นครศรีธรรมราช - หลังคลื่นมรสุมพัดถล่มชายฝั่งสร้างความเสียหายที่แหลมตะลุมพุก ผู้ใหญ่บ้าน ระบุ หมู่บ้านบ้านแหลมเตรียมถูกลบออกจากแผนที่ได้เลย ล่าสุด 16 ครอบครัว ต้องสร้างที่พักริมถนนในแหลมตะลุมพุก ด้านเจ้าหน้าที่ป่าไม้ยันยังไม่ยอมให้เข้าพื้นที่ป่าสงวนต้องรอคำสั่งจากกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเท่านั้น
วันนี้ (27 ธ.ค.) ความคืบหน้าสถานการณ์คลื่นลมมรสุมกำลังแรงพัดถล่มชายฝั่ง ซึ่งได้สร้างความเสียหายมากที่สุดที่ชุมชนบ้านแหลม หมู่ที่ 2, 3 ตำบลแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช สภาพหมู่บ้านทั้งสองหมู่บ้านแทบกลายเป็นซากปรักหักพัง บ้านเรือหลายหลังเหลือทิ้งไว้แค่เสาตอม่อ ถนนคอนกรีตพังยับเยิน เศษขยะ ซากบ้านเรือน เศษซากสวะจากท้องทะเลกระจายเกลื่อนเต็มหมู่บ้าน บ้านเรือนของประชาชนที่ยังคงพอที่จะอยู่อาศัยได้ ต่างช่วยกันทำความสะอาดเพื่อกลับมาพักอาศัยไปได้ชั่วคราวก่อน
ขณะที่บ้านเรือนของประชาชนกว่า 10 หลังที่ถูกรื้อหลบความรุนแรงของคลื่นนั้นได้ถูกแนวคลื่นพัดฐานที่เหลือของบ้านจนแทบไม่เหลือ โดยความรุนแรงของมรสุมในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ได้กัดเซาะพื้นดินเข้ามาบางจุดถึงกว่า 20 เมตร ชาวบ้านที่อยู่ในแนวกัดเซาะต่างถือเอกสารโฉนดที่ดิน ซึ่งที่ดินตามโฉนดนั้นในวันนี้กลายเป็นทะเลไปแล้วอย่างไม่มีจุดหมาย ส่วนแนวชายฝั่งตลอดทั้งแนวของนครศรีธรรมราชนั้นแนวคลื่นเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ
นายศักดิ์อนันต์ พุทธเสน อายุ 43 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลแหลมตะลุมพุก เปิดเผยว่า แม้สถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ ทิ้งไว้เพียงรอยความเสียหาย แต่ชาวบ้านก็ยังคงอาศัยอยู่กันอย่างหวาดผวา เพราะไม่รู้ว่าจะมีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นอีกเมื่อไร ส่วนความเป็นอยู่ในช่วงนี้เริ่มเดือดร้อน เพราะไม่สามารถออกไปหาปลาทำประมงในทะเลได้ทำให้การใช้จ่ายในการเลี้ยงชีพของชาวบ้านไม่สู้ดีนัก เพราะชาวบ้านแหลมประกอบอาชีพประมงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
“สำหรับเรื่องการย้ายบ้านเรือนไปอยู่ที่ใหม่ตอนนี้เป็นสิ่งที่ชาวบ้านทุกคนกำลังเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ รอด้วยความหวัง เพราะชาวบ้านทั้งหมดเกือบ 200 ครัวเรือน ไม่มั่นใจถึงความปลอดภัยที่อยู่แล้ว เมื่อก่อนบางคนยังลังเลไม่อยากไป แต่สถานการณ์วันนี้ทุกอยากจะออกไปให้เร็วที่สุด ส่วนการช่วยเหลืออีกประการหนึ่งที่ชาวบ้านต้องการมากเช่นกัน คือ แนวหินป้องกันการซัดของคลื่น ซึ่งหากไม่มีแนวป้องกันเชื่อว่าอีกไม่นานพื้นที่ชุมชนบ้านแหลมจะไม่มีอยู่ในประเทศไทย เพราะเพียงไม่กี่วันที่ผ่านมาชายฝั่งถูกคลื่นซัดลงทะเลไปแล้วไม่ต่ำกว่า 15 เมตร บางจุดถึงกว่า 20 เมตรด้วยซ้ำ” ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 ต.แหลมตะลุมพุกกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าชาวบ้านที่รื้อบ้านจากในหมู่ 2 และ 3 ต.แหลมตะลุมพุก ช่วงคลื่นซัดหนักเมื่อวานนี้ (26 ธ.ค.) รวมจำนวน 16 หลังคาเรือน ได้พาเอาวัสดุที่เหลือจากการรื้อถอนเตรียมที่จะไปปลูกสร้างในพื้นที่เขตสงวนห้ามล่าสัตว์ป่าในพื้นที่ 150 ไร่ ฝั่งตะวันตกของแนวถนนสายหลัก ยังไม่สามารถที่จะบุกเข้าไปได้เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่เข้ามาแจ้งว่าหากบุกรุกเข้าไปปลูกสร้างหรือตัดทำลายไม้ในป่าชายเลนจะมีความผิดตามกฎหมาย และจะถูกดำเนินคดีเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวนั้นยังอยู่ในขั้นตอนไม่แล้วเสร็จ ดังนั้นสภาพพื้นที่จึงยังสภาพบังคับตามกฎหมายอยู่ไม่สามารถละเว้นได้
