โดย..ประสาท มีแต้ม
วันนี้ (16 ม.ค.) รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีจากกิโลกรัมละ 8.50 บาทเป็น 9.00 บาท และจะขึ้นต่อไปอีกเดือนละ 50 สตางค์ติดต่อกันอย่างน้อย 12 เดือน หรือขึ้นไปรวม 6 บาท แต่หลังจากมีการประท้วงของแท็กซี่และผู้ประกอบการขนส่ง ก็ได้ข้อตกลงใหม่ให้ขึ้นไป 4 เดือน แล้วรอผลการศึกษาใหม่
คุณรสนา โตสิตระกูล ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภาได้ตั้งคำถาม (ต่างวาระกัน) ต่อผู้บริหารบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พอสรุปได้ 3 ข้อ คือ
(1) ให้แจงต้นทุนที่แท้จริงของการผลิตก๊าซเอ็นจีวี (2) ในขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกลดลงมากในช่วง 4-5 ปีมานี้ แต่ทำไม ปตท.จึงกลับขึ้นราคาสวนทางกับตลาดโลก (คุณรสนาอ้างถึงข้อมูล Henry Hub ของสหรัฐอเมริกา) และ (3) ในขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุมในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 40-67% ของตลาดโลก แต่ทำไมคนไทยต้องซื้อก๊าซในราคาแพง
แต่แทนที่ผู้บริหาร ปตท.จะตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้สาธารณะได้เข้าใจ ปตท.ได้ตอบสรุปพอได้ความว่า
(1) ได้ให้สถาบันการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยศึกษาแล้ว สรุปว่าราคากลางของเอ็นจีวีควรจะอยู่ที่ 14.50 บาทต่อกิโลกรัม แต่ไม่ยอมแจงรายละเอียดว่า ต้นทุนประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น ในหนึ่งกิโลกรัมของก๊าซเอ็นจีวีประกอบด้วยเนื้อก๊าซธรรมชาติ (จากปากหลุม) กี่ลูกบาศก์ฟุต ต้นทุนค่าการอัด ค่าขนส่ง เป็นต้น
(2) ราคาก๊าซในสหรัฐอเมริกาลดลงเป็นนโยบายภายในประเทศของเขา จะเอามาอ้างกับประเทศเราไม่ได้ เราซื้อก๊าซจากพม่า จีน 9 ปีที่ผ่านมา ปตท.ขาดทุนสะสมกว่า 4 หมื่นล้านบาท ในช่วง 1-2 ปี นี้ที่ผู้ใช้เพิ่มขึ้นต้องอุดหนุน ปีละกว่า 10,000 ล้านบาท ทั้งผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และรถบรรทุกดีเซล อีกกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการผลักภาระให้กับผู้ใช้กลุ่มอื่นๆ
(3) ปตท.ไม่ยอมตอบคำถามที่ (3) แม้แต่น้อย ข้อมูลนี้คุณรสนาได้มาจากข้าราชการกระทรวงพลังงานที่ชี้แจงต่อกรรมาธิการฯ
ผมอยากให้ท่านผู้อ่านกลับไปดูคำถามและคำตอบอีกครั้งครับ ว่ามันช่วยเราในฐานะผู้บริโภคเกิดความเข้าใจปัญหาที่แท้จริงขึ้นมาบ้างหรือไม่ สำหรับผมคิดว่าไม่ครับ และอยากจะจัดให้อยู่ในประเภท “ถามไปไหนมา ตอบสามวาสองศอก” มากกว่า
