นครศรีธรรมราช - คณะทำงานไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่นครศรีธรรมราช ยังเดินหน้าขนคนเที่ยวเมืองเหนือ ชาวตำบลท่าขึ้น เมินร่วมเผยทำแค่บรรลุโครงการพาดูงานคนหน้าซ้ำเที่ยวสนุก นักวิชาการสับวิธีคิดแบบโบราณ สวนทางอุตสาหกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ภายหลังจากประชาชนที่ต่อต้านการเข้ามาของโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ซึ่งดำเนินการโดย กฟผ.ได้มีการยื่นคำขาดให้ กฟผ.ย้ายคณะทำงานและสำนักงานออกจากพื้นที่ อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา ภายในวันที่ 15 มี.ค.โดยไม่มีข้อแม้และให้ยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้ง 2 พื้นที่ทันที
ล่าสุดวันนี้ (10 มี.ค.) แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องรายหนึ่งเปิดเผยว่า จนถึงปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน กฟผ.ยังคงทำงานต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ชาวบ้านที่คัดค้านมองว่าเป็นการท้าทาย กิจกรรมหลายอย่างของ กฟผ.ยังคงดำเนินต่อไปขณะเดียวกันการระดมคนของ กฟผ.เพื่อไปศึกษาดูงานนั้นยังคงมีต่อไป โดยในวันที่ 22 มี.ค.จะมีการพาชาวไปดูงานในพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปางและ โรงไฟฟ้ามาบตาพุด จ.ระยอง
“ตรงนี้แสดงให้เห็นถึงเจตานาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ที่ต้องการแค่พาคนไปให้ได้เท่านั้น โดยไม่ได้สนใจสิ่งใดทำเพียงแค่ให้บรรลุโครงการพาคนไปเที่ยว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือรอบนี้ชาว ต.ท่าขึ้น ไม่มีการเดินทางไปกับคณะเลย กลับมีเพียงแค่ชาว ต.สระแก้ว ซึ่งอยู่พื้นที่ติดกัน บางคนไม่ไปด้วยทำให้ที่ว่างคนที่ไปแล้วจะไปเที่ยวอีกก็ไม่มีใครว่า ขอเพียงแค่ได้จัดไปทำนั้นนี่เป็นส่วนหนึ่งที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไม่คำนึงถึง ทำให้การทำงานด้านมวลชนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในพื้นที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง” แหล่งข่าวรายนี้กล่าว
ดร.เลิศชาย ศิริชัย นักวิชาการสำนักวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า เชื่อว่าหลังจากนี้ กฟผ.จะไม่ออกจากพื้นที่ไปโดยง่าย อาจทำงานต่อไปแบบเงียบๆ พอมวลชนต่อต้านอ่อนตัวลงเขาจะรุกแยกคนออกมาด้วยการสนับสนุนทุนตรงนั้น แจกตรงนี้ โดยจะเริ่มเข้มมาจากรอบนอกแล้วสร้างมติกดดันให้คนในพื้นที่เสียงอ่อนลง เป็นกลยุทธที่รอเวลาได้ไม่จำเป็นต้องสร้างใน 1-2 ปีนี้
“ผมคิดว่า กฟผ.จะมาใช้วิธีแบบเก่าๆ คือคิดแล้วทำโดยไม่ได้สนใจสิ่งแวดล้อมไม่ได้สนใจชาวบ้าน คิดโครงการแล้วมาทำวิธีนี้แบบเก่ามากใช้ในสมัยนี้ไม่ได้แล้ว หลังจากนี้หาก กฟผ.ยังไม่ออกไปจะมีการสร้างความขัดแย้งที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เขาจะให้ชาวบ้านที่ต้านนั้นต้านกันต่อไป ทุกอย่างเป็นวิธีคิดแบบเดิมที่ไม่ได้สนใจอุตสาหกรรมในยุคใหม่ที่จะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพึ่งพาอาศัยกัน โลกปัจจุบันเขาพูดถึงเรื่องนี้กันแล้ว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตยังคิดแค่บนดินกับใต้ดิน” ดร.เลิศชายกล่าว
