“วิทเยนทร์” ยันไม่สองมาตรฐาน “อ.สิชล-นบพิตำ” ดูแลเท่าเทียมกัน เผยกังวล “สุราษฎร์” ขาดน้ำดื่ม เร่งระดม “รถผลิตน้ำ-ภาชนะใส่น้ำ 100,000 ขวด” ช่วยเหลือ กรมอุตุฯเตือน 8-12 เม.ย.หย่อมความกดอากาศสูงจากจีน เคลื่อนเข้าไทยอีกระลอก เตือนภาคใต้ระวังอุทกภัยซ้ำเติม
วันนี้ (7 เม.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิทเยนทร์ มุตตามระ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย (ศชอ.) แถลงภายหลังการประชุมเพื่อรับทราบรายงานสถานการณ์อุทกภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า การประชุมในวันนี้ได้รับทราบสถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ ว่า ขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายลง ฝนตกน้อยลงกว่าเดิมมาก ยกเว้นบางพื้นที่ เช่น อ.นบพิตำ และ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ยังต้องเร่งช่วยเหลือเยียวยา เพราะพื้นที่บริเวณนั้นยังเข้าถึงลำบาก แม้ว่าจะเริ่มเข้าถึงได้แล้วแต่การเดินทางยังลำบากอยู่ เพราะสะพานขาดหลายสาย ซึ่งก็ได้เร่งเยียวยา ส่วนพื้นที่ที่สถานการณ์ยังหนักอยู่ คือ ที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เพราะยังมีน้ำไหลลงมาจากหลายพื้นที่ ขณะเดียวกัน ที่พุนพิน ก็มีปัญหาเรื่องการผลิตน้ำประปา เพราะไม่สามารถผลิตน้ำประปามาได้สัปดาห์เศษ ตอนนี้ จ.สุราษฎร์ธานี จึงมีปัญหาการขาดน้ำ โดยเฉพาะเรื่องน้ำสะอาดและน้ำดื่ม
นายวิทเยนทร์ กล่าวว่า ที่ประชุม ศชอ.วันนี้จึงขอให้ทุกหน่วยงานเร่งระดมเครื่องมือ หรือรถที่ใช้ในการผลิตน้ำสะอาด อาทิ กองบัญชาการกองทัพไทย กรมทรัพยากรน้ำ กรมน้ำบาดาล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้เคลื่อนย้ายเครื่องผลิตน้ำจากจุดต่างๆ ให้ไปบริการที่ จ.สุราษฎร์ธานี โดยคาดว่า วันนี้ และพรุ่งนี้จะมีรถผลิตน้ำเข้าไปติดตั้งรวม 16 เครื่อง ขณะเดียวกัน ก็ได้เร่งระดมของบริจาค ซึ่งประชาชนได้บริจาคผ่านหน่วยงานต่างๆ ในเรื่องของน้ำดื่ม ภาชนะบรรจุน้ำให้ส่งไปทางใต้ ซึ่งไทยก็ได้เริ่มทยอยส่งลงไป 100,000 ขวด เพื่อให้ประชาชนนำภาชนะบรรจุน้ำดังกล่าวไปขอรับน้ำสะอาดที่ผลิต ส่วนสถานการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ตั้งแต่วันที่ 8-12 เม.ย.จะมีหย่อมความกดอากาศสูงเคลื่อนตัวมาจากประเทศจีน แต่จะไม่มีกำลังแรงเท่ากับครั้งที่แล้ว ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในภาคเหนือ และภาคอีสาน และอาจจะเกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ รวมทั้งภาคใต้ด้วย จึงขอเตือนประชาชนที่อยู่ทางภาคใต้ว่าไม่ควรประมาท เพราะการที่ฝนตกลงมาอีกจะทำให้เกิดการสะสมจึงต้องระมัดระวัง
