สงขลา - ประชาสังคมชายแดนใต้ เดินหน้าจัด 200 เวที ฟังความเห็นกระจายอำนาจดับไฟใต้ เปิดนโยบายปี 2555-2557 ชี้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ให้กระจายอำนาจสร้างสมดุลระหว่างส่วนกลาง-ท้องถิ่น
นายรอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล เลขานุการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ เปิดเผยว่า วันนี้ (16 มี.ค.) สภาประชาสังคมชายแดนใต้จะจัดประชุมคณะทำงานพัฒนาเครื่องมือเพื่อดึงข้อเสนอในประเด็นกระจายอำนาจเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 200 เวทีในปี 2555 “ถอดหัส เครื่องมือ 200 เวที กระจายอำนาจ” ณ เทพาบีช รีสอร์ท อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป
นายรอซีดีเปิดเผยต่อไปว่า คณะทำงานพัฒนาเครื่องมือ ประกอบด้วย ทีมรับฟังความเห็นเรื่องการกระจายอำนาจ นำโดย พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ นายมันโซร์ สาและ รองประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ คณะทำงานผลิตคู่มือ Issue Book นำโดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ และคณะบริหารสภาประชาสังคมชายแดนใต้ นำโดยนายประสิทธิ เมฆสุวรรณ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ มาถกเถียงกันเพื่อหาข้อสรุป ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ในวันที่ 24 มีนาคม 2555
นายรอซีดีเปิดเผยอีกว่า ที่ประชุมจะมีการหารือกันว่า การจัดรับฟังความเห็นใน 200 เวทีดังกล่าว จะใช้ Issue Book และวิธีการ Deliberative หรือประชาหารืออย่างไรที่เหมาะสมในการดึงข้อเสนอและความคิดเห็นจากรากหญ้าในเรื่องการกระจายอำนาจ
นายรอซีดีเปิดเผยว่า สำหรับวิทยากรกระบวนการในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น 200 เวที ดังกล่าว สภาประชาสังคมชายแดนใต้ จะเปิดรับสมัครจากนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ในพื้นที่สมัครประมาณ 100 คน จากนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ทีม ได้แก่ ทีมรับฟังความเห็นจากเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายความมั่นคง อีกทีมจะรับฟังความเห็นจากประชาชนและกลุ่มเฉพาะ เช่น สตรี เยาวชน เป็นต้น “ส่วนการรับฟังความเห็นจากฝ่ายตรงข้ามรัฐ จะมีการเตรียมแผนพิเศษ ซึ่งต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม” นายรอซีดีกล่าว
ส่วนกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงทั้งทหารและรัฐบาลออกมาแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับแนวคิดปัตตานีมหานคร เป็นเรื่องของพรรคการเมือง ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเรื่องปัตตานีมหานคร
“เป็นเรื่องธรรมดาที่มีการต่อต้านจากฝ่ายความมั่นคง แต่ประเด็นนี้เป็นวาระประชาชน ซึ่งนักการเมืองของพรรคเพื่อไทยอาจมองไม่เห็นกระบวนการขับเคลื่อนมาก่อนหน้านี้ ดังนั้น การเดินหน้ารับฟังความเห็นจาก 200 เวที จะทำให้รัฐบาลเห็นกระบวนการไปด้วย” นายรอซีดีกล่าว
พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ ในฐานะเครือข่ายประชาสังคมเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า การประชุมถอดรหัส เครื่องมือ 200 เวที กระจายอำนาจ เป็นการประชุมเพื่อกำหนดกรอบในการรับฟังความเห็น ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2555 จัดโดยสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ร่วมกับสำนักงานปฏิรูป (สปร.)
พล.ต.ต.จำรูญเปิดเผยว่า แนวคิดเรื่องปัตตานีมหานคร เกิดขึ้นจากภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา รวม 52 เวที ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 1,600 คน รวมถึงกลุ่มผู้ที่เห็นต่างกับรัฐ ผลจากการจัดเวทีรับฟังความเห็นดังกล่าว มี 7 ประเด็น ซึ่งนำมาสู่การร่างพระราชบัญญัติปัตตานีมหานคร พ.ศ.....
