ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - “หาดใหญ่โพล” ของ ม.หาดใหญ่ สำรวจความเห็นคนใต้ในประเด็นการเมืองและนโยบายเศรษฐกิจ “พรรคเพื่อไทย” เผยกว่า 77% ไม่เชื่อว่าจะมีน้ำยาดับไฟใต้ กว่า 78% ไม่เห็นด้วยกับการถมทะเลสร้างเมืองใหม่ และกว่า 33.5% ไม่อยากให้มีบัตรเครดิตชาวนา ส่วนที่อยากให้ “รัฐบาลปูแดง” ทำเร่งด่วน คือ ปรามปราบยาเสพติด ลดภาษีน้ำมัน-ภาษีนิติบุคคล ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท และเงินเดือนบัณฑิตใหม่ ป.ตรี 15,000 บาท
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับ “การเมืองและนโยบายเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย” โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,199 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 3-5 สิงหาคม 2554 สรุปผลการสำรวจได้ดังนี้
ในเรื่องของสถานภาพกลุ่มตัวอย่างนั้น กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.6) อายุระหว่าง 20-30 ปี (ร้อยละ 48.5) รองลงมา มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 24.6) และอายุ 18-20 ปี (ร้อยละ 14.5) ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีอาชีพพนักงานบริษัท/ลูกจ้าง (ร้อยละ 27.7) รองลงมา นักเรียน/นักศึกษา, ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย, ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 26.0, 17.7, 12.6 และ 10.2 ตามลำดับ
รศ.ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ส่วนใหญ่เห็นว่า รัฐบาลควรทำนโยบายอย่างเร่งด่วนที่สุดคือ นโยบายปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 77.7) รองลงมา การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินและดีเซล, ลดภาษีนิติบุคคลจาก 30 เหลือ 23%, ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ และเงินเดือนบัณฑิตที่จบปริญญาตรี 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 64.8, 57.6, 55.5 และ 54.5 ตามลำดับ
ในส่วนนโยบายที่รัฐบาลต้องดำเนินการ พบว่า ประชาชนต้องการเห็นรถไฟฟ้ารางคู่มากที่สุด (ร้อยละ 63.7) รองลงมากองทุนตั้งตัวได้ (สร้างผู้ประกอบการใหม่), ธนาคารข้าว โครงข่ายน้ำทั่วประเทศ ส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานและการใช้พลังงานทางเลือก และนโยบายปรับโครงสร้างหนี้และพักหนี้เกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 61.2, 54.9, 53.6, 52.7 และ 52.4 ตามลำดับ
ทั้งนี้ นโยบายที่ประชาชนไม่เห็นด้วยให้รัฐบาลดำเนินการคือ นโยบายถมทะเลสร้างเมืองใหม่ และบัตรเครดิตชาวนา คิดเป็นร้อยละ 78.6 และ 33.5 ตามลำดับ
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวนโยบายการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ และเงินเดือนบัณฑิตที่จบปริญญาตรี 15,000 บาท พบว่า ประชาชนร้อยละ 37.5 เห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 32.2 จะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพในระดับปานกลาง และร้อยละ 30.3 จะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 38.9 และ 38.8 เห็นว่า หากนโยบายการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ และเงินเดือนบัณฑิตที่จบปริญญาตรี 15,000 บาทมีผลจริง จะทำให้มีฐานะทางเศรษฐกิจแย่ลงและดีขึ้นตามลำดับ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3 เห็นว่า หากมีการปรับค่าแรงและเงินเดือนปริญญาตรี จะทำให้สินค้ามีการปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาผู้ประกอบการขนาดเล็กปิดกิจการ คนตกงานเพิ่มขึ้น หันไปใช้แรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้น และการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7 เป็น 10% คิดเป็นร้อยละ 41.4, 31.0, 29.5 และ 27.0 ตามลำดับ
อีกทั้งประชาชนคิดว่าประเทศไทยมีปัญหาการเมืองรุนแรงกว่าปัญหาเศรษฐกิจ (ร้อยละ 56.1) มีเพียงร้อยละ 14.4 ปัญหาเศรษฐกิจรุนแรงกว่าปัญหาการเมือง และร้อยละ 29.5 เห็นว่าปัญหาการเมืองและปัญหาเศรษฐกิจ รุนแรงพอๆ กัน
