คอลัมน์ โลกที่ซับซ้อน
โดย...ประสาท มีแต้ม
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้วิจัยเพื่อประเมินความเสียหายจากการบุกรุกป่าโดยเกษตรกรแล้วพบว่า ค่าเสียหายประมาณ 1.5 แสนบาทต่อไร่ต่อปี ในจำนวนนี้เป็นค่าทำให้อุณหภูมิของอากาศร้อนขึ้น 45,453.45 บาท เรามาดูกันซิครับว่าเขาได้ตัวเลขนี้มาอย่างไร แต่จะกล่าวถึงเฉพาะอุณหภูมิของอากาศเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ก่อนจะลงไปในรายละเอียด ผมขอกล่าวถึงว่า ทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญควรแก่การรับรู้และทำไมผมจึงต้องเขียนเรื่องนี้ถึงสามบทแล้ว ผมมีเหตุผล 3 ข้อครับ
หนึ่ง ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า “การสร้างตัวแบบคณิตศาสตร์” ไปอธิบายระบบนิเวศน์ของป่าไม้ซึ่งมีความซับซ้อนมาก แต่ผู้วิจัยได้ลดทอนความซับซ้อนลงมาให้อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์อย่างง่าย ซึ่งผมเห็นว่า ไม่ถูกต้องทางวิชาการ คำตอบที่ได้จึงขัดแย้งกับสามัญสำนึกของคนทั่วไป
สอง กระแสสังคมไทยมักจะเชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่ค้นหาความจริง ยิ่งบอกว่าเป็นงานวิจัยของทางราชการโดยนักวิชาการระดับด็อกเตอร์ก็ยิ่งจะเชื่อกันไปใหญ่ แม้แต่ในคำพิพากษาของศาลแพ่งคดีหนึ่งยังได้ระบุในบางตอนว่า “โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่ออนุรักษ์และรักษาพันธุ์สัตว์ป่า…มิได้มุ่งแสวงหากำไรจากการตัดไม้ทำลายป่าของราษฎร จึงมีเหตุให้คู่มือการคำนวณค่าเสียหาย (ตามเอกสาร) มีลักษณะน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น”
สาม เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ของประเทศเรา จากข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการพบว่า มีราษฎรอาศัยอยู่ในเขตป่าที่มีปัญหาร่วมสองล้านคนทั่วประเทศ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังได้เขียนไว้ในคำแถลงนโยบายรัฐบาลว่าจะ “แก้ปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน”
คราวนี้เรามาดูวิธีคิด วิธีการศึกษาของงานวิจัยชิ้นนี้กันครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย ผมขอเสนอภาพประกอบ ซ้ายมือเป็นภาพจากต่างประเทศ (เพราะภาพชัดเจนครบบริบทดี) ภาพขวามือเป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย
ผู้วิจัยของกรมอุทยานฯ (นำโดย ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล) ต้องการจะทราบว่า อุณหภูมิของอากาศในบริเวณที่มีต้นไม้ปกคลุม (หรือป่า) กับบริเวณที่เป็นที่โล่ง (ที่เกษตรกรตัดไม้) มีความแตกต่างกันเท่าใด ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวัดอุณหภูมิของอากาศบริเวณทั้งสองตั้งแต่ 8.00-18.00 น. แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย พบว่าบริเวณที่ไม่มีต้นไม้ปกคลุมมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าที่มีต้นไม้ถึง 2.2 องศาเซลเซียส
ตรงนี้แหละครับที่เป็นที่มาของคำพูดที่ติดตลาดทั้งในภาษาสื่อมวลชนและชาวบ้านว่า “คดีโลกร้อน”
แม้แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ยังใช้คำนี้เลย คราวนี้มาถึงวิธีคิดค่าเสียหายจากเกษตรกรที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น 2.2 องศาเซลเซียส ผู้วิจัยมีวิธีคิดว่าในบริเวณพื้นที่หนึ่งไร่นั้นเคยมีต้นไม้สูงเท่าใด ให้ใช้ความสูงเฉลี่ยของต้นไม้คูณด้วยพื้นที่ที่ถูกตัดไม้ คำตอบที่ได้จึงออกมาเป็นปริมาตร
จากนั้นก็คิดต่อไปว่า ถ้าจะทำให้อุณหภูมิของอากาศในปริมาตรที่ได้ให้ลดลงมาเท่าเดิม (ก่อนที่ไม้จะถูกตัด) จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใด ผู้วิจัยก็คิดจากเกณฑ์ที่ว่า สมมติว่านำเครื่องปรับอากาศ (แอร์) ไปติดตั้งในห้องของอาคารที่มีปริมาตรเท่ากับปริมาตรดังกล่าวจะต้องเสียค่ากระแสไฟฟ้าเท่าใด โดยคิดค่าไฟฟ้าหน่วยละ 2.50 บาท คำตอบจึงได้มาประมาณสี่หมื่นห้าพันกว่าบาท
คิดเฉพาะค่าไฟฟ้าหน่วยละ 2.50 บาทนะ ไม่คิดค่าเครื่องปรับอากาศ นี่เป็นความเมตตาของกรมอุทยานฯ ขนาดไหนแล้ว! (ประโยคนี้ผมพูดเอง)
ประเด็นที่เป็นปัญหาแรกก็คือว่า ทำไมผู้วิจัยจึงเลือกวัดอุณหภูมิของอากาศเฉพาะในช่วงเวลา 8 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็นเท่านั้น ทำไมไม่วัดให้ครบตลอด 24 ชั่วโมง
ในที่ประชุมของคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ด้านสิทธิชุมชนที่มีนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เป็นประธาน) ได้เชิญทั้งผู้วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่องานวิจัยชิ้นนี้ ผมเองได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงกลางวันอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศในที่โล่งสูงกว่าในบริเวณที่มีต้นไม้ก็จริง แต่ในช่วงกลางคืนจะสลับกัน คืออุณหภูมิในที่โล่งจะต่ำกว่า ดังนั้น เมื่อเฉลี่ยครบทั้งวันคือ 24 ชั่วโมง อุณหภูมิของอากาศทั้งสองบริเวณจึงไม่ต่างกันหรือต่างกันก็น้อยมากขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการตัดไม้
ในการประชุมครั้งล่าสุด (28 ก.พ.55) ผู้วิจัยคนเดิมได้นำเสนอผลการเปรียบเทียบโดยการวัดตลอด 24 ชั่วโมงในพื้นที่แห่งหนึ่งพบว่า อุณหภูมิต่างกันเพียงแค่ 0.4 องศาเซลเซียสเท่านั้น ไม่ใช่ 2.2 ดังแต่ก่อน
อ้าว! มันต่างจากเดิมถึง 5-6 เท่าตัวนะ ถ้าอย่างนั้นค่าเสียหายก็ควรจะลดลงไปเยอะด้วยซิ!
ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ผมได้เรียนไปว่าจากสมการที่แสดงในรูปทางขวามือพบว่า ผลจากแบบจำลองขัดแย้งกับสามัญสำนึก คือ ถ้าสภาพป่ามีความหลากหลายทางชีวภาพ (ตัวเลขในแกนนอนของกราฟ) มีค่าเท่ากับ 12 ซึ่งแทนสภาพป่าร้างที่ถูกเผาทุกปี ทำไมอุณหภูมิของอากาศจึงไม่สูงขึ้นแต่กลับติดลบเสียด้วยซ้ำ นั่นหมายความว่า ถ้าผลของแบบจำลองมีความถูกต้องจริง ก็แสดงว่ายิ่งทำให้ป่าหมดไปก็ยิ่งทำให้อุณหภูมิของอากาศเย็นลงซิ ผู้วิจัยตอบว่า “ข้อมูลนี้จะต้องปรับอีก”
ผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ทำไมแบบจำลองนี้จึงไม่ระบุขีดจำกัดหรือมีเงื่อนไขอะไรบ้าง”
คุณหมอนิรันดร์ได้ตั้งข้อสังเกตพร้อมมอบหมายเป็นการบ้านต่อผู้วิจัยว่า “ในการผลิตยา เภสัชกรยังมีขีดจำกัดว่า ยาตัวนี้ใช้กับคนไข้ประเภทใดบ้าง แพทย์ผู้จ่ายยาให้คนไข้จะได้ทราบเงื่อนไข” พร้อมกับขอร้องว่า “ช่วยเขียนข้อจำกัดมาให้ด้วย”
หลังจากเลิกประชุมซึ่งห้องประชุมอยู่ในอาคารบีของศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ผมเดินผ่านห้องโถงที่มีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับสนามฟุตบอล ภายในบริเวณนี้มีการติดเครื่องปรับอากาศทั้งหลัง (ผมรู้สึกอย่างนั้น คือเย็นกว่าอากาศนอกอาคาร) ผมตั้งคำถามกับตนเองว่า “คนทำงานก็อยู่ในห้องของอาคาร แต่มีที่โล่งขนาดใหญ่โตมโหฬารสูงเท่าตึก 10 ชั้นมีหลังคาปกคลุม เขาติดแอร์ทำไม” ผมนึกขึ้นมาในใจว่า
ทำไมไม่มีใครไปฟ้องศาลบ้างว่า ผู้บริหารและผู้ออกแบบอาคารศูนย์ราชการแห่งนี้คือผู้ทำให้โลกร้อนบ้างนะ คนพวกนี้แหละที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตัวจริงทั้งที่ไม่จำเป็นต้องปล่อยก็ได้
โดย...ประสาท มีแต้ม
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้วิจัยเพื่อประเมินความเสียหายจากการบุกรุกป่าโดยเกษตรกรแล้วพบว่า ค่าเสียหายประมาณ 1.5 แสนบาทต่อไร่ต่อปี ในจำนวนนี้เป็นค่าทำให้อุณหภูมิของอากาศร้อนขึ้น 45,453.45 บาท เรามาดูกันซิครับว่าเขาได้ตัวเลขนี้มาอย่างไร แต่จะกล่าวถึงเฉพาะอุณหภูมิของอากาศเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ก่อนจะลงไปในรายละเอียด ผมขอกล่าวถึงว่า ทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญควรแก่การรับรู้และทำไมผมจึงต้องเขียนเรื่องนี้ถึงสามบทแล้ว ผมมีเหตุผล 3 ข้อครับ
หนึ่ง ผู้วิจัยได้ใช้กระบวนทางคณิตศาสตร์ที่เรียกว่า “การสร้างตัวแบบคณิตศาสตร์” ไปอธิบายระบบนิเวศน์ของป่าไม้ซึ่งมีความซับซ้อนมาก แต่ผู้วิจัยได้ลดทอนความซับซ้อนลงมาให้อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์อย่างง่าย ซึ่งผมเห็นว่า ไม่ถูกต้องทางวิชาการ คำตอบที่ได้จึงขัดแย้งกับสามัญสำนึกของคนทั่วไป
สอง กระแสสังคมไทยมักจะเชื่ออะไรง่ายๆ โดยไม่ค้นหาความจริง ยิ่งบอกว่าเป็นงานวิจัยของทางราชการโดยนักวิชาการระดับด็อกเตอร์ก็ยิ่งจะเชื่อกันไปใหญ่ แม้แต่ในคำพิพากษาของศาลแพ่งคดีหนึ่งยังได้ระบุในบางตอนว่า “โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่ออนุรักษ์และรักษาพันธุ์สัตว์ป่า…มิได้มุ่งแสวงหากำไรจากการตัดไม้ทำลายป่าของราษฎร จึงมีเหตุให้คู่มือการคำนวณค่าเสียหาย (ตามเอกสาร) มีลักษณะน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น”