พล.ต.ต.จำรูญกล่าวว่า รัฐบาลไม่เข้าใจที่มาของแนวคิดปัตตานีมหานครว่า มาจากประชาชนระดับรากหญ้าจริงๆ ซึ่งที่ผ่านมามีนักการเมืองกลุ่มหนึ่งของพรรคเพื่อไทยให้ความสนใจเรื่องปัตตานีมหานคร และเห็นว่ามีความเป็นไปได้ จึงเสนอต่อรัฐบาล ร่างพระราชบัญญัติปัตตานีมหานคร จะถูกนำไปใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนอีกครั้ง ใน 200 เวทีดังกล่าว ร่วมกับรูปแบบการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามข้อเสนอของคนอื่นๆ รวม 6 รูปแบบ หากประชาชนเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติปัตตานีมหานคร และร่วมลงชื่อสนับสนุนครบ 10,000 ชื่อ ก็จะเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ต่อประธานรัฐสภา เพื่อเข้ากระบวนการออกกฎหมายต่อไป แต่หากไม่เห็นด้วยก็ต้องหารูปแบบที่เหมาะสมต่อไป
“การขับเคลื่อนเรื่องปัตตานีมหานครเป็นการดำเนินการภายกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ไม่ใช่วิธีการที่ผิดกฎหมาย หากใครที่ไม่เห็นด้วยก็สามารถแสดความคิดเห็นได้ แต่ไม่ควรมาตำหนิว่าไม่รักชาติ หรือ บอกว่าเป็นพวกที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน” พล.ต.ต.จำรูญกล่าว
พล.ต.ต.จำรูญ เปิดเผยว่า สำหรับ 7 ประเด็นจากการจัดเวทีที่ผ่านมา คือ
1. ประชาชนในพื้นที่เห็นว่า การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องให้คนในพื้นที่มีที่ยืนทางการเมือง 2. ผู้นำสูงสุดในพื้นที่ต้องมาจากการเลือกตั้ง 3. ผู้นำทางการเมืองต้องผ่านกระบวนการคัดสรร 4. ยอมรับภาษามลายูและให้มีการศึกษาภาษามลายูทุกระดับการศึกษา 5. คนในพื้นที่มีสิทธิในการกำหนดหลักสูตรการศึกษาด้วยตัวเอง โดยการบูรณาการระหว่างวิชาศาสนาและสามัญ
6. มีการบังคับใช้กฎหมายอิสลามและมีศาลชารีอะห์ 7. ยอมรับในความแตกต่างทางชาติพันธ์ของคนในพื้นที่ โดยทั้ง 7 ประเด็น นำมาพิจารณารวมกับการวิเคราะห์ของสถาบันพระปกเกล้าที่ระบุว่า คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการกำหนดอนาคตของตัวเอง จากนั้นจึงเป็นร่างพระราชบัญญัติปัตตานีมหานคร พ.ศ.....
นายสุธิพันธ์ ศรีริกานนท์ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) และผู้ประสานงานพรรคเพื่อไทยประจำจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า ขณะนี้พรรคเพื่อไทยได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้นโยบายการกระจายอำนาจให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และจะทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้สงบลงหรือไม่ โดยหนึ่งในคณะทำงานคือนายประสพ บุษราคัม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคเพื่อไทย
นายสุธิพันธ์เปิดเผยด้วยว่า อย่างไรก็ตาม พรรคเพื่อไทยยังไม่ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินครปัตตานี พ.ศ.... เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่พรรคเพื่อไทยเสนอเป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 เนื่องจากหลังจากรัฐบาลบาลพรรคเพื่อไทยเข้ามาบริหารประเทศ ต้องดำเนินการ 2 เรื่องใหญ่ๆ คือการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งผ่านพ้นไปแล้ว ปัจจุบันรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกำลังจะดำเนินการเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงยังไม่มีเวลาพิจารณาในเรื่องนครปัตตานีในตอนนี้ แต่ก็ยังมีเวลามากพอที่จะนำมาพิจารณาในโอกาสต่อไป
เปิดนโยบายดับไฟใต้ ปี 2555-57 : ให้กระจายอำนาจ
เมื่อวันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซด์ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ได้นำเสนอ ‘นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557’ จัดทำโดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) โดยระบุเงื่อนไขหนึ่งของการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ โครงสร้างการปกครองและการบริหารราชการยังไม่สนองตอบกับลักษณะเฉพาะทางอัตลักษณ์ ความต้องการและความคาดหวังของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ นำมาซึ่งความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเลือกปฏิบัติ และขาดอำนาจในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเองอย่างแท้จริง อาทิ การพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของพื้นที่ การศึกษาที่ไม่สามารถเอื้ออำนวยให้ประชาชนส่วนใหญ่มีพลังเอาชนะการท้าทายทางสังคมในรูปต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม
กรอบแนวคิดของนโยบายในประเด็นนี้ คือ การสร้างสมดุลของโครงสร้างอำนาจการปกครองและการบริหารราชการระหว่างส่วนกลางกับพื้นที่ โดยการกระจายอำนาจภายใต้เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และยึดหลักการบริหารจัดการบนพื้นฐานของความหลากหลายในความเป็นพหุสังคม
