ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - งานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้คึกคัก หลากหลายกิจกรรมเครือข่ายคนทำสื่อ ไทยพีบีเอสจับมือวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานี จัดทีมผลิตข้อมูลกระจายข้ามสื่อ แถมโชว์นวัตกรรมการสื่อสารข้ามชาติ เชื่อมเครือข่ายมาเลย์ ปาปัวนิวกินี ติมอร์เลสเต้
วันนี้(12 มี.ค.) ที่ลานกิจกรรม คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้มีพิธีเปิดงานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ ครั้งที่ 2 รองศาสตราจารย์อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร เป็นผู้กล่าวรายงาน และดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
ทั้งนี้ ภายในงานมีการบรรยายและเสวนาในหัวข้อต่างๆ แยกเป็น ภาคเช้า เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้ จัดเสวนาเรื่องผู้หญิงชายแดนใต้กับการแปรเสียงแห่งความสูญเสียสู่เสียงแห่งสันติภาพ, เปิดตัวโครงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายแพทย์วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย หัวหน้าโครงการฯ,
ภาคบ่ายวันเดียวกัน กลุ่มละครข้าวยำ ร่วมขับร้องอานาซีดเล่าเรื่องความเป็นชายขอบของคนพิการชายแดนใต้ แสดงละครเร่เพื่อคนพิการ, การแสดงหุ่นกระบอกจิ๋วเพื่อการเรียนรู้เรื่องคนพิการ, คณะหุ่นกระบอกของนักศึกษาภาควิชาเด็กปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา แสดงหุ่นกระบอกสันติสุขของเด็กเล็กสามศาสนา, สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และเครือข่ายเยาวชน เปิดตัวหนังสือ “จุดเล็กเล็กบนคาบสมุทรมลายู” รวมกวีนิพนธ์เรื่องราวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายอภิชาต จันทร์แดง และ “เปอร์นุลิส มูตา” รวมเรื่องสั้น 19 เยาวชนนักเขียนจากชายแดนใต้ โดยนายโชคชัย วงศ์ตานี
ขณะเดียวกัน โรงเรียนวิชาการเมือง ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ได้จัดห้องเรียนสัญจร ครั้งที่ 7 บรรยายสาธารณะเรื่อง “เจอร์เกิน ฮาเบอร์มาส:การเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้างของพื้นที่สาธารณะ” โดย ดร.นอร์เบิร์ธ โรเปอร์ ผู้อำนวยการองค์กรสนับสนุนสันติภาพเบิร์กฮอฟ และนักวิจัยอาวุโสสถานีวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้
พร้อมกันนี้ ที่เวทีกลางลานกิจกรรม ดอกเตอร์สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จากเครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติลุ่มน้ำปัตตานี ได้เปิดวงสนทนา “ภัยพิบัติสนทนา: อ่านและเข้าใจเครื่องมือเฝ้าระวังภัยพิบัติ” ขณะที่โครงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้จังหวัดชายแดนใต้ (K4DS) จัดประชุมระดมสมองภาคีเครือข่ายผู้ผลิตและผู้ใช้ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้จังหวัดชายแดนใต้
ขณะเดียวกัน กลุ่มเซาเทิร์นพีซมีเดียกรุ๊ป ได้จัดสาธิตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย “VIDEO ADVOCACY” แลกเปลี่ยนบทเรียนการเคลื่อนไหวกับเครือข่ายทางสังคมในประเทศมาเลเซีย เวสต์ปาปัวนิวกินี ติมอร์เลสเต้ ผ่านภาษาบาร์ฮาซา และการใช้งานกูเกิ้ลพลัส ในการทำงานเครือข่ายทางสังคม และเปิดตัวเว็บไซต์โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้
การอภิปรายเรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนงานสตรีชายแดนใต้โดยใช้พลังสื่อ” โดยนายมูฮำหมัดอายุบ ปาทาน บรรณาธิการอาวุโส ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ นางสาวฐิตินบ โกมลนิมิ คณะทำงานศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้, นายตูแวตานียา มือรนีงิง ผู้อำนวยการสำนักข่าวอามาน, นายยะห์ อาลี ประธานเครือข่ายวิทยุชุมชนปัตตานี นางโซรยา จามจุรี หัวหน้าโครงการผู้หญิงภาคประชาสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีนางสาวพัชรา ยิ่งดำนุ่น ผู้จัดรายการสถานีวิทยุ มอ.ปัตตานี เป็นผู้ดำเนินรายการ
