นครศรีธรรมราช - รอง ผวจ.นครศรีฯ เผย ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเป็นต้นคิด ต้องการทาสีอะคริลิกพระบรมธาตุเจดีย์ฯ เพื่อความคงทน ลั่น! ต้องตามกรมศิลปากรเท่านั้น
ภายหลังจากมีแรงต้านโครงการทาสีองค์บรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งดำเนินการโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีเจตนาที่ดีตามวัตถุประสงค์คือ ต้องการบูรณะทาสีฉลองพระบรมธาตุเจดีย์ในปีสัมพุทธชยันตีครบ 2600 ปี โดยมีแนวคิดที่จะทาสีอะคริลิคองค์พระบรมธาตุเจดีย์เพื่อความคงทน ซึ่งทางสำนักศิลปากรที่ 14 ยืนยันว่า ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากเป็นอำนาจของกรมศิลปากร ทั้งการบูรณะนั้นต้องใช้วิธีแบบโบราณคือฉาบปูนหมัก ขัดปูนตำ และทาน้ำปูนเท่านั้น ใช้สีอะคริลิกไม่ได้อย่างเด็ดขาด ตามข่าวที่ได้เสนอไปแล้วนั้น
ความคืบหน้าล่าสุด วันนี้ (12 มี.ค.) นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า เรื่องนี้ได้มีการพูดคุยกันครั้งแรก โดยประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดที่จะใช้สีอะคริลิกเพื่อความทนทาน และติดตั้งแสงไฟไลท์อัพ แต่อย่างไรก็ตาม ทางกรมศิลปากรต้องเป็นผู้ดำเนินการเท่านั้น โดยใช้งบประมาณที่เป็นเงินบริจาคจากประชาชน ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ในขั้นตอนการเสนอไปยังกรมศิลปากร เมื่อการพูดคุยนั้นแล้วเสร็จจะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมกรมการจังหวัด โดยเมื่อดำเนินการเสร็จมีแนวคิดที่จะฉลองสมโภชในปีมหาสัมพุทธชยันตี
“อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นายกพุทธสมาคมนครศรีธรรมราช เคยตั้งข้อสังเกตไว้แล้วด้วยว่าได้สอบถามประชาชนหรือทำประชาพิจารณ์กันหรือยัง แต่ท้ายสุดนั้นจะต้องเป็นไปตามกรมศิลปากรดำเนินการเท่านั้น ไม่สามารถดำเนินการนอกเหนือไปจากนี้ได้” รอง ผวจ.นครศรีธรรมราช กล่าว
ขณะที่ นายสุธรรม ชยันต์เกียรติ นักประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช และนักอนุรักษ์โบราณวัตถุ แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า การจะทาสีองค์พระบรมธาตุนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งจะมีผลทางกายภาพ ซึ่งต้องว่าไปตามผู้รู้ของกรมศิลปากรเท่านั้น แต่การจะทาสีแบบใหม่นั้นไม่เห็นด้วย เนื่องจากความเป็นดั้งเดิม ความเก่าแก่ คือ ศิลปะ ความรู้สึก ความศรัทธา ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ที่สำคัญการทาสีนี้นั้นมันไม่ได้มีมาตั้งแต่ต้น ควรที่จะอนุรักษ์รักษาแบบดั้งเดิมไว้ การทำมาแบบดั้งเดิมนั้นก็คงอยู่นานมานับหลายร้อยปี มีการบูรณะกันแบบเดิมทุกครั้ง
“อาจเข้าใจได้ว่าสีสมัยใหม่เช่นสีอะคริลิกนั้นคงทน แต่ศิลปะความงามแบบดั้งเดิมจะต้องรักษาเช่นเดียวกัน พื้นผิวแบบเดิมแบบโบราณที่มีมานั้นรักษาไม่ให้ตะไคร่เกาะมากไป ไม่ให้ต้นไม้เกาะหยั่งรากลงไปได้น่าจะดีกว่า ผู้ที่เป็นต้นคิดไม่ได้หมายความว่าไม่ดี เป็นเจตนาที่ดี แต่บางอย่างนั้นเข้าทำนองว่าท่านอาจไปดูที่อื่นมาเห็นว่าสวยดีจึงจะมาทำบ้าง แต่คงจะไม่เหมาะกับองค์พระบรมธาตุเจดีย์” นายสุธรรม กล่าว
ภายหลังจากมีแรงต้านโครงการทาสีองค์บรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งดำเนินการโดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีเจตนาที่ดีตามวัตถุประสงค์คือ ต้องการบูรณะทาสีฉลองพระบรมธาตุเจดีย์ในปีสัมพุทธชยันตีครบ 2600 ปี โดยมีแนวคิดที่จะทาสีอะคริลิคองค์พระบรมธาตุเจดีย์เพื่อความคงทน ซึ่งทางสำนักศิลปากรที่ 14 ยืนยันว่า ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากเป็นอำนาจของกรมศิลปากร ทั้งการบูรณะนั้นต้องใช้วิธีแบบโบราณคือฉาบปูนหมัก ขัดปูนตำ และทาน้ำปูนเท่านั้น ใช้สีอะคริลิกไม่ได้อย่างเด็ดขาด ตามข่าวที่ได้เสนอไปแล้วนั้น
ความคืบหน้าล่าสุด วันนี้ (12 มี.ค.) นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า เรื่องนี้ได้มีการพูดคุยกันครั้งแรก โดยประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดที่จะใช้สีอะคริลิกเพื่อความทนทาน และติดตั้งแสงไฟไลท์อัพ แต่อย่างไรก็ตาม ทางกรมศิลปากรต้องเป็นผู้ดำเนินการเท่านั้น โดยใช้งบประมาณที่เป็นเงินบริจาคจากประชาชน ซึ่งขณะนี้เรื่องอยู่ในขั้นตอนการเสนอไปยังกรมศิลปากร เมื่อการพูดคุยนั้นแล้วเสร็จจะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมกรมการจังหวัด โดยเมื่อดำเนินการเสร็จมีแนวคิดที่จะฉลองสมโภชในปีมหาสัมพุทธชยันตี
“อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นายกพุทธสมาคมนครศรีธรรมราช เคยตั้งข้อสังเกตไว้แล้วด้วยว่าได้สอบถามประชาชนหรือทำประชาพิจารณ์กันหรือยัง แต่ท้ายสุดนั้นจะต้องเป็นไปตามกรมศิลปากรดำเนินการเท่านั้น ไม่สามารถดำเนินการนอกเหนือไปจากนี้ได้” รอง ผวจ.นครศรีธรรมราช กล่าว
ขณะที่ นายสุธรรม ชยันต์เกียรติ นักประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช และนักอนุรักษ์โบราณวัตถุ แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า การจะทาสีองค์พระบรมธาตุนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งจะมีผลทางกายภาพ ซึ่งต้องว่าไปตามผู้รู้ของกรมศิลปากรเท่านั้น แต่การจะทาสีแบบใหม่นั้นไม่เห็นด้วย เนื่องจากความเป็นดั้งเดิม ความเก่าแก่ คือ ศิลปะ ความรู้สึก ความศรัทธา ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ที่สำคัญการทาสีนี้นั้นมันไม่ได้มีมาตั้งแต่ต้น ควรที่จะอนุรักษ์รักษาแบบดั้งเดิมไว้ การทำมาแบบดั้งเดิมนั้นก็คงอยู่นานมานับหลายร้อยปี มีการบูรณะกันแบบเดิมทุกครั้ง
“อาจเข้าใจได้ว่าสีสมัยใหม่เช่นสีอะคริลิกนั้นคงทน แต่ศิลปะความงามแบบดั้งเดิมจะต้องรักษาเช่นเดียวกัน พื้นผิวแบบเดิมแบบโบราณที่มีมานั้นรักษาไม่ให้ตะไคร่เกาะมากไป ไม่ให้ต้นไม้เกาะหยั่งรากลงไปได้น่าจะดีกว่า ผู้ที่เป็นต้นคิดไม่ได้หมายความว่าไม่ดี เป็นเจตนาที่ดี แต่บางอย่างนั้นเข้าทำนองว่าท่านอาจไปดูที่อื่นมาเห็นว่าสวยดีจึงจะมาทำบ้าง แต่คงจะไม่เหมาะกับองค์พระบรมธาตุเจดีย์” นายสุธรรม กล่าว