นครศรีธรรมราช - ผู้บริหาร กฟผ.เตรียมเปลี่ยนคณะทำงานประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.นครศรีธรรมราชยกชุด หลังใช้เงินกว่า 10 ล้านรุกหนักทุกรูปแบบแต่ล้มเหลวไม่เป็นท่า แถมยังถูกชาวบ้านต่อต้านหนัก ถึงกับขีดเส้นตายเก็บข้าวของภายใน 15 มี.ค.นี้ ด้านเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลาเตรียมเปิดเวทีสาธารณะเชิญทุกภาคส่วนถกก่อนผนึกไล่กฟผ. พ้นจ.นครศรีธรรมราช
กรณีการคัดค้านต่อต้านการเข้ามาของโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ซึ่งได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการไปตามแผนงานของ กฟผ.ใน 2 อำเภอ คือ อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา โดยทั้ง 2 พื้นที่นั้นได้มีการเตรียมที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นจุดละ 1 โรงขนาด 800 เมกะวัตต์ แต่ กฟผ.ได้แจ้งสวนทางกับการติดตามข้อมูลของกลุ่มนักวิชาการ เครือข่ายชาวบ้าน และชุมชนอาชีพต่างๆว่าเป็นการลงพื้นที่เพื่อการประชาสัมพันธ์ข้อมูล และให้ความรู้ตามแผนงาน 7 ขั้นตอนเท่านั้นยังไม่ได้ตัดสินใจในการเลือกพื้นที่แต่อย่างใด
ขณะเดียวกัน ประชาชนจำนวนมากได้แสดงออกถึงการคัดค้านและยื่นคำขาดล่าสุดให้ กฟผ.ยุติโครงการทันที และให้โครงการออกจากพื้นที่ภายในวันที่ 15 มี.ค.2554 โดยได้มีการยื่นหนังสือดังกล่าวถึงนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมาแล้วด้วย
สำหรับความคืบหน้าล่าสุด นายสมิง พิพัฒนานนท์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 ต.หน้าสตน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช แกนนำประชาชนในพื้นที่ อ.หัวไทร เปิดเผยว่า ในส่วนของสำนักงานพื้นที่ อ.หัวไทร ของกฟผ. ปิดประตูเงียบ แต่เข้าใจว่าคงมีการทำงานกันภายใน ชาวบ้านที่คัดค้านไม่มีใครไปยุ่งเกี่ยวใดๆ เนื่องจากเราได้มีการยื่นหนังสือไปกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยมีเนื้อหาเดียวกัน คือ วันที่ 15 มี.ค.2554 โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินต้องยุติและออกจากพื้นที่ไปเช่นเดียวกับ อ.ท่าศาลา
“กฟผ.ทำงานไม่มีอะไรคืบหน้า ทำได้แค่พาชาวบ้านไปเที่ยว โดยระยะนี้จะเกณฑ์ชาวบ้านแถบ ต.หัวไทร ต.เขาพังไกร ซึ่งเป็นแถบทำนาข้าวไปเที่ยวเชียงใหม่ เห็นที่กลับมาก็เงียบบอกได้เพียงว่าไปเที่ยวเชียงใหม่กันเท่านั้น ไม่ได้มีผลดีผลเสียอะไรแต่ชาวบ้านได้ไปเที่ยวกันฟรีๆ”
นายสมิง กล่าวต่อว่า ขณะนี้กระบวนการคัดค้านเป็นไปในรูปแบบเดียวกันแล้ว โดยผนึกกำลังทั้งหมดทั้งท่าศาลาและหัวไทร และเชิญชวนชาวนครศรีธรรมราช เข้าร่วมแสดงเจตนาในการต่อต้านคัดค้านโรงไฟฟ้าแห่งนี้ด้วยกัน
ด้าน นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว แกนนำเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา เปิดเผยว่าภาพรวมในขณะนี้ไม่ได้มีการแยกกันต่อต้านคัดค้านแล้ว เราผนึกกันเป็นหนึ่งเดียว ประสานกันเป็นเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง โดยในวันที่ 10 มี.ค. จะมีการเปิดเวทีสาธารณะกัน โดยมีการเชิญผู้ว่าฯ กฟผ. รัฐมนตรีพลังงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยกัน และในวันที่ 15 มี.ค. หาก กฟผ.ยังไม่ยุติโครงการนั้น จะมีการกำหนดมาตรการเข้ากดดัน ซึ่งขณะนี้มีการเตรียมไว้เรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่ขอเปิดเผย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า มีรายงานจากแหล่งข่าวภายใน กฟผ.ว่า กระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ กฟผ.ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ผู้บริหารระดับสูงได้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ตลอดจนถึงปฏิกิริยาของมวลชนในพื้นที่ มีแนวโน้มว่าการต่อต้านคัดค้านจะมีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และล่าสุด เมื่อ 1-2 วันที่ผ่านมา ได้มีการประชุมหารือในระหว่างผู้บริหารระดับสูง และมีความเห็นพ้องว่าควรที่จะเปลี่ยนคณะทำงาน กฟผ.ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ทั้งชุด ซึ่งอาจมีความชัดเจนภายใน 1-2 สัปดาห์นี้