ในช่วงสายของวันเดียวกัน นายพีระชาติ คงแก้ว หัวหน้าเขตห้าล่าสัตว์ป่าพื้นที่ป่าสงวนแหลมตะลุมพุก พร้อมเจ้าหน้าที่ได้เดินทางมาพบ นายสมชาย สกุนา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลแหลมตะลุมพุก และชาวบ้านเพื่อพูดคุยทำความเข้าใจในการปลุกสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราว โดย นายพีระชาติ ได้ระบุว่า ชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปปลูกสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าได้ เพราะขั้นตอนต่างๆ ต้องรอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้อนุมัติก่อนจึงสามารถดำเนินการได้
“ส่วนการแก้ไขปัญหานั้นเบื้องต้น ผู้ใหญ่บ้านประสานไปยังทางหลวงเพื่อขอพื้นที่ ที่ติดถนน ประมาณ 15 เมตรปลูกสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยชั่วคราวให้แก่ชาวบ้านจำนวน 16 ครัวเรือนเพื่อเป็นที่พักชั่วคราวไว้ก่อน” หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแหลมตะลุมพุก กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากนั้น ผู้ใหญ่บ้านพยายามเจรจาขอเข้าไปปลูกบ้านเรือนชั่วคราวในพื้นที่ป่าสงวนก่อน แต่ทางหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าได้ยืนยันว่าไม่มีอำนาจในการดำเนินการตามที่ชาวบ้านร้องขอได้เนื่องจากมีอำนาจเพียงแค่รักษาพื้นที่ตามกฎหมายไม่มีอำนาจให้เข้าไปใช้ ซึ่งกระบวนการนั้นต้องรอให้เสร็จสิ้นจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนจึงจะสามารถเข้าไปปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างได้ ซึ่งหากมีการเข้าไปนั้นคงต้องดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่เนื่องจากไม่สามารถละเว้นได้
วันนี้ (27 ธ.ค.) ความคืบหน้าสถานการณ์คลื่นลมมรสุมกำลังแรงพัดถล่มชายฝั่ง ซึ่งได้สร้างความเสียหายมากที่สุดที่ชุมชนบ้านแหลม หมู่ที่ 2, 3 ตำบลแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช สภาพหมู่บ้านทั้งสองหมู่บ้านแทบกลายเป็นซากปรักหักพัง บ้านเรือหลายหลังเหลือทิ้งไว้แค่เสาตอม่อ ถนนคอนกรีตพังยับเยิน เศษขยะ ซากบ้านเรือน เศษซากสวะจากท้องทะเลกระจายเกลื่อนเต็มหมู่บ้าน บ้านเรือนของประชาชนที่ยังคงพอที่จะอยู่อาศัยได้ ต่างช่วยกันทำความสะอาดเพื่อกลับมาพักอาศัยไปได้ชั่วคราวก่อน
ขณะที่บ้านเรือนของประชาชนกว่า 10 หลังที่ถูกรื้อหลบความรุนแรงของคลื่นนั้นได้ถูกแนวคลื่นพัดฐานที่เหลือของบ้านจนแทบไม่เหลือ โดยความรุนแรงของมรสุมในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ได้กัดเซาะพื้นดินเข้ามาบางจุดถึงกว่า 20 เมตร ชาวบ้านที่อยู่ในแนวกัดเซาะต่างถือเอกสารโฉนดที่ดิน ซึ่งที่ดินตามโฉนดนั้นในวันนี้กลายเป็นทะเลไปแล้วอย่างไม่มีจุดหมาย ส่วนแนวชายฝั่งตลอดทั้งแนวของนครศรีธรรมราชนั้นแนวคลื่นเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ
นายศักดิ์อนันต์ พุทธเสน อายุ 43 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ตำบลแหลมตะลุมพุก เปิดเผยว่า แม้สถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติ ทิ้งไว้เพียงรอยความเสียหาย แต่ชาวบ้านก็ยังคงอาศัยอยู่กันอย่างหวาดผวา เพราะไม่รู้ว่าจะมีเหตุการณ์อย่างนี้เกิดขึ้นอีกเมื่อไร ส่วนความเป็นอยู่ในช่วงนี้เริ่มเดือดร้อน เพราะไม่สามารถออกไปหาปลาทำประมงในทะเลได้ทำให้การใช้จ่ายในการเลี้ยงชีพของชาวบ้านไม่สู้ดีนัก เพราะชาวบ้านแหลมประกอบอาชีพประมงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
