ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ เผยเขียงหมูหาดใหญ่ ปิด 5 วัน ไม่กระทบผู้เลี้ยงในภาพรวม แต่จะทำให้ผู้เลี้ยงรายย่อยซึ่งป้อนวัตถุดิบเข้าตลาดเสียหาย ซึ่งจะมีหมูหายจากระบบราว 500 ตัว/วัน และวอนให้รัฐบาลใหม่แก้ปัญหานี้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะวัตถุดิบที่เลี้ยงหมูปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กรณีที่ผู้จำหน่ายเนื้อหมูในตลาดสดพลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ประมาณ 200 เขียง ประกาศหยุดจำหน่ายเนื้อหมูเป็นเวลา 5 วัน ด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเริ่มวันนี้เป็นวันแรกนั้น นายเกรียงศักดิ์ เสรีรัตน์ยืนยง นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ กล่าวว่า การประท้วงดังกล่าวจะทำให้หมูหายไปจากตลาดหาดใหญ่ประมาณวันละ 400-500 ตัวหรือ 4,500 กิโลกรัม ซึ่งส่วนมากแล้วจะรับมาจากผู้เลี้ยงหมูรายย่อยในพื้นที่ นำเข้าบางส่วนจาก จ.พัทลุง และภาคกลาง แต่ในพื้นที่อื่นของภาคใต้ยังไม่มีการหยุดประท้วงเช่นนี้ และผู้เลี้ยงหมูของสมาคมยังไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในธุรกิจนี้เขียงหมูถือว่ายังมีความเสี่ยงน้อย และซื้อมาขายไปในราคาที่แล้วแต่คุณภาพ โดยปกติแล้วสามารถทำกำไรได้ตัวละ 1,000 บาท ไม่เหมือนกลุ่มผู้เลี้ยงที่ต้องแบกภาระต้นทุนในการเลี้ยง และความเสี่ยงในโรคระบาด ทั้งนี้ ระยะหลังเกิดโรคระบาดภาคกลางจึงป้อนหมูลงในพื้นที่น้อยลง จึงต้องหาสุกรในพื้นที่แทนซึ่งยังประสบปัญหาด้านคุณภาพของสุกร แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าในช่วงนี้ผู้ขายเนื้อสุกรได้กำไรลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้จะสะท้อนให้รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาต้องให้ความสำคัญกับการดูแลต้นทุนและราคาซื้อขายเนื้อหมูทั้งระบบเพื่อไม่ให้กระทบกับทุกฝ่าย
ด้านสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์พัทลุง ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า แนวโน้มวัตถุดิบในการเลี้ยงสุกรปรับสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลต่อพ่อค้าคนกลางที่จะนำสุกรไปชำแหละเพื่อให้เขียงหมูรายย่อยจำหน่ายลงด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้จำหน่ายปลีกเนื้อสุกรในหาดใหญ่ไม่ได้เป็นผู้เลี้ยงเองด้วย จึงอาจจะมีต้นทุนที่สูงกว่าผู้จำหน่ายปลีกเนื้อสุกรในพื้นที่อื่น ซึ่งเป็นทั้งผู้เลี้ยงและจำหน่ายปลีกของเขียงหมูในตลาด
กรณีที่ผู้จำหน่ายเนื้อหมูในตลาดสดพลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ประมาณ 200 เขียง ประกาศหยุดจำหน่ายเนื้อหมูเป็นเวลา 5 วัน ด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเริ่มวันนี้เป็นวันแรกนั้น นายเกรียงศักดิ์ เสรีรัตน์ยืนยง นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ กล่าวว่า การประท้วงดังกล่าวจะทำให้หมูหายไปจากตลาดหาดใหญ่ประมาณวันละ 400-500 ตัวหรือ 4,500 กิโลกรัม ซึ่งส่วนมากแล้วจะรับมาจากผู้เลี้ยงหมูรายย่อยในพื้นที่ นำเข้าบางส่วนจาก จ.พัทลุง และภาคกลาง แต่ในพื้นที่อื่นของภาคใต้ยังไม่มีการหยุดประท้วงเช่นนี้ และผู้เลี้ยงหมูของสมาคมยังไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว
นายเกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในธุรกิจนี้เขียงหมูถือว่ายังมีความเสี่ยงน้อย และซื้อมาขายไปในราคาที่แล้วแต่คุณภาพ โดยปกติแล้วสามารถทำกำไรได้ตัวละ 1,000 บาท ไม่เหมือนกลุ่มผู้เลี้ยงที่ต้องแบกภาระต้นทุนในการเลี้ยง และความเสี่ยงในโรคระบาด ทั้งนี้ ระยะหลังเกิดโรคระบาดภาคกลางจึงป้อนหมูลงในพื้นที่น้อยลง จึงต้องหาสุกรในพื้นที่แทนซึ่งยังประสบปัญหาด้านคุณภาพของสุกร แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าในช่วงนี้ผู้ขายเนื้อสุกรได้กำไรลดลงด้วย อย่างไรก็ตาม ปัญหาเหล่านี้จะสะท้อนให้รัฐบาลใหม่ที่เข้ามาต้องให้ความสำคัญกับการดูแลต้นทุนและราคาซื้อขายเนื้อหมูทั้งระบบเพื่อไม่ให้กระทบกับทุกฝ่าย
ด้านสหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์พัทลุง ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า แนวโน้มวัตถุดิบในการเลี้ยงสุกรปรับสูงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลต่อพ่อค้าคนกลางที่จะนำสุกรไปชำแหละเพื่อให้เขียงหมูรายย่อยจำหน่ายลงด้วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้จำหน่ายปลีกเนื้อสุกรในหาดใหญ่ไม่ได้เป็นผู้เลี้ยงเองด้วย จึงอาจจะมีต้นทุนที่สูงกว่าผู้จำหน่ายปลีกเนื้อสุกรในพื้นที่อื่น ซึ่งเป็นทั้งผู้เลี้ยงและจำหน่ายปลีกของเขียงหมูในตลาด