ปัตตานี - แม่ทัพภาคที่ 4 สั่งตั้งคณะกรรมการอิสระตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีเหตุยิง 4 ศพ ที่บ้านน้ำดำ จ.ปัตตานี พร้อมรายงานผลภายใน 10 วัน
พันเอก ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รองโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยว่า จากกรณีเหตุการณ์เมื่อคืนวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา ที่คนร้ายใช้อาวุธปืนเครื่องยิงลูกระเบิด ยิงใส่ฐานปฏิบัติการ กองร้อยทหารพรานที่ 4302 บ้านน้ำดำหมู่ที่ 3 ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งต่อมาทางกองร้อยทหารพราน ได้จัดกำลัง 1 ชุดปฏิบัติการ ออกสกัดกั้นตามแผนเผชิญเหตุของหน่วย ที่บริเวณบ้านกาหยี หมู่ที่ 1 ตำบลปุโละ ปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้พบกับรถยนต์ผู้ต้องสงสัย เป็นเหตุให้เกิดการปะทะกันส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 5 ราย ต่อมาได้มีการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้น เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาแม่ทัพภาคที่ 4 ได้ลงนำ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ อิสระตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยไม่เกี่ยวข้องกับรูปแบบทางคดี ประกอบด้วย
1.นายอดินัน ดือราแม (ตัวแทนชาวบ้านผู้เสียหาย)
2.นายยูโซะ ดอเลาะ(ตัวแทนชาวบ้านผู้เสียหาย)
3.นายอาแว เตาะสาตู (ตัวแทนชาวบ้านผู้เสียหาย)
4.นายแวดือราแม มะมิงจิ (ประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี)
5.นายอนุกูล อาแวปูเตะ (ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมปัตตานี)
6.นายอาหะมะ หะยีอาวัง (ตัวแทนจากอิหม่ามประจำมัสยิดในเขตอำเภอหนองจิก)
7.นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ (ประธานสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้)
8.นายอิสกันดาร์ ธำรงทรัพย์ (ตัวแทนเครือข่ายอาสาสมัครยุติธรรมทางเลือก)
9.ผศ.ปิยะ กิจถาวร (ตัวแทน ศอ.บต.)
10.นายกิตติ สุระคำแหง
11.พลโทมนตรี อุมารี (ตัวแทน กอ.รมน.)
12.นายเสรี ศรีหะไตร (ตัวแทน กอ.รมน.)
13.พันเอก ชุมพล แก้วล้วน (ตัวแทน กอ.รมน.)
รองโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยว่า คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน และรายงานผลการตรวจสอบให้แม่ทัพภาคที่ 4 ภายใน 10 วัน นับแต่มีคำสั่งและเมื่อผลการดำเนินการถึงที่สุด ให้รายงานให้ผู้สั่งแต่งตั้งทราบอีกครั้งต่อไป
“จากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีมุมมองความจริงที่ต่างกันระหว่างประชาชนในพื้นที่ และเป็นผู้ได้รับผลกระทบกับเจ้าหน้าที่รัฐผู้บังคับใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างมีเหตุผล ถูกต้อง และเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบตามหลักนิติธรรมและคุณธรรม ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายของทุกภาคส่วน”
พันเอก ปราโมทย์ พรหมอินทร์ รองโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยว่า จากกรณีเหตุการณ์เมื่อคืนวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมา ที่คนร้ายใช้อาวุธปืนเครื่องยิงลูกระเบิด ยิงใส่ฐานปฏิบัติการ กองร้อยทหารพรานที่ 4302 บ้านน้ำดำหมู่ที่ 3 ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งต่อมาทางกองร้อยทหารพราน ได้จัดกำลัง 1 ชุดปฏิบัติการ ออกสกัดกั้นตามแผนเผชิญเหตุของหน่วย ที่บริเวณบ้านกาหยี หมู่ที่ 1 ตำบลปุโละ ปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ได้พบกับรถยนต์ผู้ต้องสงสัย เป็นเหตุให้เกิดการปะทะกันส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 5 ราย ต่อมาได้มีการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้น เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาแม่ทัพภาคที่ 4 ได้ลงนำ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ อิสระตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยไม่เกี่ยวข้องกับรูปแบบทางคดี ประกอบด้วย
1.นายอดินัน ดือราแม (ตัวแทนชาวบ้านผู้เสียหาย)
2.นายยูโซะ ดอเลาะ(ตัวแทนชาวบ้านผู้เสียหาย)
3.นายอาแว เตาะสาตู (ตัวแทนชาวบ้านผู้เสียหาย)
4.นายแวดือราแม มะมิงจิ (ประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี)
5.นายอนุกูล อาแวปูเตะ (ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมปัตตานี)
6.นายอาหะมะ หะยีอาวัง (ตัวแทนจากอิหม่ามประจำมัสยิดในเขตอำเภอหนองจิก)
7.นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ (ประธานสภาประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้)
8.นายอิสกันดาร์ ธำรงทรัพย์ (ตัวแทนเครือข่ายอาสาสมัครยุติธรรมทางเลือก)
9.ผศ.ปิยะ กิจถาวร (ตัวแทน ศอ.บต.)
10.นายกิตติ สุระคำแหง
11.พลโทมนตรี อุมารี (ตัวแทน กอ.รมน.)
12.นายเสรี ศรีหะไตร (ตัวแทน กอ.รมน.)
13.พันเอก ชุมพล แก้วล้วน (ตัวแทน กอ.รมน.)
รองโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยว่า คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน และรายงานผลการตรวจสอบให้แม่ทัพภาคที่ 4 ภายใน 10 วัน นับแต่มีคำสั่งและเมื่อผลการดำเนินการถึงที่สุด ให้รายงานให้ผู้สั่งแต่งตั้งทราบอีกครั้งต่อไป
“จากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีมุมมองความจริงที่ต่างกันระหว่างประชาชนในพื้นที่ และเป็นผู้ได้รับผลกระทบกับเจ้าหน้าที่รัฐผู้บังคับใช้กฎหมายในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงอย่างมีเหตุผล ถูกต้อง และเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่ได้รับผลกระทบตามหลักนิติธรรมและคุณธรรม ตลอดจนการรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายของทุกภาคส่วน”