นครศรีธรรมราช - ชาวประมงชายฝั่งนครศรีธรรมราช ระดมอาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำเข้าติวหลักสูตรเข้มข้น สร้างกำลังหลักสนับสนุนงานบริหารจัดการทรัพยากรประมงแบบบูรณาการ
นางอารีย์ อินทรสมบัติ ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ทำให้เกิดการทำลายพันธ์สัตว์น้ำ และแหล่งที่อยู่อาศัย เจริญเติบโตของสัตว์น้ำอย่างรุนแรง มีการนำสัตว์น้ำที่อยู่ในช่วงมีไข่ หรือกำลังแพร่ขยายพันธ์และสัตว์น้ำที่ยังไม่โตเต็มวัยมาใช้ประโยชน์ จนทำให้ทรัพยากรสัตว์ทะเลหลายชนิดมีปริมาณลดลงจนอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธ์ การฟื้นฟูมีภารกิจที่กว้างขวางท่ามกลางความขาดแคลนกำลังเจ้าหน้าที่ นอกจากนั้นยังมีปัญหาการทำประมงอย่างผิดกฎหมายในเขตอนุรักษ์ชายฝั่ง 3,000-4500 เมตร แต่กลไกทางราชการไม่สามารถกำกับดูแลได้อย่างทั่วถึง ตลอดเวลา
ที่สำคัญ การมีพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยที่ยาวที่สุด 6 อำเภอ 23 ตำบล 95 หมู่บ้าน จำเป็นต้องขอความร่วมมือชุมชนชาวประมงชายฝั่งในการเฝ้าระวังและอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังป้องกันการทำประมงผิดกฎหมายทั้ง 6 อำเภอชายฝั่งแล้ว เพื่อเข้ามาเสริมกำลังเจ้าหน้าที่ในการป้องกันแก้ไขปัญหาด้านการประมงที่ผิด กฏหมายในพื้นที่ได้ทันเหตุการณ์ สร้างความเข้มแข็งในชุมชน โดยปี 2553 ได้จัดอบรมให้ความรู้เรื่องพระราชบัญญัติการประมง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครอนุรักษ์สัตว์ทะเลชายฝั่ง
ขณะที่ นายทรงศักดิ์ มุสิกอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้อนุมัติโครงการนำร่องการบริหารจัดการทรัพยากรประมง แบบบูรณาการ ซึ่งมีทั้งการอบรมอาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ คัดกรองจากกลุ่มที่เคยได้เข้ารับการอบรม และเป็นประมงผู้มีจิตอาสา จาก ต.ปากนคร ท่าซัก บางจาก ท่าไร่ และปากพูน แล้วจำนวน 30 คน มาอบรม ในลักษณะการเสริมทักษะ และการปฏิบัติจริงในการเฝ้าระวังในทะเล ในหลักสูตรเข้มข้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการปฏิบัติงาน ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรประมงแบบบูณาการอย่างมีประสิทธิภาพ
นางอารีย์ อินทรสมบัติ ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ทำให้เกิดการทำลายพันธ์สัตว์น้ำ และแหล่งที่อยู่อาศัย เจริญเติบโตของสัตว์น้ำอย่างรุนแรง มีการนำสัตว์น้ำที่อยู่ในช่วงมีไข่ หรือกำลังแพร่ขยายพันธ์และสัตว์น้ำที่ยังไม่โตเต็มวัยมาใช้ประโยชน์ จนทำให้ทรัพยากรสัตว์ทะเลหลายชนิดมีปริมาณลดลงจนอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธ์ การฟื้นฟูมีภารกิจที่กว้างขวางท่ามกลางความขาดแคลนกำลังเจ้าหน้าที่ นอกจากนั้นยังมีปัญหาการทำประมงอย่างผิดกฎหมายในเขตอนุรักษ์ชายฝั่ง 3,000-4500 เมตร แต่กลไกทางราชการไม่สามารถกำกับดูแลได้อย่างทั่วถึง ตลอดเวลา
ที่สำคัญ การมีพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยที่ยาวที่สุด 6 อำเภอ 23 ตำบล 95 หมู่บ้าน จำเป็นต้องขอความร่วมมือชุมชนชาวประมงชายฝั่งในการเฝ้าระวังและอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเฝ้าระวังป้องกันการทำประมงผิดกฎหมายทั้ง 6 อำเภอชายฝั่งแล้ว เพื่อเข้ามาเสริมกำลังเจ้าหน้าที่ในการป้องกันแก้ไขปัญหาด้านการประมงที่ผิด กฏหมายในพื้นที่ได้ทันเหตุการณ์ สร้างความเข้มแข็งในชุมชน โดยปี 2553 ได้จัดอบรมให้ความรู้เรื่องพระราชบัญญัติการประมง และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครอนุรักษ์สัตว์ทะเลชายฝั่ง
ขณะที่ นายทรงศักดิ์ มุสิกอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากนคร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้อนุมัติโครงการนำร่องการบริหารจัดการทรัพยากรประมง แบบบูรณาการ ซึ่งมีทั้งการอบรมอาสาสมัครอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ คัดกรองจากกลุ่มที่เคยได้เข้ารับการอบรม และเป็นประมงผู้มีจิตอาสา จาก ต.ปากนคร ท่าซัก บางจาก ท่าไร่ และปากพูน แล้วจำนวน 30 คน มาอบรม ในลักษณะการเสริมทักษะ และการปฏิบัติจริงในการเฝ้าระวังในทะเล ในหลักสูตรเข้มข้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการปฏิบัติงาน ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรประมงแบบบูณาการอย่างมีประสิทธิภาพ