สุราษฎร์ธานี - “คณะทำงานติดตามแผนพัฒนาภาคใต้” เชิญชวนประชาชนร่วมตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเวทีชี้แจงและรับฟังความคิดเห็น “โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง” อังคารที่ 26 เม.ย.นี้ เผย “นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ” กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร จะนั่งหัวโต๊ะเป็นประธานการประชุมด้วยตัวเอง
คณะทำงานติดตามแผนพัฒนาภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี แจ้งว่า สืบเนื่องจากกรณีที่สำนักงานก่อสร้าง 10 สำนักงานโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ได้ขออนุมัติเปิดโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง ประกอบด้วยการก่อสร้างสถานีสูบน้ำ คลองส่งน้ำสายหลักมีความกว้างถึง 45-55 เมตร เป็นระยะทางเกือบ 40 กิโลเมตรและคลองซอยความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร ฯลฯ โดยใช้งบประมาณไทยเข้มแข็งในการดำเนินกว่า 3,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในนามเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง และองค์กรภาคี ได้รวมตัวกันคัดค้านโครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโครงการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายในหลายด้าน ประกอบด้วย
1.ส่งผลกระทบโดยตรงทำให้ชาวบ้านสูญเสียที่ดินทำกินเนื่องจากการก่อสร้างคลองกว่า 3,000 ไร่ มีผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงกว่า 1,000 ราย
2.สภาพน้ำท่วมครั้งล่าสุดมีความรุนแรงอยู่แล้ว หากมีการก่อสร้างคลองส่งน้ำความกว้าง 25-55 เมตร ระยะทางเกือบ 40 กิโลเมตร ซึ่งต้องยกคันคูสูงขึ้นจากพื้น คันคูดังกล่าวจะกลายเป็นเขื่อนขวางทางน้ำทำให้น้ำท่วมขังตามแนวคลองส่งน้ำรุนแรงยิ่งขึ้น และสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรมเนื่องจากน้ำท่วมขัง
3.โครงการดังกล่าวลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท แต่โครงการส่งน้ำไปใช้ประโยชน์ได้เพียงแค่ 4 เดือนเท่านั้น และบางปีแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์เลย ดังนั้นจึงเป็นการนำเงินภาษีของประชาชนไปใช้อย่างไม่คุ้มค่า
4.โครงการดังกล่าวไม่ได้ทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ทำให้ขาดข้อมูลในการประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำจืดไปเลี้ยงระบบนิเวศชายฝั่ง โดยเฉพาะในฤดูแล้ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบตามมาอีกหลายด้าน เช่น น้ำเค็มรุกล้ำสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่เกษตรกรรม และระบบประปาของเทศบาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัญหาน้ำเน่าเสียเนื่องจากขาดน้ำจืดไปผลักดันน้ำเสีย (ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการประมงเพาะเลี้ยงชายฝั่ง เช่น ปลาในกระชัง) ความเค็มเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อสังคมป่าชายเลนอ่าวบ้านดอน เป็นต้น
ดังนั้น ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ใช่ผลกระทบที่เกิดกับคนพุมดวงเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบต่อผู้คนมากมายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงเป็นภาระหน้าที่ที่คนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ควรได้รับทราบข้อมูลและร่วมกันติดตามตรวจสอบโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบที่คาดไม่ถึงในอนาคต
ทั้งนี้ ในวันที่ 26 เมษายน 2554 นี้ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมีบทบาทหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของจากส่วนราชการและประชาชนที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวงดังกล่าวขึ้น ณ วัดยางงาม ตำบลหนองไทร อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เวลา 08.30-16.00 น.ขึ้น โดยคาดว่าจะมีชาวบ้านและผู้ได้รับผลกระทบเข้าร่วมกว่า 300 คน
คณะทำงานติดตามแผนพัฒนาภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี แจ้งว่า สืบเนื่องจากกรณีที่สำนักงานก่อสร้าง 10 สำนักงานโครงการขนาดใหญ่ กรมชลประทาน ได้ขออนุมัติเปิดโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง ประกอบด้วยการก่อสร้างสถานีสูบน้ำ คลองส่งน้ำสายหลักมีความกว้างถึง 45-55 เมตร เป็นระยะทางเกือบ 40 กิโลเมตรและคลองซอยความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร ฯลฯ โดยใช้งบประมาณไทยเข้มแข็งในการดำเนินกว่า 3,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ ชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในนามเครือข่ายพิทักษ์ลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง และองค์กรภาคี ได้รวมตัวกันคัดค้านโครงการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโครงการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายในหลายด้าน ประกอบด้วย
1.ส่งผลกระทบโดยตรงทำให้ชาวบ้านสูญเสียที่ดินทำกินเนื่องจากการก่อสร้างคลองกว่า 3,000 ไร่ มีผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงกว่า 1,000 ราย
2.สภาพน้ำท่วมครั้งล่าสุดมีความรุนแรงอยู่แล้ว หากมีการก่อสร้างคลองส่งน้ำความกว้าง 25-55 เมตร ระยะทางเกือบ 40 กิโลเมตร ซึ่งต้องยกคันคูสูงขึ้นจากพื้น คันคูดังกล่าวจะกลายเป็นเขื่อนขวางทางน้ำทำให้น้ำท่วมขังตามแนวคลองส่งน้ำรุนแรงยิ่งขึ้น และสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เกษตรกรรมเนื่องจากน้ำท่วมขัง
3.โครงการดังกล่าวลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท แต่โครงการส่งน้ำไปใช้ประโยชน์ได้เพียงแค่ 4 เดือนเท่านั้น และบางปีแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์เลย ดังนั้นจึงเป็นการนำเงินภาษีของประชาชนไปใช้อย่างไม่คุ้มค่า
4.โครงการดังกล่าวไม่ได้ทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ทำให้ขาดข้อมูลในการประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำจืดไปเลี้ยงระบบนิเวศชายฝั่ง โดยเฉพาะในฤดูแล้ง ซึ่งอาจส่งผลกระทบตามมาอีกหลายด้าน เช่น น้ำเค็มรุกล้ำสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่เกษตรกรรม และระบบประปาของเทศบาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัญหาน้ำเน่าเสียเนื่องจากขาดน้ำจืดไปผลักดันน้ำเสีย (ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการประมงเพาะเลี้ยงชายฝั่ง เช่น ปลาในกระชัง) ความเค็มเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อสังคมป่าชายเลนอ่าวบ้านดอน เป็นต้น
ดังนั้น ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่ใช่ผลกระทบที่เกิดกับคนพุมดวงเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบต่อผู้คนมากมายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงเป็นภาระหน้าที่ที่คนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ควรได้รับทราบข้อมูลและร่วมกันติดตามตรวจสอบโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบที่คาดไม่ถึงในอนาคต
ทั้งนี้ ในวันที่ 26 เมษายน 2554 นี้ นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมีบทบาทหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของจากส่วนราชการและประชาชนที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุมดวงดังกล่าวขึ้น ณ วัดยางงาม ตำบลหนองไทร อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เวลา 08.30-16.00 น.ขึ้น โดยคาดว่าจะมีชาวบ้านและผู้ได้รับผลกระทบเข้าร่วมกว่า 300 คน