วัตถุประสงค์ข้อที่ 8 ของนโยบายฉบับนี้ คือ เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพูดคุยในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งและการให้หลักประกันในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพ
การดำเนินนโยบายตามวัตถุประสงค์ข้อนี้ มี 2 ประการ ได้แก่ 1. ส่งเสริมการพูดคุยระหว่างกลุ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเรื่องหลักการ เป้าหมาย และรูปแบบของการกระจายอำนาจที่เหมาะสมบนพื้นฐานความเป็นพหุสังคมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อยู่ภายใต้เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นหลักสากลที่ได้รับการยอมรับ ไม่ใช่เป็นเงื่อนไขนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน โดยเปิดพื้นที่และสร้างสภาวะแวดล้อมที่มีความเชื่อมั่น และเป็นหลักประกันความปลอดภัยในเสรีภาพต่อการแสดงความคิดเห็นและพูดคุยของทุกกลุ่มอย่างรอบด้าน สะท้อนถึงข้อกังวลของประชาชนทุกชาติพันธุ์และศาสนา
2. ส่งเสริมความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับกลุ่มบุคคลที่มีความเห็นและอุดมการณ์แตกต่างจากรัฐที่เลือกใช้ความรุนแรงต่อสู้กับรัฐ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยดำเนินการอย่างเป็นเอกภาพและเพิ่มความร่วมมือกับต่างประเทศ หรือองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ เพื่อสนับสนุนกระบวนการพูดคุยดังกล่าว
นายรอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล เลขานุการสภาประชาสังคมชายแดนใต้ เปิดเผยว่า วันนี้ (16 มี.ค.) สภาประชาสังคมชายแดนใต้จะจัดประชุมคณะทำงานพัฒนาเครื่องมือเพื่อดึงข้อเสนอในประเด็นกระจายอำนาจเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 200 เวทีในปี 2555 “ถอดหัส เครื่องมือ 200 เวที กระจายอำนาจ” ณ เทพาบีช รีสอร์ท อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ตั้งแต่เวลา 13.00 น.เป็นต้นไป
นายรอซีดีเปิดเผยต่อไปว่า คณะทำงานพัฒนาเครื่องมือ ประกอบด้วย ทีมรับฟังความเห็นเรื่องการกระจายอำนาจ นำโดย พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ นายมันโซร์ สาและ รองประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ คณะทำงานผลิตคู่มือ Issue Book นำโดย ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ และคณะบริหารสภาประชาสังคมชายแดนใต้ นำโดยนายประสิทธิ เมฆสุวรรณ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ มาถกเถียงกันเพื่อหาข้อสรุป ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ในวันที่ 24 มีนาคม 2555
นายรอซีดีเปิดเผยอีกว่า ที่ประชุมจะมีการหารือกันว่า การจัดรับฟังความเห็นใน 200 เวทีดังกล่าว จะใช้ Issue Book และวิธีการ Deliberative หรือประชาหารืออย่างไรที่เหมาะสมในการดึงข้อเสนอและความคิดเห็นจากรากหญ้าในเรื่องการกระจายอำนาจ
นายรอซีดีเปิดเผยว่า สำหรับวิทยากรกระบวนการในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น 200 เวที ดังกล่าว สภาประชาสังคมชายแดนใต้ จะเปิดรับสมัครจากนักศึกษาจากสถาบันต่างๆ ในพื้นที่สมัครประมาณ 100 คน จากนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ทีม ได้แก่ ทีมรับฟังความเห็นจากเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายความมั่นคง อีกทีมจะรับฟังความเห็นจากประชาชนและกลุ่มเฉพาะ เช่น สตรี เยาวชน เป็นต้น “ส่วนการรับฟังความเห็นจากฝ่ายตรงข้ามรัฐ จะมีการเตรียมแผนพิเศษ ซึ่งต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม” นายรอซีดีกล่าว
ส่วนกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงทั้งทหารและรัฐบาลออกมาแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับแนวคิดปัตตานีมหานคร เป็นเรื่องของพรรคการเมือง ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเรื่องปัตตานีมหานคร
“เป็นเรื่องธรรมดาที่มีการต่อต้านจากฝ่ายความมั่นคง แต่ประเด็นนี้เป็นวาระประชาชน ซึ่งนักการเมืองของพรรคเพื่อไทยอาจมองไม่เห็นกระบวนการขับเคลื่อนมาก่อนหน้านี้ ดังนั้น การเดินหน้ารับฟังความเห็นจาก 200 เวที จะทำให้รัฐบาลเห็นกระบวนการไปด้วย” นายรอซีดีกล่าว
พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ ในฐานะเครือข่ายประชาสังคมเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า การประชุมถอดรหัส เครื่องมือ 200 เวที กระจายอำนาจ เป็นการประชุมเพื่อกำหนดกรอบในการรับฟังความเห็น ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2555 จัดโดยสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ร่วมกับสำนักงานปฏิรูป (สปร.)