นายวิทเยนทร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ 5 จังหวัดที่มีการเฝ้าระวังก็ยังคงต้องระวังอยู่ โดยเฉพาะพื้นที่เชิงเขาบางพื้นที่ยังมีน้ำไหลลงมาเรื่อยๆ และปริมาณดินที่สะสมอยู่ก็มีผลกระทบมาก สำหรับตัวเลขบ้านที่เสียหายทั้งหลังทุกจังหวัดรวมกันคาดว่าไม่เกิน 500 หลัง โดย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธาน ศชอ.ก็พยายามเร่งไปดำเนินการหาทางปลูกบ้านทดแทนให้ ส่วนกรณีการรับบริจาคเงินจากหน่วยงานต่างๆ เมื่อผู้บริจาคมีความจำนงจะบริจาคก็จะโทร.แจ้งเข้ามา ซึ่งอาจจะใช้เวลาในบางคนก็ 2-3 วัน บางคนก็เป็นสัปดาห์กว่าจะมีการโอนเงินเข้ามา โดยเจ้าหน้าที่ก็จะรับแจ้งเบอร์ไว้ และเจ้าหน้าที่กองคลัง หรือสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีก็จะคอยเช็กยอดอยู่ตลอด และจะรายงานให้ประธานศูนย์ทราบ ส่วนเรื่องถุงยังชีพนั้นขณะนี้ประชาชนก็ได้รับอย่างทั่วถึง ตอนนี้คงเป็นเรื่องของการเยียวยา เรื่องของน้ำดื่มรวมทั้งภาชนะซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดแคลนในขณะนี้
สำหรับกรณีที่ประชาชน อ.สิชล ไม่พอใจการดูแลที่ไม่ทั่วถึงของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่ามุ่งดูแลแต่ อ.นบพิตำ นั้น นายวิทเยนทร์ กล่าวว่า เวลาที่เราคุยกันในศูนย์เราก็จะพูดถึงทั้งสองอำเภอ เพราะสถานการณ์คล้ายกันในเรื่องการเข้าถึงที่ยากลำบาก เราก็พยายามนำทุกพาหนะที่สามารถเข้าถึงได้ไป และขณะนี้ก็เข้าถึงพื้นที่แล้ว ส่วนเรื่องของสนามบินขณะนี้ก็สามารถเปิดได้ตามปกติแล้ว ซึ่งรายละเอียดก็อยู่ที่สายการบิน และการจัดตารางการบิน สำหรับเส้นทางคมนาคมน้ำก็เริ่มลดลงเรื่อยๆ แต่ที่ยังหนักอยู่ คือ ที่ อ.พุนพิน
วันนี้ (7 เม.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิทเยนทร์ มุตตามระ รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย (ศชอ.) แถลงภายหลังการประชุมเพื่อรับทราบรายงานสถานการณ์อุทกภัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า การประชุมในวันนี้ได้รับทราบสถานการณ์อุทกภัยในภาคใต้ ว่า ขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายลง ฝนตกน้อยลงกว่าเดิมมาก ยกเว้นบางพื้นที่ เช่น อ.นบพิตำ และ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ยังต้องเร่งช่วยเหลือเยียวยา เพราะพื้นที่บริเวณนั้นยังเข้าถึงลำบาก แม้ว่าจะเริ่มเข้าถึงได้แล้วแต่การเดินทางยังลำบากอยู่ เพราะสะพานขาดหลายสาย ซึ่งก็ได้เร่งเยียวยา ส่วนพื้นที่ที่สถานการณ์ยังหนักอยู่ คือ ที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เพราะยังมีน้ำไหลลงมาจากหลายพื้นที่ ขณะเดียวกัน ที่พุนพิน ก็มีปัญหาเรื่องการผลิตน้ำประปา เพราะไม่สามารถผลิตน้ำประปามาได้สัปดาห์เศษ ตอนนี้ จ.สุราษฎร์ธานี จึงมีปัญหาการขาดน้ำ โดยเฉพาะเรื่องน้ำสะอาดและน้ำดื่ม
นายวิทเยนทร์ กล่าวว่า ที่ประชุม ศชอ.วันนี้จึงขอให้ทุกหน่วยงานเร่งระดมเครื่องมือ หรือรถที่ใช้ในการผลิตน้ำสะอาด อาทิ กองบัญชาการกองทัพไทย กรมทรัพยากรน้ำ กรมน้ำบาดาล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้เคลื่อนย้ายเครื่องผลิตน้ำจากจุดต่างๆ ให้ไปบริการที่ จ.สุราษฎร์ธานี โดยคาดว่า วันนี้ และพรุ่งนี้จะมีรถผลิตน้ำเข้าไปติดตั้งรวม 16 เครื่อง ขณะเดียวกัน ก็ได้เร่งระดมของบริจาค ซึ่งประชาชนได้บริจาคผ่านหน่วยงานต่างๆ ในเรื่องของน้ำดื่ม ภาชนะบรรจุน้ำให้ส่งไปทางใต้ ซึ่งไทยก็ได้เริ่มทยอยส่งลงไป 100,000 ขวด เพื่อให้ประชาชนนำภาชนะบรรจุน้ำดังกล่าวไปขอรับน้ำสะอาดที่ผลิต ส่วนสถานการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า ตั้งแต่วันที่ 8-12 เม.ย.จะมีหย่อมความกดอากาศสูงเคลื่อนตัวมาจากประเทศจีน แต่จะไม่มีกำลังแรงเท่ากับครั้งที่แล้ว ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในภาคเหนือ และภาคอีสาน และอาจจะเกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ รวมทั้งภาคใต้ด้วย จึงขอเตือนประชาชนที่อยู่ทางภาคใต้ว่าไม่ควรประมาท เพราะการที่ฝนตกลงมาอีกจะทำให้เกิดการสะสมจึงต้องระมัดระวัง
นายวิทเยนทร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ 5 จังหวัดที่มีการเฝ้าระวังก็ยังคงต้องระวังอยู่ โดยเฉพาะพื้นที่เชิงเขาบางพื้นที่ยังมีน้ำไหลลงมาเรื่อยๆ และปริมาณดินที่สะสมอยู่ก็มีผลกระทบมาก สำหรับตัวเลขบ้านที่เสียหายทั้งหลังทุกจังหวัดรวมกันคาดว่าไม่เกิน 500 หลัง โดย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธาน ศชอ.ก็พยายามเร่งไปดำเนินการหาทางปลูกบ้านทดแทนให้ ส่วนกรณีการรับบริจาคเงินจากหน่วยงานต่างๆ เมื่อผู้บริจาคมีความจำนงจะบริจาคก็จะโทร.แจ้งเข้ามา ซึ่งอาจจะใช้เวลาในบางคนก็ 2-3 วัน บางคนก็เป็นสัปดาห์กว่าจะมีการโอนเงินเข้ามา โดยเจ้าหน้าที่ก็จะรับแจ้งเบอร์ไว้ และเจ้าหน้าที่กองคลัง หรือสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีก็จะคอยเช็กยอดอยู่ตลอด และจะรายงานให้ประธานศูนย์ทราบ ส่วนเรื่องถุงยังชีพนั้นขณะนี้ประชาชนก็ได้รับอย่างทั่วถึง ตอนนี้คงเป็นเรื่องของการเยียวยา เรื่องของน้ำดื่มรวมทั้งภาชนะซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดแคลนในขณะนี้
สำหรับกรณีที่ประชาชน อ.สิชล ไม่พอใจการดูแลที่ไม่ทั่วถึงของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่ามุ่งดูแลแต่ อ.นบพิตำ นั้น นายวิทเยนทร์ กล่าวว่า เวลาที่เราคุยกันในศูนย์เราก็จะพูดถึงทั้งสองอำเภอ เพราะสถานการณ์คล้ายกันในเรื่องการเข้าถึงที่ยากลำบาก เราก็พยายามนำทุกพาหนะที่สามารถเข้าถึงได้ไป และขณะนี้ก็เข้าถึงพื้นที่แล้ว ส่วนเรื่องของสนามบินขณะนี้ก็สามารถเปิดได้ตามปกติแล้ว ซึ่งรายละเอียดก็อยู่ที่สายการบิน และการจัดตารางการบิน สำหรับเส้นทางคมนาคมน้ำก็เริ่มลดลงเรื่อยๆ แต่ที่ยังหนักอยู่ คือ ที่ อ.พุนพิน