ผมเองแม้ได้ให้ความสนใจกับเรื่องพลังงานพอสมควร แต่ในระยะหลังๆ ผมได้ให้ความสนใจกับพลังงานหมุนเวียน และ นโยบายพลังงานมากกว่าการไปขุดคุ้ยเรื่องกลไกราคาพลังงานฟอสซิล เพราะพลังงานหมุนเวียนและนโยบายพลังงานที่ถูกต้องจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้มากมาย ทั้งสภาวะโลกร้อน ความเหลื่อมล้ำ การจ้างงาน และการคอร์รัปชัน ผมใช้เวลากว่าสองวันเพื่อค้นคว้าเรื่องก๊าซเอ็นจีวี แต่ก็ยังมีอีกหลายประเด็นที่ผมไม่เข้าใจ ต่อไปนี้เป็นเพียงบางประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะช่วยเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้บริโภค (ที่ถูกผูกขาดแม้แต่เรื่องข้อมูล) ได้บ้าง ดังนี้
หนึ่ง ก๊าซเอ็นจีวี คือก๊าซธรรมชาติ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทนและใช้ในการผลิตไฟฟ้า) ที่ถูกอัดแน่นให้มีปริมาตรน้อยกว่า 1% ของปริมาตรเดิม ตลาดโลกส่วนใหญ่เขาเรียกว่า ก๊าซซีเอ็นจี (compressed natural gas) แต่ประเทศเราเรียก เอ็นจีวี (natural gas for vehicles)
สอง การซื้อขายก๊าซธรรมชาติ ปกติเขากำหนดโดยใช้ค่าพลังงานความร้อนของก๊าซนั้นๆ เช่น $3.2 ต่อล้านบีทียู (mmBtu) โดยที่ความร้อน 1 บีทียูคือพลังงานที่ทำให้น้ำที่หนัก 1 ปอนด์ (0.454 ลิตร) มีอุณหภูมิสูงขึ้นหนึ่งองศาฟาเรนไฮต์ (หรือ 0.6 เซลเซียส) โดยปกติก๊าซธรรมชาติจะถูกส่งมาตามท่อ ดังนั้นราคาก๊าซจึงแตกต่างกันตามความยาวของท่อก๊าซด้วย ในกรณีเอ็นจีวีที่ไม่ได้อยู่ตามแนวท่อก็ต้องขนส่งทางรถยนต์
ปตท.อ้างว่า ก๊าซเอ็นจีวีของตนมีค่าความร้อน 35,947 บีทียูต่อหนึ่งกิโลกรัม ดังนั้น ถ้าจะให้ได้ค่าความร้อนหนึ่งล้านบีทียูต้องใช้ก๊าซเอ็นจีวีจำนวน 27.82 กิโลกรัม หรือใช้ก๊าซธรรมชาติประมาณหนึ่งพันลูกบาศก์ฟุต
สาม กราฟข้างล่างนี้คือราคาก๊าซธรรมชาติ (ในสหรัฐอเมริกา) กับราคาก๊าซเอ็นจีวีในประเทศไทยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2545 จนถึงปัจจุบัน (แกนเวลาอาจเหลื่อมกันเล็กน้อย)
จากกราฟทั้งสองพบว่า (1) ในช่วงแรก (ถึง ม.ค. 2006) ราคาเอ็นจีวีในบ้านเราขึ้นลงตามราคาก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา ประเด็นนี้ ผมอยากจะถาม ปตท.ว่า เป็นเพราะนโยบายภายในของประเทศทั้งสองตรงกันโดยบังเอิญหรือไม่ (2) นับตั้งแต่กลางปี 2008 เป็นต้นมา ราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลก (อเมริกา) ลดลงตลอด (เหลือไม่ถึง 50% ของสองปีก่อนและต่ำกว่าตอนปีแรก 2002) ทำไมนอกจากราคาเอ็นจีวีของไทยจะไม่ลดแล้วยังกลับเพิ่มขึ้นเสียอีก
สี่ ตลอดปี 2011 ถ้านำก๊าซธรรมชาติ (ราคาเฉลี่ย $3.9 ในสหรัฐฯ อัตราแลกเปลี่ยน 31 บาท) มาผลิตเป็นก๊าซเอ็นจีวีให้ได้หนึ่งกิโลกรัม ต้นทุนเนื้อก๊าซจะอยู่ที่ 4.35 บาทเท่านั้น แต่ ปตท.คิดในราคา 8.39 บาท
สิ่งที่คุณรสนาตั้งคำถามอยู่ตรงนี้ครับ คือ ต้นทุนในการเปลี่ยนก๊าซธรรมชาติมาเป็นเอ็นจีวีเป็นเท่าใดต่อล้านบีทียู โปรดแจงให้ละเอียดว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง ถ้ามีเหตุผลที่ดี ผมเชื่อว่าสังคมเข้าใจและรับได้ นักวิชาการบางคนบอกว่าควรให้ราคาเป็นไปตามกลไกการตลาดโลก ไม่ควรไปแทรกแซง ผมเองก็เห็นด้วยครับ แต่เราควรจะสืบค้นให้ได้เสียก่อนว่า กลไกมันเบี้ยวตรงไหนหรือไม่
ห้า ผมขออนุญาตตอบคำถามที่ (3) ของคุณรสนาที่ว่า ราคาก๊าซที่ปากหลุมของไทยต่ำกว่าตลาดโลกก็เพราะเป็นการเลี่ยงค่าภาคหลวงของบริษัทที่ได้รับสัมปทานการขุดเจาะกับบริษัทจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ (ซึ่งผูกขาดโดย ปตท.แต่เพียงผู้เดียว) โดยการตั้งบริษัทลูกมารับซื้อในราคาถูก เพื่อจ่ายค่าภาคหลวงน้อยๆ ทั้งๆ ที่อยู่ในกลุ่มที่อัตราค่าภาคหลวงต่ำที่สุดในโลกอยู่แล้ว
หก ผมเข้าใจว่าก๊าซฯ ที่นำมาทำเอ็นจีวีทั้งหมดเป็นก๊าซในอ่าวไทยเราทั้งหมด ก๊าซฯจากพม่าใช้ผลิตไฟฟ้าอย่างเดียวโดยไม่ผ่านโรงแยก (ราคาแพงกว่าในอ่าวไทยมาก) ส่วนก๊าซฯ ที่ซื้อจากจีนน่าจะเป็นก๊าซแอลพีจี ไม่ใช่ก๊าซเอ็นจีวี ตามที่ ปตท.อธิบาย
เรื่องหลักๆ สำคัญๆ ก็น่าจะมีแค่นี้แหละครับประชาชน
วันนี้ (16 ม.ค.) รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ขึ้นราคาก๊าซเอ็นจีวีจากกิโลกรัมละ 8.50 บาทเป็น 9.00 บาท และจะขึ้นต่อไปอีกเดือนละ 50 สตางค์ติดต่อกันอย่างน้อย 12 เดือน หรือขึ้นไปรวม 6 บาท แต่หลังจากมีการประท้วงของแท็กซี่และผู้ประกอบการขนส่ง ก็ได้ข้อตกลงใหม่ให้ขึ้นไป 4 เดือน แล้วรอผลการศึกษาใหม่
คุณรสนา โตสิตระกูล ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภาได้ตั้งคำถาม (ต่างวาระกัน) ต่อผู้บริหารบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พอสรุปได้ 3 ข้อ คือ
(1) ให้แจงต้นทุนที่แท้จริงของการผลิตก๊าซเอ็นจีวี (2) ในขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกลดลงมากในช่วง 4-5 ปีมานี้ แต่ทำไม ปตท.จึงกลับขึ้นราคาสวนทางกับตลาดโลก (คุณรสนาอ้างถึงข้อมูล Henry Hub ของสหรัฐอเมริกา) และ (3) ในขณะที่ราคาก๊าซธรรมชาติที่ปากหลุมในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 40-67% ของตลาดโลก แต่ทำไมคนไทยต้องซื้อก๊าซในราคาแพง
แต่แทนที่ผู้บริหาร ปตท.จะตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมาเพื่อให้สาธารณะได้เข้าใจ ปตท.ได้ตอบสรุปพอได้ความว่า
(1) ได้ให้สถาบันการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยศึกษาแล้ว สรุปว่าราคากลางของเอ็นจีวีควรจะอยู่ที่ 14.50 บาทต่อกิโลกรัม แต่ไม่ยอมแจงรายละเอียดว่า ต้นทุนประกอบด้วยอะไรบ้าง เช่น ในหนึ่งกิโลกรัมของก๊าซเอ็นจีวีประกอบด้วยเนื้อก๊าซธรรมชาติ (จากปากหลุม) กี่ลูกบาศก์ฟุต ต้นทุนค่าการอัด ค่าขนส่ง เป็นต้น
(2) ราคาก๊าซในสหรัฐอเมริกาลดลงเป็นนโยบายภายในประเทศของเขา จะเอามาอ้างกับประเทศเราไม่ได้ เราซื้อก๊าซจากพม่า จีน 9 ปีที่ผ่านมา ปตท.ขาดทุนสะสมกว่า 4 หมื่นล้านบาท ในช่วง 1-2 ปี นี้ที่ผู้ใช้เพิ่มขึ้นต้องอุดหนุน ปีละกว่า 10,000 ล้านบาท ทั้งผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และรถบรรทุกดีเซล อีกกว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นการผลักภาระให้กับผู้ใช้กลุ่มอื่นๆ
(3) ปตท.ไม่ยอมตอบคำถามที่ (3) แม้แต่น้อย ข้อมูลนี้คุณรสนาได้มาจากข้าราชการกระทรวงพลังงานที่ชี้แจงต่อกรรมาธิการฯ
ผมอยากให้ท่านผู้อ่านกลับไปดูคำถามและคำตอบอีกครั้งครับ ว่ามันช่วยเราในฐานะผู้บริโภคเกิดความเข้าใจปัญหาที่แท้จริงขึ้นมาบ้างหรือไม่ สำหรับผมคิดว่าไม่ครับ และอยากจะจัดให้อยู่ในประเภท “ถามไปไหนมา ตอบสามวาสองศอก” มากกว่า
ผมเองแม้ได้ให้ความสนใจกับเรื่องพลังงานพอสมควร แต่ในระยะหลังๆ ผมได้ให้ความสนใจกับพลังงานหมุนเวียน และ นโยบายพลังงานมากกว่าการไปขุดคุ้ยเรื่องกลไกราคาพลังงานฟอสซิล เพราะพลังงานหมุนเวียนและนโยบายพลังงานที่ถูกต้องจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้มากมาย ทั้งสภาวะโลกร้อน ความเหลื่อมล้ำ การจ้างงาน และการคอร์รัปชัน ผมใช้เวลากว่าสองวันเพื่อค้นคว้าเรื่องก๊าซเอ็นจีวี แต่ก็ยังมีอีกหลายประเด็นที่ผมไม่เข้าใจ ต่อไปนี้เป็นเพียงบางประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะช่วยเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้บริโภค (ที่ถูกผูกขาดแม้แต่เรื่องข้อมูล) ได้บ้าง ดังนี้
หนึ่ง ก๊าซเอ็นจีวี คือก๊าซธรรมชาติ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทนและใช้ในการผลิตไฟฟ้า) ที่ถูกอัดแน่นให้มีปริมาตรน้อยกว่า 1% ของปริมาตรเดิม ตลาดโลกส่วนใหญ่เขาเรียกว่า ก๊าซซีเอ็นจี (compressed natural gas) แต่ประเทศเราเรียก เอ็นจีวี (natural gas for vehicles)
สอง การซื้อขายก๊าซธรรมชาติ ปกติเขากำหนดโดยใช้ค่าพลังงานความร้อนของก๊าซนั้นๆ เช่น $3.2 ต่อล้านบีทียู (mmBtu) โดยที่ความร้อน 1 บีทียูคือพลังงานที่ทำให้น้ำที่หนัก 1 ปอนด์ (0.454 ลิตร) มีอุณหภูมิสูงขึ้นหนึ่งองศาฟาเรนไฮต์ (หรือ 0.6 เซลเซียส) โดยปกติก๊าซธรรมชาติจะถูกส่งมาตามท่อ ดังนั้นราคาก๊าซจึงแตกต่างกันตามความยาวของท่อก๊าซด้วย ในกรณีเอ็นจีวีที่ไม่ได้อยู่ตามแนวท่อก็ต้องขนส่งทางรถยนต์
