นครศรีธรรมราช - ภาครัฐยังคงเร่งเปิดเส้นทางสัญจรที่ยังถูกตัดขาด ขณะที่ยังมีอีกหลายหมู่บ้านใน อ.สิชล ที่ยังส่งความช่วยเหลือไม่ถึง จนต้องว่าจ้างเครื่องจักรกลเข้ามาเคลียร์เส้นทาง เพื่อให้ออกสู่โลกภายนอก และรับความช่วยเหลืออื่นๆ ได้สะดวก ด้านนักวิชการเตือนชาวบ้านต้องเรียนรู้และพึ่งพาตัวเองต่อธรรมชาติที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะที่สิชล และนบพิตำ ซึ่งสัณฐานของเปลือกโลกเปลี่ยนไป ดินบนภูเขาไม่มีความแข็งแรง พร้อมจะถล่มลงมาได้อีกแม้ว่าฝนจะตกไม่หนักก็ตาม
วันนี้ (6 เม.ย.) ความคืบหน้าในการฟื้นฟูเส้นทางสัญจร และการกู้ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช กรมการทหารช่างกองทัพบก และกองพันทหารช่างจากกองทัพภาคที่ 1 ถึง 4 ได้ระดมกำลังคนเครื่องกลหนักเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
โดยได้เร่งเชื่อมเส้นทางที่ถูกตัดขาดนับสิบจุดบนถนนสายหลักจากบ้านนาเหรง ต.กะหรอ ไปยังพื้นที่ป่าเขา ผ่าน ต.นบพิตำ ต.กรุงชิง ไปได้แล้วกว่า 21 กม.ซึ่งยังเหลือระยะทางอีกราว 16 กม.ทำให้การสัญจรของชาวบ้าน และการให้การช่วยเหลือหมู่บ้านในชั้นในเป็นไปได้อย่างสะดวกมากขึ้น หลังจากนั้นจะเร่งแก้ไขในทางย่อยเข้าหมู่บ้านต่างๆ ทำให้เฮลิคอปเตอร์บินเข้าไปน้อยเที่ยวลง
ซึ่งล่าสุดนั้น ยังพบชาวบ้านที่อยู่ด้วยความยากลำบากอีก 4 หมู่บ้านต้องใช้การเดินเท้าผ่านทะเลโคลนออกมาเพื่อขอความช่วยเหลือ คือ หมู่ที่ 3, 6, 7, 8 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ ทหารช่างต้องเร่งเข้าเปิดทางสัญจรอย่างเร่งด่วนเพื่อเร่งเข้าให้การช่วยเหลือประชาชนหลายสิบครัวเรือนที่ยังได้รับความช่วยเหลือไม่ทั่วถึง
นายเดชา กังสะนันท์ ปลัดจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะผอ.กองอำนวยการร่วม และศูนย์อพยพ อ.นบพิตำ เปิดเผยว่า ในหมู่บ้านดังกล่าวนั้นต้องใช้เฮลิคอปเตอร์เข้าไปหย่อนเสบียง และอพยพคนออกมาด้วยการโรยตัวลงไปรับขึ้นมาบนเฮลิคอปเตอร์ แต่ยังมีชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งที่เป็นห่วงทรัพย์สินไม่ยอมออกมา การช่วยเหลือในขณะนี้พยายามกำหนดเฉพาะจุดแล้วกระจายออกไปให้มากที่สุด และยังยาวไปถึงบ้านสำนักเนียนในเขตพื้นที่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ด้วย
“ส่วนการพยายามเปิดเส้นทางทั้งหมดในขณะนี้ เราเดินทางพื้นราบไปได้แล้ว 2 ช่วงจาก 4 ช่วง ถึงบ้านปากลง ยังเหลือเส้นทางที่ต้องฟื้นฟูอีกราว 16.7 กม.แต่ยังเดินทางด้วยความยากลำบากต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น และยังเป็นห่วงต้องแก้ไขกันอีก คือ เรื่องสะพานแบริ่งที่รับน้ำหนักได้เพียง 18 ตัน แต่เครื่องจักรกลต้องเข้าไปนั้นมีน้ำหนักมากกว่า ต้องหาวิธีการกันต่อไปจะลุยข้ามคลองก็ไม่ได้เนื่องจากน้ำยังลึกและเชี่ยว หลังจากนั้นระบบไฟฟ้าจะตามเข้าไป จุดที่เป็นสะพานได้เร่งประสานระดมสะพานแบริ่งเข้าทำการติดตั้ง การช่วยเหลือในทุกระบบจะได้ง่ายกว่านี้”
ชาวสิชลลงขันจ้างเครื่องจักรกรุยช่วยเหลือหมู่บ้านโลกลืม
ส่วนที่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ชาวบ้านใน ต.เทพราช รายหนึ่ง เปิดเผยว่า ในพื้นที่นั้นเต็มไปด้วยความยากลำบาก ดูเหมือนว่าการช่วยเหลือทุกอย่างจะเข้าไปที่นบพิตำทั้งหมด ทั้งๆที่ใน สิชล มีสภาพหนักหนาสาหัสไม่แพ้กัน ดินถล่มใส่หมู่บ้านจำนวนมากบ้านพัง เรือกสวนราบเป็นหน้ากลอง ถนนหนทางถูกตัดขาดยังไม่มีหน่วยงานใดที่เร่งจะเปิดเส้นทางให้กับประชาชนได้สัญจรกันเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก่อน ชาวบ้านต้องลงขันด้วยความยากลำบากว่าจ้างเครื่องจักรกลเข้ามากรุยทางเพื่อให้เปิดการสัญจรไปมาหาสู่ผ่อนคลายความทุกข์กันไปได้บ้าง
