นราธิวาส - สำนักงานจัดหางาน จ.นราธิวาส ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งตรวจสอบและดำเนินการกับนายจ้างที่จ้างแรงงานต่างด้าวเถื่อนเข้ามาทำงาน หลังพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น สวนทางกับแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายที่มีจำนวนลดลง
วันนี้ (19 ม.ค.) นายธนกร นราวุฒิพันธ์ ผู้ช่วยจัดหางานจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า ปัจจุบันในพื้นที่ 13 อำเภอของจังหวัดนราธิวาส จะมีการออกใบอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวแยกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มมีเอกสารประกอบการทำงานอย่างถูกต้อง และกลุ่มที่หลบหนีเข้าเมือง สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ได้รับการผ่อนผันให้ทำงานและอยู่ระหว่างการส่งกลับ รวม 1,436 คน ซึ่งใบอนุญาตจะหมดอายุในวันที่ 28 ก.พ.นี้ สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาสจึงได้เรียกประชุมนายจ้าง เพื่อให้นำแรงงานต่างด้าวในความรับผิดชอบของตนเองมาต่ออายุใบอนุญาตได้อีก 1 ปี
อย่างไรก็ตาม ในปี 2554 มีจำนวนแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องลดลงจากปี 2553 มากถึง 357 คน ซึ่งปัจจัยคาดว่ามาจากการเคลื่อนย้ายเข้า-ออกไปทำงานในจังหวัดอื่นๆ หรือมีความประสงค์เดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง แม้ว่ากลุ่มนายจ้างในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จะมีการจ่ายค่าจ้างตามเกณฑ์ที่ 180 บาทต่อวัน หรืออาจจะมากกว่านั้น
แต่เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสยังมีความต้องการกลุ่มแรงงานประเภทกรรมกร ทั้งภาคการเกษตร และอุตสาหกรรม รวมถึงคนรับใช้ภายในบ้าน จึงทำให้มีแรงงานต่างด้าวเถื่อนลักลอบเข้ามาทำงานกันเป็นจำนวนมาก จึงได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบ และดำเนินคดีอย่างเด็ดขาดกับนายจ้างที่รับแรงงานต่างด้าวเถื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาตเข้าทำงานเพราะกระทบกับการจ้างงานของกลุ่มแรงงานชาวไทย กลุ่มแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย และกระทบความมั่นคงในราชอาณาจักรไทยด้วย
วันนี้ (19 ม.ค.) นายธนกร นราวุฒิพันธ์ ผู้ช่วยจัดหางานจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า ปัจจุบันในพื้นที่ 13 อำเภอของจังหวัดนราธิวาส จะมีการออกใบอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวแยกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มมีเอกสารประกอบการทำงานอย่างถูกต้อง และกลุ่มที่หลบหนีเข้าเมือง สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาที่ได้รับการผ่อนผันให้ทำงานและอยู่ระหว่างการส่งกลับ รวม 1,436 คน ซึ่งใบอนุญาตจะหมดอายุในวันที่ 28 ก.พ.นี้ สำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาสจึงได้เรียกประชุมนายจ้าง เพื่อให้นำแรงงานต่างด้าวในความรับผิดชอบของตนเองมาต่ออายุใบอนุญาตได้อีก 1 ปี
อย่างไรก็ตาม ในปี 2554 มีจำนวนแรงงานต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องลดลงจากปี 2553 มากถึง 357 คน ซึ่งปัจจัยคาดว่ามาจากการเคลื่อนย้ายเข้า-ออกไปทำงานในจังหวัดอื่นๆ หรือมีความประสงค์เดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง แม้ว่ากลุ่มนายจ้างในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จะมีการจ่ายค่าจ้างตามเกณฑ์ที่ 180 บาทต่อวัน หรืออาจจะมากกว่านั้น
แต่เนื่องจากในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสยังมีความต้องการกลุ่มแรงงานประเภทกรรมกร ทั้งภาคการเกษตร และอุตสาหกรรม รวมถึงคนรับใช้ภายในบ้าน จึงทำให้มีแรงงานต่างด้าวเถื่อนลักลอบเข้ามาทำงานกันเป็นจำนวนมาก จึงได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบ และดำเนินคดีอย่างเด็ดขาดกับนายจ้างที่รับแรงงานต่างด้าวเถื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาตเข้าทำงานเพราะกระทบกับการจ้างงานของกลุ่มแรงงานชาวไทย กลุ่มแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย และกระทบความมั่นคงในราชอาณาจักรไทยด้วย