกลุ่ม ตลอดจนที่ไม่ได้จดทะเบียน กลับไม่สามารถรับการสนับสนุนจากโครงการนี้ได้ ขณะนี้มีผลกระทบต่อผู้รับซื้อน้ำยางสด และโรงรมในท้องถิ่นในระยะเริ่มต้นแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระหนักในระยะใกล้นี้
“วันอาทิตย์นี้ (27 พ.ค.) จะมีการประชุมหารือกลุ่มผู้รับซื้อน้ำยางสด และเจ้าของโรงรมอีกครั้งที่ จ.พัทลุง โดยจะทำการเรียกร้องไปยังรัฐบาลในโครงการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา จำนวน 15,000 ล้านบาท ให้มีความเสมอภาคกัน และผู้รับซื้อน้ำยางสดและโรงรมท้องถิ่น จะขอทำการขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่โครงการนี้ด้วย” นายอำนวย กล่าว
นายกาตีบีน เก็มเด็น เจ้าของรับซื้อน้ำยางสดและโรงรมบ้านทุ่งเหรียง เทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจรับซื้อน้ำยางสดและโรงรมได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีสถาบันเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) รับซื้อยางพารา เพราะได้ราคาที่ดีกว่า เนื่องจากองค์การสวนยาง (อสย.) รับซื้อยางแผ่นดิบในราคา 111 บาท/กก. ยางรมควัน 115.44 บาท/กก. ในขณะที่พ่อค้าคนกลางรับซื้อ 105-107 บาท/กก.
“ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือพ่อค้ารับซื้อน้ำยางสดและโรงรมท้องถิ่นที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน กับชาวสวนยางพาราซึ่งเป็นประชากรส่วนมากของชาวสวนยางพาราของไทย ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพ่อค้าขนาดใหญ่ หรือผู้ส่งออกแต่อย่างใด พื้นที่ใดมีสถาบันเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับ สกย.รับซื้อยางพารา ในพื้นที่ตรงนั้นพ่อค้าท้องถิ่นที่รับซื้อน้ำยางสดและโรงรมเตรียมที่จะรับผลกระทบหนักได้” นายกาติบีน กล่าว
และเปิดเผยอีกว่า ขณะนี้ กลุ่มพ่อค้าท้องถิ่นที่รับซื้อน้ำยาสดและโรงรมอยู่ในอัตราเสี่ยงที่สูงมาก โดยวันนี้ (25 พ.ค.) ราคาน้ำยางสด ลงมาอยู่ที่ 94 บาท/กก. แล้ว หากเกิดผิดพลาดครั้งนี้พ่อค้าท้องถิ่นจะต้องล้มลงเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคายางในตลาดโตคอม ญี่ปุ่น อยู่ที่ 111 บาท/กก. โดยในตลาดโตคอมขณะนี้ผู้ที่จะเข้าไปเกี่ยวกับเรื่องยางจะต้องมีความเชี่ยวชาญ หาไม่แล้วจะได้รับผลกระทบหนัก และในระยะ 2-3 สัปดาห์ข้างหน้านี้ หวั่นวิตกว่าราคาจะอยู่ในทิศทางที่ตกลงมาอีก จะต้องรอบคอบระมัดระวัง
“ส่วนผู้ประกอบการที่เป็นพ่อค้าท้องถิ่นรับซื้อน้ำยางสด และทำโรงรมยาง พ่อค้าคนกลางจะต้องปรับราคาขึ้น ภาคเกษตรกรตรงนี้เป็นประชากรส่วนใหญ่ของชาวสวนยางพาราประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์”
แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า ทราบว่าขณะนี้ พ่อค้าส่งออกก็ยังไม่ได้นำยางส่งออก เพียงพยายามหาแรงหนุนให้ได้ถึง 300 เยน ก็จะทำการเทออก ขณะเดียวกัน ทาง อสย. ที่รับซื้อยางพาราจากสถาบันเกษตรกรก็จะต้องส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปดูแลในตลาดโตคอมด้วย เชื่อว่ายางพาราของ อสย.ก็จะมีกำไร
นายอำนวย พูนเนียม ประธานกลุ่มพัฒนาบ้านโล๊ะจังกระ ผู้รับซื้อน้ำยางและโรงรมยาง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า จากการหารือกับเจ้าของธุรกิจรับซื้อน้ำยางสด และโรงรมยางพาราในพื้นที่ จ.พัทลุง จ.นครศรีธรรมราช จ.ตรัง และ จ.สงขลา ถึงโครงการรักษาเสถียรภาพราคายางพาราของรัฐบาลประมาณ 15,000 ล้านบาท ที่สนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรยางพารา สามารถกู้ยืมเพื่อมารับซื้อยางพาราจากเกษตรกร
แต่ปรากฏว่า มีผู้รับซื้อยางพารา และเจ้าของโรงรมยางพาราท้องถิ่นจำนวนมากที่จดทะเบียนเป็นกลุ่ม ตลอดจนที่ไม่ได้จดทะเบียน กลับไม่สามารถรับการสนับสนุนจากโครงการนี้ได้ ขณะนี้มีผลกระทบต่อผู้รับซื้อน้ำยางสด และโรงรมในท้องถิ่นในระยะเริ่มต้นแล้ว และมีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระหนักในระยะใกล้นี้
“วันอาทิตย์นี้ (27 พ.ค.) จะมีการประชุมหารือกลุ่มผู้รับซื้อน้ำยางสด และเจ้าของโรงรมอีกครั้งที่ จ.พัทลุง โดยจะทำการเรียกร้องไปยังรัฐบาลในโครงการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา จำนวน 15,000 ล้านบาท ให้มีความเสมอภาคกัน และผู้รับซื้อน้ำยางสดและโรงรมท้องถิ่น จะขอทำการขึ้นทะเบียนเพื่อเข้าสู่โครงการนี้ด้วย” นายอำนวย กล่าว
นายกาตีบีน เก็มเด็น เจ้าของรับซื้อน้ำยางสดและโรงรมบ้านทุ่งเหรียง เทศบาลตำบลควนเสาธง อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ขณะนี้ ผู้ประกอบการธุรกิจรับซื้อน้ำยางสดและโรงรมได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีสถาบันเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) รับซื้อยางพารา เพราะได้ราคาที่ดีกว่า เนื่องจากองค์การสวนยาง (อสย.) รับซื้อยางแผ่นดิบในราคา 111 บาท/กก. ยางรมควัน 115.44 บาท/กก. ในขณะที่พ่อค้าคนกลางรับซื้อ 105-107 บาท/กก.
“ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคือพ่อค้ารับซื้อน้ำยางสดและโรงรมท้องถิ่นที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน กับชาวสวนยางพาราซึ่งเป็นประชากรส่วนมากของชาวสวนยางพาราของไทย ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อพ่อค้าขนาดใหญ่ หรือผู้ส่งออกแต่อย่างใด พื้นที่ใดมีสถาบันเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับ สกย.รับซื้อยางพารา ในพื้นที่ตรงนั้นพ่อค้าท้องถิ่นที่รับซื้อน้ำยางสดและโรงรมเตรียมที่จะรับผลกระทบหนักได้” นายกาติบีน กล่าว
และเปิดเผยอีกว่า ขณะนี้ กลุ่มพ่อค้าท้องถิ่นที่รับซื้อน้ำยาสดและโรงรมอยู่ในอัตราเสี่ยงที่สูงมาก โดยวันนี้ (25 พ.ค.) ราคาน้ำยางสด ลงมาอยู่ที่ 94 บาท/กก. แล้ว หากเกิดผิดพลาดครั้งนี้พ่อค้าท้องถิ่นจะต้องล้มลงเป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคายางในตลาดโตคอม ญี่ปุ่น อยู่ที่ 111 บาท/กก. โดยในตลาดโตคอมขณะนี้ผู้ที่จะเข้าไปเกี่ยวกับเรื่องยางจะต้องมีความเชี่ยวชาญ หาไม่แล้วจะได้รับผลกระทบหนัก และในระยะ 2-3 สัปดาห์ข้างหน้านี้ หวั่นวิตกว่าราคาจะอยู่ในทิศทางที่ตกลงมาอีก จะต้องรอบคอบระมัดระวัง
“ส่วนผู้ประกอบการที่เป็นพ่อค้าท้องถิ่นรับซื้อน้ำยางสด และทำโรงรมยาง พ่อค้าคนกลางจะต้องปรับราคาขึ้น ภาคเกษตรกรตรงนี้เป็นประชากรส่วนใหญ่ของชาวสวนยางพาราประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์”
แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า ทราบว่าขณะนี้ พ่อค้าส่งออกก็ยังไม่ได้นำยางส่งออก เพียงพยายามหาแรงหนุนให้ได้ถึง 300 เยน ก็จะทำการเทออก ขณะเดียวกัน ทาง อสย. ที่รับซื้อยางพาราจากสถาบันเกษตรกรก็จะต้องส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปดูแลในตลาดโตคอมด้วย เชื่อว่ายางพาราของ อสย.ก็จะมีกำไร