ขณะที่ นายวิลาศ สุวรรณ กำนันตำบลฉลอง อ.สิชล เปิดเผยว่า ชาวบ้านได้ลงขันว่าจ้างเครื่องจักรมาเปิดทางชั่วคราวพอให้ได้สัญจรกันตามอัตภาพ เป็นการบรรเทาทุกข์แก้ปัญหากันในเบื้องต้นก่อน สิ่งที่ห่วงมากในขณะนี้ คือ การแก้ปัญหาระยะยางชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทำสวนมาเมื่อนับสิบปีที่แล้ว มาจนถึงวันนี้เขาต้องการพักผ่อนในช่วงบั้นปลายชีวิต เหมือนกับการนับหนึ่งมาจนถึง 9 แล้วต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ บางคนท้อแท้สิ้นหวังมีปัญหาความเครียดอย่างหนัก
“พื้นที่การเกษตรยางพารา สวนผลไม้ที่ให้ผลมาเป็นเวลากว่า10 ปีแล้วสูญหายไปกับทะเลโคลนนับกว่า 600 ไร่ ที่เหลืออยู่ คือ โคลน อีก 3 ปียังไม่สามารถปลูกอะไรต่อไปได้ โดยเฉพาะพื้นที่ริมคลองท่าทนพังยับเยินยังไม่รู้อนาคตชีวิตอีกจำนวนมากเพราะสิ้นเนื้อประดาตัว” กำนันตำบลฉลอง กล่าว
นางอวยพร บุญพรหมชาว ม.15 ต.เทพราช อ.สิชล เปิดเผยว่า ในพื้นที่ ม.15 มีบ้านเรือนอยู่กว่า 40 หลังพังอย่างสิ้นเชิงถึง 31 หลัง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ติดอยู่ในหมู่บ้านกว่า 100 คัน พื้นที่ ม.15 อยู่ตอนในสุดของตำบลในพื้นที่ป่าเขาขอความช่วยหลือในเรื่องของการเปิดเส้นทาง และอยากอพยพออกจากพื้นที่ เพราะเต็มไปด้วยหินไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกแล้ว อาหารเพียงพอแล้วและที่สำคัญช่วยเปิดทางเพื่อที่จะได้นำรถออกมาสัญจรหาความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆในพื้นที่ได้ ตอนนี้ลำบากอย่างมาก
ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านสิชลเตรียมขึ้นป้าย “รับสมัครนายอำเภอ”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ อ.สิชล นั้น แท้จริงแล้วขณะนี้ไม่มีนายอำเภออยู่ หลังว่างมานานกว่า 6 เดือน เนื่องจากหลังจากมีการเกษียณอายุราชการไปเมื่อเดือนตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยมี นายพงษ์ศักดิ์ ตรึกตรอง ปลัดอำเภอ ปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 53 จนมาถึงปัจจุบัน โดยยังไม่มีการแต่งตั้งนายอำเภอมาทำหน้าที่ ซึ่งส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติในเขต อ.สิชล เป็นไปได้อย่างไม่สะดวก เนื่องจากการทำหน้าที่ของนายพงษ์ศักดิ์อยู่ในฐานะปฏิบัติราชการแทนเท่านั้น จึงติดขัดในบางเรื่องส่งผลให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ ไม่ดีเท่าที่ควร
ในเรื่องนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน นำโดย นายสมหมาย เชิงศิลป์ ในฐานะประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอสิชล ได้หารือกับสมาชิกและเห็นพ้องกันว่า ควรจัดทำป้ายรับสมัครนายอำเภอ และนำไปติดไว้เพื่อต้อนรับนายสุเทพเทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่จะเดินทางลงพื้นที่ ต.เขาน้อย อ.สิชล ในวันพรุ่งนี้ (7 เม.ย.) โดยมีข้อความว่า “ประกาศรับสมัครนายอำเภอสิชล เนื่องจากตำแหน่งว่างมาเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว กรมการปกครองยังไม่แต่งตั้งผู้ใดมาดำรงตำแหน่ง ทำให้การตัดสินใจในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างลำบาก ประชาชนเดือดร้อน จึงขอประกาศรับสมัครนายอำเภอสิชลอย่างเร่งด่วน ใครสนใจสามารถสมัครได้ ณ.ที่ทำการชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอสิชล” ข้อความระบุ
สำหรับเหตุผลในการขึ้นป้ายดังกล่าวนั้น นายสมหมาย ระบุว่า เพื่อแสดงให้รองนายกรัฐมนตรีเห็นว่า อำเภอนี้ว่างเว้นนายอำเภอในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้ เผื่อมีใครสนใจมาสมัครจะได้ช่วยกันแก้ปัยหาชาวบ้านนั่นเอง
นักวิชาการเตือนต่อไปนบพิตำ-สิชล เป็นพื้นที่สุดอันตราย
พล.ต.ดร.นพรัตน์ เศรษฐกุล อาจารย์ประจำสำนักวิศวกรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญปฐพีธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า ได้เข้าไปสำรวจในพื้นที่พร้อมกับชาวบ้าน พื้นที่แนวเทือกเขาหลวงที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นในย่านนี้ เป็นพื้นที่มีผิวหน้าผุกร่อนมาก มีแนวลาดชันมาก 50-60 องศา เมื่อมีน้ำฝนเข้ามามากจึงไถลลงมาพร้อมกับน้ำ ประกอบกับป่าธรรมชาติที่น้อยลง การปลูกพืชเชิงเดียวมากขึ้นเป็นสาเหตุหลักในความเสียหาย
“ทุกคนต้องตระหนักแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงผันผวนของภูมิอากาศโลกเป็นสัญญาณเตือนที่จะต้องปรับตัวพร้อมรับกับสถานการณ์ กรณีที่เกิดขึ้นในนครศรีธรรมราชเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในขณะนี้ ได้เข้าไปหาชุมชนพบว่ายังไม่มีความรู้พื้นฐานลักษณะทางธรณีที่ชุมชนอาศัยอยู่เลย ยังยึดอยู่กับปริมาณน้ำฝนเป็นหลัก เพียงแค่รู้ว่าเมื่อฝนตกมากต้องอพยพ ชุมชนควรรู้ในเรื่องธรณีวิทยาของพื้นที่ด้วย”
พล.ต.ดร.นพรัตน์ กล่าวต่อว่า ในพื้นที่นบพิตำเป็นพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด ฝนตกไม่มากยังสามารถเกิดเหตุได้ อย่างไปพึ่งพาส่วนกลางมาก เช่น ศูนย์เตือนภัยชาวบ้านบอกว่าเขาพยายามโทรแต่ไม่ติด เพราะฉะนั้นควรที่จะรู้เรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น เท่าที่ดูนั้นยังมีหลายจุดที่ไถลลงมาแต่ยังไม่สุดพร้อมที่จะเลื่อนไถลลงมาได้อีก พื้นที่หลายจุดลาดเอียงมากกว่า 60 องศามีฝนมาเสริมแม้ปริมาณไม่มากก็เกิดเหตุการณ์ได้ ไม่จำเป็นต้อง 100 มม.อีกแล้ว เนื่องจากการยึดเหนี่ยวของดินหลวมมาก ปัญหาหลังจากนี้มีอีกมากเพราะทุกอย่างเปลี่ยนไปหมดธารน้ำเปลี่ยนแปลง ธารเกิดใหม่ ระบบเกษตรกรรมในพื้นที่ถูกทำลาย ความหวาดผวาบาดแผลที่อยู่ในจิตใจของชาวบ้านและของชุมชน
ลุ่มน้ำปากพนังยังระบายน้ำได้ช้า-ท่วมขังเน่า
ส่วนในพื้นที่ 5 อำเภอของลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การระบายน้ำเป็นได้อย่างล่าช้า เนื่องจากน้ำท่วมขังในที่ลุ่มมากจากปริมาณน้ำมหาศาลถ่ายเทออกมาจากตัวจังหวัดชั้นในมากองอยู่ในพื้นที่ก่อนที่จะระบายลงสู่อ่าวไทย ทำการเน่าเสียของน้ำที่ท่วมขังเป็นเวลานานจากพืชทั้งหลายขยายวงกว้างมากขึ้น เจ้าหน้าที่ต้องเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำหลายจุดในการระบายน้ำลงสู่อ่าวไทยและเร่งฟื้นฟูพื้นที่ท่ามกลางความยากลำบากของประชาชนโดยเฉพาะความเสียหายของพืชผลและสัตว์เลี้ยง
ท่าอากาศยาน-รถไฟท้องถิ่นให้บริการแล้ว
และเมื่อเวลา 08.30 น.ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ได้เปิดอย่างเป็นทางการหลังจากต้องปิดทำการติดต่อกันเป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์ โดยเที่ยวบินแรกของนายการบินนกแอร์ในวันนี้ได้ร่อนลงจอดเมื่อเวลา 08.30 น.ก่อนที่จะรับผู้โดยบินกลับ กทม.