ภายหลังจากประชาชนที่ต่อต้านการเข้ามาของโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน ซึ่งดำเนินการโดย กฟผ.ได้มีการยื่นคำขาดให้ กฟผ.ย้ายคณะทำงานและสำนักงานออกจากพื้นที่ อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา ภายในวันที่ 15 มี.ค.โดยไม่มีข้อแม้และให้ยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้ง 2 พื้นที่ทันที
ล่าสุดวันนี้ (10 มี.ค.) แหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องรายหนึ่งเปิดเผยว่า จนถึงปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน กฟผ.ยังคงทำงานต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ซึ่งทำให้ชาวบ้านที่คัดค้านมองว่าเป็นการท้าทาย กิจกรรมหลายอย่างของ กฟผ.ยังคงดำเนินต่อไปขณะเดียวกันการระดมคนของ กฟผ.เพื่อไปศึกษาดูงานนั้นยังคงมีต่อไป โดยในวันที่ 22 มี.ค.จะมีการพาชาวไปดูงานในพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปางและ โรงไฟฟ้ามาบตาพุด จ.ระยอง
“ตรงนี้แสดงให้เห็นถึงเจตานาของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ที่ต้องการแค่พาคนไปให้ได้เท่านั้น โดยไม่ได้สนใจสิ่งใดทำเพียงแค่ให้บรรลุโครงการพาคนไปเที่ยว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือรอบนี้ชาว ต.ท่าขึ้น ไม่มีการเดินทางไปกับคณะเลย กลับมีเพียงแค่ชาว ต.สระแก้ว ซึ่งอยู่พื้นที่ติดกัน บางคนไม่ไปด้วยทำให้ที่ว่างคนที่ไปแล้วจะไปเที่ยวอีกก็ไม่มีใครว่า ขอเพียงแค่ได้จัดไปทำนั้นนี่เป็นส่วนหนึ่งที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตไม่คำนึงถึง ทำให้การทำงานด้านมวลชนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในพื้นที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง” แหล่งข่าวรายนี้กล่าว
ดร.เลิศชาย ศิริชัย นักวิชาการสำนักวิชาศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า เชื่อว่าหลังจากนี้ กฟผ.จะไม่ออกจากพื้นที่ไปโดยง่าย อาจทำงานต่อไปแบบเงียบๆ พอมวลชนต่อต้านอ่อนตัวลงเขาจะรุกแยกคนออกมาด้วยการสนับสนุนทุนตรงนั้น แจกตรงนี้ โดยจะเริ่มเข้มมาจากรอบนอกแล้วสร้างมติกดดันให้คนในพื้นที่เสียงอ่อนลง เป็นกลยุทธที่รอเวลาได้ไม่จำเป็นต้องสร้างใน 1-2 ปีนี้
“ผมคิดว่า กฟผ.จะมาใช้วิธีแบบเก่าๆ คือคิดแล้วทำโดยไม่ได้สนใจสิ่งแวดล้อมไม่ได้สนใจชาวบ้าน คิดโครงการแล้วมาทำวิธีนี้แบบเก่ามากใช้ในสมัยนี้ไม่ได้แล้ว หลังจากนี้หาก กฟผ.ยังไม่ออกไปจะมีการสร้างความขัดแย้งที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เขาจะให้ชาวบ้านที่ต้านนั้นต้านกันต่อไป ทุกอย่างเป็นวิธีคิดแบบเดิมที่ไม่ได้สนใจอุตสาหกรรมในยุคใหม่ที่จะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพึ่งพาอาศัยกัน โลกปัจจุบันเขาพูดถึงเรื่องนี้กันแล้ว การไฟฟ้าฝ่ายผลิตยังคิดแค่บนดินกับใต้ดิน” ดร.เลิศชายกล่าว