โดย..ประสาท มีแต้ม
ปีใหม่ 2555 นี้มีความแปลกกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา คือเป็นปีที่ไม่มีสำนักพยากรณ์ใดรวมทั้งหมอดูออกมาประกาศว่าจะเป็นปีขาขึ้นทางเศรษฐกิจทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ มิหนำซ้ำภัยพิบัติทางธรรมชาติก็ได้กระหน่ำซ้ำเติมอย่างรุนแรงมากขึ้นอีก ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยเราเองก็ประเดิมด้วยน้ำท่วม ดินถล่ม หลังจากปีใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นเพียง 9 นาทีเท่านั้น ในขณะเดียวกันบางพื้นที่ของภาคอีสานเริ่มประสบปัญหาภัยแล้งกันแล้ว ในสถานการณ์เช่นนี้ เราโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจเจกชนธรรมดาๆ ควรจะเตรียมตัวรับมืออย่างไรดีตลอดปีนี้?
ผมได้อ่านบทความเรื่อง “10 Things To Do to Survive 2012” ในเว็บไซต์หนึ่ง (http://www.activistpost.com/2012/01/10-things-to-do-to-survive-2012.html) ผมคิดว่ามีความน่าสนใจมาก จึงขอนำมาเล่าต่อให้ท่านผู้อ่าน “เอเอสทีวีผู้จัดการ” ครับ
ผู้เขียน (ในนามของแอคทิวิสต์โพสต์) ได้เกริ่นนำเพื่อให้เราเห็นถึงความรุนแรงที่จะเพิ่มขึ้นของปัญหาเศรษฐกิจโลกในอนาคตว่า จีนกับรัสเซียได้ตกลงที่จะเลิกใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในการค้าขายระหว่างกัน (อ้างถึง Chaina Daily) ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็จะเอาอย่างบ้างในการค้าขายกับจีน (มหาอำนาจใหม่ที่ใกล้สบู่แตกด้วย)
นี่เป็นสัญญาณหายนะของประเทศต่างๆ ที่ยึดเงินดอลลาร์ในการค้าขาย จะส่งผลให้ราคาอาหารและน้ำมันสูงขึ้นเพราะเงินดอลลาร์ได้อ่อนค่าลง นอกจากนี้ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปก็ใกล้จะล้มละลาย ต้องตัดค่าใช้จ่ายภาครัฐลง อัตราการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้นอีก ส่วนประเทศเราเอง รัฐบาลก็วางแผนอย่างมีเลศนัยเพื่อขอกู้เงินก้อนใหญ่มาแก้ปัญหาน้ำท่วม ทั้งๆ ที่สาเหตุที่แท้จริงของน้ำท่วมใหญ่ยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกันเลยว่า สาเหตุหลักมันเกิดจากอะไรกันแน่ ระหว่างฝนตกหนักมากกว่าปกติกับการบริหารจัดการที่ผิดพลาดของภาครัฐเอง
ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำ 10 อย่างที่ผู้เขียน (ในเว็บไซต์) เชื่อว่าจะช่วยให้เราอยู่รอดในท่ามกลางเศรษฐกิจที่ผันผวนหรืออาจถึงขั้นล้มละลายได้ บางคำแนะนำอาจจะไม่เหมาะกับสังคมไทย แต่ก็ลองพิจารณาอย่างจำแนกก็แล้วกันนะครับ
1. เรียนรู้ทักษะใหม่ เพื่อผลิตสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ เช่น ปลูกผักสวนครัว สมุนไพร การถนอมอาหาร ทักษะพื้นฐานในการซ่อมบ้าน งานเย็บปักถักร้อย การเลี้ยงเป็ด ไก่ เป็นต้น ทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าไม่ว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจจะเป็นแบบไหนก็ตาม
พูดถึงประเด็นนี้ทำให้เราคิดถึงหลังเหตุการณ์ต้มยำกุ้งปี 2540 ที่มีนักธุรกิจบางคนออกมาทำขนมปังแซนด์วิชขาย ในตอนนั้นเรามีปัญหาเฉพาะภาคธุรกิจในเมือง แต่ในชนบทภาคการเกษตรเราไม่มีปัญหา ภัยพิบัติธรรมชาติก็ยังไม่รุนแรงเท่าทุกวันนี้ ชนบทจึงเป็น “หลังพิง” ให้กับภาคธุรกิจในเมืองได้ แต่วันนี้แค่ช่วงเวลา 15 ปีผ่านมาเท่านั้น ชนบทของเราเองก็แทบจะเอาตัวไม่รอด มันช่างทรุดเสื่อมรวดเร็วเหลือเกิน!
2. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ การระวังรักษาสุขภาพทั้งสุขภาพกายและใจเป็นสิ่งสำคัญมาก
3. เก็บตุนอาหารไว้ในคราวที่จำเป็น ดัชนีราคาอาหารทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 33% จากเดือนมกราคม 2553 ถึงมกราคม 2554 ผู้เขียนได้ตั้งคำถามว่า “รายได้รวมทั้งผลตอบแทนจากการลงทุนของเราเพิ่มขึ้นเท่านี้ไหม?” เพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้ ผมจึงได้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและนำมาลงให้ดูกันข้างล่างนี้ อย่างน้อยก็เพื่อเป็นหลักฐานให้กับกลุ่มคนที่จะเปลี่ยนภาคใต้ที่เด่นทางการเกษตรและท่องเที่ยวเป็นนิคมอุตสาหกรรมว่า “เงินทองเป็นของมายาข้าวปลาซิของจริง”
4. สร้างห้องสมุด “how-to” หลายคนพึ่งอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูล “how-to” แต่หากเกิดมีปัญหาในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ในปี 2555 ดังนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องจัดตั้งห้องสมุดของตัวเอง โดยรวบรวมหนังสือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอ ดาวน์โหลดหนังสือและวิดีโอเกี่ยวกับ “how-to” ที่เป็นประโยชน์ลงในฮาร์ดดิสก์ภายนอก
5. เริ่มต้นสร้างอาชีพเสริม ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ เราไม่ควรนั่งรอความช่วยเหลือจากรัฐ สร้างธุรกิจเล็กๆ อะไรก็ได้ที่เรารัก เสริมขึ้นมาจากงานที่ทำอยู่ อาจจะเริ่มเขียนหนังสือ เปิดหลักสูตรสอนในสิ่งที่เราถนัด ฯลฯ
6. เก็บสะสมสินค้าที่ขายได้ สิ่งของที่เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตซึ่งเราซื้อมามากเกินไป เพื่อใช้ในภาวะวิกฤต เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน รวมทั้งเมล็ดพันธุ์พืช ผมเข้าใจว่าผู้เขียนคงหมายถึงการเตรียมเพื่อ “เปิดท้ายขายของ” นั่นเอง
7. สร้างเครือข่ายชุมชน ในยามวิกฤตทุกคนต้องมีพวก จงสร้างความเข้าใจกับญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงถึงความจำเป็นของการรวมตัวกัน ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างถึงการสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น รวมทั้งสร้างความร่วมมือใน การบริโภคอาหารที่ผลิตจากคนในท้องถิ่น ผมเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญมากและน่าจะทำได้ไม่ยาก
8. สนับสนุนพลังงานหมุนเวียน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากครับ ผมพูดถึงมากว่าสิบปีแล้ว ในชนบทที่หาไม้ฟืนหรือถ่านได้ควรใช้แทนก๊าซฯ ในขณะที่เรายังทำอะไรได้ไม่มากโปรดศึกษาเพื่อให้เข้าใจว่า ภัยพิบัติธรรมชาติที่แรงขึ้นทุกวันนี้ เกิดมาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติถึง 72% ดังนั้น เราจึงต้องแก้ที่ต้นเหตุ ในเชิงนโยบายแล้วเราสามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้แน่นอน ผมเองได้เขียนเรื่องนี้บ่อยมาก
9. ผลิตน้ำสะอาดใช้เอง ช่วงที่น้ำท่วมภาคกลาง น้ำดื่มขาดแคลนอย่างรุนแรง ยังคงจำกันได้นะครับ
10. เพิ่มความรักและความพึงพอใจ ในสถานการณ์วิกฤตที่จะมาถึง การแสดงความรักต่อครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนบ้านหรือแม้แต่คนแปลกหน้าเป็นสิ่งสำคัญ "สิ่งที่เราให้กับโลกคือสิ่งที่เราจะได้รับกลับมา จงพึงพอใจกับสิ่งที่เราทำทุกวัน สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราชื่นชมจะเป็นพลังดึงดูดสิ่งที่ใหญ่กว่าที่เราจำเป็นและปรารถนา”
ด้วยความปรารถนาดีเป็นอย่างสูงและสวัสดีปีใหม่ครับ
ปีใหม่ 2555 นี้มีความแปลกกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา คือเป็นปีที่ไม่มีสำนักพยากรณ์ใดรวมทั้งหมอดูออกมาประกาศว่าจะเป็นปีขาขึ้นทางเศรษฐกิจทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ มิหนำซ้ำภัยพิบัติทางธรรมชาติก็ได้กระหน่ำซ้ำเติมอย่างรุนแรงมากขึ้นอีก ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยเราเองก็ประเดิมด้วยน้ำท่วม ดินถล่ม หลังจากปีใหม่ได้เริ่มต้นขึ้นเพียง 9 นาทีเท่านั้น ในขณะเดียวกันบางพื้นที่ของภาคอีสานเริ่มประสบปัญหาภัยแล้งกันแล้ว ในสถานการณ์เช่นนี้ เราโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจเจกชนธรรมดาๆ ควรจะเตรียมตัวรับมืออย่างไรดีตลอดปีนี้?