นายนิสิต สมบัติ ผอ.ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า หลังจากการตรวจสอบทุกระบบเมื่อวานนี้ (5 เม.ย.) ระบบพร้อม 100 เปอร์เซ็นต์ จึงแจ้งไปยังกรมการบินพาณิชย์ กรมการขนส่งทางอากาศ ถึงความพร้อมจึงอนุญาตให้มีการเดินอากาศได้ตามปกติ โดยมีมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งความเสียหายจากระบบและรายได้กว่า 40-50 ล้านบาท
ส่วนการเดินรถไฟนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงได้ออกตรวจซ่อมบำรุงทางทุกช่วงที่ได้รับความเสียหาย และระบบนิรภัยสัญญาณกั้นทางรถไฟอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถเปิดเดินรถขบวนรถทิ้องถิ่นแล้วแล้วตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา เป็นขบวนสายนครศรีธรรมราช-พัทลุง-ยะลา นครศรีธรรมราช-สุไหงโก-ลก ได้เท่านั้นส่วนขบวนนครศรีธรรมราช-กทม.ยังต้องรอการซ่อมบำรุงทางใน จ.สุราษฎร์ธานี แล้วเสร็จจึงจะเปิดเดินรถได้
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์เดินสายมอบของปลอบขวัญชาวบ้าน
นายดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและคณะได้เดินทางไปมอบถุงปลอบขวัญพระราชทาน แก่ผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอสิชล ต.ทุ่งปรัง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช
สำหรับพื้นที่อำเภอสิชล ประกอบด้วย 9 ตำบล 110 หมู่บ้าน ที่ผ่านมาได้ถูกน้ำท่วมอย่างหนัก บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 112 หลัง เสียหายบางส่วน 300 หลัง สูญหายทั้งบ้านและที่ดิน 13 หลัง พื้นที่ทำการเกษตรเสียหายนับหมื่นไร่ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 60,000 คน เสาไฟฟ้าเสียหายกว่า 300 ต้น จนถึงบัดนี้หลายพื้นที่ยังไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้
ในการนี้ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้พบปะพูดคุย โดยบอกกล่าวถึงความห่วงใยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีต่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม และมอบถุงปลอบขวัญพระราชทาน ซึ่งประกอบด้วย ข้าวสาร อาหารกระป๋อง น้ำมันพืช ขนม และพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้แก่ผู้ประสบภัยจำนวน 1,300 ชุด ประชาชนผู้เข้ารับความช่วยเหลือต่างรู้สึกปลื้มปีติและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นยิ่งนัก
ผวจ.นครศรีฯ ซึ้งธารน้ำใจคนไทยไหลลงพื้นที่ต่อเนื่อง
นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการช่วยเหลือจากประชาชนทั่วประเทศ และเมื่อเช้าวันนี้ชมรมชาวนครศรีธรรมราชในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำเงินสดจำนวน 171,600 บาทมามอบให้จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย และจากน้ำใจที่ส่งมาให้อย่างหลากหลายทำให้ผู้ประสบภัยมีกำลังใจที่ดีขึ้น ต้องขอกราบขอบคุณประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ทันทีที่สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติจะเร่งฟื้นฟู เพื่อให้จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นหนึ่งในพื้นที่เพื่อร่วมพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศต่อไป
ชาวบ้านสุดสลดพบขาคนติดอยู่ในโคลน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา ชาวบ้านได้พบชิ้นส่วนขามนุษย์อยู่ใน ม.3ต.นบพิตำ อ.นบพิตำ อยู่ในสภาพเริ่มเน่าเปื่อย จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบ พบว่าเป็นขาซ้าย เจ้าของขาดังกล่าวคือ นางสมใจ วโรรส อายุ 32 ปี ที่เสียชีวิตเมื่อช่วงเหตุการณ์ดินถล่มที่เกิดขึ้น โดยพบศพในสภาพที่ขาซ้ายขาดหายไปเข้าใจว่าเกิดจากแรงบดอัดของหินขนาดใหญ่จนขาขาด
หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จึงกู้ซากชิ้นส่วนดังกล่าวไปส่งมอบให้ญาติของนางสมใจ ที่กำลังบำเพ็ญกุศลศพของนางสมใจ พร้อมด้วยบุตรสาว คือ ด.ญ.เสาวลักษณ์ อายุ 12 ปี ที่พบศพในภายหลัง บำเพ็ญกุศลพร้อมกันอยู่ที่วัดใหม่ไทยเจริญ ต.นบพิตำ อ.นบพิตำ ด้วยการเปิดหีบศพและนำขาใส่กลับไปให้ท่ามกลางเสียงร่ำไห้ด้วยความเศร้าสลดของญาติและเจ้าหน้าที่
วันนี้ (6 เม.ย.) ความคืบหน้าในการฟื้นฟูเส้นทางสัญจร และการกู้ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.นบพิตำ จ.นครศรีธรรมราช กรมการทหารช่างกองทัพบก และกองพันทหารช่างจากกองทัพภาคที่ 1 ถึง 4 ได้ระดมกำลังคนเครื่องกลหนักเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
โดยได้เร่งเชื่อมเส้นทางที่ถูกตัดขาดนับสิบจุดบนถนนสายหลักจากบ้านนาเหรง ต.กะหรอ ไปยังพื้นที่ป่าเขา ผ่าน ต.นบพิตำ ต.กรุงชิง ไปได้แล้วกว่า 21 กม.ซึ่งยังเหลือระยะทางอีกราว 16 กม.ทำให้การสัญจรของชาวบ้าน และการให้การช่วยเหลือหมู่บ้านในชั้นในเป็นไปได้อย่างสะดวกมากขึ้น หลังจากนั้นจะเร่งแก้ไขในทางย่อยเข้าหมู่บ้านต่างๆ ทำให้เฮลิคอปเตอร์บินเข้าไปน้อยเที่ยวลง
ซึ่งล่าสุดนั้น ยังพบชาวบ้านที่อยู่ด้วยความยากลำบากอีก 4 หมู่บ้านต้องใช้การเดินเท้าผ่านทะเลโคลนออกมาเพื่อขอความช่วยเหลือ คือ หมู่ที่ 3, 6, 7, 8 ต.กรุงชิง อ.นบพิตำ ทหารช่างต้องเร่งเข้าเปิดทางสัญจรอย่างเร่งด่วนเพื่อเร่งเข้าให้การช่วยเหลือประชาชนหลายสิบครัวเรือนที่ยังได้รับความช่วยเหลือไม่ทั่วถึง
นายเดชา กังสะนันท์ ปลัดจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะผอ.กองอำนวยการร่วม และศูนย์อพยพ อ.นบพิตำ เปิดเผยว่า ในหมู่บ้านดังกล่าวนั้นต้องใช้เฮลิคอปเตอร์เข้าไปหย่อนเสบียง และอพยพคนออกมาด้วยการโรยตัวลงไปรับขึ้นมาบนเฮลิคอปเตอร์ แต่ยังมีชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งที่เป็นห่วงทรัพย์สินไม่ยอมออกมา การช่วยเหลือในขณะนี้พยายามกำหนดเฉพาะจุดแล้วกระจายออกไปให้มากที่สุด และยังยาวไปถึงบ้านสำนักเนียนในเขตพื้นที่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ด้วย
“ส่วนการพยายามเปิดเส้นทางทั้งหมดในขณะนี้ เราเดินทางพื้นราบไปได้แล้ว 2 ช่วงจาก 4 ช่วง ถึงบ้านปากลง ยังเหลือเส้นทางที่ต้องฟื้นฟูอีกราว 16.7 กม.แต่ยังเดินทางด้วยความยากลำบากต้องใช้รถขับเคลื่อน 4 ล้อเท่านั้น และยังเป็นห่วงต้องแก้ไขกันอีก คือ เรื่องสะพานแบริ่งที่รับน้ำหนักได้เพียง 18 ตัน แต่เครื่องจักรกลต้องเข้าไปนั้นมีน้ำหนักมากกว่า ต้องหาวิธีการกันต่อไปจะลุยข้ามคลองก็ไม่ได้เนื่องจากน้ำยังลึกและเชี่ยว หลังจากนั้นระบบไฟฟ้าจะตามเข้าไป จุดที่เป็นสะพานได้เร่งประสานระดมสะพานแบริ่งเข้าทำการติดตั้ง การช่วยเหลือในทุกระบบจะได้ง่ายกว่านี้”
ชาวสิชลลงขันจ้างเครื่องจักรกรุยช่วยเหลือหมู่บ้านโลกลืม
ส่วนที่ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ชาวบ้านใน ต.เทพราช รายหนึ่ง เปิดเผยว่า ในพื้นที่นั้นเต็มไปด้วยความยากลำบาก ดูเหมือนว่าการช่วยเหลือทุกอย่างจะเข้าไปที่นบพิตำทั้งหมด ทั้งๆที่ใน สิชล มีสภาพหนักหนาสาหัสไม่แพ้กัน ดินถล่มใส่หมู่บ้านจำนวนมากบ้านพัง เรือกสวนราบเป็นหน้ากลอง ถนนหนทางถูกตัดขาดยังไม่มีหน่วยงานใดที่เร่งจะเปิดเส้นทางให้กับประชาชนได้สัญจรกันเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก่อน ชาวบ้านต้องลงขันด้วยความยากลำบากว่าจ้างเครื่องจักรกลเข้ามากรุยทางเพื่อให้เปิดการสัญจรไปมาหาสู่ผ่อนคลายความทุกข์กันไปได้บ้าง
ขณะที่ นายวิลาศ สุวรรณ กำนันตำบลฉลอง อ.สิชล เปิดเผยว่า ชาวบ้านได้ลงขันว่าจ้างเครื่องจักรมาเปิดทางชั่วคราวพอให้ได้สัญจรกันตามอัตภาพ เป็นการบรรเทาทุกข์แก้ปัญหากันในเบื้องต้นก่อน สิ่งที่ห่วงมากในขณะนี้ คือ การแก้ปัญหาระยะยางชาวบ้านที่ประกอบอาชีพทำสวนมาเมื่อนับสิบปีที่แล้ว มาจนถึงวันนี้เขาต้องการพักผ่อนในช่วงบั้นปลายชีวิต เหมือนกับการนับหนึ่งมาจนถึง 9 แล้วต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ บางคนท้อแท้สิ้นหวังมีปัญหาความเครียดอย่างหนัก
“พื้นที่การเกษตรยางพารา สวนผลไม้ที่ให้ผลมาเป็นเวลากว่า10 ปีแล้วสูญหายไปกับทะเลโคลนนับกว่า 600 ไร่ ที่เหลืออยู่ คือ โคลน อีก 3 ปียังไม่สามารถปลูกอะไรต่อไปได้ โดยเฉพาะพื้นที่ริมคลองท่าทนพังยับเยินยังไม่รู้อนาคตชีวิตอีกจำนวนมากเพราะสิ้นเนื้อประดาตัว” กำนันตำบลฉลอง กล่าว
นางอวยพร บุญพรหมชาว ม.15 ต.เทพราช อ.สิชล เปิดเผยว่า ในพื้นที่ ม.15 มีบ้านเรือนอยู่กว่า 40 หลังพังอย่างสิ้นเชิงถึง 31 หลัง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ติดอยู่ในหมู่บ้านกว่า 100 คัน พื้นที่ ม.15 อยู่ตอนในสุดของตำบลในพื้นที่ป่าเขาขอความช่วยหลือในเรื่องของการเปิดเส้นทาง และอยากอพยพออกจากพื้นที่ เพราะเต็มไปด้วยหินไม่สามารถอยู่อาศัยได้อีกแล้ว อาหารเพียงพอแล้วและที่สำคัญช่วยเปิดทางเพื่อที่จะได้นำรถออกมาสัญจรหาความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆในพื้นที่ได้ ตอนนี้ลำบากอย่างมาก
ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านสิชลเตรียมขึ้นป้าย “รับสมัครนายอำเภอ”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ อ.สิชล นั้น แท้จริงแล้วขณะนี้ไม่มีนายอำเภออยู่ หลังว่างมานานกว่า 6 เดือน เนื่องจากหลังจากมีการเกษียณอายุราชการไปเมื่อเดือนตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยมี นายพงษ์ศักดิ์ ตรึกตรอง ปลัดอำเภอ ปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 53 จนมาถึงปัจจุบัน โดยยังไม่มีการแต่งตั้งนายอำเภอมาทำหน้าที่ ซึ่งส่งผลให้การปฏิบัติหน้าที่ในช่วงเหตุการณ์ภัยพิบัติในเขต อ.สิชล เป็นไปได้อย่างไม่สะดวก เนื่องจากการทำหน้าที่ของนายพงษ์ศักดิ์อยู่ในฐานะปฏิบัติราชการแทนเท่านั้น จึงติดขัดในบางเรื่องส่งผลให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ ไม่ดีเท่าที่ควร
ในเรื่องนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชมรมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน นำโดย นายสมหมาย เชิงศิลป์ ในฐานะประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอสิชล ได้หารือกับสมาชิกและเห็นพ้องกันว่า ควรจัดทำป้ายรับสมัครนายอำเภอ และนำไปติดไว้เพื่อต้อนรับนายสุเทพเทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่จะเดินทางลงพื้นที่ ต.เขาน้อย อ.สิชล ในวันพรุ่งนี้ (7 เม.ย.) โดยมีข้อความว่า “ประกาศรับสมัครนายอำเภอสิชล เนื่องจากตำแหน่งว่างมาเป็นเวลา 6 เดือนแล้ว กรมการปกครองยังไม่แต่งตั้งผู้ใดมาดำรงตำแหน่ง ทำให้การตัดสินใจในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นไปอย่างลำบาก ประชาชนเดือดร้อน จึงขอประกาศรับสมัครนายอำเภอสิชลอย่างเร่งด่วน ใครสนใจสามารถสมัครได้ ณ.ที่ทำการชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านอำเภอสิชล” ข้อความระบุ