สาม เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ของประเทศเรา จากข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการพบว่า มีราษฎรอาศัยอยู่ในเขตป่าที่มีปัญหาร่วมสองล้านคนทั่วประเทศ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังได้เขียนไว้ในคำแถลงนโยบายรัฐบาลว่าจะ “แก้ปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน”
คราวนี้เรามาดูวิธีคิด วิธีการศึกษาของงานวิจัยชิ้นนี้กันครับ เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย ผมขอเสนอภาพประกอบ ซ้ายมือเป็นภาพจากต่างประเทศ (เพราะภาพชัดเจนครบบริบทดี) ภาพขวามือเป็นส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย
ผู้วิจัยของกรมอุทยานฯ (นำโดย ดร.พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล) ต้องการจะทราบว่า อุณหภูมิของอากาศในบริเวณที่มีต้นไม้ปกคลุม (หรือป่า) กับบริเวณที่เป็นที่โล่ง (ที่เกษตรกรตัดไม้) มีความแตกต่างกันเท่าใด ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวัดอุณหภูมิของอากาศบริเวณทั้งสองตั้งแต่ 8.00-18.00 น. แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ย พบว่าบริเวณที่ไม่มีต้นไม้ปกคลุมมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าที่มีต้นไม้ถึง 2.2 องศาเซลเซียส
ตรงนี้แหละครับที่เป็นที่มาของคำพูดที่ติดตลาดทั้งในภาษาสื่อมวลชนและชาวบ้านว่า “คดีโลกร้อน”
แม้แต่รัฐบาลชุดนี้ก็ยังใช้คำนี้เลย คราวนี้มาถึงวิธีคิดค่าเสียหายจากเกษตรกรที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น 2.2 องศาเซลเซียส ผู้วิจัยมีวิธีคิดว่าในบริเวณพื้นที่หนึ่งไร่นั้นเคยมีต้นไม้สูงเท่าใด ให้ใช้ความสูงเฉลี่ยของต้นไม้คูณด้วยพื้นที่ที่ถูกตัดไม้ คำตอบที่ได้จึงออกมาเป็นปริมาตร
จากนั้นก็คิดต่อไปว่า ถ้าจะทำให้อุณหภูมิของอากาศในปริมาตรที่ได้ให้ลดลงมาเท่าเดิม (ก่อนที่ไม้จะถูกตัด) จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใด ผู้วิจัยก็คิดจากเกณฑ์ที่ว่า สมมติว่านำเครื่องปรับอากาศ (แอร์) ไปติดตั้งในห้องของอาคารที่มีปริมาตรเท่ากับปริมาตรดังกล่าวจะต้องเสียค่ากระแสไฟฟ้าเท่าใด โดยคิดค่าไฟฟ้าหน่วยละ 2.50 บาท คำตอบจึงได้มาประมาณสี่หมื่นห้าพันกว่าบาท
คิดเฉพาะค่าไฟฟ้าหน่วยละ 2.50 บาทนะ ไม่คิดค่าเครื่องปรับอากาศ นี่เป็นความเมตตาของกรมอุทยานฯ ขนาดไหนแล้ว! (ประโยคนี้ผมพูดเอง)
ประเด็นที่เป็นปัญหาแรกก็คือว่า ทำไมผู้วิจัยจึงเลือกวัดอุณหภูมิของอากาศเฉพาะในช่วงเวลา 8 โมงเช้าถึง 6 โมงเย็นเท่านั้น ทำไมไม่วัดให้ครบตลอด 24 ชั่วโมง
ในที่ประชุมของคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ด้านสิทธิชุมชนที่มีนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เป็นประธาน) ได้เชิญทั้งผู้วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่องานวิจัยชิ้นนี้ ผมเองได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงกลางวันอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศในที่โล่งสูงกว่าในบริเวณที่มีต้นไม้ก็จริง แต่ในช่วงกลางคืนจะสลับกัน คืออุณหภูมิในที่โล่งจะต่ำกว่า ดังนั้น เมื่อเฉลี่ยครบทั้งวันคือ 24 ชั่วโมง อุณหภูมิของอากาศทั้งสองบริเวณจึงไม่ต่างกันหรือต่างกันก็น้อยมากขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการตัดไม้
ในการประชุมครั้งล่าสุด (28 ก.พ.55) ผู้วิจัยคนเดิมได้นำเสนอผลการเปรียบเทียบโดยการวัดตลอด 24 ชั่วโมงในพื้นที่แห่งหนึ่งพบว่า อุณหภูมิต่างกันเพียงแค่ 0.4 องศาเซลเซียสเท่านั้น ไม่ใช่ 2.2 ดังแต่ก่อน
อ้าว! มันต่างจากเดิมถึง 5-6 เท่าตัวนะ ถ้าอย่างนั้นค่าเสียหายก็ควรจะลดลงไปเยอะด้วยซิ!