ปตท.อ้างว่า ก๊าซเอ็นจีวีของตนมีค่าความร้อน 35,947 บีทียูต่อหนึ่งกิโลกรัม ดังนั้น ถ้าจะให้ได้ค่าความร้อนหนึ่งล้านบีทียูต้องใช้ก๊าซเอ็นจีวีจำนวน 27.82 กิโลกรัม หรือใช้ก๊าซธรรมชาติประมาณหนึ่งพันลูกบาศก์ฟุต
สาม กราฟข้างล่างนี้คือราคาก๊าซธรรมชาติ (ในสหรัฐอเมริกา) กับราคาก๊าซเอ็นจีวีในประเทศไทยตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2545 จนถึงปัจจุบัน (แกนเวลาอาจเหลื่อมกันเล็กน้อย)
จากกราฟทั้งสองพบว่า (1) ในช่วงแรก (ถึง ม.ค. 2006) ราคาเอ็นจีวีในบ้านเราขึ้นลงตามราคาก๊าซธรรมชาติในสหรัฐอเมริกา ประเด็นนี้ ผมอยากจะถาม ปตท.ว่า เป็นเพราะนโยบายภายในของประเทศทั้งสองตรงกันโดยบังเอิญหรือไม่ (2) นับตั้งแต่กลางปี 2008 เป็นต้นมา ราคาก๊าซธรรมชาติในตลาดโลก (อเมริกา) ลดลงตลอด (เหลือไม่ถึง 50% ของสองปีก่อนและต่ำกว่าตอนปีแรก 2002) ทำไมนอกจากราคาเอ็นจีวีของไทยจะไม่ลดแล้วยังกลับเพิ่มขึ้นเสียอีก
สี่ ตลอดปี 2011 ถ้านำก๊าซธรรมชาติ (ราคาเฉลี่ย $3.9 ในสหรัฐฯ อัตราแลกเปลี่ยน 31 บาท) มาผลิตเป็นก๊าซเอ็นจีวีให้ได้หนึ่งกิโลกรัม ต้นทุนเนื้อก๊าซจะอยู่ที่ 4.35 บาทเท่านั้น แต่ ปตท.คิดในราคา 8.39 บาท
สิ่งที่คุณรสนาตั้งคำถามอยู่ตรงนี้ครับ คือ ต้นทุนในการเปลี่ยนก๊าซธรรมชาติมาเป็นเอ็นจีวีเป็นเท่าใดต่อล้านบีทียู โปรดแจงให้ละเอียดว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง ถ้ามีเหตุผลที่ดี ผมเชื่อว่าสังคมเข้าใจและรับได้ นักวิชาการบางคนบอกว่าควรให้ราคาเป็นไปตามกลไกการตลาดโลก ไม่ควรไปแทรกแซง ผมเองก็เห็นด้วยครับ แต่เราควรจะสืบค้นให้ได้เสียก่อนว่า กลไกมันเบี้ยวตรงไหนหรือไม่
ห้า ผมขออนุญาตตอบคำถามที่ (3) ของคุณรสนาที่ว่า ราคาก๊าซที่ปากหลุมของไทยต่ำกว่าตลาดโลกก็เพราะเป็นการเลี่ยงค่าภาคหลวงของบริษัทที่ได้รับสัมปทานการขุดเจาะกับบริษัทจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ (ซึ่งผูกขาดโดย ปตท.แต่เพียงผู้เดียว) โดยการตั้งบริษัทลูกมารับซื้อในราคาถูก เพื่อจ่ายค่าภาคหลวงน้อยๆ ทั้งๆ ที่อยู่ในกลุ่มที่อัตราค่าภาคหลวงต่ำที่สุดในโลกอยู่แล้ว
หก ผมเข้าใจว่าก๊าซฯ ที่นำมาทำเอ็นจีวีทั้งหมดเป็นก๊าซในอ่าวไทยเราทั้งหมด ก๊าซฯจากพม่าใช้ผลิตไฟฟ้าอย่างเดียวโดยไม่ผ่านโรงแยก (ราคาแพงกว่าในอ่าวไทยมาก) ส่วนก๊าซฯ ที่ซื้อจากจีนน่าจะเป็นก๊าซแอลพีจี ไม่ใช่ก๊าซเอ็นจีวี ตามที่ ปตท.อธิบาย
เรื่องหลักๆ สำคัญๆ ก็น่าจะมีแค่นี้แหละครับประชาชน