สำหรับเหตุผลในการขึ้นป้ายดังกล่าวนั้น นายสมหมาย ระบุว่า เพื่อแสดงให้รองนายกรัฐมนตรีเห็นว่า อำเภอนี้ว่างเว้นนายอำเภอในสถานการณ์ฉุกเฉินเช่นนี้ เผื่อมีใครสนใจมาสมัครจะได้ช่วยกันแก้ปัยหาชาวบ้านนั่นเอง
นักวิชาการเตือนต่อไปนบพิตำ-สิชล เป็นพื้นที่สุดอันตราย
พล.ต.ดร.นพรัตน์ เศรษฐกุล อาจารย์ประจำสำนักวิศวกรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญปฐพีธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยว่า ได้เข้าไปสำรวจในพื้นที่พร้อมกับชาวบ้าน พื้นที่แนวเทือกเขาหลวงที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นในย่านนี้ เป็นพื้นที่มีผิวหน้าผุกร่อนมาก มีแนวลาดชันมาก 50-60 องศา เมื่อมีน้ำฝนเข้ามามากจึงไถลลงมาพร้อมกับน้ำ ประกอบกับป่าธรรมชาติที่น้อยลง การปลูกพืชเชิงเดียวมากขึ้นเป็นสาเหตุหลักในความเสียหาย
“ทุกคนต้องตระหนักแล้วว่าการเปลี่ยนแปลงผันผวนของภูมิอากาศโลกเป็นสัญญาณเตือนที่จะต้องปรับตัวพร้อมรับกับสถานการณ์ กรณีที่เกิดขึ้นในนครศรีธรรมราชเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดในขณะนี้ ได้เข้าไปหาชุมชนพบว่ายังไม่มีความรู้พื้นฐานลักษณะทางธรณีที่ชุมชนอาศัยอยู่เลย ยังยึดอยู่กับปริมาณน้ำฝนเป็นหลัก เพียงแค่รู้ว่าเมื่อฝนตกมากต้องอพยพ ชุมชนควรรู้ในเรื่องธรณีวิทยาของพื้นที่ด้วย”
พล.ต.ดร.นพรัตน์ กล่าวต่อว่า ในพื้นที่นบพิตำเป็นพื้นที่เสี่ยงมากที่สุด ฝนตกไม่มากยังสามารถเกิดเหตุได้ อย่างไปพึ่งพาส่วนกลางมาก เช่น ศูนย์เตือนภัยชาวบ้านบอกว่าเขาพยายามโทรแต่ไม่ติด เพราะฉะนั้นควรที่จะรู้เรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น เท่าที่ดูนั้นยังมีหลายจุดที่ไถลลงมาแต่ยังไม่สุดพร้อมที่จะเลื่อนไถลลงมาได้อีก พื้นที่หลายจุดลาดเอียงมากกว่า 60 องศามีฝนมาเสริมแม้ปริมาณไม่มากก็เกิดเหตุการณ์ได้ ไม่จำเป็นต้อง 100 มม.อีกแล้ว เนื่องจากการยึดเหนี่ยวของดินหลวมมาก ปัญหาหลังจากนี้มีอีกมากเพราะทุกอย่างเปลี่ยนไปหมดธารน้ำเปลี่ยนแปลง ธารเกิดใหม่ ระบบเกษตรกรรมในพื้นที่ถูกทำลาย ความหวาดผวาบาดแผลที่อยู่ในจิตใจของชาวบ้านและของชุมชน
ลุ่มน้ำปากพนังยังระบายน้ำได้ช้า-ท่วมขังเน่า
ส่วนในพื้นที่ 5 อำเภอของลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การระบายน้ำเป็นได้อย่างล่าช้า เนื่องจากน้ำท่วมขังในที่ลุ่มมากจากปริมาณน้ำมหาศาลถ่ายเทออกมาจากตัวจังหวัดชั้นในมากองอยู่ในพื้นที่ก่อนที่จะระบายลงสู่อ่าวไทย ทำการเน่าเสียของน้ำที่ท่วมขังเป็นเวลานานจากพืชทั้งหลายขยายวงกว้างมากขึ้น เจ้าหน้าที่ต้องเร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำหลายจุดในการระบายน้ำลงสู่อ่าวไทยและเร่งฟื้นฟูพื้นที่ท่ามกลางความยากลำบากของประชาชนโดยเฉพาะความเสียหายของพืชผลและสัตว์เลี้ยง
ท่าอากาศยาน-รถไฟท้องถิ่นให้บริการแล้ว
และเมื่อเวลา 08.30 น.ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ได้เปิดอย่างเป็นทางการหลังจากต้องปิดทำการติดต่อกันเป็นเวลากว่า 1 สัปดาห์ โดยเที่ยวบินแรกของนายการบินนกแอร์ในวันนี้ได้ร่อนลงจอดเมื่อเวลา 08.30 น.ก่อนที่จะรับผู้โดยบินกลับ กทม.
นายนิสิต สมบัติ ผอ.ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า หลังจากการตรวจสอบทุกระบบเมื่อวานนี้ (5 เม.ย.) ระบบพร้อม 100 เปอร์เซ็นต์ จึงแจ้งไปยังกรมการบินพาณิชย์ กรมการขนส่งทางอากาศ ถึงความพร้อมจึงอนุญาตให้มีการเดินอากาศได้ตามปกติ โดยมีมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งความเสียหายจากระบบและรายได้กว่า 40-50 ล้านบาท
ส่วนการเดินรถไฟนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงได้ออกตรวจซ่อมบำรุงทางทุกช่วงที่ได้รับความเสียหาย และระบบนิรภัยสัญญาณกั้นทางรถไฟอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถเปิดเดินรถขบวนรถทิ้องถิ่นแล้วแล้วตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา เป็นขบวนสายนครศรีธรรมราช-พัทลุง-ยะลา นครศรีธรรมราช-สุไหงโก-ลก ได้เท่านั้นส่วนขบวนนครศรีธรรมราช-กทม.ยังต้องรอการซ่อมบำรุงทางใน จ.สุราษฎร์ธานี แล้วเสร็จจึงจะเปิดเดินรถได้
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์เดินสายมอบของปลอบขวัญชาวบ้าน
นายดิสธร วัชโรทัย ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและคณะได้เดินทางไปมอบถุงปลอบขวัญพระราชทาน แก่ผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วม ที่ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอสิชล ต.ทุ่งปรัง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช
สำหรับพื้นที่อำเภอสิชล ประกอบด้วย 9 ตำบล 110 หมู่บ้าน ที่ผ่านมาได้ถูกน้ำท่วมอย่างหนัก บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 112 หลัง เสียหายบางส่วน 300 หลัง สูญหายทั้งบ้านและที่ดิน 13 หลัง พื้นที่ทำการเกษตรเสียหายนับหมื่นไร่ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 60,000 คน เสาไฟฟ้าเสียหายกว่า 300 ต้น จนถึงบัดนี้หลายพื้นที่ยังไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้
ในการนี้ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้พบปะพูดคุย โดยบอกกล่าวถึงความห่วงใยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีต่อผู้ประสบภัยน้ำท่วม และมอบถุงปลอบขวัญพระราชทาน ซึ่งประกอบด้วย ข้าวสาร อาหารกระป๋อง น้ำมันพืช ขนม และพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้แก่ผู้ประสบภัยจำนวน 1,300 ชุด ประชาชนผู้เข้ารับความช่วยเหลือต่างรู้สึกปลื้มปีติและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณเป็นยิ่งนัก
ผวจ.นครศรีฯ ซึ้งธารน้ำใจคนไทยไหลลงพื้นที่ต่อเนื่อง
นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยในครั้งนี้ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการช่วยเหลือจากประชาชนทั่วประเทศ และเมื่อเช้าวันนี้ชมรมชาวนครศรีธรรมราชในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้นำเงินสดจำนวน 171,600 บาทมามอบให้จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย และจากน้ำใจที่ส่งมาให้อย่างหลากหลายทำให้ผู้ประสบภัยมีกำลังใจที่ดีขึ้น ต้องขอกราบขอบคุณประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ทันทีที่สถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติจะเร่งฟื้นฟู เพื่อให้จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นหนึ่งในพื้นที่เพื่อร่วมพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศต่อไป
ชาวบ้านสุดสลดพบขาคนติดอยู่ในโคลน
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา ชาวบ้านได้พบชิ้นส่วนขามนุษย์อยู่ใน ม.3ต.นบพิตำ อ.นบพิตำ อยู่ในสภาพเริ่มเน่าเปื่อย จึงแจ้งให้เจ้าหน้าที่เข้าทำการตรวจสอบ พบว่าเป็นขาซ้าย เจ้าของขาดังกล่าวคือ นางสมใจ วโรรส อายุ 32 ปี ที่เสียชีวิตเมื่อช่วงเหตุการณ์ดินถล่มที่เกิดขึ้น โดยพบศพในสภาพที่ขาซ้ายขาดหายไปเข้าใจว่าเกิดจากแรงบดอัดของหินขนาดใหญ่จนขาขาด
หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จึงกู้ซากชิ้นส่วนดังกล่าวไปส่งมอบให้ญาติของนางสมใจ ที่กำลังบำเพ็ญกุศลศพของนางสมใจ พร้อมด้วยบุตรสาว คือ ด.ญ.เสาวลักษณ์ อายุ 12 ปี ที่พบศพในภายหลัง บำเพ็ญกุศลพร้อมกันอยู่ที่วัดใหม่ไทยเจริญ ต.นบพิตำ อ.นบพิตำ ด้วยการเปิดหีบศพและนำขาใส่กลับไปให้ท่ามกลางเสียงร่ำไห้ด้วยความเศร้าสลดของญาติและเจ้าหน้าที่