ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พบผู้ประกอบการ รับฟังปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะแรงงานต่างด้าว โดยเสนอให้แก้ไขปัญหาทั้งในด้านกฎระเบียบที่ล่าช้า และการนำแรงงานต่างด้าวจากประเทศเวียดนาม บังกลาเทศและเนปาลเข้ามาทำงานเพิ่มเติม
วันนี้ (25 ก.พ.) ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมคณะพบปะกับสภาอุตสาหกรรมและหอการค้า จ.สงขลา รวมทั้งผู้ประกอบการใน จ.สงขลา เพื่อรับทราบปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนแรงงานในสถานประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นจะต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้มีความต้องการแรงงานต่างด้าวกว่า 30,000 คน ที่ผ่านมา มีแรงงานต่างด้าวจากประเทศพม่า กัมพูชาและประเทศลาว ที่ได้รับใบอนุญาตทำงาน จำนวน 35,050 คน แต่ยังไม่เพียงพอกับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม
ผู้ประกอบการใน จ.สงขลา ได้เสนอแนะในเรื่องของการแก้ไขกฎระเบียบให้มีการกระจายอำนาจในการออกใบทำงานไปยังส่วนภูมิภาค เนื่องจากการออกใบอนุญาตทำงานจากส่วนกลางล่าช้า ทำให้แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการทุกรายประสบอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งขอให้จัดหาแรงงานต่างด้าวจากประเทศอื่นเข้ามาทำงานเพิ่มเติมนอกเหนือจากประเทศพม่า กัมพูชาและประเทศลาว โดยทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้รับข้อเสนอทั้งหมดเพื่อนำไปหาแนวทางแก้ไขในระดับกระทรวงต่อไป
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปัญหาในภาพรวมของผู้ประกอบการใน จ.สงขลา คือเรื่องแรงงานในระดับผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรม
ในส่วนของเรื่องการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ทั้งในส่วนของการรอขึ้นทะเบียนพิสูจน์สัญชาติและอีกส่วนหนึ่งที่อยู่นอกระบบ กระทรวงแรงงานได้มีแนวคิดที่จะจัดระบบแรงงานต่างด้าวใหม่อีกรอบ โดยจะนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการ กปร.เพื่อที่จะนำเสนอ ครม.อนุมัติในการที่จะขึ้นทะเบียน เพื่อดำเนินการควบคุมแรงงานต่างด้าวทั้งหมดที่อยู่ในประเทศไทย ที่จะมีผลต่อความมั่นคง มีผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน การควบคุมโรคติดต่อ ที่สำคัญอย่างยิ่ง สามารถที่จะช่วยผู้ประกอบการภายในประเทศ ในการที่จะควบคุมการผลิต ลดต้นทุนการผลิต แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในระยะยาวด้วย
ขณะนี้ นอกจากจะมีการพิสูจน์สัญชาติแล้ว ยังมีการลงนาม MOU ระหว่างประเทศพม่า กัมพูชาและประเทศลาว และกำลังจะลงนาม MOU ระหว่างประเทศเวียดนาม บังคลาเทศและประเทศเนปาล เพื่อนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวในอนาคต
วันนี้ (25 ก.พ.) ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมคณะพบปะกับสภาอุตสาหกรรมและหอการค้า จ.สงขลา รวมทั้งผู้ประกอบการใน จ.สงขลา เพื่อรับทราบปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนแรงงานในสถานประกอบการต่างๆ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นจะต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้มีความต้องการแรงงานต่างด้าวกว่า 30,000 คน ที่ผ่านมา มีแรงงานต่างด้าวจากประเทศพม่า กัมพูชาและประเทศลาว ที่ได้รับใบอนุญาตทำงาน จำนวน 35,050 คน แต่ยังไม่เพียงพอกับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม
ผู้ประกอบการใน จ.สงขลา ได้เสนอแนะในเรื่องของการแก้ไขกฎระเบียบให้มีการกระจายอำนาจในการออกใบทำงานไปยังส่วนภูมิภาค เนื่องจากการออกใบอนุญาตทำงานจากส่วนกลางล่าช้า ทำให้แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการทุกรายประสบอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งขอให้จัดหาแรงงานต่างด้าวจากประเทศอื่นเข้ามาทำงานเพิ่มเติมนอกเหนือจากประเทศพม่า กัมพูชาและประเทศลาว โดยทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้รับข้อเสนอทั้งหมดเพื่อนำไปหาแนวทางแก้ไขในระดับกระทรวงต่อไป
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ปัญหาในภาพรวมของผู้ประกอบการใน จ.สงขลา คือเรื่องแรงงานในระดับผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรม
ในส่วนของเรื่องการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว ทั้งในส่วนของการรอขึ้นทะเบียนพิสูจน์สัญชาติและอีกส่วนหนึ่งที่อยู่นอกระบบ กระทรวงแรงงานได้มีแนวคิดที่จะจัดระบบแรงงานต่างด้าวใหม่อีกรอบ โดยจะนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการ กปร.เพื่อที่จะนำเสนอ ครม.อนุมัติในการที่จะขึ้นทะเบียน เพื่อดำเนินการควบคุมแรงงานต่างด้าวทั้งหมดที่อยู่ในประเทศไทย ที่จะมีผลต่อความมั่นคง มีผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน การควบคุมโรคติดต่อ ที่สำคัญอย่างยิ่ง สามารถที่จะช่วยผู้ประกอบการภายในประเทศ ในการที่จะควบคุมการผลิต ลดต้นทุนการผลิต แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในระยะยาวด้วย
ขณะนี้ นอกจากจะมีการพิสูจน์สัญชาติแล้ว ยังมีการลงนาม MOU ระหว่างประเทศพม่า กัมพูชาและประเทศลาว และกำลังจะลงนาม MOU ระหว่างประเทศเวียดนาม บังคลาเทศและประเทศเนปาล เพื่อนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวในอนาคต