นครศรีธรรมราช - กฟผ.ย่องแหย่แนวต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินนครศรีธรรมราชรอบใหม่ พาข้าราชการผู้บริหารจังหวัดดูงานเชิงบวกไฟฟ้าถ่านหิน รอง ผวจ.เผย พลังงานมีความจำเป็น ขณะที่คนในยันสร้างแน่เคลื่อนเต็มสูบหลัง อบต.ในพื้นที่เป้าหมายหมดวาระเลือกตั้งใหม่กลุ่มเครือข่ายเตรียมเชิญผู้สมัครตัวแทนพรรคการเมืองแสดง ย้ำจุดยืนคนพื้นที่โครงการไม่ต้องการเตรียมผลักดันผ่านท้องถิ่นสู่ระดับชาติยืนยัน “ไม่เอา”
ความเคลื่อนไหวของการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ซึ่งเดิมนครศรีธรรมราช ถูกกำหนดพื้นที่โครงการ 2 จุด คือ ใน อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร โดยมีฝ่ายต้านโรงไฟฟ้าชนิดนี้เพิ่มแนวร่วมขึ้นตามลำดับ จนส่งผลให้คณะทำงานที่ กฟผ.ส่งมาทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ได้รับแรงกดดันอย่างหนัก จนกระทั่งมีคำสั่งให้ถอนตัวออกไป โดยทิ้งเจ้าหน้าที่ กฟผ.เอาไว้เพียงส่วนหนึ่งเพื่อประสานงานกับทีมชุดใหม่ที่จะมาขับเคลื่อนเรื่องนี้กันต่อไป
วันนี้ (23 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของ กฟผ.ว่า ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง โดยวิธีการชุดแรกได้เริ่มขึ้นจากการนำเอาข้าราชการระดับสูงของจังหวัดนครศรีธรรมราช เดินทางไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยในระหว่างวันที่ 17 -20 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมาโดยบริหารจัดการผ่านสำนักงานพลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช นำคณะผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 22 คน
นำโดย นายสิทธิพงษ์ เทิดรัตนพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เดินทางไปทัศนศึกษาการพัฒนาระบบพลังงานไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในพื้นที่ต่างๆ ประกอบด้วย โรงงานไฟฟ้าถ่านหิน ของบริษัท บีแอลซีพี จังหวัดระยอง โรงพลังไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ ให้กับบุคลากรระดับสูงของนครศรีธรรมราช ในด้านสถานการณ์พลังงาน การพัฒนาพลังงานไฟฟ้า การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และการหาแนวทางออกร่วมกัน ในการพัฒนาพลังงานทางเลือก ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม ในการพัฒนาโครงการพลังงานไฟฟ้าของจังหวัดในอนาคต
นายสิทธิพงษ์ เทิดรัตนพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า จากการที่ได้ไปสัมผัสกับสถานที่จริงของโรงงานไฟฟ้า ได้รับรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่อยากให้ประชาชนได้เห็น และเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องพลังงาน เพราะประชาชนและชุมชนในประเทศ จะต้องรับผิดชอบร่วมกันในเรื่องของพลังงาน
สำหรับการเกิดโรงไฟฟ้าใหม่ อาจเป็นไปได้ เพราะพลังงานมีความจำเป็น จะเป็นรูปของพลังงานทดแทน หรือพลังงานอื่นๆ หากให้ความรู้แก่ประชาชน หรือกลุ่มที่คัดค้าน คิดว่ายอมรับได้ โดยขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยี นโยบายของรัฐบาล และที่สำคัญเงินทุนคิดว่ามีเพียงพอแล้ว
ส่วนทางด้านเครือข่ายภาคประชาชนที่ได้รณรงค์ แสดงจุดยืนไม่เอาโรงไฟฟ้าเขามาในพื้นที่นครศรีธรรมราช โดยเฉพาะใน อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร ได้รณรงค์ในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้ภาคประชาชนหลายส่วนได้ออกมาร่วมกันแสดงออกอย่างชัดเจน
นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว แกนนำรักษ์บ้านเกิดบ้านเกิดท่าศาลา เปิดเผยว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและทุกภาคส่วนยังแสดงจุดยืนเช่นเดิม คือ ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ตัดสินใจแล้วว่าเราไม่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหินเข้ามา ดังนั้น ในการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการเชิญผู้สมัคร ส.ส.ในพื้นที่และตัวแทนพรรคการเมืองมาแสดงจุดยืนและรับฟังความต้องการของประชาชนที่ท่าศาลาและที่หัวไทร ในวันที่ 24 มิ.ย.
