ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ศร.ชล.เขต 3 ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานการปฏิบัติงานรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล บูรณาการแก้ปัญหาภัยคุกคาม
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 13 มีนาคม 2555 ที่ห้องรายา โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต พลเรือโท ธราธร ขจิตสุวรรณ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เขต 3 (ศร.ชล.เขต 3) เป็นประธานการประชุมศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เขต 3 ครั้งที่ 1 ประจำปี 2555 โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 6 จังหวัดทะเลอันดามัน ประกอบด้วย จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และ สตูล เข้าร่วม อาทิ ผู้แทนกองบังคับการตำรวจน้ำ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 ผู้แทนกรมประมง ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนตัว ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาชน เป็นต้น
พลเรือโท ธราธร กล่าวว่า การประชุมดังกล่าว เพื่อบูรณาการร่วมระหว่างหน่วยงานหลักใน ศร.ชล.เขต 3 ได้แก่ กองทัพเรือโดยทัพเรือภาคที่ 3 กองกำกับการตำรวจน้ำ กรมศุลกากร กรมประมง กรมเจ้าท่า และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เขต 3 ซึ่งจะต้องร่วมกันป้องกันปราบปราม และแก้ปัญหาที่เป็นภัยคุกคาม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ปัญหาการทำประมง ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ตลอดจนนโยบาย และแนวทางการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2555
“ในการดำเนินการนั้นจะมีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในศร.ชล.เขต 3 กำหนดแนวทางฝึกปฏิบัติการร่วมโดยการสนธิกำลังทั้งหน่วยงานหลักใน ศร.ชล.เขต 3 หน่วยงานรัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน องค์กรส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ จัดตั้งและกำหนดบทบาทผู้ประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่างๆ ใน ศร.ชล.3 ทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ (POC: Point Of Contract) กำหนดแนวทางในการประชาสัมพันธ์การปฏิบัติงานของ ศร.ชล.เขต 3 ผ่านเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนได้รับทราบบทบาทของ ศร.ชล.เขต 3 ขยายผลการดำเนินโครงการจัดระเบียบเรือในช่วงที่ผ่านมา โดยจะทำโครงการนำร่องการจัดระเบียบเรือประมงนอกน่านน้ำในพื้นที่ จ.ระนอง และจัดตั้งโครงข่ายการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานต่างๆ ใน ศร.ชล. เขต 3” พลเรือโท ธราธร กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีการรายงานสถานการณ์ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ ศร.ชล.เขต 3 ด้วยว่า ผลกระทบที่เกิดกับความมั่นคงทางทะเลนั้นมีอยู่ 2 ด้าน คือ ผลกระทบภายนอกประเทศ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้น มีทั้งปัญหาเขตแดนทางทะเล โดยเฉพาะเขตแดนไทยกับพม่า ซึ่งยังไม่สามารถตกลงกันได้ ปัญหายาเสพติด ปัญหาต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ในระยะนี้จะเป็นกลุ่มโรฮิงญา ปัญหาการทำประมง ปัญหาการลักลอบขนสินค้าหนีภาษี ปัญหาการก่อการร้าย และปัญหาชาวต่างชาติที่เข้ามาแล้วไม่แล้วไม่ออกกลับไป แต่ไปหลบอยู่ตามเกาะแก่งต่างๆ
ส่วนปัญหาที่เกิดจากผลกระทบภายในประเทศ ได้แก่ ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหายาเสพติด ซึ่งจะมีหลากหลายรูปแบบและถือเป็นภัยที่สำคัญ โดยเฉพาะยาบ้า แต่หากเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะเป็นยาไอซ์หรือกัญชา ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาการลักลอบทำประมงในเขตหวงห้าม ซึ่งมีการประสานกับหน่วยงานต่างๆ และมีการจัดหมู่เรือในการลาดตระเวน ปัญหามลพิษทางน้ำ ซึ่งเกิดจากการขนถ่ายของเสียลงทะเล โดยเฉพาะจากเรือสินค้า และปัญหาภัยพิบัติ/ธรรมชาติ ทั้งแผ่นดินไหว โคลนถล่ม และสึนามิ ซึ่งทาง ศร.ชล.เขต 3 จะต้องมีการเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิด
เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 13 มีนาคม 2555 ที่ห้องรายา โรงแรมรอยัลภูเก็ต ซิตี้ อ.เมือง จ.ภูเก็ต พลเรือโท ธราธร ขจิตสุวรรณ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เขต 3 (ศร.ชล.เขต 3) เป็นประธานการประชุมศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เขต 3 ครั้งที่ 1 ประจำปี 2555 โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 6 จังหวัดทะเลอันดามัน ประกอบด้วย จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และ สตูล เข้าร่วม อาทิ ผู้แทนกองบังคับการตำรวจน้ำ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 ผู้แทนกรมประมง ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนตัว ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาชน เป็นต้น
พลเรือโท ธราธร กล่าวว่า การประชุมดังกล่าว เพื่อบูรณาการร่วมระหว่างหน่วยงานหลักใน ศร.ชล.เขต 3 ได้แก่ กองทัพเรือโดยทัพเรือภาคที่ 3 กองกำกับการตำรวจน้ำ กรมศุลกากร กรมประมง กรมเจ้าท่า และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เขต 3 ซึ่งจะต้องร่วมกันป้องกันปราบปราม และแก้ปัญหาที่เป็นภัยคุกคาม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ปัญหาการทำประมง ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ตลอดจนนโยบาย และแนวทางการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2555
“ในการดำเนินการนั้นจะมีการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในศร.ชล.เขต 3 กำหนดแนวทางฝึกปฏิบัติการร่วมโดยการสนธิกำลังทั้งหน่วยงานหลักใน ศร.ชล.เขต 3 หน่วยงานรัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน องค์กรส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ จัดตั้งและกำหนดบทบาทผู้ประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่างๆ ใน ศร.ชล.3 ทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ (POC: Point Of Contract) กำหนดแนวทางในการประชาสัมพันธ์การปฏิบัติงานของ ศร.ชล.เขต 3 ผ่านเครือข่ายต่างๆ ในพื้นที่เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนได้รับทราบบทบาทของ ศร.ชล.เขต 3 ขยายผลการดำเนินโครงการจัดระเบียบเรือในช่วงที่ผ่านมา โดยจะทำโครงการนำร่องการจัดระเบียบเรือประมงนอกน่านน้ำในพื้นที่ จ.ระนอง และจัดตั้งโครงข่ายการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานต่างๆ ใน ศร.ชล. เขต 3” พลเรือโท ธราธร กล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้มีการรายงานสถานการณ์ในพื้นที่ความรับผิดชอบของ ศร.ชล.เขต 3 ด้วยว่า ผลกระทบที่เกิดกับความมั่นคงทางทะเลนั้นมีอยู่ 2 ด้าน คือ ผลกระทบภายนอกประเทศ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมานั้น มีทั้งปัญหาเขตแดนทางทะเล โดยเฉพาะเขตแดนไทยกับพม่า ซึ่งยังไม่สามารถตกลงกันได้ ปัญหายาเสพติด ปัญหาต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ในระยะนี้จะเป็นกลุ่มโรฮิงญา ปัญหาการทำประมง ปัญหาการลักลอบขนสินค้าหนีภาษี ปัญหาการก่อการร้าย และปัญหาชาวต่างชาติที่เข้ามาแล้วไม่แล้วไม่ออกกลับไป แต่ไปหลบอยู่ตามเกาะแก่งต่างๆ
ส่วนปัญหาที่เกิดจากผลกระทบภายในประเทศ ได้แก่ ปัญหาแรงงานต่างด้าว ปัญหายาเสพติด ซึ่งจะมีหลากหลายรูปแบบและถือเป็นภัยที่สำคัญ โดยเฉพาะยาบ้า แต่หากเป็นแหล่งท่องเที่ยวจะเป็นยาไอซ์หรือกัญชา ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหาการลักลอบทำประมงในเขตหวงห้าม ซึ่งมีการประสานกับหน่วยงานต่างๆ และมีการจัดหมู่เรือในการลาดตระเวน ปัญหามลพิษทางน้ำ ซึ่งเกิดจากการขนถ่ายของเสียลงทะเล โดยเฉพาะจากเรือสินค้า และปัญหาภัยพิบัติ/ธรรมชาติ ทั้งแผ่นดินไหว โคลนถล่ม และสึนามิ ซึ่งทาง ศร.ชล.เขต 3 จะต้องมีการเฝ้าระวังติดตามอย่างใกล้ชิด