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 77.7 ไม่มั่นใจการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย
หาดใหญ่โพล โดยสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 14 จังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับ “การเมืองและนโยบายเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย” โดยเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชน จำนวน 1,199 ตัวอย่าง และใช้แบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 3-5 สิงหาคม 2554 สรุปผลการสำรวจได้ดังนี้
ในเรื่องของสถานภาพกลุ่มตัวอย่างนั้น กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 60.6) อายุระหว่าง 20-30 ปี (ร้อยละ 48.5) รองลงมา มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 24.6) และอายุ 18-20 ปี (ร้อยละ 14.5) ตามลำดับ นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมีอาชีพพนักงานบริษัท/ลูกจ้าง (ร้อยละ 27.7) รองลงมา นักเรียน/นักศึกษา, ประกอบกิจการส่วนตัว/ค้าขาย, ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 26.0, 17.7, 12.6 และ 10.2 ตามลำดับ
รศ.ทัศนีย์ ประธาน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ เปิดเผยผลการสำรวจหาดใหญ่โพล พบว่า ประชาชน 14 จังหวัดภาคใต้ส่วนใหญ่เห็นว่า รัฐบาลควรทำนโยบายอย่างเร่งด่วนที่สุดคือ นโยบายปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 77.7) รองลงมา การลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินและดีเซล, ลดภาษีนิติบุคคลจาก 30 เหลือ 23%, ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ และเงินเดือนบัณฑิตที่จบปริญญาตรี 15,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 64.8, 57.6, 55.5 และ 54.5 ตามลำดับ
ในส่วนนโยบายที่รัฐบาลต้องดำเนินการ พบว่า ประชาชนต้องการเห็นรถไฟฟ้ารางคู่มากที่สุด (ร้อยละ 63.7) รองลงมากองทุนตั้งตัวได้ (สร้างผู้ประกอบการใหม่), ธนาคารข้าว โครงข่ายน้ำทั่วประเทศ ส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานและการใช้พลังงานทางเลือก และนโยบายปรับโครงสร้างหนี้และพักหนี้เกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 61.2, 54.9, 53.6, 52.7 และ 52.4 ตามลำดับ
ทั้งนี้ นโยบายที่ประชาชนไม่เห็นด้วยให้รัฐบาลดำเนินการคือ นโยบายถมทะเลสร้างเมืองใหม่ และบัตรเครดิตชาวนา คิดเป็นร้อยละ 78.6 และ 33.5 ตามลำดับ
ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวนโยบายการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ และเงินเดือนบัณฑิตที่จบปริญญาตรี 15,000 บาท พบว่า ประชาชนร้อยละ 37.5 เห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 32.2 จะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพในระดับปานกลาง และร้อยละ 30.3 จะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพในระดับน้อยถึงน้อยที่สุด
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 38.9 และ 38.8 เห็นว่า หากนโยบายการขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศ และเงินเดือนบัณฑิตที่จบปริญญาตรี 15,000 บาทมีผลจริง จะทำให้มีฐานะทางเศรษฐกิจแย่ลงและดีขึ้นตามลำดับ
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 60.3 เห็นว่า หากมีการปรับค่าแรงและเงินเดือนปริญญาตรี จะทำให้สินค้ามีการปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อภาพรวมของเศรษฐกิจมากที่สุด รองลงมาผู้ประกอบการขนาดเล็กปิดกิจการ คนตกงานเพิ่มขึ้น หันไปใช้แรงงานต่างด้าวเพิ่มขึ้น และการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 7 เป็น 10% คิดเป็นร้อยละ 41.4, 31.0, 29.5 และ 27.0 ตามลำดับ
อีกทั้งประชาชนคิดว่าประเทศไทยมีปัญหาการเมืองรุนแรงกว่าปัญหาเศรษฐกิจ (ร้อยละ 56.1) มีเพียงร้อยละ 14.4 ปัญหาเศรษฐกิจรุนแรงกว่าปัญหาการเมือง และร้อยละ 29.5 เห็นว่าปัญหาการเมืองและปัญหาเศรษฐกิจ รุนแรงพอๆ กัน
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 77.7 ไม่มั่นใจการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย