ปัตตานี - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดสายด่วน 1377 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อตรวจสอบการกระทำเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และไกล่เกลี่ยเพื่อให้คู่กรณีทำความตกลงอย่างประนีประนอม
วันนี้ (30 พ.ค.) ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี ศาสตราจารย์ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วย นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ นายแพทย์ ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมแถลงข่าว เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการแถลงข่าวดังกล่าวได้เปิดตัว “สายด่วนร้องเรียน 1377 จังหวัดชายแดนภาคใต้” และ “การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้”
ศาสตราจารย์ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ เปิดเผยว่า กสม.ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น เพื่อตรวจสอบการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไกล่เกลี่ยเพื่อให้คู่กรณีทำความตกลงในการประนีประนอม หรือระงับข้อพิพาท แก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย หรือข้อบังคับต่อรัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรี และประสานงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและระบบการชดเชย การเยียวยา และนโยบายด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่ออำนวยความยุติธรรม
ศาสตราจารย์ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิด “สายด่วน 1377 จังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นอีกช่องทางหนึ่งให้ประชาชนที่ประสบปัญหาได้แจ้งข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ที่ถูกละเมิดหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรม โดยกลไกการตรวจสอบจะดำเนินการผ่านพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่ง กสม.ได้แต่งตั้งขึ้นในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ด้าน นายแพทย์ ชูชัย ศุภวงศ์ กล่าวว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้กำหนดให้เป็นพื้นที่สำคัญในยุทธศาสตร์ของ กสม. ที่จะดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส ที่ กสม.แต่งตั้งขึ้น ที่เป็นคนในพื้นที่ จะทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่มีการกระทำ หรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส และช่วยเหลือการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่มีผู้ร้องเรียนหรือปรากฏเหตุการณ์ขึ้น เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ใน กสม.โดยคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะลงพื้นที่ทุกเดือน
นอกจากนี้ นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ ได้กล่าวตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวกรณีความน่าเชื่อถือของการทำหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจาก กสม.ซึ่งเป็นกลไกที่ กสม.ใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริม ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งตอบสนองความเร่งด่วนของปัญหาในพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที
วันนี้ (30 พ.ค.) ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี ศาสตราจารย์ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พร้อมด้วย นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ นายแพทย์ ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมแถลงข่าว เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการแถลงข่าวดังกล่าวได้เปิดตัว “สายด่วนร้องเรียน 1377 จังหวัดชายแดนภาคใต้” และ “การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้”
ศาสตราจารย์ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ เปิดเผยว่า กสม.ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น เพื่อตรวจสอบการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไกล่เกลี่ยเพื่อให้คู่กรณีทำความตกลงในการประนีประนอม หรือระงับข้อพิพาท แก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎหมาย หรือข้อบังคับต่อรัฐสภา หรือคณะรัฐมนตรี และประสานงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและระบบการชดเชย การเยียวยา และนโยบายด้านนิติวิทยาศาสตร์เพื่ออำนวยความยุติธรรม
ศาสตราจารย์ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิด “สายด่วน 1377 จังหวัดชายแดนภาคใต้” เป็นอีกช่องทางหนึ่งให้ประชาชนที่ประสบปัญหาได้แจ้งข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ที่ถูกละเมิดหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรม โดยกลไกการตรวจสอบจะดำเนินการผ่านพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่ง กสม.ได้แต่งตั้งขึ้นในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ด้าน นายแพทย์ ชูชัย ศุภวงศ์ กล่าวว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้กำหนดให้เป็นพื้นที่สำคัญในยุทธศาสตร์ของ กสม. ที่จะดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส ที่ กสม.แต่งตั้งขึ้น ที่เป็นคนในพื้นที่ จะทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนกรณีที่มีการกระทำ หรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส และช่วยเหลือการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่มีผู้ร้องเรียนหรือปรากฏเหตุการณ์ขึ้น เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ใน กสม.โดยคณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จะลงพื้นที่ทุกเดือน
นอกจากนี้ นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ ได้กล่าวตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าวกรณีความน่าเชื่อถือของการทำหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจาก กสม.ซึ่งเป็นกลไกที่ กสม.ใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริม ปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งตอบสนองความเร่งด่วนของปัญหาในพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที