ปัตตานี - นักวิชาการมุสลิมภาคใต้ อัดรัฐบาลเลือกแนวทางบางเรื่องที่ตัวเองชอบเอามาใช้ โดยไม่ได้คำนึงถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก แนะควรเปิดพื้นที่ให้เพื่อนบ้านอาเซียนเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรสากลเข้ามาเก็บข้อมูลในพื้นที่มากกว่า 10 องค์กร
นักวิชาการมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ มองว่า ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้นับวันนับยิ่งยากในการที่จะยุติปัญหาได้ เพราะรัฐบาลยังมองว่าปัญหาเป็นเพียงปัญหาภายใน ขณะเดียวกันในพื้นที่ได้มีองค์กรระหว่างประเทศ หรือองค์กรสากล ได้เข้ามารับทราบปัญหาและมาเก็บข้อมูลในพื้นที่มากกว่า 10 องค์กร เพราะองค์กรเหล่านี่ล่วงรู้ปัญหาความขัดแย้งของสังคมที่นี้มีมานานมาแล้ว และพร้อมที่จะยื่นมือช่วยหาทางออกให้กับประเทศไทยโดยเฉพาะกับคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นอกจากนั้น ในพื้นที่ยังต้องเสี่ยงกับปัญหาความไม่สงบในโลกตะวันออกกลาง เพราะนับวันปัญหาเหล่านั้นยิ่งใกล้เข้ามาทุกที่ เนื่องจากในพื้นที่ยังคงมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มติดอาวุธพร้อมที่จะก่อเหตุได้ทุกเมื่อ หลังจากที่ได้มีการฝึกกำลังเข้มทั้งในพื้นที่จังหวัดยะลา นราธิวาสและส่วนหนึ่งได้ฝึกเข้มในประเทศเพื่อนบ้าน โดยโครงสร้างในภาครวมปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ปัจจุบันได้กลับมาเหมือนในยุคสมัยการจับอาวุธต่อสู้ของกลุ่มอุดมการณ์ของกลุ่มโจรเปาะเยะ เมื่อ 50 ปี ที่แล้ว
นายอัฮ์หมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักวิชาการอิสระปัตตานี กล่าวว่า รัฐบาลไทยควรสร้างมิตรที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านมากกว่าที่เราจะมองเขาในแง่ที่ไม่ดี เว้นแต่เรามีหลักฐาน โดยเฉพาะอย่างประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ก็ดี ล้วนแต่เป็นเพื่อนบ้านที่ดี โดยเฉพาะพี่น้องในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับทุนการศึกษาให้กับคนในพื้นที่มาตลอด ต้องยอมรับว่าการที่มีการไปฝึกใช้อาวุธนั้นก็เป็นเพียงการเรียนวิชาทหาร ก็เหมือนกับการเรียนวิชาทหาร(รด.)บ้านเรา แต่ไม่ได้ไปฝึกอาวุธเพื่อการก่อเหตุในพื้นที่ แต่ถ้ามีคงในรูปการแอบใช้พื้นที่มากกว่าซึ่งรัฐบาลประเทศเหล่านั้นเองคงไม่รู้
ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัด กินเวลานานมาก และยังไม่รู้ทิศทางของการยุติปัญหาได้เลย มีหลายประเทศในกลุ่มชาติอาเชี่ยนที่ได้เสนอตัวเป็นคนกลางทำหน้าที่ประสานเจรจาหรือหาทางออกเพื่อให้ภูมิภาคแห่งนี้สงบกันเสียที แต่จนถึงวันนี้รัฐบาลเองยังคงไม่ยอมเปิดพื้นที่ให้เลยแล้วยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ความไม่สงบในพื้นที่เป็นเพียงปัญหาภายในรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาตัวเองได้ ซึ่งล่วงเลยไปถึง 7 ปีแล้วปัญหาความไม่สงบยังเกิดมาเป็นระยะๆ และทุกครั้งยิ่งรุนแรงกว่าที่ผ่านมาหลายเท่า
นอกจากนั้น นายอัฮ์หมัดสมบูรณ์ ยังได้กล่าวอีกว่า นับเป็นเรื่องที่ดีถ้าสามารถทำให้นโยบายของแม่ทัพภาคที่ 4 เกิดเป็นรูปธรรมได้ โดยที่ทางแม่ทัพภาคที่ 4 ที่มีแนวคิดที่จะให้คนที่ออกนอกพื้นที่ ได้กลับมายังภูมิลำเนาของตัวเอง การทำให้เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติตามกฎหมายกับคนในพื้นที่ด้วยความเป็นธรรม และการเปิดพื้นที่ให้กับคนที่มีความคิดต่างจากรัฐ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความตึงเครียดของปัญหาในพื้นที่ในระดับหนึ่ง
ด้านนายนิเดร์ วาบา นายกสามาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลประชาธิปัตย์ล้มเหลว เพราะไม่สามารถสนองแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตามที่คณะทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการเลือกใช้หรือเลือกแนวทางบางเรื่องที่ตัวเองชอบเอามาใช้ โดยไม่ได้คำนึงถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก
โดยเฉพาะกรณีการใช้วิธีเลือกตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา ศอ.บต.ที่ผ่านมายิ่งสร้างให้เกิดความแตกแยกในระหว่างองค์กรกันเอง แทนที่เป็นการหาแนวทางหาจุดรวมขององค์กรต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อร่วมกันหาทางออกในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบพื้นที่
“ผมเองต้องยอมรับว่า การเลือกตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา ศอ.บต.ในครั้งนี้เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือขององค์กรได้เป็นอย่างนี้ ซึ่งที่ผ่านมาผมเองต้องใช้เวลานานมากกว่าที่องค์กรจะสามารถยืนได้ แต่ต้องพังแค่นโยบายของรัฐบาล ที่แสดงถึงความไม่จริงใจกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่” นายนิเดร์ กล่าวและว่า
นอกจากนั้น การสรรหา ส.ว.ที่ผ่านมา ก็ไม่ปรากฏตัวแทนของผู้นำศาสนา หรือมุสลิมในพื้นที่ได้เข้ามาแม้สักที่นั่งเดียว ยิ่งทำให้เห็นว่าท่าทีของรัฐบาลประชาธิปัตย์นั้นต่อคนในพื้นที่ 3 จังหวัดนี้เป็นอย่างไร จึงทำให้อดคิดถึงความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่อีกระลอก โดยลำพังเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ในพื้นที่คงจะต้านทานไม่อยู่ เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ได้เพิ่งเสร็จจากการฝึกเข้มในพื้นที่ จ.นราธิวาส ยะลา และในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเตรียมการก่อเหตุในระลอกใหม่นี้
ส่วนจะเกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่นั้น คงไม่มีใครกล้ายืนยันได้ แต่มันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้และเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ สำคัญอยู่ที่ว่ารัฐมีความจริงใจและมีความจริงจังกับพี่น้องใน 3 จังหวัดหรือไม่ ไม่ใช่คิดเป็นเพียงแนวทางสร้างเขาให้แตกแยก แล้วเรามาปกครอง นี่คือความหมายของการไม่จริงใจใช่หรือไม่
นักวิชาการมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ มองว่า ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้นับวันนับยิ่งยากในการที่จะยุติปัญหาได้ เพราะรัฐบาลยังมองว่าปัญหาเป็นเพียงปัญหาภายใน ขณะเดียวกันในพื้นที่ได้มีองค์กรระหว่างประเทศ หรือองค์กรสากล ได้เข้ามารับทราบปัญหาและมาเก็บข้อมูลในพื้นที่มากกว่า 10 องค์กร เพราะองค์กรเหล่านี่ล่วงรู้ปัญหาความขัดแย้งของสังคมที่นี้มีมานานมาแล้ว และพร้อมที่จะยื่นมือช่วยหาทางออกให้กับประเทศไทยโดยเฉพาะกับคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นอกจากนั้น ในพื้นที่ยังต้องเสี่ยงกับปัญหาความไม่สงบในโลกตะวันออกกลาง เพราะนับวันปัญหาเหล่านั้นยิ่งใกล้เข้ามาทุกที่ เนื่องจากในพื้นที่ยังคงมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มติดอาวุธพร้อมที่จะก่อเหตุได้ทุกเมื่อ หลังจากที่ได้มีการฝึกกำลังเข้มทั้งในพื้นที่จังหวัดยะลา นราธิวาสและส่วนหนึ่งได้ฝึกเข้มในประเทศเพื่อนบ้าน โดยโครงสร้างในภาครวมปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ปัจจุบันได้กลับมาเหมือนในยุคสมัยการจับอาวุธต่อสู้ของกลุ่มอุดมการณ์ของกลุ่มโจรเปาะเยะ เมื่อ 50 ปี ที่แล้ว
นายอัฮ์หมัดสมบูรณ์ บัวหลวง นักวิชาการอิสระปัตตานี กล่าวว่า รัฐบาลไทยควรสร้างมิตรที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้านมากกว่าที่เราจะมองเขาในแง่ที่ไม่ดี เว้นแต่เรามีหลักฐาน โดยเฉพาะอย่างประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ก็ดี ล้วนแต่เป็นเพื่อนบ้านที่ดี โดยเฉพาะพี่น้องในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับทุนการศึกษาให้กับคนในพื้นที่มาตลอด ต้องยอมรับว่าการที่มีการไปฝึกใช้อาวุธนั้นก็เป็นเพียงการเรียนวิชาทหาร ก็เหมือนกับการเรียนวิชาทหาร(รด.)บ้านเรา แต่ไม่ได้ไปฝึกอาวุธเพื่อการก่อเหตุในพื้นที่ แต่ถ้ามีคงในรูปการแอบใช้พื้นที่มากกว่าซึ่งรัฐบาลประเทศเหล่านั้นเองคงไม่รู้
ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัด กินเวลานานมาก และยังไม่รู้ทิศทางของการยุติปัญหาได้เลย มีหลายประเทศในกลุ่มชาติอาเชี่ยนที่ได้เสนอตัวเป็นคนกลางทำหน้าที่ประสานเจรจาหรือหาทางออกเพื่อให้ภูมิภาคแห่งนี้สงบกันเสียที แต่จนถึงวันนี้รัฐบาลเองยังคงไม่ยอมเปิดพื้นที่ให้เลยแล้วยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า ความไม่สงบในพื้นที่เป็นเพียงปัญหาภายในรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาตัวเองได้ ซึ่งล่วงเลยไปถึง 7 ปีแล้วปัญหาความไม่สงบยังเกิดมาเป็นระยะๆ และทุกครั้งยิ่งรุนแรงกว่าที่ผ่านมาหลายเท่า
นอกจากนั้น นายอัฮ์หมัดสมบูรณ์ ยังได้กล่าวอีกว่า นับเป็นเรื่องที่ดีถ้าสามารถทำให้นโยบายของแม่ทัพภาคที่ 4 เกิดเป็นรูปธรรมได้ โดยที่ทางแม่ทัพภาคที่ 4 ที่มีแนวคิดที่จะให้คนที่ออกนอกพื้นที่ ได้กลับมายังภูมิลำเนาของตัวเอง การทำให้เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติตามกฎหมายกับคนในพื้นที่ด้วยความเป็นธรรม และการเปิดพื้นที่ให้กับคนที่มีความคิดต่างจากรัฐ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความตึงเครียดของปัญหาในพื้นที่ในระดับหนึ่ง
ด้านนายนิเดร์ วาบา นายกสามาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลประชาธิปัตย์ล้มเหลว เพราะไม่สามารถสนองแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตามที่คณะทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการเลือกใช้หรือเลือกแนวทางบางเรื่องที่ตัวเองชอบเอามาใช้ โดยไม่ได้คำนึงถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก
โดยเฉพาะกรณีการใช้วิธีเลือกตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา ศอ.บต.ที่ผ่านมายิ่งสร้างให้เกิดความแตกแยกในระหว่างองค์กรกันเอง แทนที่เป็นการหาแนวทางหาจุดรวมขององค์กรต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อร่วมกันหาทางออกในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบพื้นที่
“ผมเองต้องยอมรับว่า การเลือกตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา ศอ.บต.ในครั้งนี้เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือขององค์กรได้เป็นอย่างนี้ ซึ่งที่ผ่านมาผมเองต้องใช้เวลานานมากกว่าที่องค์กรจะสามารถยืนได้ แต่ต้องพังแค่นโยบายของรัฐบาล ที่แสดงถึงความไม่จริงใจกับการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่” นายนิเดร์ กล่าวและว่า
นอกจากนั้น การสรรหา ส.ว.ที่ผ่านมา ก็ไม่ปรากฏตัวแทนของผู้นำศาสนา หรือมุสลิมในพื้นที่ได้เข้ามาแม้สักที่นั่งเดียว ยิ่งทำให้เห็นว่าท่าทีของรัฐบาลประชาธิปัตย์นั้นต่อคนในพื้นที่ 3 จังหวัดนี้เป็นอย่างไร จึงทำให้อดคิดถึงความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่อีกระลอก โดยลำพังเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ในพื้นที่คงจะต้านทานไม่อยู่ เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ได้เพิ่งเสร็จจากการฝึกเข้มในพื้นที่ จ.นราธิวาส ยะลา และในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเตรียมการก่อเหตุในระลอกใหม่นี้
ส่วนจะเกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่นั้น คงไม่มีใครกล้ายืนยันได้ แต่มันเป็นเรื่องที่เป็นไปได้และเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ สำคัญอยู่ที่ว่ารัฐมีความจริงใจและมีความจริงจังกับพี่น้องใน 3 จังหวัดหรือไม่ ไม่ใช่คิดเป็นเพียงแนวทางสร้างเขาให้แตกแยก แล้วเรามาปกครอง นี่คือความหมายของการไม่จริงใจใช่หรือไม่