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเสวนาและจัดฉายภาพยนตร์ โดยสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติวิธีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์สนามข่าวและการวิเคราะห์ข่าว โดยนางสาวนวลน้อย ธรรมเสถียร อดีตผู้สื่อข่าวบีบีซี ภาคภาษาไทย, นางสาวรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช อดีตผู้สื่อข่าวเอพี และนักวิเคราะห์จากอินเตอร์ชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป, นายดอน ปาทาน ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และนายสุพจน์ จริงจิตร บรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้
สำหรับวันที่ 13 มีนาคม 2555 ช่วงเช้า นางสาวนวลน้อย ธรรมเสถียร อดีตผู้สื่อข่าวบีบีซี ภาคภาษาไทย จากกลุ่ม FT Media และทีม จะถ่ายทอดประสบการณ์และสาธิตการทำสารคดีเสียง สำหรับออกอากาศทางวิทยุ
การอภิปรายเรื่อง “พลังสื่อและการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง” โดย Dr.Isak Svensson จากภาควิชาวิจัยสันติภาพและความขัดแย้ง มหาวิทยาลัยอุปซาลา ประเทศสวีเดน, นายสมเกียรติ จันทรสีมา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะไทยพีบีเอส, นายสมัชชา นิลปัทม์ อาจารย์คณะวิทยาการสื่อสาร, นายนิฟูอาด บาซาลาฮา นักจัดรายการวิทยุชุมชนภาคภาษามลายู และนักวิชาการอิสลามศึกษา, นายมูฮำหมัด ดือราแม ผู้ช่วยบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้
ช่วงบ่าย วันเดียวกัน เป็นการแถลงข่าวสตรีดีเด่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย นางแยน๊ะ สะแลแม รางวัลสตรีดีเด่น ด้านการปกป้องสิทธิของตนเอง ประจำปี 2555 จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, นางสาวปาตีเมาะ เปาะอิแตดาโอะ นายกสมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ รางวัลสตรีดีเด่นด้านการพัฒนาชุมชน, นางรอซิดะห์ ปูซู ประธานเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รางวัลสตรีดีเด่นด้านการส่งเสริมสันติภาพ
เครือข่ายสื่อสาธารณะไทยพีบีเอส จัดประชุมเครือข่ายนักข่าวพลเมืองภาคใต้ตอนและสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการเปิดตัววารสารเฉพาะกิจ “พลังสื่อทางเลือกชายแดนใต้” ผลงานจากค่ายนักเขียนน้อยชายแดนใต้ โดยสำนักหัวใจเดียวกัน และกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางสังคมของสหพันธ์นักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปิดท้ายด้วยการมอบประกาศนียบัตรให้กับตัวแทนเครือข่ายสื่อสร้างสรรค์
วันนี้(12 มี.ค.) ที่ลานกิจกรรม คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้มีพิธีเปิดงานวันสื่อทางเลือกชายแดนใต้ ครั้งที่ 2 รองศาสตราจารย์อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร เป็นผู้กล่าวรายงาน และดอกเตอร์ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
ทั้งนี้ ภายในงานมีการบรรยายและเสวนาในหัวข้อต่างๆ แยกเป็น ภาคเช้า เครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมชายแดนใต้ จัดเสวนาเรื่องผู้หญิงชายแดนใต้กับการแปรเสียงแห่งความสูญเสียสู่เสียงแห่งสันติภาพ, เปิดตัวโครงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายแพทย์วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย หัวหน้าโครงการฯ,
ภาคบ่ายวันเดียวกัน กลุ่มละครข้าวยำ ร่วมขับร้องอานาซีดเล่าเรื่องความเป็นชายขอบของคนพิการชายแดนใต้ แสดงละครเร่เพื่อคนพิการ, การแสดงหุ่นกระบอกจิ๋วเพื่อการเรียนรู้เรื่องคนพิการ, คณะหุ่นกระบอกของนักศึกษาภาควิชาเด็กปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา แสดงหุ่นกระบอกสันติสุขของเด็กเล็กสามศาสนา, สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และเครือข่ายเยาวชน เปิดตัวหนังสือ “จุดเล็กเล็กบนคาบสมุทรมลายู” รวมกวีนิพนธ์เรื่องราวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายอภิชาต จันทร์แดง และ “เปอร์นุลิส มูตา” รวมเรื่องสั้น 19 เยาวชนนักเขียนจากชายแดนใต้ โดยนายโชคชัย วงศ์ตานี
ขณะเดียวกัน โรงเรียนวิชาการเมือง ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ ได้จัดห้องเรียนสัญจร ครั้งที่ 7 บรรยายสาธารณะเรื่อง “เจอร์เกิน ฮาเบอร์มาส:การเปลี่ยนผ่านเชิงโครงสร้างของพื้นที่สาธารณะ” โดย ดร.นอร์เบิร์ธ โรเปอร์ ผู้อำนวยการองค์กรสนับสนุนสันติภาพเบิร์กฮอฟ และนักวิจัยอาวุโสสถานีวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้
พร้อมกันนี้ ที่เวทีกลางลานกิจกรรม ดอกเตอร์สมพร ช่วยอารีย์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จากเครือข่ายเฝ้าระวังภัยพิบัติลุ่มน้ำปัตตานี ได้เปิดวงสนทนา “ภัยพิบัติสนทนา: อ่านและเข้าใจเครื่องมือเฝ้าระวังภัยพิบัติ” ขณะที่โครงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้จังหวัดชายแดนใต้ (K4DS) จัดประชุมระดมสมองภาคีเครือข่ายผู้ผลิตและผู้ใช้ข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้จังหวัดชายแดนใต้
ขณะเดียวกัน กลุ่มเซาเทิร์นพีซมีเดียกรุ๊ป ได้จัดสาธิตและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย “VIDEO ADVOCACY” แลกเปลี่ยนบทเรียนการเคลื่อนไหวกับเครือข่ายทางสังคมในประเทศมาเลเซีย เวสต์ปาปัวนิวกินี ติมอร์เลสเต้ ผ่านภาษาบาร์ฮาซา และการใช้งานกูเกิ้ลพลัส ในการทำงานเครือข่ายทางสังคม และเปิดตัวเว็บไซต์โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้
การอภิปรายเรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนงานสตรีชายแดนใต้โดยใช้พลังสื่อ” โดยนายมูฮำหมัดอายุบ ปาทาน บรรณาธิการอาวุโส ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ นางสาวฐิตินบ โกมลนิมิ คณะทำงานศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้, นายตูแวตานียา มือรนีงิง ผู้อำนวยการสำนักข่าวอามาน, นายยะห์ อาลี ประธานเครือข่ายวิทยุชุมชนปัตตานี นางโซรยา จามจุรี หัวหน้าโครงการผู้หญิงภาคประชาสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มีนางสาวพัชรา ยิ่งดำนุ่น ผู้จัดรายการสถานีวิทยุ มอ.ปัตตานี เป็นผู้ดำเนินรายการ
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเสวนาและจัดฉายภาพยนตร์ โดยสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติวิธีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์สนามข่าวและการวิเคราะห์ข่าว โดยนางสาวนวลน้อย ธรรมเสถียร อดีตผู้สื่อข่าวบีบีซี ภาคภาษาไทย, นางสาวรุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช อดีตผู้สื่อข่าวเอพี และนักวิเคราะห์จากอินเตอร์ชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป, นายดอน ปาทาน ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น และนายสุพจน์ จริงจิตร บรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้
สำหรับวันที่ 13 มีนาคม 2555 ช่วงเช้า นางสาวนวลน้อย ธรรมเสถียร อดีตผู้สื่อข่าวบีบีซี ภาคภาษาไทย จากกลุ่ม FT Media และทีม จะถ่ายทอดประสบการณ์และสาธิตการทำสารคดีเสียง สำหรับออกอากาศทางวิทยุ
การอภิปรายเรื่อง “พลังสื่อและการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง” โดย Dr.Isak Svensson จากภาควิชาวิจัยสันติภาพและความขัดแย้ง มหาวิทยาลัยอุปซาลา ประเทศสวีเดน, นายสมเกียรติ จันทรสีมา ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายสื่อสาธารณะไทยพีบีเอส, นายสมัชชา นิลปัทม์ อาจารย์คณะวิทยาการสื่อสาร, นายนิฟูอาด บาซาลาฮา นักจัดรายการวิทยุชุมชนภาคภาษามลายู และนักวิชาการอิสลามศึกษา, นายมูฮำหมัด ดือราแม ผู้ช่วยบรรณาธิการโรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้
ช่วงบ่าย วันเดียวกัน เป็นการแถลงข่าวสตรีดีเด่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย นางแยน๊ะ สะแลแม รางวัลสตรีดีเด่น ด้านการปกป้องสิทธิของตนเอง ประจำปี 2555 จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, นางสาวปาตีเมาะ เปาะอิแตดาโอะ นายกสมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ รางวัลสตรีดีเด่นด้านการพัฒนาชุมชน, นางรอซิดะห์ ปูซู ประธานเครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รางวัลสตรีดีเด่นด้านการส่งเสริมสันติภาพ
เครือข่ายสื่อสาธารณะไทยพีบีเอส จัดประชุมเครือข่ายนักข่าวพลเมืองภาคใต้ตอนและสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการเปิดตัววารสารเฉพาะกิจ “พลังสื่อทางเลือกชายแดนใต้” ผลงานจากค่ายนักเขียนน้อยชายแดนใต้ โดยสำนักหัวใจเดียวกัน และกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางสังคมของสหพันธ์นักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปิดท้ายด้วยการมอบประกาศนียบัตรให้กับตัวแทนเครือข่ายสื่อสร้างสรรค์