นครศรีธรรมราช - ชาวนครศรีธรรมราช เตรียมผนึกกำลัง 15 มี.ค.ประกาศชัดไล่โรงไฟฟ้าถ่านหิน ขีดเส้นตายถึงเที่ยงคืนหากไม่ถอนสำนักงาน ยุติโครงการ เจอมาตรการเด็ดขาด ขณะที่รองผู้ว่าการกฟผ.ยังยันลงพื้นที่แค่ให้ความรู้ทำความเข้าใจ
วันนี้ (8 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวในการคัดค้านต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากแกนนำในภาคส่วนของนักวิชาการ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำประชาชนในพื้นที่ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร เข้ายื่นหนังสือกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อสั่งการให้ยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้ง 2 พื้นที่ โดยมีเวลาให้จนถึงวันที่ 15 มี.ค.54 เป็นเส้นตายที่กฟผ.จะต้องยุติโครงการและย้ายสำนักงานออกนอกพื้นที่ทันที โดยนายกรัฐมนตรีรับปากที่จะแก้ปัญหา โดยการเรียกผู้ว่าการ กฟผ.และรัฐมนตรีพลังงานมาพูดคุยถึงเรื่องนี้
ล่าสุด นายกัมพล จิตตะนัง ผู้ประสานงานเครือข่ายวลัยลักษณ์เพื่อปวงชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าจนถึงขณะนี้ฝ่าย กฟผ.ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆที่จะย้ายหรือไม่ย้ายออกไปจากพื้นที่ แต่ในส่วนของประชาชน และเครือข่ายต่างๆ ที่ต่อต้านคัดค้านโรงไฟฟ้าทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวในวันที่ 15 มี.ค.54 ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีเครือข่ายวลัยลักษณ์เพื่อปวงชน เป็นเจ้าภาพซึ่งจะมีกิจกรรมตั้งแต่เวลา 18.00 น.จนถึงเที่ยงคืน
“เวลาเที่ยงคืนถือเป็นเวลาสิ้นสุดวันที่ 15 มี.ค.ซึ่งเป็นห้วงที่ให้เวลากฟผ. ตัดสินใจเป็นวันสุดท้ายหากเที่ยงคืนของวันนั้น กฟผ.ยังคงตั้งสำนักงานอยู่ในพื้นที่เดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไป ในเที่ยงคืนจะมีการประกาศมาตรการกดดันเชิงรุกอย่างเป็นทางการ เพื่อเริ่มดำเนินการในวันที่ 16 มี.ค.เป็นต้นไป” ผู้ประสานงานเครือข่ายวลัยลักษณ์เพื่อปวงชน กล่าว
นายกัมพล จิตตะนัง ผู้ประสานงานเครือข่ายวลัยลักษณ์เพื่อปวงชน กล่าวต่อว่า เครือข่ายต่างๆ เตรียมที่จะยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชในเร็วๆ นี้ เพื่อที่จะแจ้งให้ทราบถึงสถานการณ์ เนื่องจากหลังจากวันที่ 15 มี.ค.54 เป็นวันที่ทุกคนรู้ว่าเป็นเวลาที่ให้กฟผ.ยุติโครงการทันที ถัดจากวันนั้นไปแล้วหากยังไม่ออกจากพื้นที่คิดว่าต่อไปจะห้ามอารมณ์คนที่ต่อต้านคัดค้านยากแล้ว ทางที่ดีที่สุดในขณะนี้เพื่อไม่ให้มีความรุนแรงขอให้กฟผ.ออกจากพื้นที่ก่อน และอย่ายั่วยุ หรือทำการใดๆจะกลายเป็นเรื่องบานปลาย
ขณะที่ นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว แกนนำเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา เปิดเผยว่า มาตรการในการกดดันลำดับต่อไปนั้นหากในวันที่ 15 มี.ค.54 กฟผ.ยังไม่ยุติโครงการ และยังไม่ออกไปจากพื้นที่นั้น จะมีมาตรการที่เข้มข้นและเด็ดขาดมากขึ้นไปตามลำดับ จะมีตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ไปจนถึงระดับจังหวัด ส่วนมาตรการอย่างไรนั้นยังไม่ขอเปิดเผย จะเปิดเผยบนเวทีในวันนั้น
ด้านความเคลื่อนไหวของกฟผ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฝ่ายประสานงานของศูนย์ข้อมูลการพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช ได้ส่งอีเมล์ไปยังผู้สื่อข่าวหลายคน โดยมีเอกสารที่ระบุว่าเป็นการให้สัมภาษณ์ของนายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา (รวพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยหัวข้อที่ 2 ได้ชี้แจงถึงการทำงานของ กฟผ.ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ในข้อถามปัญหาการต่อต้านที่นครศรีธรรมราช กฟผ.มีแนวทางทำความเข้าใจอย่างไร โดยพบว่าคำตอบนั้นยังคงเป็นไปในรูปเดิมคือการทำงาน 7 ขั้นตอน คือ 1.ศึกษาภูมิประเทศเบื้องต้น 2.ให้ความรู้ชุมชน 3.ประเมินความคิดเห็นชุมชน 4.ประกาศจัดหาที่ดิน 5.ศึกษาผลกระทบ EIA และ HIA 6.ขออนุมัติจาก ครม. และ 7.ดำเนินการก่อสร้าง และสรุปลงท้ายว่าการทำงานในขณะนี้ยังอยู่เพียงขั้นตอนที่ 2 คือการให้ความรู้ความเข้าใจกับชุมชนเท่านั้น