ผมได้อ่านบทความเรื่อง “10 Things To Do to Survive 2012” ในเว็บไซต์หนึ่ง (http://www.activistpost.com/2012/01/10-things-to-do-to-survive-2012.html) ผมคิดว่ามีความน่าสนใจมาก จึงขอนำมาเล่าต่อให้ท่านผู้อ่าน “เอเอสทีวีผู้จัดการ” ครับ
ผู้เขียน (ในนามของแอคทิวิสต์โพสต์) ได้เกริ่นนำเพื่อให้เราเห็นถึงความรุนแรงที่จะเพิ่มขึ้นของปัญหาเศรษฐกิจโลกในอนาคตว่า จีนกับรัสเซียได้ตกลงที่จะเลิกใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในการค้าขายระหว่างกัน (อ้างถึง Chaina Daily) ขณะเดียวกันญี่ปุ่นก็จะเอาอย่างบ้างในการค้าขายกับจีน (มหาอำนาจใหม่ที่ใกล้สบู่แตกด้วย)
นี่เป็นสัญญาณหายนะของประเทศต่างๆ ที่ยึดเงินดอลลาร์ในการค้าขาย จะส่งผลให้ราคาอาหารและน้ำมันสูงขึ้นเพราะเงินดอลลาร์ได้อ่อนค่าลง นอกจากนี้ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปก็ใกล้จะล้มละลาย ต้องตัดค่าใช้จ่ายภาครัฐลง อัตราการว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้นอีก ส่วนประเทศเราเอง รัฐบาลก็วางแผนอย่างมีเลศนัยเพื่อขอกู้เงินก้อนใหญ่มาแก้ปัญหาน้ำท่วม ทั้งๆ ที่สาเหตุที่แท้จริงของน้ำท่วมใหญ่ยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกันเลยว่า สาเหตุหลักมันเกิดจากอะไรกันแน่ ระหว่างฝนตกหนักมากกว่าปกติกับการบริหารจัดการที่ผิดพลาดของภาครัฐเอง
ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำ 10 อย่างที่ผู้เขียน (ในเว็บไซต์) เชื่อว่าจะช่วยให้เราอยู่รอดในท่ามกลางเศรษฐกิจที่ผันผวนหรืออาจถึงขั้นล้มละลายได้ บางคำแนะนำอาจจะไม่เหมาะกับสังคมไทย แต่ก็ลองพิจารณาอย่างจำแนกก็แล้วกันนะครับ
1. เรียนรู้ทักษะใหม่ เพื่อผลิตสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ เช่น ปลูกผักสวนครัว สมุนไพร การถนอมอาหาร ทักษะพื้นฐานในการซ่อมบ้าน งานเย็บปักถักร้อย การเลี้ยงเป็ด ไก่ เป็นต้น ทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าไม่ว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจจะเป็นแบบไหนก็ตาม
พูดถึงประเด็นนี้ทำให้เราคิดถึงหลังเหตุการณ์ต้มยำกุ้งปี 2540 ที่มีนักธุรกิจบางคนออกมาทำขนมปังแซนด์วิชขาย ในตอนนั้นเรามีปัญหาเฉพาะภาคธุรกิจในเมือง แต่ในชนบทภาคการเกษตรเราไม่มีปัญหา ภัยพิบัติธรรมชาติก็ยังไม่รุนแรงเท่าทุกวันนี้ ชนบทจึงเป็น “หลังพิง” ให้กับภาคธุรกิจในเมืองได้ แต่วันนี้แค่ช่วงเวลา 15 ปีผ่านมาเท่านั้น ชนบทของเราเองก็แทบจะเอาตัวไม่รอด มันช่างทรุดเสื่อมรวดเร็วเหลือเกิน!
2. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้ การระวังรักษาสุขภาพทั้งสุขภาพกายและใจเป็นสิ่งสำคัญมาก
3. เก็บตุนอาหารไว้ในคราวที่จำเป็น ดัชนีราคาอาหารทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 33% จากเดือนมกราคม 2553 ถึงมกราคม 2554 ผู้เขียนได้ตั้งคำถามว่า “รายได้รวมทั้งผลตอบแทนจากการลงทุนของเราเพิ่มขึ้นเท่านี้ไหม?” เพื่อความกระจ่างในเรื่องนี้ ผมจึงได้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและนำมาลงให้ดูกันข้างล่างนี้ อย่างน้อยก็เพื่อเป็นหลักฐานให้กับกลุ่มคนที่จะเปลี่ยนภาคใต้ที่เด่นทางการเกษตรและท่องเที่ยวเป็นนิคมอุตสาหกรรมว่า “เงินทองเป็นของมายาข้าวปลาซิของจริง”
4. สร้างห้องสมุด “how-to” หลายคนพึ่งอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูล “how-to” แต่หากเกิดมีปัญหาในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ในปี 2555 ดังนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องจัดตั้งห้องสมุดของตัวเอง โดยรวบรวมหนังสือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอ ดาวน์โหลดหนังสือและวิดีโอเกี่ยวกับ “how-to” ที่เป็นประโยชน์ลงในฮาร์ดดิสก์ภายนอก
5. เริ่มต้นสร้างอาชีพเสริม ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ เราไม่ควรนั่งรอความช่วยเหลือจากรัฐ สร้างธุรกิจเล็กๆ อะไรก็ได้ที่เรารัก เสริมขึ้นมาจากงานที่ทำอยู่ อาจจะเริ่มเขียนหนังสือ เปิดหลักสูตรสอนในสิ่งที่เราถนัด ฯลฯ
6. เก็บสะสมสินค้าที่ขายได้ สิ่งของที่เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตซึ่งเราซื้อมามากเกินไป เพื่อใช้ในภาวะวิกฤต เช่น อุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน รวมทั้งเมล็ดพันธุ์พืช ผมเข้าใจว่าผู้เขียนคงหมายถึงการเตรียมเพื่อ “เปิดท้ายขายของ” นั่นเอง
7. สร้างเครือข่ายชุมชน ในยามวิกฤตทุกคนต้องมีพวก จงสร้างความเข้าใจกับญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงถึงความจำเป็นของการรวมตัวกัน ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างถึงการสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น รวมทั้งสร้างความร่วมมือใน การบริโภคอาหารที่ผลิตจากคนในท้องถิ่น ผมเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญมากและน่าจะทำได้ไม่ยาก
8. สนับสนุนพลังงานหมุนเวียน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากครับ ผมพูดถึงมากว่าสิบปีแล้ว ในชนบทที่หาไม้ฟืนหรือถ่านได้ควรใช้แทนก๊าซฯ ในขณะที่เรายังทำอะไรได้ไม่มากโปรดศึกษาเพื่อให้เข้าใจว่า ภัยพิบัติธรรมชาติที่แรงขึ้นทุกวันนี้ เกิดมาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติถึง 72% ดังนั้น เราจึงต้องแก้ที่ต้นเหตุ ในเชิงนโยบายแล้วเราสามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้แน่นอน ผมเองได้เขียนเรื่องนี้บ่อยมาก
9. ผลิตน้ำสะอาดใช้เอง ช่วงที่น้ำท่วมภาคกลาง น้ำดื่มขาดแคลนอย่างรุนแรง ยังคงจำกันได้นะครับ
10. เพิ่มความรักและความพึงพอใจ ในสถานการณ์วิกฤตที่จะมาถึง การแสดงความรักต่อครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนบ้านหรือแม้แต่คนแปลกหน้าเป็นสิ่งสำคัญ "สิ่งที่เราให้กับโลกคือสิ่งที่เราจะได้รับกลับมา จงพึงพอใจกับสิ่งที่เราทำทุกวัน สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราชื่นชมจะเป็นพลังดึงดูดสิ่งที่ใหญ่กว่าที่เราจำเป็นและปรารถนา”
ด้วยความปรารถนาดีเป็นอย่างสูงและสวัสดีปีใหม่ครับ