กทม.เดินหน้าโครงการมหานครแห่งการอ่านตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาศักยภาพเมือง พร้อมขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ 5 ด้าน เพื่อผลักดันให้กรุงเทพฯ คว้ารางวัลเมืองหนังสือโลกในปี 2556 จากยูเนสโก ตั้งเป้าส่งเสริมประชาชนให้มีนิสัยรักการอ่าน เน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคี และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้เข้าถึงได้ง่าย
นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร โฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหาร กทม.เกี่ยวกับโครงการรณรงค์ให้ กทม.เป็นมหานครแห่งการอ่านในปี 2013 โดย กทม.มีนโยบายที่จะทำให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครแห่งการอ่าน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาศักยภาพเมือง เพื่อก้าวทันการแข่งขันทางเศรษฐกิจและเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้ พร้อมสนองนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ และเตรียมเสนอชื่อกรุงเทพมหานครเข้าแข่งขันเพื่อคัดเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก ในปี 2556 (World Book Capital 2013) พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการภาคีขับเคลื่อนให้กรุงเทพมหานครเป็น “มหานครแห่งการอ่าน”
สำหรับยุทธศาสตร์ 5 ด้าน เพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครสู่เมืองหนังสือโลก ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 สื่อสารสาธารณะเพื่อปรับกระบวนทัศน์สังคม โดยทำแผนรณรงค์ สร้าง Brand Ambassador และจัดทำโฆษณาเพื่อเผยแพร่กิจกรรมต่างๆ ยุทธศาสตร์ที่ 2 นโยบายชัดเจนต่อเนื่อง โดยกรุงเทพมหานครเป็นหลัก ทุกภาคส่วนร่วมผลักดัน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ร่วมมือเครือข่ายภาคี โดยตั้งศูนย์ประสานงาน เพื่อวิจัยและสนับสนุน ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาและขยายพื้นที่ส่งเสริมการอ่าน โดยพัฒนาศักยภาพพื้นที่การอ่านเดิมและเพิ่มพื้นที่ใหม่ และยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย ผ่านหลากหลายกิจกรรม อาทิ โครงการ “Bangkok Young Star Writer” หรือกิจกรรมพบนักเขียน โดยมีกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว คือ การประชุมคณะกรรมการการประชุมภาคี 93 องค์กร และการจัดกิจกรรมระดมความคิดเห็น ซึ่งในวันที่ 1 ก.พ.2554 กรุงเทพมหานครจะลงนาม MOU ร่วมกับภาคีเครือข่าย และเตรียมเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเมืองหนังสือโลกของปี 2556 ในวันที่ 29 เม.ย.2554
ทั้งนี้ โครงการเมืองหนังสือโลก (World Book Capital) เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2544 ยูเนสโกได้มอบรางวัลเกียรติยศ ในฐานะที่เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้และส่งเสริมการอ่าน เพียงปีละ 1 เมือง เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ด้วยหนังสือ ในระดับนานาชาติให้สอดคล้องกับการเฉลิมฉลอง “วันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก” (World Book and Copyright Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 23 เมษายนของทุกปี ด้วยเหตุผลที่ว่าหนังสือ คือ สิ่งที่มีพลังอำนาจสูงสุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการกระจายความรู้และรักษาไว้ซึ่งความรู้นั้นๆ เพื่อมนุษยชาติ รวมถึงต้องการให้ทั่วทั้งโลกส่งเสริมให้เกิดการอ่าน การจัดพิมพ์หนังสือและการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาผ่านความคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ด้วย
โดย กทม.ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเมืองหนังสือโลกเมื่อปี 2553 และใช้งบประมาณ 280 ล้านบาท (ปีงบประมาณ 2254-2556) ในการดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน เน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคีต่างๆ อาทิ สมาคมนักเขียน ห้องสมุดต่างๆ รวมถึงการมีแหล่งเรียนรู้ที่เข้าถึงง่าย และพัฒนาห้องสมุดให้มีความทันสมัยเป็นห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีบ้านหนังสือซึ่งเป็นห้องสมุดขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในชุมชนต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่มีคุณภาพ และปลูกฝังเยาวชนและประชาชนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร โฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหาร กทม.เกี่ยวกับโครงการรณรงค์ให้ กทม.เป็นมหานครแห่งการอ่านในปี 2013 โดย กทม.มีนโยบายที่จะทำให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครแห่งการอ่าน ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาศักยภาพเมือง เพื่อก้าวทันการแข่งขันทางเศรษฐกิจและเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้ พร้อมสนองนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ และเตรียมเสนอชื่อกรุงเทพมหานครเข้าแข่งขันเพื่อคัดเลือกเป็นเมืองหนังสือโลก ในปี 2556 (World Book Capital 2013) พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการภาคีขับเคลื่อนให้กรุงเทพมหานครเป็น “มหานครแห่งการอ่าน”
สำหรับยุทธศาสตร์ 5 ด้าน เพื่อขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครสู่เมืองหนังสือโลก ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 สื่อสารสาธารณะเพื่อปรับกระบวนทัศน์สังคม โดยทำแผนรณรงค์ สร้าง Brand Ambassador และจัดทำโฆษณาเพื่อเผยแพร่กิจกรรมต่างๆ ยุทธศาสตร์ที่ 2 นโยบายชัดเจนต่อเนื่อง โดยกรุงเทพมหานครเป็นหลัก ทุกภาคส่วนร่วมผลักดัน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ร่วมมือเครือข่ายภาคี โดยตั้งศูนย์ประสานงาน เพื่อวิจัยและสนับสนุน ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาและขยายพื้นที่ส่งเสริมการอ่าน โดยพัฒนาศักยภาพพื้นที่การอ่านเดิมและเพิ่มพื้นที่ใหม่ และยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย ผ่านหลากหลายกิจกรรม อาทิ โครงการ “Bangkok Young Star Writer” หรือกิจกรรมพบนักเขียน โดยมีกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว คือ การประชุมคณะกรรมการการประชุมภาคี 93 องค์กร และการจัดกิจกรรมระดมความคิดเห็น ซึ่งในวันที่ 1 ก.พ.2554 กรุงเทพมหานครจะลงนาม MOU ร่วมกับภาคีเครือข่าย และเตรียมเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเมืองหนังสือโลกของปี 2556 ในวันที่ 29 เม.ย.2554
ทั้งนี้ โครงการเมืองหนังสือโลก (World Book Capital) เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2544 ยูเนสโกได้มอบรางวัลเกียรติยศ ในฐานะที่เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้และส่งเสริมการอ่าน เพียงปีละ 1 เมือง เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ด้วยหนังสือ ในระดับนานาชาติให้สอดคล้องกับการเฉลิมฉลอง “วันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก” (World Book and Copyright Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 23 เมษายนของทุกปี ด้วยเหตุผลที่ว่าหนังสือ คือ สิ่งที่มีพลังอำนาจสูงสุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการกระจายความรู้และรักษาไว้ซึ่งความรู้นั้นๆ เพื่อมนุษยชาติ รวมถึงต้องการให้ทั่วทั้งโลกส่งเสริมให้เกิดการอ่าน การจัดพิมพ์หนังสือและการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาผ่านความคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ด้วย
โดย กทม.ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเมืองหนังสือโลกเมื่อปี 2553 และใช้งบประมาณ 280 ล้านบาท (ปีงบประมาณ 2254-2556) ในการดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีนิสัยรักการอ่าน เน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคีต่างๆ อาทิ สมาคมนักเขียน ห้องสมุดต่างๆ รวมถึงการมีแหล่งเรียนรู้ที่เข้าถึงง่าย และพัฒนาห้องสมุดให้มีความทันสมัยเป็นห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีบ้านหนังสือซึ่งเป็นห้องสมุดขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในชุมชนต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่มีคุณภาพ และปลูกฝังเยาวชนและประชาชนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม