กรมศิลป์ เตรียมช่วยทาสีวัดพายทอง จ.อ่างทอง แจงเจ้าอาวาส ชาวบ้านเข้าใจวัดไม่ควรทาสีฉูดฉาด ยันเจ้าอาวาส-ชาวบ้าน ไม่ผิดเพราะทำด้วยเจตนาดี อยากให้วัดสวยงามหลังน้ำท่วม
วันนี้ (27 ก.พ.) กรณีมีชาวบ้าน พระช่วยกันทาสีอุโบสถเก่าแก่อายุหลายร้อยปีของวัดพายทอง ต.สายทอง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ตนได้รับรายงานจาก นายสุพจน์ พรหมมาโนช ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งดูแลงานของกรมศิลปากรของ จ.อ่างทอง นายสุพจน์ ได้เดินทางไปพบกับทางเจ้าอาวาสพายทอง พร้อมสอบวัด พบว่า วัดพายทอง มีอายุเก่าแก่ มีคุณค่า ควรค่าแก่การรักษาเป็นโบราณสถานจริง แต่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานกับกรมศิลปากรอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม จากการพูดคุยกับทางเจ้าอาวาสท่านเข้าใจแล้วว่าไม่ควรทาสีฉูดฉาด เมื่อซักถามว่าทำไมถึงทาสี เจ้าอาวาสอธิบายให้ฟังว่า เพราะน้ำท่วมทำให้เกิดคราบสกปรกทรุดโทรม ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเงินนับแสนเพื่อทาสีใหม่ แต่หากทาสีเทาหรือดำชาวบ้านไม่ชอบ ก็เลยทางสีเหลือง และสีชมพู
“เมื่อทำความเข้าใจกับทางวัดกับชาวบ้าน ว่า ไม่ควรทาสีฉูดฉาด ในเบื้องต้นทางกรมศิลปากรจะช่วยทาสีใหม่ เป็นสีปกติที่ใช้ให้เหมาะสมกับวัดทั่วไป และการทาสีวัดให้หลากสีครั้งนี้ ทางวัดกับทางชาวบ้านไม่มีความผิดอะไร เพราะถือว่าเป็นวัดที่ชาวบ้านศรัทธา ทาสีไปโดยที่อยากจะให้วัดมีความสวยงาม ไม่ได้ตั้งใจจะทำลาย ในอนาคตอาจจะพิจารณาในเรื่องการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานวัดนี้ด้วย”นางโสมสุดา กล่าว
วันนี้ (27 ก.พ.) กรณีมีชาวบ้าน พระช่วยกันทาสีอุโบสถเก่าแก่อายุหลายร้อยปีของวัดพายทอง ต.สายทอง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง นางโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ตนได้รับรายงานจาก นายสุพจน์ พรหมมาโนช ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งดูแลงานของกรมศิลปากรของ จ.อ่างทอง นายสุพจน์ ได้เดินทางไปพบกับทางเจ้าอาวาสพายทอง พร้อมสอบวัด พบว่า วัดพายทอง มีอายุเก่าแก่ มีคุณค่า ควรค่าแก่การรักษาเป็นโบราณสถานจริง แต่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานกับกรมศิลปากรอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม จากการพูดคุยกับทางเจ้าอาวาสท่านเข้าใจแล้วว่าไม่ควรทาสีฉูดฉาด เมื่อซักถามว่าทำไมถึงทาสี เจ้าอาวาสอธิบายให้ฟังว่า เพราะน้ำท่วมทำให้เกิดคราบสกปรกทรุดโทรม ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเงินนับแสนเพื่อทาสีใหม่ แต่หากทาสีเทาหรือดำชาวบ้านไม่ชอบ ก็เลยทางสีเหลือง และสีชมพู
“เมื่อทำความเข้าใจกับทางวัดกับชาวบ้าน ว่า ไม่ควรทาสีฉูดฉาด ในเบื้องต้นทางกรมศิลปากรจะช่วยทาสีใหม่ เป็นสีปกติที่ใช้ให้เหมาะสมกับวัดทั่วไป และการทาสีวัดให้หลากสีครั้งนี้ ทางวัดกับทางชาวบ้านไม่มีความผิดอะไร เพราะถือว่าเป็นวัดที่ชาวบ้านศรัทธา ทาสีไปโดยที่อยากจะให้วัดมีความสวยงาม ไม่ได้ตั้งใจจะทำลาย ในอนาคตอาจจะพิจารณาในเรื่องการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานวัดนี้ด้วย”นางโสมสุดา กล่าว