วันนี้ (8 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวในการคัดค้านต่อต้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากแกนนำในภาคส่วนของนักวิชาการ ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำประชาชนในพื้นที่ อ.ท่าศาลา และ อ.หัวไทร เข้ายื่นหนังสือกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อสั่งการให้ยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้ง 2 พื้นที่ โดยมีเวลาให้จนถึงวันที่ 15 มี.ค.54 เป็นเส้นตายที่กฟผ.จะต้องยุติโครงการและย้ายสำนักงานออกนอกพื้นที่ทันที โดยนายกรัฐมนตรีรับปากที่จะแก้ปัญหา โดยการเรียกผู้ว่าการ กฟผ.และรัฐมนตรีพลังงานมาพูดคุยถึงเรื่องนี้
ล่าสุด นายกัมพล จิตตะนัง ผู้ประสานงานเครือข่ายวลัยลักษณ์เพื่อปวงชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่าจนถึงขณะนี้ฝ่าย กฟผ.ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆที่จะย้ายหรือไม่ย้ายออกไปจากพื้นที่ แต่ในส่วนของประชาชน และเครือข่ายต่างๆ ที่ต่อต้านคัดค้านโรงไฟฟ้าทั้งจังหวัดนครศรีธรรมราช จะรวมกันเป็นหนึ่งเดียวในวันที่ 15 มี.ค.54 ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีเครือข่ายวลัยลักษณ์เพื่อปวงชน เป็นเจ้าภาพซึ่งจะมีกิจกรรมตั้งแต่เวลา 18.00 น.จนถึงเที่ยงคืน
“เวลาเที่ยงคืนถือเป็นเวลาสิ้นสุดวันที่ 15 มี.ค.ซึ่งเป็นห้วงที่ให้เวลากฟผ. ตัดสินใจเป็นวันสุดท้ายหากเที่ยงคืนของวันนั้น กฟผ.ยังคงตั้งสำนักงานอยู่ในพื้นที่เดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไป ในเที่ยงคืนจะมีการประกาศมาตรการกดดันเชิงรุกอย่างเป็นทางการ เพื่อเริ่มดำเนินการในวันที่ 16 มี.ค.เป็นต้นไป” ผู้ประสานงานเครือข่ายวลัยลักษณ์เพื่อปวงชน กล่าว
นายกัมพล จิตตะนัง ผู้ประสานงานเครือข่ายวลัยลักษณ์เพื่อปวงชน กล่าวต่อว่า เครือข่ายต่างๆ เตรียมที่จะยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชในเร็วๆ นี้ เพื่อที่จะแจ้งให้ทราบถึงสถานการณ์ เนื่องจากหลังจากวันที่ 15 มี.ค.54 เป็นวันที่ทุกคนรู้ว่าเป็นเวลาที่ให้กฟผ.ยุติโครงการทันที ถัดจากวันนั้นไปแล้วหากยังไม่ออกจากพื้นที่คิดว่าต่อไปจะห้ามอารมณ์คนที่ต่อต้านคัดค้านยากแล้ว ทางที่ดีที่สุดในขณะนี้เพื่อไม่ให้มีความรุนแรงขอให้กฟผ.ออกจากพื้นที่ก่อน และอย่ายั่วยุ หรือทำการใดๆจะกลายเป็นเรื่องบานปลาย
ขณะที่ นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว แกนนำเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา เปิดเผยว่า มาตรการในการกดดันลำดับต่อไปนั้นหากในวันที่ 15 มี.ค.54 กฟผ.ยังไม่ยุติโครงการ และยังไม่ออกไปจากพื้นที่นั้น จะมีมาตรการที่เข้มข้นและเด็ดขาดมากขึ้นไปตามลำดับ จะมีตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ไปจนถึงระดับจังหวัด ส่วนมาตรการอย่างไรนั้นยังไม่ขอเปิดเผย จะเปิดเผยบนเวทีในวันนั้น
ด้านความเคลื่อนไหวของกฟผ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฝ่ายประสานงานของศูนย์ข้อมูลการพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช ได้ส่งอีเมล์ไปยังผู้สื่อข่าวหลายคน โดยมีเอกสารที่ระบุว่าเป็นการให้สัมภาษณ์ของนายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา (รวพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยหัวข้อที่ 2 ได้ชี้แจงถึงการทำงานของ กฟผ.ในพื้นที่นครศรีธรรมราช ในข้อถามปัญหาการต่อต้านที่นครศรีธรรมราช กฟผ.มีแนวทางทำความเข้าใจอย่างไร โดยพบว่าคำตอบนั้นยังคงเป็นไปในรูปเดิมคือการทำงาน 7 ขั้นตอน คือ 1.ศึกษาภูมิประเทศเบื้องต้น 2.ให้ความรู้ชุมชน 3.ประเมินความคิดเห็นชุมชน 4.ประกาศจัดหาที่ดิน 5.ศึกษาผลกระทบ EIA และ HIA 6.ขออนุมัติจาก ครม. และ 7.ดำเนินการก่อสร้าง และสรุปลงท้ายว่าการทำงานในขณะนี้ยังอยู่เพียงขั้นตอนที่ 2 คือการให้ความรู้ความเข้าใจกับชุมชนเท่านั้น