พล.ต.ต.จำรูญเปิดเผยว่า แนวคิดเรื่องปัตตานีมหานคร เกิดขึ้นจากภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา รวม 52 เวที ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 1,600 คน รวมถึงกลุ่มผู้ที่เห็นต่างกับรัฐ ผลจากการจัดเวทีรับฟังความเห็นดังกล่าว มี 7 ประเด็น ซึ่งนำมาสู่การร่างพระราชบัญญัติปัตตานีมหานคร พ.ศ.....
พล.ต.ต.จำรูญกล่าวว่า รัฐบาลไม่เข้าใจที่มาของแนวคิดปัตตานีมหานครว่า มาจากประชาชนระดับรากหญ้าจริงๆ ซึ่งที่ผ่านมามีนักการเมืองกลุ่มหนึ่งของพรรคเพื่อไทยให้ความสนใจเรื่องปัตตานีมหานคร และเห็นว่ามีความเป็นไปได้ จึงเสนอต่อรัฐบาล ร่างพระราชบัญญัติปัตตานีมหานคร จะถูกนำไปใช้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนอีกครั้ง ใน 200 เวทีดังกล่าว ร่วมกับรูปแบบการปกครองจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามข้อเสนอของคนอื่นๆ รวม 6 รูปแบบ หากประชาชนเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติปัตตานีมหานคร และร่วมลงชื่อสนับสนุนครบ 10,000 ชื่อ ก็จะเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ต่อประธานรัฐสภา เพื่อเข้ากระบวนการออกกฎหมายต่อไป แต่หากไม่เห็นด้วยก็ต้องหารูปแบบที่เหมาะสมต่อไป
“การขับเคลื่อนเรื่องปัตตานีมหานครเป็นการดำเนินการภายกรอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ไม่ใช่วิธีการที่ผิดกฎหมาย หากใครที่ไม่เห็นด้วยก็สามารถแสดความคิดเห็นได้ แต่ไม่ควรมาตำหนิว่าไม่รักชาติ หรือ บอกว่าเป็นพวกที่ต้องการแบ่งแยกดินแดน” พล.ต.ต.จำรูญกล่าว
พล.ต.ต.จำรูญ เปิดเผยว่า สำหรับ 7 ประเด็นจากการจัดเวทีที่ผ่านมา คือ
1. ประชาชนในพื้นที่เห็นว่า การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องให้คนในพื้นที่มีที่ยืนทางการเมือง 2. ผู้นำสูงสุดในพื้นที่ต้องมาจากการเลือกตั้ง 3. ผู้นำทางการเมืองต้องผ่านกระบวนการคัดสรร 4. ยอมรับภาษามลายูและให้มีการศึกษาภาษามลายูทุกระดับการศึกษา 5. คนในพื้นที่มีสิทธิในการกำหนดหลักสูตรการศึกษาด้วยตัวเอง โดยการบูรณาการระหว่างวิชาศาสนาและสามัญ
6. มีการบังคับใช้กฎหมายอิสลามและมีศาลชารีอะห์ 7. ยอมรับในความแตกต่างทางชาติพันธ์ของคนในพื้นที่ โดยทั้ง 7 ประเด็น นำมาพิจารณารวมกับการวิเคราะห์ของสถาบันพระปกเกล้าที่ระบุว่า คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการกำหนดอนาคตของตัวเอง จากนั้นจึงเป็นร่างพระราชบัญญัติปัตตานีมหานคร พ.ศ.....
นายสุธิพันธ์ ศรีริกานนท์ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) และผู้ประสานงานพรรคเพื่อไทยประจำจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า ขณะนี้พรรคเพื่อไทยได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้นโยบายการกระจายอำนาจให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร และจะทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้สงบลงหรือไม่ โดยหนึ่งในคณะทำงานคือนายประสพ บุษราคัม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคเพื่อไทย
นายสุธิพันธ์เปิดเผยด้วยว่า อย่างไรก็ตาม พรรคเพื่อไทยยังไม่ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัตินครปัตตานี พ.ศ.... เพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่พรรคเพื่อไทยเสนอเป็นนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 เนื่องจากหลังจากรัฐบาลบาลพรรคเพื่อไทยเข้ามาบริหารประเทศ ต้องดำเนินการ 2 เรื่องใหญ่ๆ คือการแก้ปัญหาน้ำท่วม ซึ่งผ่านพ้นไปแล้ว ปัจจุบันรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกำลังจะดำเนินการเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงยังไม่มีเวลาพิจารณาในเรื่องนครปัตตานีในตอนนี้ แต่ก็ยังมีเวลามากพอที่จะนำมาพิจารณาในโอกาสต่อไป
เปิดนโยบายดับไฟใต้ ปี 2555-57 : ให้กระจายอำนาจ
เมื่อวันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา เว็บไซด์ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ได้นำเสนอ ‘นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557’ จัดทำโดยสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) โดยระบุเงื่อนไขหนึ่งของการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ โครงสร้างการปกครองและการบริหารราชการยังไม่สนองตอบกับลักษณะเฉพาะทางอัตลักษณ์ ความต้องการและความคาดหวังของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ นำมาซึ่งความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกเลือกปฏิบัติ และขาดอำนาจในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเองอย่างแท้จริง อาทิ การพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของพื้นที่ การศึกษาที่ไม่สามารถเอื้ออำนวยให้ประชาชนส่วนใหญ่มีพลังเอาชนะการท้าทายทางสังคมในรูปต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม
กรอบแนวคิดของนโยบายในประเด็นนี้ คือ การสร้างสมดุลของโครงสร้างอำนาจการปกครองและการบริหารราชการระหว่างส่วนกลางกับพื้นที่ โดยการกระจายอำนาจภายใต้เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และยึดหลักการบริหารจัดการบนพื้นฐานของความหลากหลายในความเป็นพหุสังคม
วัตถุประสงค์ข้อที่ 8 ของนโยบายฉบับนี้ คือ เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมและเอื้อต่อการพูดคุยในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งและการให้หลักประกันในการเข้ามามีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการเสริมสร้างสันติภาพ
การดำเนินนโยบายตามวัตถุประสงค์ข้อนี้ มี 2 ประการ ได้แก่ 1. ส่งเสริมการพูดคุยระหว่างกลุ่มคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเรื่องหลักการ เป้าหมาย และรูปแบบของการกระจายอำนาจที่เหมาะสมบนพื้นฐานความเป็นพหุสังคมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่อยู่ภายใต้เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นหลักสากลที่ได้รับการยอมรับ ไม่ใช่เป็นเงื่อนไขนำไปสู่การแบ่งแยกดินแดน โดยเปิดพื้นที่และสร้างสภาวะแวดล้อมที่มีความเชื่อมั่น และเป็นหลักประกันความปลอดภัยในเสรีภาพต่อการแสดงความคิดเห็นและพูดคุยของทุกกลุ่มอย่างรอบด้าน สะท้อนถึงข้อกังวลของประชาชนทุกชาติพันธุ์และศาสนา
2. ส่งเสริมความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพกับกลุ่มบุคคลที่มีความเห็นและอุดมการณ์แตกต่างจากรัฐที่เลือกใช้ความรุนแรงต่อสู้กับรัฐ ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยดำเนินการอย่างเป็นเอกภาพและเพิ่มความร่วมมือกับต่างประเทศ หรือองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ เพื่อสนับสนุนกระบวนการพูดคุยดังกล่าว