ในส่วนที่เกี่ยวกับตัวแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ผมได้เรียนไปว่าจากสมการที่แสดงในรูปทางขวามือพบว่า ผลจากแบบจำลองขัดแย้งกับสามัญสำนึก คือ ถ้าสภาพป่ามีความหลากหลายทางชีวภาพ (ตัวเลขในแกนนอนของกราฟ) มีค่าเท่ากับ 12 ซึ่งแทนสภาพป่าร้างที่ถูกเผาทุกปี ทำไมอุณหภูมิของอากาศจึงไม่สูงขึ้นแต่กลับติดลบเสียด้วยซ้ำ นั่นหมายความว่า ถ้าผลของแบบจำลองมีความถูกต้องจริง ก็แสดงว่ายิ่งทำให้ป่าหมดไปก็ยิ่งทำให้อุณหภูมิของอากาศเย็นลงซิ ผู้วิจัยตอบว่า “ข้อมูลนี้จะต้องปรับอีก”
ผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ทำไมแบบจำลองนี้จึงไม่ระบุขีดจำกัดหรือมีเงื่อนไขอะไรบ้าง”
คุณหมอนิรันดร์ได้ตั้งข้อสังเกตพร้อมมอบหมายเป็นการบ้านต่อผู้วิจัยว่า “ในการผลิตยา เภสัชกรยังมีขีดจำกัดว่า ยาตัวนี้ใช้กับคนไข้ประเภทใดบ้าง แพทย์ผู้จ่ายยาให้คนไข้จะได้ทราบเงื่อนไข” พร้อมกับขอร้องว่า “ช่วยเขียนข้อจำกัดมาให้ด้วย”
หลังจากเลิกประชุมซึ่งห้องประชุมอยู่ในอาคารบีของศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ผมเดินผ่านห้องโถงที่มีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับสนามฟุตบอล ภายในบริเวณนี้มีการติดเครื่องปรับอากาศทั้งหลัง (ผมรู้สึกอย่างนั้น คือเย็นกว่าอากาศนอกอาคาร) ผมตั้งคำถามกับตนเองว่า “คนทำงานก็อยู่ในห้องของอาคาร แต่มีที่โล่งขนาดใหญ่โตมโหฬารสูงเท่าตึก 10 ชั้นมีหลังคาปกคลุม เขาติดแอร์ทำไม” ผมนึกขึ้นมาในใจว่า
ทำไมไม่มีใครไปฟ้องศาลบ้างว่า ผู้บริหารและผู้ออกแบบอาคารศูนย์ราชการแห่งนี้คือผู้ทำให้โลกร้อนบ้างนะ คนพวกนี้แหละที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตัวจริงทั้งที่ไม่จำเป็นต้องปล่อยก็ได้