กรณีการคัดค้านต่อต้านการเข้ามาของโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ซึ่งได้ลงพื้นที่ดำเนินโครงการไปตามแผนงานของ กฟผ.ใน 2 อำเภอ คือ อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา โดยทั้ง 2 พื้นที่นั้นได้มีการเตรียมที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นจุดละ 1 โรงขนาด 800 เมกะวัตต์ แต่ กฟผ.ได้แจ้งสวนทางกับการติดตามข้อมูลของกลุ่มนักวิชาการ เครือข่ายชาวบ้าน และชุมชนอาชีพต่างๆว่าเป็นการลงพื้นที่เพื่อการประชาสัมพันธ์ข้อมูล และให้ความรู้ตามแผนงาน 7 ขั้นตอนเท่านั้นยังไม่ได้ตัดสินใจในการเลือกพื้นที่แต่อย่างใด
ขณะเดียวกัน ประชาชนจำนวนมากได้แสดงออกถึงการคัดค้านและยื่นคำขาดล่าสุดให้ กฟผ.ยุติโครงการทันที และให้โครงการออกจากพื้นที่ภายในวันที่ 15 มี.ค.2554 โดยได้มีการยื่นหนังสือดังกล่าวถึงนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มี.ค.ที่ผ่านมาแล้วด้วย
สำหรับความคืบหน้าล่าสุด นายสมิง พิพัฒนานนท์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 ต.หน้าสตน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช แกนนำประชาชนในพื้นที่ อ.หัวไทร เปิดเผยว่า ในส่วนของสำนักงานพื้นที่ อ.หัวไทร ของกฟผ. ปิดประตูเงียบ แต่เข้าใจว่าคงมีการทำงานกันภายใน ชาวบ้านที่คัดค้านไม่มีใครไปยุ่งเกี่ยวใดๆ เนื่องจากเราได้มีการยื่นหนังสือไปกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยมีเนื้อหาเดียวกัน คือ วันที่ 15 มี.ค.2554 โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินต้องยุติและออกจากพื้นที่ไปเช่นเดียวกับ อ.ท่าศาลา
“กฟผ.ทำงานไม่มีอะไรคืบหน้า ทำได้แค่พาชาวบ้านไปเที่ยว โดยระยะนี้จะเกณฑ์ชาวบ้านแถบ ต.หัวไทร ต.เขาพังไกร ซึ่งเป็นแถบทำนาข้าวไปเที่ยวเชียงใหม่ เห็นที่กลับมาก็เงียบบอกได้เพียงว่าไปเที่ยวเชียงใหม่กันเท่านั้น ไม่ได้มีผลดีผลเสียอะไรแต่ชาวบ้านได้ไปเที่ยวกันฟรีๆ”
นายสมิง กล่าวต่อว่า ขณะนี้กระบวนการคัดค้านเป็นไปในรูปแบบเดียวกันแล้ว โดยผนึกกำลังทั้งหมดทั้งท่าศาลาและหัวไทร และเชิญชวนชาวนครศรีธรรมราช เข้าร่วมแสดงเจตนาในการต่อต้านคัดค้านโรงไฟฟ้าแห่งนี้ด้วยกัน
ด้าน นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว แกนนำเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา เปิดเผยว่าภาพรวมในขณะนี้ไม่ได้มีการแยกกันต่อต้านคัดค้านแล้ว เราผนึกกันเป็นหนึ่งเดียว ประสานกันเป็นเครือข่ายที่มีความเข้มแข็ง โดยในวันที่ 10 มี.ค. จะมีการเปิดเวทีสาธารณะกัน โดยมีการเชิญผู้ว่าฯ กฟผ. รัฐมนตรีพลังงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยกัน และในวันที่ 15 มี.ค. หาก กฟผ.ยังไม่ยุติโครงการนั้น จะมีการกำหนดมาตรการเข้ากดดัน ซึ่งขณะนี้มีการเตรียมไว้เรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่ขอเปิดเผย
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า มีรายงานจากแหล่งข่าวภายใน กฟผ.ว่า กระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ กฟผ.ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ผู้บริหารระดับสูงได้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ตลอดจนถึงปฏิกิริยาของมวลชนในพื้นที่ มีแนวโน้มว่าการต่อต้านคัดค้านจะมีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และล่าสุด เมื่อ 1-2 วันที่ผ่านมา ได้มีการประชุมหารือในระหว่างผู้บริหารระดับสูง และมีความเห็นพ้องว่าควรที่จะเปลี่ยนคณะทำงาน กฟผ.ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ทั้งชุด ซึ่งอาจมีความชัดเจนภายใน 1-2 สัปดาห์นี้