“สำหรับเรื่องการย้ายบ้านเรือนไปอยู่ที่ใหม่ตอนนี้เป็นสิ่งที่ชาวบ้านทุกคนกำลังเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ รอด้วยความหวัง เพราะชาวบ้านทั้งหมดเกือบ 200 ครัวเรือน ไม่มั่นใจถึงความปลอดภัยที่อยู่แล้ว เมื่อก่อนบางคนยังลังเลไม่อยากไป แต่สถานการณ์วันนี้ทุกอยากจะออกไปให้เร็วที่สุด ส่วนการช่วยเหลืออีกประการหนึ่งที่ชาวบ้านต้องการมากเช่นกัน คือ แนวหินป้องกันการซัดของคลื่น ซึ่งหากไม่มีแนวป้องกันเชื่อว่าอีกไม่นานพื้นที่ชุมชนบ้านแหลมจะไม่มีอยู่ในประเทศไทย เพราะเพียงไม่กี่วันที่ผ่านมาชายฝั่งถูกคลื่นซัดลงทะเลไปแล้วไม่ต่ำกว่า 15 เมตร บางจุดถึงกว่า 20 เมตรด้วยซ้ำ” ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 ต.แหลมตะลุมพุกกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าชาวบ้านที่รื้อบ้านจากในหมู่ 2 และ 3 ต.แหลมตะลุมพุก ช่วงคลื่นซัดหนักเมื่อวานนี้ (26 ธ.ค.) รวมจำนวน 16 หลังคาเรือน ได้พาเอาวัสดุที่เหลือจากการรื้อถอนเตรียมที่จะไปปลูกสร้างในพื้นที่เขตสงวนห้ามล่าสัตว์ป่าในพื้นที่ 150 ไร่ ฝั่งตะวันตกของแนวถนนสายหลัก ยังไม่สามารถที่จะบุกเข้าไปได้เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่เข้ามาแจ้งว่าหากบุกรุกเข้าไปปลูกสร้างหรือตัดทำลายไม้ในป่าชายเลนจะมีความผิดตามกฎหมาย และจะถูกดำเนินคดีเนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวนั้นยังอยู่ในขั้นตอนไม่แล้วเสร็จ ดังนั้นสภาพพื้นที่จึงยังสภาพบังคับตามกฎหมายอยู่ไม่สามารถละเว้นได้
ในช่วงสายของวันเดียวกัน นายพีระชาติ คงแก้ว หัวหน้าเขตห้าล่าสัตว์ป่าพื้นที่ป่าสงวนแหลมตะลุมพุก พร้อมเจ้าหน้าที่ได้เดินทางมาพบ นายสมชาย สกุนา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลแหลมตะลุมพุก และชาวบ้านเพื่อพูดคุยทำความเข้าใจในการปลุกสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราว โดย นายพีระชาติ ได้ระบุว่า ชาวบ้านไม่สามารถเข้าไปปลูกสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าได้ เพราะขั้นตอนต่างๆ ต้องรอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้อนุมัติก่อนจึงสามารถดำเนินการได้
“ส่วนการแก้ไขปัญหานั้นเบื้องต้น ผู้ใหญ่บ้านประสานไปยังทางหลวงเพื่อขอพื้นที่ ที่ติดถนน ประมาณ 15 เมตรปลูกสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยชั่วคราวให้แก่ชาวบ้านจำนวน 16 ครัวเรือนเพื่อเป็นที่พักชั่วคราวไว้ก่อน” หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแหลมตะลุมพุก กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากนั้น ผู้ใหญ่บ้านพยายามเจรจาขอเข้าไปปลูกบ้านเรือนชั่วคราวในพื้นที่ป่าสงวนก่อน แต่ทางหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าได้ยืนยันว่าไม่มีอำนาจในการดำเนินการตามที่ชาวบ้านร้องขอได้เนื่องจากมีอำนาจเพียงแค่รักษาพื้นที่ตามกฎหมายไม่มีอำนาจให้เข้าไปใช้ ซึ่งกระบวนการนั้นต้องรอให้เสร็จสิ้นจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก่อนจึงจะสามารถเข้าไปปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างได้ ซึ่งหากมีการเข้าไปนั้นคงต้องดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่เนื่องจากไม่สามารถละเว้นได้