“เราขับเคลื่อนเรื่องนี้เป็นความต้องการของพื้นที่ตั้งแต่ระดับภาคประชาชน อปท.ไปจนถึงระดับชาติอย่างเป็นรูปธรรม และยืนยันว่า เราปฏิเสธไม่ต้องเอามาลงพื้นที่ขอให้ กฟผ.หยุดผลาญงบประมาณที่จะมาลงพื้นที่เพราะจะเสียเปล่าในเมื่อประชาชนไม่เอาด้วยแล้ว” แกนนำรายนี้ระบุ
ด้านแหล่งข่าวภายใน กฟผ.ที่เกี่ยวข้องรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ทีมชุดเก่าที่ กฟผ.ส่งลงมาในพื้นที่นั้นประสบกับความล้มเหลวจนต้องเรียกตัวกลับเกือบทั้งหมด ในส่วนนี้ไม่ได้หมายความว่า กฟผ.จะหยุดสร้างเพราะต้องสร้างเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเนื่องจากแนวโน้มของ กนอ.จะผ่านการเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่นครศรีธรรมราช ดังนั้น จะมีการเตรียมทีมงานชุดใหม่ที่จะส่งลงมาจึงมีแน่นอนและมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างที่นครศรีธรรมราช พร้อมกันนั้นจะสร้างที่ บ้านไม้รูด ใน จ.ตราด ด้วยพร้อมกัน แต่ในส่วนของนครศรีธรรมราช อาจมีการปรับแผนจากเดิมขนาด 800 เมกะวัตต์ 2 โรงอาจจะเหลือแค่โรงเดียวแต่เพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น
“แต่แผนการทำงานด้านมวลชนนั้นจะมีการทำพื้นที่เหมือนเดิม แต่จะเป็นหลังจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หมดวาระแล้วเลือกตั้งใหม่ ในส่วนนี้แม้แต่คนในยังแสดงความไม่เห็นด้วยเนื่องจากอาจจะถูกมองในเชิงลบซ้ำว่าไปแทรกแซงมวลชน และการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ หลังจากนั้นจะเดินการก่อสร้างอย่างเต็มสูบ ซึ่งในส่วนนี้ผู้ที่ทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหวั่นเกรงอย่างมากว่ากระบวนการคัดค้านของประชาชนในพื้นที่จะลุกลามบานปลาย เพราะเหมือนกับว่า กฟผ.กำลังไปท้าทาย” จนท.กฟผ.รายนี้ กล่าว
ความเคลื่อนไหวของการเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ซึ่งเดิมนครศรีธรรมราช ถูกกำหนดพื้นที่โครงการ 2 จุด คือ ใน อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร โดยมีฝ่ายต้านโรงไฟฟ้าชนิดนี้เพิ่มแนวร่วมขึ้นตามลำดับ จนส่งผลให้คณะทำงานที่ กฟผ.ส่งมาทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ได้รับแรงกดดันอย่างหนัก จนกระทั่งมีคำสั่งให้ถอนตัวออกไป โดยทิ้งเจ้าหน้าที่ กฟผ.เอาไว้เพียงส่วนหนึ่งเพื่อประสานงานกับทีมชุดใหม่ที่จะมาขับเคลื่อนเรื่องนี้กันต่อไป
วันนี้ (23 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวของ กฟผ.ว่า ได้เริ่มขึ้นอีกครั้ง โดยวิธีการชุดแรกได้เริ่มขึ้นจากการนำเอาข้าราชการระดับสูงของจังหวัดนครศรีธรรมราช เดินทางไปศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยในระหว่างวันที่ 17 -20 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมาโดยบริหารจัดการผ่านสำนักงานพลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช นำคณะผู้บริหารและหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 22 คน
นำโดย นายสิทธิพงษ์ เทิดรัตนพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เดินทางไปทัศนศึกษาการพัฒนาระบบพลังงานไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในพื้นที่ต่างๆ ประกอบด้วย โรงงานไฟฟ้าถ่านหิน ของบริษัท บีแอลซีพี จังหวัดระยอง โรงพลังไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ ให้กับบุคลากรระดับสูงของนครศรีธรรมราช ในด้านสถานการณ์พลังงาน การพัฒนาพลังงานไฟฟ้า การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา และการหาแนวทางออกร่วมกัน ในการพัฒนาพลังงานทางเลือก ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม ในการพัฒนาโครงการพลังงานไฟฟ้าของจังหวัดในอนาคต
นายสิทธิพงษ์ เทิดรัตนพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า จากการที่ได้ไปสัมผัสกับสถานที่จริงของโรงงานไฟฟ้า ได้รับรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่อยากให้ประชาชนได้เห็น และเข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องพลังงาน เพราะประชาชนและชุมชนในประเทศ จะต้องรับผิดชอบร่วมกันในเรื่องของพลังงาน
สำหรับการเกิดโรงไฟฟ้าใหม่ อาจเป็นไปได้ เพราะพลังงานมีความจำเป็น จะเป็นรูปของพลังงานทดแทน หรือพลังงานอื่นๆ หากให้ความรู้แก่ประชาชน หรือกลุ่มที่คัดค้าน คิดว่ายอมรับได้ โดยขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยี นโยบายของรัฐบาล และที่สำคัญเงินทุนคิดว่ามีเพียงพอแล้ว
ส่วนทางด้านเครือข่ายภาคประชาชนที่ได้รณรงค์ แสดงจุดยืนไม่เอาโรงไฟฟ้าเขามาในพื้นที่นครศรีธรรมราช โดยเฉพาะใน อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร ได้รณรงค์ในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้ภาคประชาชนหลายส่วนได้ออกมาร่วมกันแสดงออกอย่างชัดเจน
นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว แกนนำรักษ์บ้านเกิดบ้านเกิดท่าศาลา เปิดเผยว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและทุกภาคส่วนยังแสดงจุดยืนเช่นเดิม คือ ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ตัดสินใจแล้วว่าเราไม่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหินเข้ามา ดังนั้น ในการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการเชิญผู้สมัคร ส.ส.ในพื้นที่และตัวแทนพรรคการเมืองมาแสดงจุดยืนและรับฟังความต้องการของประชาชนที่ท่าศาลาและที่หัวไทร ในวันที่ 24 มิ.ย.
“เราขับเคลื่อนเรื่องนี้เป็นความต้องการของพื้นที่ตั้งแต่ระดับภาคประชาชน อปท.ไปจนถึงระดับชาติอย่างเป็นรูปธรรม และยืนยันว่า เราปฏิเสธไม่ต้องเอามาลงพื้นที่ขอให้ กฟผ.หยุดผลาญงบประมาณที่จะมาลงพื้นที่เพราะจะเสียเปล่าในเมื่อประชาชนไม่เอาด้วยแล้ว” แกนนำรายนี้ระบุ
ด้านแหล่งข่าวภายใน กฟผ.ที่เกี่ยวข้องรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ทีมชุดเก่าที่ กฟผ.ส่งลงมาในพื้นที่นั้นประสบกับความล้มเหลวจนต้องเรียกตัวกลับเกือบทั้งหมด ในส่วนนี้ไม่ได้หมายความว่า กฟผ.จะหยุดสร้างเพราะต้องสร้างเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเนื่องจากแนวโน้มของ กนอ.จะผ่านการเป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่นครศรีธรรมราช ดังนั้น จะมีการเตรียมทีมงานชุดใหม่ที่จะส่งลงมาจึงมีแน่นอนและมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างที่นครศรีธรรมราช พร้อมกันนั้นจะสร้างที่ บ้านไม้รูด ใน จ.ตราด ด้วยพร้อมกัน แต่ในส่วนของนครศรีธรรมราช อาจมีการปรับแผนจากเดิมขนาด 800 เมกะวัตต์ 2 โรงอาจจะเหลือแค่โรงเดียวแต่เพิ่มขนาดให้ใหญ่ขึ้น
“แต่แผนการทำงานด้านมวลชนนั้นจะมีการทำพื้นที่เหมือนเดิม แต่จะเป็นหลังจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หมดวาระแล้วเลือกตั้งใหม่ ในส่วนนี้แม้แต่คนในยังแสดงความไม่เห็นด้วยเนื่องจากอาจจะถูกมองในเชิงลบซ้ำว่าไปแทรกแซงมวลชน และการเลือกตั้งท้องถิ่นได้ หลังจากนั้นจะเดินการก่อสร้างอย่างเต็มสูบ ซึ่งในส่วนนี้ผู้ที่ทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหวั่นเกรงอย่างมากว่ากระบวนการคัดค้านของประชาชนในพื้นที่จะลุกลามบานปลาย เพราะเหมือนกับว่า กฟผ.กำลังไปท้าทาย” จนท.กฟผ.รายนี้ กล่าว